อนาคตป่าสาคูกับโอกาสทางเศรษฐกิจ จ. พัทลุง

อนาคตป่าสาคูกับโอกาสทางเศรษฐกิจ จ. พัทลุง

หากพูดถึง “สาคูต้น” ใครหลายคนที่หลงใหลในรสชาติ ของขนมหวาน ที่ผลิตจากต้นสาคูแท้ๆ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ตามธรรมชาติ รสชาดเนื้อสัมผัส มีความนุ่ม ยืด ลื่น ละมุนลิ้น อันเป็นความโดดเด่นของสาคูต้น ที่มาจากต้นสาคูที่พบตามพื้นที่ชุ่มน้ำและริมคลองธรรมชาติ ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งรูปแบบแป้งที่สกัดมาจากลำต้น ใช้เลี้ยงด้วงทางใบนำมาสานเสื่อ เย็บจากมุงหลังคา สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน รวมถึงสาคูยังช่วยสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ 

แต่สถานการณ์ปัจจุบันพบว่า พื้นที่ของป่าสาคูในภาคใต้ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง สาเหตุการณ์ลดลงมาจากการขุดลอกคูคลองของหน่วยงานท้องถิ่น การเปลี่ยนพื้นที่ทางการเกษตรไปเป็นอย่างอื่น อีกทั้งการใช้ประโยชน์จากต้นสาคูลดน้อยลงเช่นกันเพราะต้นสาคูได้รับคสามสนใจน้อย ถูกทำลายเรื่อยๆ  ทำให้ระบบนิเวศของป่าสาคูเปลี่ยนสภาพ ส่งผลกระทบทั้งทางตรงเเละทางอ้อม เนื่องจากสาคูเป็นเเหล่งในการสร้างอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นเเหล่งซับน้ำที่สำคัญ

ทีมงานฟังเสียงประเทศไทย ได้มีโอกาสออกเดินทาง จากหาดใหญ่มุ่งหน้าไปสู่ จ.พัทลุง  เพื่อๆไปพูดคุยกับเกษตรกรที่ใช้ประโยชน์จากต้นสาคู และผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์มาจากแป้งสาคู เครือข่ายภาคประชาสังคมเเละนักวิชาการ ที่ช่วยกันพัฒนาสินค้าพิถีพิถันในการคัดสรรคต้นสาคูที่มีอายุกว่า 8 ปีมาทำเเป้งสาคูที่มีคุณภาพ รวมถึงสามารถพัฒนาต่อยอดสินค้าหลากหลาย รวมถึงออกแบบผ่านงานศิลปะที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์มากมายเกิดคุณค่าที่มีมูลค่าสูง

เราชวนตัวแทนกว่า 40 ชีวิต ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศของสาคูตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มาล้อมวงพูดคุยกลางป่าสาคู จุดนี้เคยมีต้นสาคูเป็นแหล่งรับน้ำหลาก ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ป่าสาคู จ.พัทลุง ลดลงอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มสูญเสียพื้นที่อย่างถาวร เราจึงชวนมองไปข้างหน้าถึงภาพอนาคตป่าสาคูกับโอกาสทางเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง

พิชัย ทิพย์มาก ผู้ประกอบบ้านหัวพรุ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เล่าให้ฟังว่า เป็นความโชคดีของผม ที่ผมอยู่ในป่าสาคู ป่าสาคู ผมมองว่าสาคูเป็นปัจจัยหลักของคนบ้านหัวพรุซึ่งเป็นบ้านของผม ประโยชน์ที่ได้มาเยอะมากทั้งที่อยู่อาศัย เป็นเเหล่งอาหาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ รวมถึงเป็นปอดของชุมชน ป่าสาคูทำให้ร่มรื่น อยู่เย็นเป็นสุข   หากชุมชนเข้มแข็งป่าสาคูสามารถเพิ่มได้ เราต้องตระหนักให้มากขึ้นหากเรารู้จักใช้ประโยชน์เราต้องมีความรู้ในการจัดการดูแล ตั้งเเต่ต้นทางเพราะนี่คือต้นทุน ต่อไปเด็กรุ่นใหม่ๆในชุมชนกลับบ้านมาจะได้มีงานทำ ด้วยต้นทุนทรัพยากรในชุนที่สามารถรองรับพวกเขาได้ อนาคตอยากให้เพิ่มพื้นที่ปาสาคูให้มากขึ้น เเละมองว่าจ.พัทลุงยังไปได้ไกลอีก

