Peace Building in Mynmar : อะไรคือข้อท้าทาย บนเส้นทางสู่สันติภาพในพม่า

Peace Building in Mynmar : อะไรคือข้อท้าทาย บนเส้นทางสู่สันติภาพในพม่า

Why Thein Sein government and Ethnic Armed Groups haven’t signed Nationwide Ceasefire until now? What are the challenges? Will Burma get peace after they signed? Who’s profits? Where are they now?

June 6 2014 Text by: Sai Soe

Myanmar President Thein Sein declared national reconciliation in March 2011. Kachin Independent Army, Ta-Ang Nationality Liberal Army and Shan State Army – South are still fighting with Burmese Army during ceasefire talks. Although all sides want the conflict to end, a number of major challenges make achieving peace no easy task. By December 2012, 13 rebel groups had signed some form of agreements with the government.

Chiangmai University, Thai PBS, Burma Study Center and Pyidaungsu Institute hold a Peace Forum on May 30 2014, at Chiangmai University. Peace Forum speakers included Nyo Ohn Myint form Myanmar Peace Center (MPC), Harn Yawnghwe from Euro Burma Office (EBO) and Dr Hannes Siebert from South Africa, advisor of Pyidaungsu Institute, Rjan Chaiyan from Chiangmai University, Social Science Department, Dr. Lain H.Sakhong on behalf of Pyidaungsu Institute Board of Advisor, Nationwide Ceasefire Committee Team key negotiator and Khuensai Jaiyen Pyidaungsu Institute managing director.

According to Khuensai Jaiyen, Pyidaungsu Institute managing director during negotiation between Nationwide Ceasefire Coordination Team and Union Peacemaking Work Committee, some of the differences about wording are coming up. The military delegates from the Union Peacemaking Working Committee continued to oppose the use of “Federal” in the draft for Nationwide Ceasefire Agreement.

“The military also agreed, as proposed by the NCCT, to place the Disarmament, Demobilization and Re-integration (DDR) of all armed movements after the political settlement instead of before it” said Dr Lian.

The second combined draft that came out after the latest round of talks between the two sides, 21-23 May, however still contains the original proposition by the government, that is, DDR must come before political settlement. Natural resources sharing and weakness in rule of law are challenges for long term peace. Civil Societies Organizations and International actors haven’t involved much in the peace process said Khuensai Jaiyen. Participation of Civil Societies Organizations in the peace process will not only help speed up the momentum of peace building but also promote the concept of peace as an essence of life among citizens.

International actors can be important observers to nurture the achieved peace agreement and provide lessons learnt from international experiences. After signing ceasefire agreement “Government doesn’t accuse ethnic armed groups as illegal groups according to Harn. National Wide Ceasefire Jointed Committee has set up and drafted for One Text Document. Jointed Monitoring Committee monitors Nation Wide Ceasefire agreement negotiation. “Government agrees for Political Dialogue and will be done outside parliament” said Harn. Joint Military Code of Conducts has started by both Government and Ethnic Armed Groups. The whole process will be done by Joint Committee, not by the Government.

According to Nyo Own Myint Government prioritizes reconciliation than Democracy for this period, Myanmar Peace Center delegate in Peace Forum. Nationwide Ceasefire Committee Team has met with Government for ceasefire negotiation more than 9 times. Government agreed with using the word “Federal” in Draft Ceasefire Agreement in May ceasefire talks. In June Government and Nationwide Ceasefire Committee Team will meet again for Nationwide Ceasefire Agreement. Dr. Lain said, “If people want the region to be peace you will need to make Burma to be Peace.

“Peace is important and has impact to neighboring countries” he said.  Dr. Lain emphasized that Security Sector Reform should be part of signing Nationwide Ceasefire Agreement. Moreover Dr. Lain added

“we engage in peace not because we trust the Government but because we are committed to peace. I do not trust them personally, not trust their policy.”

Government plans to finish Nationwide Ceasefire Agreement signing in the first of August as General Min Aung Hlaing is going to resign in first week of August. Signing Nationwide Ceasefire Agreement with General Min Aung Hlaing can be one good image he makes for supporting his future president position. Two Thousand Fifteen Election is coming soon and some opposition has started campaign according to Harn. The Government has responsibilities for war during ceasefire negotiation, said Harn. Harn emphasized that the most important thing is “Recognizing” among each other.

Professor Chaiyan from Chiangmai University, Social Science Department, said that “I hope that each country, if each of the them see importance of peace in peace development and democratization in Myanmar as something important they should, one way or another, come to help, or to facilitate, or participate at peace process and national dialogue.” Professor Chaiyan added that “The Thai military should learn the attitudes of Tat-ma-daw in allowing peace process, particularly, in the case of southern part of Thailand. In Southern part of Thailand, the negotiation between the armed group and the government is not mediated by civil society. There is no attempt to set up this national cease fire coordinating team, NCCT like Myanmar.”


