“สุภิญญา” แนะก.ICT เหลือพื้นที่ให้คนแสดงความคิดเห็น หลังมีกระแส ก.ICT เสนอบล็อก twitter

“สุภิญญา” แนะก.ICT เหลือพื้นที่ให้คนแสดงความคิดเห็น หลังมีกระแส ก.ICT เสนอบล็อก twitter

"สุภิญญา" @Supinya แนะก.ไอซีที เหลือพื้นที่ให้คนแสดงเสรีภาพ-ความคิดเห็น หลังปลัดไอซีที เสนอบล็อก twitter

30ม.ค.55- หลังจากมีกระแสข่าวว่าเว็บไซท์ Twitter ได้ประกาศจะเพิ่มความเข้มงวดในการปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมนั้น ทำให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย รับลูกและรับหนังสือสนับสนุนและยินดีให้ความร่วมมือกันทวิตเตอร์นั้น สุุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.คุ้มครองผู้บีรโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ใช้ทวิตเตอร์ @Supinya เห็นว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะมุมหนึ่งจะเจอแรงต้านจากคนที่ใช้ ซึ่งต้องดูว่าการควบคุมกำกับจะทำให้จริงหรือไม่ ใช้ต้นทุนที่สูงเกินกว่าเหตุหรือไม่  และท้ายสุดจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของประชาชนในการสื่อสารถึงกันหรือไม่ หรือว่าจะมีวิธีอื่นที่จะดีกว่าการที่รัฐจะปิดหรือบล็อก ซึ่งยังไม่เห็นความชัดเจนในแนวทางของกระทรวงไอซีที

แต่ส่วนตัวคิดว่าหากปิดบล็อกแบบทั่วไป ก็จะเป็นนโยบายที่ไม่น่าภูมิใจ และคิดว่าอาจจะเป็นนโยบายที่ได้รับแรงต้านหรือไม่ เพราะส่วนตัวที่ใช้ทวิตเตอร์ ยังไม่เห็นว่าการใช้ทวิตเตอร์ยังไม่เห็นว่าจะก่อให้เกิดผลลบมากเท่าไร เพราะเป็นสิ่งที่มีความกระจายตัวสูงมากว่าเฟสบุ๊ค ที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนได้มากกว่า แต่ทวิตเตอร์จะใช้กระจายข่าวได้เร็วมากกว่า

ในหลักการใช้เราควรจะสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้คนใช้ ไม่ให้เชื่ออะไรทุกอย่าง แต่ไม่ใช่การเข้าไปปิดกั้นเว็บไซท์ หรือบล็อกข้อมูลใดๆ ซึ่งตามหลักธรรมชาติแล้วการปิดกั้นมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเจอแรงต้าน ถ้าเป็นการกำกับในแบบให้ดูแลกันเองก็ยังพอรับได้ แต่หากให้รัฐเข้ามามอนิเตอร์ หรือมาสอดส่องพฤติกรรมของประชาชน ซี่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดความกลัว และไม่กล้าแสดงชื่อจริงในการเล่น ก็อาจทำให้บรรยากาศในสังคมเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ส่วนตัวยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะทำไปไกลถึงแค่ไหนในเรื่องนี้ แต่ตามหลักธรรมชาติแล้ว เมื่อไหร่ยิ่งคุมมากก็จะยิ่งเจอแรงต้านมาก และวันหนึ่งอาจส่งผลรุนแรงจนทำให้ระบบทั้งหมดล่มสลายก็เป็นไปได้ และอาจทำให้การพัฒนาไอซีที หรือการพัฒนาสังคม ไม่ไปข้างหน้า และจะเดินถอยหลังจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้น รัฐบาลควรคิดให้ดีกับเรื่องนี้

