ทิศทางทีวีชุมชน จากมุมมองสุภิญญา กลางณรงค์

ทิศทางทีวีชุมชน จากมุมมองสุภิญญา กลางณรงค์

บันทึกบทสนทนาในวง “เปิดห้องเรียนทีวีชุมชน เรียนรู้เพื่อก้าวไปข้างหน้าสู่สื่อสาธารณะชุมชน” ส่วนหนึ่งของการประชุมเครือข่ายสื่อพลเมือง  ไทยพีบีเอส วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ทีวีชุมชนกับมุมมองของสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.

ถาม :  เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของทีวีชุมชน  ในเชิงนโยบายและระบบที่กำลังเปลี่ยนผ่าน ทั้งตัวคนทำงานเองและกสทช.มีการปรับตัวกันอย่างไรบ้าง? 

สุภิญญา : ยอมรับว่าแผนเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลดีเลย์ไปทุกสเต็ป หมายถึงว่า มันล่าช้ากว่าแผน Road Mapทั้งสิ้น จริงๆทีวีบริการสาธารณะต้องออกก่อน ตอนนี้ยังไม่ได้จัดสรรเลยสักคลื่น ชุมชนคืออยู่ในแผนหลังจากสาธารณะธุรกิจและชุมชน ตอนนี้ภาคที่ยังไม่ได้แสวงหากำไรยังไม่ได้มีการจัดสรรเพิ่มเติม แต่ว่าได้จัดสรรในภาคธุรกิจแล้ว 24 ช่องที่มีการประมูลไปปลายปี 2556 และเริ่มออกอากาศแล้ว 

ตอนนี้ปัญหาอุปสรรมี 2-3 เรื่องว่าทำไมแผนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวีถึงมันจะส่งผลถึงการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนและทีวีสาธารณะล่าช้า คือภาพรวมทั้งหมดที่ผ่านมาเราก็ยอมรับว่ามองโลกให้แง่ดีมากเกินไปที่วาง Road Map มาอย่างกระชันชิดมาก เพราะว่าแผนแม่บทประกาศใช้ประมาณปี 2555 แล้ว ปี 2556 จะให้เกิดทุกอย่างเลยก็ไม่สามารถทำได้ และแผนการวางโครงข่ายด้านเทคนิคก็เป็นไปตามแผนครึ่งหนึ่ง อีกประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ให้บริการโครงข่ายก็ยังมีปัญหาอยู่ เพราะว่าทีวีภาคพื้นดินมันมีอุปสรรคนิดนึงในแง่ที่ว่ามันไม่สามารถยิงสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมแล้วก็ลงมาดูได้เลย แต่ว่ามันต้องวางโครงข่ายที่ไปตามเสาภาคพื้นแล้วก็ต้องรอให้คนรับได้ตามโครงการแจกคูปองของเรา ซึ่งหลายพื้นที่อย่างเช่น จ.อุบลราชธานี กับจ.พะเยาก็ยังไม่ได้รับคูปองเฟตแรก เพราะว่าสัญญาณยังไม่พร้อมนั้นหมายความว่า ถ้ายังไม่ได้รับคูปองหรือยังดูทีวีดิจิตอลไม่ได้ การขึ้นของทีวีบริการชุมนุมภาคพื้นดินก็เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยนั้นคือประการหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วคลื่นมันมีอยู่ตลอดเวลาพร้อมจะถูกจัดสรร เพราะคลื่นมันอยู่ในอากาศ ประเด็นก็คือคนที่จะนำพาคลื่นไปมันยังไม่มีความพร้อม