 

อะไรคือข้อท้าทาย บนเส้นทางสู่สันติภาพในพม่า

รายงานโดย Sai Soe

ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ประกาศแผนการปรองดองแห่งชาติในเดือนมีนาคม 2554 แต่กองทัพเอกราชคะฉิ่น กองกำลังปลดปล่อยชาติปะหล่อง และกองทัพรัฐฉานใต้ ยังคงต่อสู้กับกองทัพพม่าในระหว่างการเจรจาหยุดยิง แม้ว่าทุกฝ่ายจะต้องการให้ความขัดแย้งสิ้นสุดลง แต่ยังคงมีข้อท้าทายจำนวนหนึ่งซึ่งทำให้การไปสู่สันติภาพไม่ใช่เรื่องง่าย กระทั่งเดือนธันวาคม ปี 2012 กลุ่มต่างๆ จำนวน 13 กลุ่มได้ลงนามในข้อตกลงบางประการกับทางรัฐบาล ทำไมรัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อย จึงไม่ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศจนถึงทุกวันนี้? อะไรคือข้อท้าทาย? หากลงนามแล้ว พม่าจะมีสันติภาพจริงหรือไม่? ใครจะได้ประโยชน์อะไร? พวกเขาอยู่ตรงไหนในขณะนี้?

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักเครือข่ายสื่อพลเมืองไทยพีบีเอส ศูนย์พม่าศึกษา ศูนย์อาเซียนศึกษา และสถาบันปีดองซู ได้ร่วมกันจัดเวทีสัมมนาวิชาการ เรื่อง ‘บนเส้นทางสู่สันติภาพ โอกาสและอุปสรรคของกระบวนการสันติภาพในพม่า’ โดยมีผู้เข้าร่วมพูดคุยในเวที นี้ ประกอบไปด้วย เนียว โอน มิน จากศูนย์สันติภาพพม่า, เจ้าหาญ ณ ยองห้วย ผู้อำนวยการสำนักงานยูโรพม่า, ดร.ฮานส์ ซีเบิร์ต จากอัพริกาใต้ ที่ปรึกษาของสถาบันปีดองซู, อาจารย์ชยันต์ วรรธนะภูติ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ดร.เลน เอช ซากอง ในนามของคณะกรรมการที่ปรึกษาสถาบันปีดองซู คณะประสานงานการหยุดยิงแห่งชาติ และอาจารย์คืนใส ใจเย็น ผู้อำนวยการสถาบันปีดองซู

อาจารย์ คืนใส ใจเย็น ผู้อำนวยการสถาบันปีดองซู บอกว่า ในระหว่างการเจรจาต่อรอง ระหว่าง คณะประสานงานการหยุดยิงแห่งชาติ (NCCT) กับ คณะทำงานเพื่อการสร้างสันติภาพแห่งสหภาพ (UPWC) พวกเขาพบว่ามีปัญหาความแตกต่างในการให้ความหมายของคำเกิดขึ้น โดยผู้แทนทหารจากคณะทำงานเพื่อการสร้างสันติภาพแห่งสหภาพ คัดค้านการใช้คำว่า ‘สหพันธรัฐ’ ในร่างข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ 

ส่วน ดร.เลน บอกว่า กองทัพเห็นด้วยกับคณะประสานงานการหยุดยิงแห่งชาติ ว่า การปลดอาวุธ การปลดทหารประจำการ และการกลับคืนสู่ชุมชนนั้น จะเกิดขึ้นหลังจากมีข้อตกลงทางการเมืองแล้ว ไม่ใช่ก่อนหน้าที่จะตกลงกันได้ อย่างไรก็ดี ร่างข้อตกลงหยุดยิ่งร่างที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการพูดคุยครั้งล่าสุดระหว่างสองฝ่าย เมื่อวันที่ 21-23 พฤษภาคมนั้น ยังคงมีข้อเสนอเดิมของรัฐบาลที่ว่า การปลดอาวุธ การปลดทหารประจำการ และการกลับคืนสู่ชุมชนนั้น ต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะมีข้อตกลงทางการเมือง

การแบ่งปันสรรทรัพยากรธรรมชาติ และความอ่อนแอของหลักนิติธรรม ยังเป็นข้อท้าทายสำหรับสันติภาพในระยะยาวเช่นกัน โดยอาจารย์คืนใส ใจเย็น บอกด้วยว่า องค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศ ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากเท่าไหร่ในกระบวนการสันติภาพนี้ ทั้งนีการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพ ไม่เพียงแต่จะช่วยเร่งผลักดันการสร้างสันติภาพเท่านั้น หากยังจะช่วยส่งเสริมแนวคิดสันติภาพในฐานะชีวิตในหมู่พลเมืองอีกด้วย

