“ถ้ารัฐบาลพม่าต้องการสันติภาพ พวกเขาต้องยุติปฏิบัติการรุกคืบด้านทหารในเขตหยุดยิงรัฐฉาน” 15 ตุลาคม 2558 ได้มีรายงานจากนักข่าพลเมืองฉาน รายงานจากกรุงเนปิดอ ประเทศเมียนมา ว่ามีพิธีลงนามหยุดยิงทั่วประเทศระหว่างรัฐบาลเมียนมากับตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์บางส่วน
และในเวลาต่อมามีแถลงการณ์จากองค์กรชุมชนรัฐฉาน ถึงความกังวลใจ กรณีที่ยังมีการปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาลทหารพม่าอยู่ในเขตหยุดิย่งรัฐฉานทั้งสี่เมืองตอนกลางของรัฐ ซึ่งส่งผลให้ชาวบเานกว่า 1,500 คน ต้องอพยพออกจากที่อยู่
แถลงการณ์จากองค์กรชุมชนรัฐฉาน
ถ้ารัฐบาลพม่าต้องการสันติภาพ พวกเขาต้องยุติปฏิบัติการรุกคืบด้านทหารในเขตหยุดยิงรัฐฉาน องค์กรชุมชนรัฐฉาน (Community Based Organisations – CBOs) กังวลอย่างยิ่งกับปฏิบัติการเชิงรุกของทหาร รัฐบาลพม่าในเขตหยุดยิงรัฐฉานทั้งสี่เมืองตอนกลางของรัฐ ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 1,500 คนต้องอพยพหลบหนีไปแล้ว ในวันที่ 6 ตุลาคม 2558 กองทัพพม่าเปิ ดฉากโจมตีครั้งใหญ่ในพื้นที่ของพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (Shan State Progress Party)/กองทัพรัฐฉาน (Shan State Army) (SSPP/SSA) เขตเมืองสู้และเมืองนอง มีการส่งทหาร 10 กองพันเข้า ไปสู้รบอย่างหนักหน่วง ส่งผลให้ราษฎรกว่า 1,500 คนต้องละทิ้งบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาและหลบหนีไป อีกกว่า 1,000 คน ต้องไปพักอาศัยกับชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้ ๆ กัน อีกหลายร้อยไปหลบซ่อนตามป่าเขา ผู้หญิงสี่คนได้คลอดลูกระหว่างการ หลบซ่อนตัว คนหนึ่งต้องคลอดในถ้า ผู้อพยพเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคุ้มครอง อย่างเร่งด่วน ที่ผ่านมาพวกเขายังไม่ได้เก็บเกี่ยวพืชผล ทำให้ต้องประสบกับวิกฤตด้านอาหารแน่นอน
ในวันที่ 11 ตุลาคม 2558 กองทัพพม่าเริ่มยิงปืนใหญ่ถล่มกองบัญชาการของกลุ่ม SSPP/SSA ที่บ้านไฮ เขตเมือง เกซี ทำให้เกิดภัยคุกคามต่อพลเรือนนับพัน ๆ คน ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ยังมีการระดมกำลังทหารในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก หลายร้อยนาย ทำให้เกิดความหวาดกลัวว่าจะมีการปฏิบัติการโจมตีในพื้นราบเร็ว ๆ นี้ ในวันนี้ กองทัพพม่าเริ่มเปิดฉาก โจมตี SSPP/SSA ในเขตเมืองต้างยาน การโจมตีเหล่านี้เสี่ยงจะทำให้คนต้องอพยพออกไปเพิ่มขึ้นในเร็ว ๆ นี้องค์กรชุมชนรัฐฉานของประณามอย่างหนักแน่นต่อปฏิบัติการเชิงรุกครั้งนี้ รวมทั้งการยิงโจมตีพลเรือนโดยไม่ เลือกเป้าหมาย และการบังคับให้พลเรือนต้องละทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนเอง การโจมตีเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการทางทหารอย่างเป็นระบบในช่วงหลายปี ที่ผ่านมาของรัฐบาลพม่า ทั้งนี้เพื่อยึดครองพื้นที่ของกลุ่ม SSPP/SSA นับเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้อยู่และมีการลงนามตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 การเปิดฉากโจมตีครั้งใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานก่อนจะมีการลงนามความตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (Nationwide Ceasefire Agreement – NCA) แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพม่าไม่สนใจการเจรจาทางการเมือง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง และยังคงเดินหน้าตามยุทธศาสตร์เหมือนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยใช้กำลังยึดและปกครองดินแดนของกลุ่มชาติพันธุ์กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ความตกลงหยุดยิงทั่วประเทศที่ยังไม่ได้ข้อสรุปเป็นเพียงยุทธิวิธีแบ่งแยกและปกครอง มีการยอมสงบศึกกับกลุ่มติดอาวุธบางกลุ่ม แต่เร่งเดินหน้าปราบปรามอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะไม่ช่วยให้เกิดสันติภาพ ด้วยเหตุดังกล่าว ถ้าประชาคมนานาชาติต้องการให้เกิดสันติภาพอย่างแท้จริงในพม่า ต้องมีการประณามอย่าง เร่งด่วนต่อปฏิบัติการโจมตีครั้งใหม่นี้ และกดดันให้รัฐบาลพม่ายุติการรุกคืบเข้าไปในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ และให้ถอนทหาร ออกจากบริเวณนั้นให้หมด องค์กรชุมชนรัฐฉานกระตุ้นแหล่งทุนระหว่างประเทศ ให้จัดให้มีความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วนกับ ผู้ที่ต้องอพยพหลบหนีในตอนกลางของรัฐฉาน โดยเป็นการจัดสรรความช่วยเหลือผ่านองค์กรที่ตั้งอยู่ในชุมชนต่าง ๆ
เห็นชอบโดยองค์กรชุมชนรัฐฉานประกอบด้วย
1) Shan Human Rights Foundation
2) Shan State Development Foundation
3) Shan Sapawa Environmental Organization
4) Shan Youth Power
5) Shan Women’s Action Network
6) Worker Solidarity Association
7) Migrant Worker Federation
8) Shan Literature and Culture Society (Chiang Mai)
9) Shan Literature and Culture Association in Mong Su
10) Shan Youth Network Group
11) Shan Youth Power Group
12) Organizations in Toom toan tai
13) Shan Refugee Committee
14) Koong Jor Refugee Committee
15) Shan Youth Organization 1
6) Jao Khur Tai Organization
17) Shan Students’ Union Chiangmai
18) Shan Farmers’ Network
ขณะที่ความเคลื่อนไหวในประเทศไทย ช่วงค่ำวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 เวลา 19.00 น. ที่วัดกู่เต้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ชุมชนไทใหญ่จะจัดพิธีจุดเทียนไว้อาลัยแด่ผู้ที่เสียชีวิต จากการโจมตีของกองทัพเมียนมาร์ครั้งนี้ด้วย