ปัจจุบัน เห็นว่า สังคมไทยใช้ทวิตเตอร์นั้น ไม่ได้ส่งผลรุนแรงจนถึงขั้นต้องมีการปิดกั้นในแบบที่รัฐบาลจะต้องทำจริงจัง ต่อให้บางคนเขียนอะไรลงไป ซึ่งดูเหมือนไร้สาระสุดๆ แต่สุดท้ายก็อาจเป็นไฟไหม้ฟาง แต่คนที่มีคนติดตาม หรือ ฟอร์โล่เวอร์จำนวนมาก ก็ต้องเป็นเรื่องของการเรียกร้องจริยธรรมของทั้งเจ้าของชื่อ และคนติดตาม ว่าควรต้องระวังเป็น 2 เท่า หรือมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อน แต่ไม่ใช่เป็นการปิดหรือควบคุมทั้งระบบ เพราะมันเหมือนเป็นสนามบ แล้วทุกคนมีสิทธิ์บ่น หรือตะโกน แต่หากรัฐไปปิดพื้นที่ ก็จะทำให้คนที่เคยใช้มันได้รับผลกระทบ ซึ่งในแง่ของทวิตเตอร์มีข้อเสียอย่างเดียวในแง่การกระพือข่าวลืม แต่สักพักมันก็จะหายไป ถ้าเราสามารถรณงค์ให้ทุกคนเท่าทันได้ ก็จะดีกว่าการเอาเงินไปลงทุนเพื่อหาวิธีปิดกั้นระบบ เพราะอาจเหตุการณ์ที่นึกไม่ถึงก็ได้

สำหรับประเทศไทย ส่วนตัวคิดว่าตอนนี้รัฐบาลใช้มาตรการเข้มข้นระดับหนึ่งแล้ว ในการคุมเว็บ และหลายเว็บก็ถูกบลอ็ก พื้นที่เว็บบอร์ดหลายเว็บแทบไม่เหลือแล้ว หนังสือพิมพ์ต่างๆ แทบไม่มีพื้นที่เว็บบอร์ด แม้แต่ประชาไท ก็ตัดสินใจปิดเว็บบอร์ดไปแล้ว ซึ่งเว็บบอร์ดก็กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในสังคมได้อีกแล้ว และมันก็ขยับมาที่เฟสบุ๊คที่มีขบวนการล่าแม่มด คนโพสต์ก็จะถูกดำเนืนการ คนก็จะไม่กล้าอีก  แต่ที่นี่ก็ขยับมาเป็นทวิตเตอร์อีก ทั้งที่จริงๆ มันเป็นพื้นที่กระจัดจาย และไม่สามารถรวมมวลชนอะไรได้จากทวิตเตอร์เลย แต่มันเป็นที่ที่ทุกคนคลายความอึดอัด
 
"ไหนๆ ก็ปิดเว็บบอร์ด ปิดเว็บไปตั้งเยอะ แล้ว ก็เหลือทวิตเตอร์ไว้สักคน เพื่อให้คนได้มีพื้นที่ไว้บ่น หรือตะโกนเมื่ออึดอัด อย่างน้อยเค้ามีฟอร์โล่เวอร์สัก 100 คน เค้าก็ยังรู้สึกว่ามีพื้นที่ ส่วนตัวมองว่าไม่ควรจะเข้มมาก เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อันตรายขนาดนั้น ให้คนมีพื้นที่ดีกว่าไม่มีพื้นที่ แต่ไปรวมตัวกันข้างนอกและรวมตัวทำอะไรกันแผลงๆ บ้าง รัฐบาลไทยก็คุมอะไรมากเยอะแล้ว ถ้าคุมมากกว่านี้ อาจเป็นผลสะท้อนกลับอย่างที่เราคิดไม่ได้ถึงก็ได้ เพราะนี่คือการเล่นกับกระแสมวลชน กระแสคนรุ่นใหมที่พวกเค้ารู้สึกว่ารัก และหวงแหนสิทธิเสรีภาพของพวกเค้า ถ้าจะใช้งบประมาณ ควรใช้ในแง่การรู้เท่าทันสื่อดีกว่า" นางสาวสุภิญญา กล่าว

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