ซึ่ง กสทช. ตอนนี้เราแยกสิทธิ์ในการออกใบอนุญาตระหว่างคนที่เป็นผู้ประกอบการช่องรายการแยกออกจากผู้ให้บริการโครงข่าย ถ้าให้เปรียบเทียบคือ เหมือนขบวนรถไฟกับตัวรางรถไฟ กับสถานีรถไฟเราแยกจากกัน ผู้ที่ประมูลช่องทั้งหมดหรือผู้ที่จะขอทีวีชุมชนในอนาคตก็จะคล้ายๆเป็นขบวนรถไฟได้สิทธิ์ในการวิ่งได้สิทธิ์วิ่งในรางนั้น แต่ถ้าไม่มีคนวางรางรถไฟให้หรือว่าสร้างชานชาลาสถานีให้คลื่นก็ไปไม่ได้ เราแยกใบอนุญาตออกจากกันและตอนนี้เราก็ให้สิทธิ์รัฐ 4 รายเป็นคนวางโครงข่ายตรงนี้หรือว่าวางรางรถไฟ(คลื่นทีวีดิจิตอล) ก็คือไทยพีบีเอส ซึ่งทราบว่าทุ่มงบประมาณไปเยอะมากในการที่เอาเงินไปลงทุนในเรื่องของโครงข่าย ซึ่งไม่แน่ใจว่ากระทบเรื่องอื่นๆ หรือป่าว แต่ก็ถือว่าเป็นคุณูปการมากๆ ในการที่เป็นผู้ลงทุนตรงนี้ เพราะว่าไม่มีคนลงทุนวางโครงข่ายตรงนี้ทีวีดิจิตอลก็ไม่เกิด ภาคพื้นดินก็ไม่เกิด อันที่สองคือ ททบ. 5 และกรมประชาสัมพันธ์ แต่ตอนนี้มี ททบ. 5 กับไทยพีบีเอสที่เป็นไปตามแผน อสมท. กับกรมประชาสัมพันธ์ ยังจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ไม่เสร็จเลย เพราะว่ามีปัญหาภายในของหน่วยงานเองเลยทำให้แผนการวางโครงข่ายถูกเลื่อนไป 

แต่สิ่งที่เรากำลังจะเร่งก็คือว่าปีหน้า 2558 คงจะกวดขันในเรื่องของโครงข่ายให้เร็วขึ้นขณะเดียวกันก็คงต้องมีการเริ่มพูดคุยศึกษาประเด็นเรื่องทีวีชุมชนอย่างเป็นทางการมากขึ้น ซึ่งปีนี้ 2557 ก็คุยกันว่าปีหน้า 2558 จะร่วมกับ ITU สหภาพโทรคมนาคมสากล ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาเราในการอออกแบบเรื่องคลื่นความถี่เรื่องดิจิตอลมาตลอดก็จะดึงเข้ามา และจากองค์กรยูเนสโก้ก็อาจจะทำโครงการรวมกันโดยเริ่มจากการที่จะศึกษาก่อนจากหลักคิดทฤษฎีข้อเท็จจริง และคงเอาประสบการณ์ตรงนี้ผนวกเข้าไปอาจจะนำไปสู่การมีโครงทดลองบางอย่างในขณะที่รอครัวเรือนเข้าถึงด้วย เพราะว่าตอนนี้แจกคูปองไป 4 ล้านกว่าใบ แต่พึ่งนำไปแลกประมาณล้านกว่าใบซึ่งถือว่าน้อย นั้นหมายความว่าคนอาจจะไปดูดาวเทียมดีกว่า อาจจะไม่อยากตื่นตัวดูภาคพื้นดิน หรือแลกแล้วสัญญาณติดๆดับๆ เพราะว่าตอนนี้ยังมีความไม่เสถียร ซึ่งปัญหาใหญ่ของ กสทช. ตอนนี้ในเรื่องของทีวีดิติตอล 

เพราะฉะนั้นคีย์สำคัญตอนนี้ที่เราจะต้องทำให้เกิดก่อนก็คือพวก Infrastructure ทั้งหลายเหล่านี้ต้องสร้างรางรถไฟก่อน ขณะเดียวกันคนที่ทำเนื้อหาในพื้นที่ก็คงสุกงอกเต็มที่แล้ว เมื่อไหร่งานเชิงวิศวกรรมพร้อมก็คงต้องได้ไปเปิดพื้นที่ แต่ว่าเงื่อนไขมันก็ดันมาผูกพันกับการใช้คลื่นในอนาล็อคเดิมที่จะเอามาด้วย ท่านนทีคงพูดได้แล้วในช่วงเช้า แต่ทางไทยพีบีเอสเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะยุติอนาล็อคให้เร็วเพื่อที่จะเอาคลื่นนั้นมาจัดสรรให้กับทีวีชุมชนต่อไป แต่เราคิดว่าก่อนที่จะถึง Full Scale แบบนั้น สิ่งที่คนอยากเห็นก็คือ การเริ่มทดลองทดสอบหรือการพูดคุยเรื่องนี้ ซึ่งปีหน้า 2558 ก็คงได้ทำเรื่องนี้เต็มตัว หมายถึงว่าคงมีเวทีที่ กสทช. เป็นเจ้าภาพและก็อาจจะนำไปสู่ความร่วมมือกับไทยพีบีเอสหรือว่าอื่นๆ รวมทั้งโมเดลต่างๆที่ทุกวันนี้ทีวีพะเยา และทีวีชุมชนอุบลฯ ได้ทำขึ้นมาแล้วก็คงเป็นประโยชน์ในการที่จะได้ผลักดันต่อไป 