วิจิตรา อมรวิริยะชัย สำนักงานส่งเสริมการบริการวิชาการเเละภูมิปัญาชุมชน ม.ทักษิณ เล่าเสริมว่า  เราเห็นคุณค่าของป่าสาคูที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ อย่างคลองปากประในพื้นที่ทะเลน้อย จ.พัทลุง เราเห็นลุงๆป้าๆใช้ประโยชน์ เห็นการสืบทอดเเละต่อยอดจากรุ่นสู่รุ่น เลยหันมาศึกษาป่าสาคูซึ่งพบว่าถ้ามีป่าสาคูที่ไหน ที่นั้นมีน้ำ ทำนา มีน้ำ มีข้าว มีปลา ทำให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญ แต่ปัจจุบันเราพบว่าป่าสาคูลดลงเรื่อยๆ คลองหลายเส้นในพื้นที่ถูกขุดลอก ทำให้ป่าสาคูหายไปบ้าง ส่วนที่มีอยู่ก็เป็นโจทย์ที่ต้องขบคิดกันต่อหากป่าสาคูหมดไปก็คงเกิดวิกฤต 

อนาคตมองว่าชาวบ้านเห็นคุณค่าใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงและใช้ประโยชน์ทางอ้อม การรักษาป่าสาคูได้คือการเห็นคุณค่า เป็นซูเปอร์มาเก็ตของคนในพื้นที่ เเละมองว่ามูลค่าปัจจุบันของป่าสาคูไม่ได้มีแค่มิติเดียว แต่ยังรวมไปถึงการบริการทางด้านการท่องเที่ยว สุขภาพ ซึ่งสามารถต่อยอดได้หลายมิติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเชื่อว่าต้องมีกลไกหลักเรื่องของการมีส่วนร่วม เพราะเราต้องส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลัง และเราต้องขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย

ปัจจุบันเราได้มีโอกาสพัฒนาเเป้งสาคูไปสู่สินค้าสินค้าจีไอร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งตอนนี้เราได้ยกร่างไปแล้ว หากได้จีไอจะเป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาสไปสู่การต่อยอดเชิงมูลค่าสูงขึ้น

กลอยใจ ครุฑจ้อน ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า ป่าสาคูเราคุ้นเคยเเละซึมซับมาเด็กๆ หันศึกษาการแปร การใช้ประโยชน์ มองว่าสาคูเป็นพืชมหัศจรรย์ เกิดแนวคิดอยากต่อยอดสาคู ซึ่งมีคำถามว่า

 ถ้าเราทำสาคูในเชิงอุตสาหกรรมสาคูจะหายไปจากภาคใต้ไหม?  

เราคิดค้นเรื่องการอนุรักษ์ การขยายพันธุ์ นำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการ จะทำอย่างไรให้เราสามารถยกระดับสาคูพัทลุงไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดเป็นอาหารแห่งอนาคต

เราต้องมีกลไกลมีระบบ มีมาตรฐาน ให้ความรู้เเก่ผู้ประกอบการ สินค้ามีอย. มีการพัฒนาต่อยอดการเอาแป้งสาคูไปพัฒนาต่อยอดเรื่องสุขภาพ  ทำขนมอบกรอบ ทำไวท์ ผ้าสาคู ทำโปรดัก ตอนนี้ทดลองทำผงหมักหมูแดงแทนที่จะขายสาคูได้กิโลกรัมละ 300 บาท ก็ขายผงหมักสาคูได้กิโลกรัมละ 500 -1,000 บาท เเละทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ในอนาคตสามารถทำอาหารที่ส่งเสริมในเรื่องสุขภาพ เราจำเป็นต้องอนุรักษ์ ช่วยกันสร้างการรับรู้ว่าสาคูมีประโยช์ต่อชุมชน สังคม ประเทศ

