EP.4 Locals Voice จากทุนทางวัฒนธรรมสู่การเพิ่มมูลค่า โคมแสนดวงตี้หละปูนปีที่ 11

EP.4 Locals Voice จากทุนทางวัฒนธรรมสู่การเพิ่มมูลค่า โคมแสนดวงตี้หละปูนปีที่ 11

การเดินทางวันสุดท้าย ของรถ Locals Voice ในพื้นที่จังหวัดลำพูน ผ่านมา 3-4 วันนี้เรามองเห็นทุนชุมชนมากมายของคนหละปูน ซึ่งแน่นอนว่าทุนทางวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไป อยู่ที่การนำสิ่งที่พื้นที่นั้นมีมาปัดฝุ่น พัฒนา และสร้างนวัตกรรม เติมองค์ความรู้ โดยการร่วมมือและลงแรงของคนในพื้นที่เองที่จะทำให้ทุนทางวัฒนธรรมนั้นกลายเป็นสมดุลแห่งความยั่งยืนของชุมชน ชุมชนสามารถพึ่งตนเอง

อย่างวันนี้ #Localsvoice X เปิดเทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน ที่วันนี้ไม่ได้เป็นแค่เทศกาลท่องเที่ยวที่งดงาม แต่แฝงไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งเรื่องความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณี ความเข้มแข็งของพื้นที่ สู่ “แนวคิดโคมแสนดวงที่เมืองลำพูนสู่เทศกาลโคมนานาชาติ”

ภาพลุง ๆ ป้า ๆ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มือโปรทำโคม ตัวแทนที่มาสาธิตการทำโคมผ่านงาน เปิดเทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน ณ หอศิลป์สล่าเลาเลือง

ผู้ประกอบการผู้สูงอายุชุมชนป่าซาง นำโดยคุณลงสุทธิชัย(รูปแรก) ประธานกลุ่มของอำเภอป่าซาง กลุ่มนี้มีทั้งหมดประมาณ 10-20 คน ในการทำโคมส่ง ซึ่งประธานกลุ่มวิสาหกิจบอกกับเราว่านี่คือรายได้ส่วนหนึ่งของผู้สูงอายุที่อยู่ที่บ้านในชุมชนเป็นการส่งเสริมการมีอาชีพของผู้สูงอายุ และเป็นการคลายเหงาเป็นงานละเอียดที่ทำให้ผู้สูงอายุได้มีการฝึกฝนบริหารความทรงจำ ซึ่งกลุ่มของชุมชนป่าซางมีกระบวนการการมอบหน้าที่ให้แต่ละคนทำในส่วนที่แตกต่างกันไปของส่วนประกอบโคมล้านนา

ป้าอำพร ตัวแทนกลุ่มอาชีพทำโคมล้านนาบ้านป่าพลู ร่วมสาธิตการทำ โคมใหญ่และโคมจิ๋วที่ชื่อว่า “โคมดวงเสริมดวง” บ้านป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยกลุ่มอาชีพทำโคมล้านนาบ้านป่าพลู ซึ่งโคมจิ๋วนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นจาก โคมขนาดใหญ่ซึ่งเปรียบ โคมล้านนาของฝากชุดนี้เป็นแสงประกายความศรัทธาของคนล้านนาพัฒนาให้เป็น โคมเสริมดวงเสริมความเป็นสิริมงคลด้วยอักขระล้านนาและสีประจำวันเกิดเพื่อให้ผู้ที่ได้ซื้อไปนั้นมีความสุขความเจริญรุ่งเรือง