ส่วนในเรื่องของงบประมาณคงต้องตั้งหลักกันอีกที เพราะว่าตามเจตนารมณ์เดิมก็คือจะต้องเอาเงินกองทุนที่ได้จากเงินประมูลมาจัดสรรให้กับวิทยุชุมชนหรือทีวีชุมชน แต่ตอนนี้มีการแก้กฎหมาย กสทช. อยู่ ก็คือเงินทั้งหมดของกสทช.ตอนี้อาจจะไม่ใช่แค่กองทุน อาจจะเป็นค่าธรรมเนียมทั้งหลาย เพราะ กสทช.มีปัญหาโดนวิจารณ์เรื่องธรรมภิบาลเรื่องการใช้เงินมากซึ่งก็จริง เพราะฉะนั้นสุดท้ายเงินทั้งหมดอาจจะกลับเข้าสู่คลังแล้วต้องไปผ่านกระบวนการสภา ฉะนั้นถ้าต่อไปจะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนภาคชุมชนทีวีชุมชนก็คงต้องให้เป็นนโนบายส่วนหนึ่งของรัฐบาลใหม่ด้วยที่จะเลือกตั้งเข้ามา และคงจะต้องชูเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ และก็การเงินส่วนหนึ่งที่ กสทช. จัดเก็บได้เข้าคลังนำมาจัดสรรให้กับทีวีชุมชนในอนาคต เหล่านี้เป็นภาพรวมการเปลี่ยนผ่านมันเป็นช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างใหญ่พอดี คือเรากำลังร่างรัฐธรรมนูญกัน และองค์กร กสทช. ก็คงมีการถูกปรับเปลี่ยนไม่มากก็น้อย 

แต่อย่างไรก็ฝากทุกท่านว่าคงต้องยืนยันสิทธิ์ของเราที่อยู่ในรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนเรื่องคลื่นความถี่ไว้ตรงนี้ก็คงต้องเฝ้ารอดู และการย้ำว่าคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะเราต้องการจัดสรรทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม ตอนนี้ผ่านมากว่า 3 ปีแล้วของการมี กสทช. ภาคธุรกิจได้ไปแล้วทีนี้มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกกลายเป็นว่าสาธารณะกับชุมชนก็จะรอเก้อหรือป่าว แต่ก็น้อมรับว่าสามปีที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้จัดสรรให้สาธารณะชุมชน แต่ด้วยปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้หลายประการด้วยและก็แผนเราก็วางไว้แบบ 2 ปีมันก็อุดมคติเกินไป ตอนนี้ทีวีสาธารณะเตรียมขอแล้วแต่ว่ายังออกอากาศไม่ได้เพราะไม่มีโครงข่ายให้มันเต็มศักยภาพอันนี้คงต้องเร่งแก้ก่อน ปมแรกเรื่องของโครงข่ายหลังจากนั้นน่าจะได้เดินเครื่องต่อในเรื่องของสิทธิที่จะมาขอใบอนุญาตต่อไป

 

(ภาพประกอบ ผลงานจาก ดีฟเซาท์ http://www.deepsouthwatch.org/node/6459) 

คำถาม : คืออาจจะมีคนทำงานส่วนนึงไม่ได้คิดถึงเรื่องเทคนิคอะไรมากมาย และการเปลี่ยนผ่านที่มันผูกพันโยงใยทั้งระบบมันส่งผลโดยตรงกับการทำงานของคนในพื้นที่ทีนี้จะเป็นไปได้มั้ยที่จะมีการจัดการแยกส่วนไปก่อน?