ส่วนองค์กรระหว่างประเทศก็สามารถเป็นผู้สังเกตการณ์สำคัญที่จะค้ำจุนข้อตกลงสันติภาพที่เกิดขึ้น และจัดหาบทเรียนจากประสบการณ์นานาชาติมาให้ ดร.ฮานส์ ซีเบิร์ บอกว่า หลังจากลงนามในข้อตกลงหยุดยิงแล้ว รัฐบาลไม่สามารถกล่าวหากลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยว่าเป็นกลุ่มผิดกฎหมายได้อีกต่อไป คณะกรรมการร่วมแผนร่างการหยุดยิงทั่วประเทศ ถูกจัดตั้งขึ้นพร้อมกับร่างเอกสาร ‘One Text Document’ ร่วมกันขึ้นมา นอกจากนี้คณะกรรมการร่วมติดตามประเมินผล ก็ได้ติดตามการเจรจาข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศด้วย “รัฐบาลตกลงที่จะมีการสานเสวนาทางการเมือง ซึ่งจะจัดขึ้นนอกรัฐสภา” ดร.ฮานส์ กล่าว

หลักปฏิบัติร่วมทางการทหารถูกริเริ่มขึ้นโดยรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อย กระบวนการทั้งหมดจะถูกดำเนินการโดยคณะกรรมการร่วม มิใช่โดยรัฐบาล เนียว โอน มิน จากศูนย์สันติภาพพม่า กล่าวว่า ในตอนนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับความสมานฉันท์มาก คณะประสานงานการหยุดยิงแห่งชาติ ได้พบกับรัฐบาลเพื่อเจรจาข้อตกลงหยุดยิงมากกว่า 9 ครั้งแล้ว รัฐบาลได้ตกลงที่จะใช้คำว่า ‘สหพันธรัฐ’ ในร่างข้อตกลงหยุดยิง ในการเจรจาเมื่อเดือนพฤษภาคม และในเดือนมิถุนายน รัฐบาลและคณะประสานงานการหยุดยิงแห่งชาติ จะพบกันอีกครั้งเพื่อคุยเรื่องข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ

ดร.เลน กล่าวว่าหากต้องการให้เกิดสันติภาพในภูมิภาคนี้ คุณก็ต้องทำให้พม่ามีสันติภาพ และการปฏิรูปฝ่ายความมั่นคงควรเป็นส่วนหนึ่งของการลงนามข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศด้วย

“เราเข้ามาร่วมในสันติภาพ ไม่ใช่เพราะว่าเราเชื่อใจในรัฐบาล แต่เพราะว่าเราให้คำมั่นสัญญาไว้กับสันติภาพต่างหาก โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เชื่อในรัฐบาล และไม่เชื่อในนโยบายของพวกเขา”

รัฐบาลพม่ามีแผนที่จะดำเนินการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศให้แล้วเสร็จ ในวันแรกของเดือนสิงหาคม วันซึ่งนายพล มิน ออง หล่าย จะหมดวาระในตำแหน่งผู้นำทางทหาร การลงนามในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศร่วมกัน จะช่วยให้นายพล มิน ออง หล่าย มีภาพพจน์ที่ดี เพื่อสนับสนุนตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาในอนาคต การเลือกตั้งในปี 2015 กำลังมาถึงในไม่ช้า และฝ่ายค้านบางส่วนได้เริ่มรณรงค์หาเสียงแล้ว, ดร.เลน กล่าวว่า รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสงคราม ในระหว่างการเจรจาตกลงหยุดยิง, ดร.เลนยังเน้นด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ‘การยอมรับ’ ระหว่างกัน

อาจารย์ชยันต์ วรรธนะภูติ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า หากแต่ละประเทศเห็นความสำคัญของสันติภาพ ในการพัฒนาสันติภาพและการทำให้พม่าเป็นประชาธิปไตย พวกเขาควรจะเข้ามาช่วยเหลือ หรืออำนวยความสะดวก หรือมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพและการสานเสวนาแห่งชาติ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

อาจารย์ชยันต์ กล่าวด้วยว่า “กองทัพไทยควรจะเรียนรู้จากกองทัพพม่า ในเรื่องการให้โอกาสกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของจังหวัดชายแดนใต้ของไทย ซึ่งในภาคใต้ของไทยนั้น การเจรจาระหว่างกลุ่มติดอาวุธและรัฐบาลไม่ได้มีภาคประชาสังคมเป็นคนกลาง และไม่มีความพยายามในการจัดตั้งคณะประสานงานการหยุดยิงแห่งชาติ แบบที่พม่าทำ”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