หนึ่งนวัตกรรมที่ป้าอำพร ทดลองพลิกแพงจากโคมทั่วไป หาวิธีการทำตลาดและช่องทางการเข้าถึงผู้ซื้อกลุ่มใหม่ที่แตกต่างจากคนทั่วไป จึงหาวิธีคิดในรูปแบบของฝากหรือของชำร่วย ของฝาก ของที่ระลึก ซึ่งนอกจากการทำแยกชิ้นหลายสีแล้วมีการทำแบบ package ตามวันเกิดเจ็ดสี อย่างน้อยคมเสริมดวงแบบจิ๋วสามารถพกพาง่ายและนักท่องเที่ยวสามารถนำกลับไปเป็นของฝากได้ง่ายซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำพูนอย่างหนึ่ง บางคนนำไปฝากเป็นของขวัญวันเกิดเพื่อนที่เกิดในวันจันทร์ หรือเกิดในวันต่าง ๆ ตามสี บางคนก็นำไปฝากให้ผู้ใหญ่ หรือมีการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ทำบุญวันเกิดก็สามารถนำไปเป็นของที่ระลึกได้ ทางด้านการตลาดยังมาเป็นช่วงซึ่งบางช่วงผลิตแทบไม่ทันเพราะนี่เป็นการทดลองนวัตกรรมใหม่และยังไม่ได้ขยายกลุ่มผู้ทำ ซึ่งลวดลายบน โคมจิ๋วนี้มีการลงอักขระเป็นภาษาเมือง มั่งมีศรีสุข เงินทองไหลมาเทมา ร่ำรวยเงินทอง

กลุ่มอาชีพทำโคมล้านนาบ้านป่าพลู เป็นผลผลิตกลุ่มแรกแรกที่อบรมโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสามสี่ปีก่อนหลังจากงานโคมแสนดวง ประสบผลสำเร็จในการดึงนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในเทศกาลนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้เทศกาลนี้มีการซื้อโคมจากจังหวัดเชียงใหม่ นำวิทยากรจากเชียงใหม่มาอบรมหลังจากนั้นมีการอบรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สนใจและทำส่ง ที่วัดพระธาตุหริภูญชัยในช่วงสามถึงสี่ปีให้หลังทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชน

นายบารเมศ วรรณสัย รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน กล่าวว่า

คมเฒ่าคิดถึงความหลัง เด็ก วัยรุ่น ความสวยงามถ่ายรูป คนที่เข้าใจความหมายมีแรงศรัทธา

กว่าจะมาเป็นเทศกาลโคมแสนดวง งานทุนทางวัฒนธรรมที่พัฒนาในเมืองลำพูน จะอาศัยโครงสร้างนี้ทั้งหมด คิดแล้วทำจริง ตนจึงอาสาเป็นคนอยู่เบื้องหลัง ขาดไม่ได้คือท่าเจ้าคุณพระเทพรัตนยก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน กว่า 11 ปีที่ทำมาคิดต่อว่าทำอย่างไรให้ยั่งยืน และทำอย่างไรให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ แรงบัลดาลใจทำอย่างไรให้สวยงามและอยู่ยาวยั่งยืน นึกถึงวรสารสันติสุข ซึ่งคุณพ่อตนเป็นคนเขียนบทกลอน เขาบรรยายถึงภาพโคมต่าง ๆ วันเทศน์มหาชาติเราจะเห็นโคมไฟสวยงาม จิตนาการเน้นความงดงาม ปีแรกใช้ไม้ไผ่ ทำถูกผิดบ้าง ซึ่งทั้งหมดเริ่มจรากแรงศรัทธา และค่อย ๆ แก้ไขเรื่องเทคนิคหน้างาน