สุภิญญา : อย่างที่บอกว่าชุมชนบางที่ก็ทำไปแล้วก็ออกทางเคเบิ้ลท้องถิ่น ออกทางออนไลน์หรืออะไรน่ารักๆในชุมชนอันนี้คือเขาก็ทำอยู่แล้ว โดยที่ไม่ได้สนับสนุนจากภาครัฐ เพราะว่าเคเบิ้ลทีวีเป็นสื่อธุรกิจเป็นสื่อเอกชนถ้าเขาให้ออกฟรีหรือมีเงินจ่ายค่าเช่าเขาก็ออกได้ แต่ภาคพื้นที่ดินที่ กสทช. กำลังผลักดันระบบดิจิตอลเราถือว่าเป็นบริการขั้นพื้นฐานของรัฐที่เรียกว่าฟรีทีวี คอนเซ็ปมันก็จะต่างจากที่เขาไปออกทางเคเบิ้ลหรือว่าดาวเทียม ดาวเทียมถ้าเขาไปออกก็ดูได้เลย แต่ว่าดาวเทียมมันก็จะออกทั้งประเทศ ซึ่งจะไม่ได้มีลักษณะความเป็นชุมชนในพื้นที่ แต่ก็ไม่แน่บางคนก็อาจจะคิดว่าดีก็ได้ที่เขาได้ดูเรื่องราวของคนพะเยาที่สงขลา แต่อย่างที่บอกว่าดาวเทียมกับเคเบิ้ลทำได้เลยแต่ว่ามันเป็นสื่อเอกชน พูดง่ายๆว่าใครจะไปใช้พื้นที่เขาก็ต้องจ่ายตังค์เช่าเขา ถ้าชุมชนมีตังค์จ่ายก็ทำได้เลย 

แต่ถ้าจะมาใช้เงินกองทุนก็ต้องกลับเข้ามาโจทย์เดิมว่าจะต้องทำเป็นวาะแห่งชาติที่จะต้องขอเงินใช้ เหมือนอย่างตอนนี้ที่ กสทช. ใช้เงินจากการประมูลแจกคูปองเราก็ไม่ได้ตัดสินใจเองไม่ได้แล้ว คือเราก็ต้องทำเรื่องขออนุมัติจาก คสช. เพราะว่าการบริหารจัดการเงินทั้งหมดที่ได้จากการประมูลตอนนี้เข้าคลังไปแล้ว เข้าคสช.ไปแล้ว เพราะฉะนั้นในอนาคตคือ กสทช. อาจจะเป็นเจ้าภาพเสนอได้ถ้ายังได้ทำงานอยู่ แต่ว่าคนอนุมัติก็คงยังเป็นรัฐบาลถึงได้บอกว่ามันคงต้องยกระดับให้เป็นเรื่องวาระแห่งชาติที่จะเอาเงินมาสนับสนุนแต่ถามว่าทำได้มั้ย ตอนนี้ถ้าเป็นกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ก็ทำได้เลย เพราะว่าเคเบิ้ลกับดาวเทียมกฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นกิจการที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ คือไม่ต้องมีการแข่งขันเหมือนภาคพื้นดินที่ใช่คลื่น แต่ว่าก็ต้องมาขอใบอนุญาตคือผู้ประกอบการเคเบิ้ลท้องถิ่นก็ต้องมาขอใบอนุญาต กสทช. แต่เขาจะไปแบ่ง Airtime อะไรให้ชุมชนเป็นเรื่องที่ทำได้อยู่แล้ว 

คำถาม : ที่ถามคือแอบหวังแทนคนทำงานว่าจะมีทางไหนที่ทำให้กระบวนการมันจะไปได้รวดเร็วขึ้นมากกว่านี้?

สุภิญญา : อย่างที่บอกตอนนี้ต้องหารือไม่ใช่แค่เล็กกูเลเตอร์แล้ว ก็ต้องไปหารือกับคนที่มีอำนาจบริหารด้วย เพราะ กสทช. หลักๆ ทำหน้าที่ตอนนี้ออกกฎกติกาและก็ออกใบอนุญาต แต่ตอนนี้ไม่มีหน้าที่เรื่องสนับสนุนคือไม่มีหน้าที่เรื่องของการบริหารเงินโดยตรงแล้ว แต่ว่าถ้าให้ออกกติกา จริงๆออกกติกาก็ออกรอไว้แล้ว ใบอนุญาตจริงๆจะออกก็ได้ แต่ว่าออกไปมันก็ออกอากาศไม่ได้เพราะว่ายังไม่มีโครงข่าย แต่ถ้าส่วนในเรื่องเงิน กสทช. เองก็สามารถรวมกันแล้วเสนอไอเดียได้หมายถึงเสนอเป็นข้อเสนอได้ แต่ว่าการตัดสินใจเรื่องงบประมาณตอนนี้กฎหมายมันเปลี่ยนก็คือว่ามันไม่ได้อยู่ในอำนาจของ กสทช. ที่จะใช้เงินซึ่งมาจากการประมูลแล้ว

คำถาม : ถ้าเราจะเดินหน้าต่ออย่างไรโดยที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง?