เทพรัตน์ จันทพันธ์ รักษาการเเทนผู้อำนยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา กล่าวว่า “วิถีป่าสาคู” ป่าสาคูในพื้นที่ท้องนาเป็นพื้นที่รับน้ำ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะ ถึงแม้บางพื้นที่จะเป็นกรรมสิทธ์ของบุคคล แต่ในเชิงการใช้ไม่ใช่แต่เจ้าของพื้นที่อย่างเดียวเเต่เป็นการใช้สำหรับทุกคนที่สามารถเข้าถึงได้ เช่น การจับสัตว์น้ำ  ซึ่งมองว่าเราต้องดูภาพรวม ซึ่งพื้นที่การจัดการป่าในส่วนการถือครอง ภาครัฐเอง ยังไม่มีอะไรที่มารองรับในเรื่องการจัดการ จะทำอย่างไรที่สามารถรับรองสิทธิการใช้ “ที่เรียกว่าการอนุรักษ์พื้นที่ภาคพลเมือง”

การอนุรักษ์ที่ดีคือการอนุรักษ์ในพื้นที่ถิ่นเดิม

เป็นหัวใจสำคัญซึ่งตอนนี้ สาคูในพื้นที่มีอยู่510ไร่ เราจะออกแบบพื้นที่อนุรักษ์ในถิ่นเดิมแบบไหน สิทธิการใช้ประโยชน์ ออกแบร่วมกันอย่างไร เพื่อให้รัฐยอมรับสิทธิในการจัดการป่าได้หลากหลายมากขึ้น  ดูมาตรฐานการใช้พื้นที่ ถ้ามีสาคูที่มาจากป่าอนุรักษ์ก็รับรอง ซึ่งหมายถึงการอนุรักษ์สินค้าจากพื้นที่ป่าถ้าทำได้สินค้าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 

เสนี ว่าวิสูตร สมาคมสร้างสุขชุมชนเมืองลุง กล่าวว่า ถ้าป่าสาคูหมด สัตว์น้ำก็หมดจะทำอย่างไรให้เกิดแนวคิดป่าสาคูคืนคลองต้องตั้งเป้าร่วมกันว่าใครต้องทำอะไร ออกมาเป็นแผนการทำงานที่จัดเจน ซึ่งโจทย์ตอนนี้ทำอย่างไรไม่ให้ป่าสาคูที่มีลดลงจากเดิม รวมถึงการรับรองสิทธิ์แปลงเอกชน เเละพรบ.ป่าชุมชนต้องปรับ

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเราชวนฟังข้อมูลให้มากขึ้นอย่างรอบด้าน

หลังจากเราอ่านข้อมูลนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น  คุณคิดอย่างไร ทีมงานมีการสังเคราะห์ ภาพความน่าจะเป็นหรือฉากทัศน์ เพื่อจำลองว่าแบบไหนที่ อยากจะเห็นหรืออยากจะให้เป็น ซึ่งคุณผู้ชมสามารถร่วมเเสดงความคิดเห็น ด้วยการเลือกจากภาพตั้งต้น 3 ภาพ

ฉากทัศน์ที่ 1 ป่าสาคู อนุรักษ์สู่ขุมทรัพย์ชุมชน

เน้นจัดการป่าสาคูเพื่อการอนุรักษ์และ สร้างเศรษฐกิจชุมชน โดยร่วมกันดูแลรักษาป่าสาคูที่เหลืออยู่ให้เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย 