สุภิญญา : จริงๆ ย้ำอีกทีในมุมของ Road Map กสทช. และแผนประกาศทั้งหมด ก็วางไว้ชัดเจนแล้วว่าการจัดสรรคลื่นภาคพื้นดิน 48 ช่อง 12 ช่องถูกจองให้เป็นทีวีบริการสาธารณะ 24 เป็นของธุรกิจและ 12 เป็นบริการของชุมชน และ12 ยังขยายย่อยตาม Size ของเสาส่งสัญญาณคืออาจจะแตกได้เป็นอีกร้อยๆเลยตามศักยภาพ เพียงแต่ว่าตอนนี้ที่เป็นเดทล็อคอยู่อย่างที่บอกว่ามันอยู่ในยุคของการสร้างทางอยู่งานวิศกรรมยังนำหน้าไม่มีตรงนี้มันเลยเกิดไม่ได้ 

ถามว่าทำไมภาคธุรกิจ 24 ช่องมันเกิดได้ก่อน เพราะว่าเขาลงทุนเองหมดเลย ทุกอย่างตรงนี้ที่เป็นธุรกิจทีวีดิจิตอลเอกชน 24 รายลงทุนเองหมดเลย ลงทุนประมูลคลื่น 5 หมื่นล้าน ลงทุนจ้างผู้ในบริการโครงข่ายเดือนละ 9 ล้าน อย่างช่อง 3 ต้องจ่ายให้ไทยพีบีเอส เดือนละ 8-9 ล้านถ้าเป็นไฮเดฟ ถ้าเป็นช่อง SD ก็เดือนละ 4-5 ล้าน คือค่าโครงข่ายค่าวางเสาที่ทำไมเขาส่งได้ก็คือว่าเขาจ่ายอยู่ 2-3 ต้นทุนหลักก็คือว่าค่าใช้คลื่นเขาก็จ่ายร่วมกัน 24 ช่อง 50 หมื่นกว่าล้าน ค่าเช่าโครงข่ายเดือนละ 4-9 ล้านทุกเดือน และก็ค่าขึ้นดาวเทียม(มัสแคร์ลี่)รายละล้านถึงสองล้านต่อเดือน และก็ค่าโปรดักชั่นทั้งหมด ทำไมธุรกิจมันถึงไปได้เร็ว เพราะว่าเขาก็มีเงินกู้ตรงนี้ของเขามาลงทุน ทั้งหมดคือเอกชนลงทุนหมดรัฐไม่ได้ลงทุน กสทช.มีทำหน้าที่เพียงจัดสรรคลื่น และก็ให้มาประมูลและออกใบอนุญาตให้โครงข่ายทุกอย่างมันดำเนินไปได้ด้วยเม็ดเงินภาคเอกชน 

ทีนี้ภาคสาธารณะกับชุมชน ถ้าต่อไปโครงข่ายพร้อมแล้ว ประเด็นปัญหาคือเรื่องงบประมาณเพราะเราไม่มีเงินเลยต้องมีการสนับสนุนภายนอก ซึ่งจริงๆกฎหมายก็ออกแบบไว้ดีว่า เงิน 5 หมื่นล้านที่กสทช.จัดประมูลแล้วหาเงินรายได้เข้ารัฐมันก็ควรจะต้องกลับมา เพียงแต่ว่าตรงนี้มีจุดหักเหนิดนึงเรื่องของการบริหารงบประมาณซึ่งเขาก็มองว่า กสทช. มีอำนาจมากเกินไป ทั้งออกไปอนุญาตจัดสรรคลื่น เก็บเงินแล้วและเป็นคนให้ทุนเองมันมากเกินไป เราเลยถูกตัดอำนาจเรื่องของการให้ทุน แต่ว่ายังมีอำนาจให้เรื่องของการจัดสรรคลื่น จัดประมูลออกใบอนุญาตเรายังทำอยู่ และ Road Map ก็มีกติกาแล้ว เพียงแต่ว่ามันยัง ซึ่งปัจจัยยังไม่ใช่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องโครงข่ายยังไม่พร้อม เดี๋ยวพอโครงข่ายพร้อมก็เป็นเรื่องของออกใบอนุญาต ซึ่งอันนี้คือความท้าทายและงานของกสทช.ที่ต้องเผชิญพอเราเปิดให้ขอใบอนุญาต ที่จ.พะเยาหรือจ.อุบลฯ ก็อาจจะมีหลายกลุ่มมาขอ เพราะมันอาจจะไม่มีมีแค่กลุ่มคนกลุ่มเดียวของคุณชัยวัฒน์และคุณสุชัยแน่นอน ความยากของกสทช.คือเกณฑ์การวัดที่จะจัดสรรคลื่นให้ใคร 

ถ้าตอนภาคธุรกิจเราใช้การประมูลว่าใครพร้อมจะลงทุนเยอะคนนั้นก็ได้คลื่นไป แต่ว่าสาธารณะกับชุมชนเราจะต้องใช้เกณฑ์บิวตี้คอนเทส หรือคล้ายๆประกวดนางงาม ถ้าดิฉันเป็นกรรมการนางงามคนนึงจะตัดสินจากคนที่ขาสวย หรือว่าจะดูที่คำตอบ อันนี้คือคีร์ที่ต้องสู้กันต่อไป ซึ่งดิฉันเองก็พยายามผลักดันกันตลอดว่าจะต้องมีเกณฑ์ละเอียดอีกอันนึง

ตอนนี้เรามีประกาศอันนึงแล้วที่เป็นกรอบกลาง แต่ถ้าจะให้ดีมันต้องมีเกณฑ์ย่อยอีกอันนึงคือบิวตี้คอนเทส อันนี้จะเป็นงานของกสทช.โดยตรงที่กรองว่า สมมุติมีคนมาขอร้อยรายแต่คลื่นมีอยู่เท่านี้ใครที่มีสิทธิ์จะได้ต้องดูว่ามีผลงานประสบการณ์ ถ้าแบบนี้ชนะเลิศเลยได้มั้ย เพราะว่ายืนยันผลงานชัดเจนก็ควรจะได้สิทธิใบอนุญาตไปเลย 
งานที่ท้าทายของกสทช.ในอนาคตหลังจากที่วางโครงข่ายพร้อมแล้วก็คือการที่เปิดประกวดและวางเกณฑ์ที่จะให้ใครหลังจากนั้นได้ใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความท้าทายก็คือว่าจะทำสถานีให้ยั่งยืนได้อย่างไร ซึ่งตรงนี้ก็ตรงกับ อ.สิขเรส ว่ามันจะต้องมีหลายหน่วยมาช่วยกัน ถึงบอกว่าต้องเป็นนโยบายแห่งชาติ เพราะของอังกฤษก็เป็นนโยบายแห่งชาติ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เพราะว่ามันต้องได้รับการหนุนเสริมจากภาครัฐบาลด้วยในแง่ของโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณและรายละเอียดอื่นๆ ซึ่งก็ต้องสร้างภาคีไปเรื่อยๆ

งานที่ กสทช. จะทำปีหน้า 2558 ซึ่งได้คุยกับบอร์ดนโยบายของทางไทยพีบีเอสแล้วด้วย เราจะทำ MOU ร่วมกันระหว่างบอร์ดงานของกสทช.กับบอร์ดนโยบายของไทยพีบีเอสที่จะทำพิมพ์เขียวขึ้นมาก่อนโดยดึงผู้เกี่ยวข้อง ตัวรัฐบาล กลุ่มโน้นกลุ่มนี้มาลองให้ตกผลึกร่วมกัน เพื่อจะดันแผนไปข้างหน้า แต่เราจำเป็นต้องดึง IPU ยูเนสโก้ พวกนี้มาเพราะว่าเขาก็จะมีเฟรมเวิคที่อ.สิขเรตพูดในภาพรวมมันขึ้นกับเรื่องเทคนิคด้วย

ปีหน้าคงเห็น Road Map ละเอียดชัดเจนขึ้น แต่ส่วนจะเริ่มออกอากาศได้ที่ไหนอย่างไรเดี๋ยวคงต้องนั่งจับเข่าคุยกับไทยพีบีเอสก่อน ซึ่งคิดว่าโครงข่ายของไทยพีบีเอส และศักยภาพของไทยพีบีเอสตอนนี้น่าจะเป็นจุดหลักที่ทำให้เกิดขึ้นเร็ว จริงๆ NBT ก็แสดงความสนใจเพราะเขาก็อยากเป็นโครงข่ายในกับทีวีชุมชนแต่ว่าปัจจุบันเขายังไม่เริ่มเลย เราะฉะนั้นกสทช.ก็คงต้องทำงานร่วมกับไทยพีบีเอสในปีหน้า 2558 เดี๋ยวโครงการชัดเจนขึ้นเมื่อไหร่ก็เชิญเป็นเจ้าภาพที่กสทช.อีกครั้ง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