โดยใช้งานวิจัยมาช่วยในการจัดการทรัพยากรให้มีคุณภาพและมีคุณค่า

ซึ่งหน่วยงานท้องถิ่นและสถาบันวิชาการต้องส่งเสริมเรื่องของการปลูกและการเรียนรู้ร่วมกันตั้งแต่ความรู้ขยายเพาะพันธุ์ต้นกล้าในเขตภาคใต้  พัฒนากระบวนการผลิตและการแปรรูปแป้งให้ได้มาตรฐาน พร้อมยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ ผลักดันให้เกิดแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรในชุมชน ต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ฉากทัศน์นี้ ต้องเจอกับข้อท้าทายกับสถานการณ์ป่าสาคูที่มีอยู่อย่างจำกัดจากนโยบายของการพัฒนา  ทำให้เราต้องเจอกับความเสี่ยงปริมาณของผลผลิตที่ลดลงไม่สามารถควบคุมได้  ซึ่งทำให้ต้องรับมือสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนทั้งจากน้ำท่วมและภัยแล้งมากขึ้น  ซึ่งทั้งหน่วยงานรัฐต้องวางแผนการบริหารจัดการน้ำกับการผลิตที่สามารถให้เกษตรกรและผู้ประกอบการทั้งระบบอยู่รอดได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ฉากทัศน์ที่ 2  ป่าสาคู: แหล่งอาหารสําหรับอนาคต  

เน้นพัฒนาป่าสาคูเพื่อเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง ตอบสนองทิศทางอาหารแห่งอนาคต เพราะป่าสาคู เป็นแหล่งผลิตแป้งและ “ด้วงสาคู” ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จับต้องได้ในราคาที่เข้าถึง และสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพอีกหลายชนิด 

ซึ่งฉากทัศน์นี้ต้องร่วมมือกับทางสถาบันวิชาการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยในการเพิ่มผลผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและร่นระยะเวลาเพาะปลูก และแนวทางการบริหารจัดการอย่างครบวงจร  ให้สามารถได้ผลผลิตตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีอยู่ทั่วโลก  ผู้ประกอบการ ก้าวทันเทคโนโลยีและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด 

รวมถึงนำระบบเทคโนโลยีมาจัดทำฐานข้อมูลป่าสาคู ประเมินและติดตามผลความเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ 

แต่ฉากทัศน์นี้  ไม่ง่ายต้องใช้เวลา ทั้งเกษตรกรไปจนถึงผู้ประกอบการต้องปรับตัวและเพิ่มทักษะใหม่ทั้งระบบ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการหนุนเสริมจากทุกภาคส่วน ทั้งจังหวัดและภาคเกษตร พาณิชย์ในการเชื่อมต่อและบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นที่ยอมรับและอยู่ในมาตรฐาน

ฉากทัศน์ที่ 3  ป่าสาคู : จัดการป่าชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน

เน้นการพัฒนาจัดการป่าสาคูอย่างมีส่วนร่วม สอดคล้องกับกระแสการพัฒนาที่ทั่วโลกให้ความสนใจกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยดูแลระบบนิเวศ-เกษตร และอาชีพอื่นๆ ทั้งระบบ

มีการจัดโซนนิ่งและกติกาการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของชุมชน บริหารจัดการทรัพยากรให้สมดุลและเกื้อกูล เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนบนหลักการ “ป่ายั่งยืน ชุมชนได้ประโยชน์” 

ซึ่งฉากทัศน์นี้ เกษตรกรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องปรับตัวคิดและตัดสินใจร่วมกันกระจายอำนาจการตัดสินใจจากท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับความต้องการประชาชนและบริบทในพื้นที่  ซึ่งอาจจะใช้เวลา แต่จะมีความยั่งยืนในระยะยาว 

ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการงบประมาณและสนับสนุนจากรัฐและเอกชนรวมถึงชุมชนออกแบบการใช้ประโยชน์จัดการป่าชุมชน ในบริบทที่หลากหลายได้  ซึ่งต้องอาศัยการบูรณาการทำงานร่วมทุกภาคส่วน

คุณผู้อ่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและเลือกภาพอนาคตนี้ได้ ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