คอนเซ็ปของวัดพระธาตุหริภูญชัย คือ ทำอย่างไรให้โคมมีไฟทุกดวง เมื่อเราได้คอนเซ็ปคนที่มาสืบทอดต่อเจตนารมน์ คือดร. นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ เราอยากให้ชาวบ้านทำโคมส่งชาวบ้าน อบจ.มีนโยบายเรื่องวัฒนธรรมที่เป็นทุน ขณะที่เราเห็นลุง ๆ ป้า ๆ ส่วนหนึ่งจากชุมชนที่มาร่วมสาธิตการทำโคม ที่ร่วมอบรมมาอย่างน้อย 3-4 ปี  นี่คือผลผลิตที่ร่วมฝึกทักษะการทำโคม เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วจากที่ทำไม่เป็นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ข้าราชการปลดเกษียณ ชาวบ้าน มีการรวมกลุ่มกันทำโคมส่งวัดพระธาตุหริภูญชัย มีเป้าหมาย มีที่ขายและมีการตลาด ซึ่งชาวบ้านทำไปด้วยความสุขเพราะปีหนึ่งทางวัดจะมีการสั่งออเดอร์จากชุมชนหลายพันดวง ซึ่งชาวบ้านมีการรวมกลุ่มและมีวิธีแบ่งปันกันซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการจัดการดีมีสวัสดิการกลุ่ม การทำโคมของวัดนั้นมีการจับฉลากสีให้แต่ละกลุ่มในพื้นที่จังหวัดลำพูน อำเภอไหนกลุ่มไหนจะได้สีอะไร ซึ่งโคมนั้นจะมีทั้งหมดเจ็ดสี นี่คือการพัฒนา และเกิดความยั่งยืนเกิด ทุกวันนี้คนกรุงเทพจองที่จะแขวนโคมรอบวิหาร เข้ามาเป็นเจ้าภาพ ราคาลูกละหมื่น – หมื่น  นี่คือสิ่งที่เกิดจากแรงศรัทธา

กิจกรรมเวทีเสวนาวันนี้ : เทศกาลโคมแสนดวง ยกระดับประเทศและนานาชาติในวันนี้ ทางกระทรวงวัฒนธรรมมีการจัดงบประมาณให้จัดนิทรรศการและเรื่องราวเกี่ยวกับ โคมนานาชาติเพื่อเข้าสู่ระดับอินเตอร์ วันนี้ซึ่งเป็นวันเปิดงานเทศกาล โครงการยกระดับประเพณีไปสู่ระดับนานาชาติของจังหวัดลำพูนคือเทศกาล โคมแสนดวง เหตุผลที่เปิดวันนี้เพื่อจะให้เห็นการทำงานที่ผ่านมาว่าเกิดสิ่งนี้ในพื้นที่ลำพูนได้อย่างไรและเชื่อมโยงไปสู่เทศกาลโคมดวง จริงในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งยิ่งใหญ่กว่าทุกปี เพราะมีการขยายพื้นที่มาจัดที่หอศิลป์สล่าเลาเรือง และสวนศิลป์หริภุญชัย นอกจากจุด ที่วัดพระธาตุหริบุญชัยและบริเวณรอบเมือง ซึ่งจะใช้คำว่าสวนโคม ที่นี่จะเป็นแหล่งผลิตโคมและแหล่งให้ความรู้เรื่อง โคมล้านนา ในอนาคตมองไว้ว่าเป็นสถาบันโคม แห่งแรกในประเทศไทย

Locals voice เสียงจากชุมชนคนทำโคม

คุณป้าทัศนีย์คือหนึ่งในผู้ที่มาร่วมสาธิตการทำ โคมล้านนาได้ร่วมกิจกรรมสตูดิโอเคลื่อนที่กับเรา ในช่วงนี้ทำออเดอร์โคมให้กับวัดพระธาตุซึ่งทำมาทุกปีประมาณห้าปีแล้วซึ่งขายดีขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีและปีนี้ทำ 1,000,000 ดวง ทำให้คนในชุมชนผู้สูงอายุที่อยู่ในกลุ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมอย่างตัวป้าเองทำแหนมหมูขายส่งต่างจังหวัดน้ำพริกหนุ่มแคบหมูทำเป็นกลุ่มวิสาหกิจก็มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำโคม รู้สึกดีใจที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นเพราะผู้สูงอายุในชุมชนมีภาวะว่างานเยอะแต่หลังจากมีการทำโคมก็ทำให้มีสมาชิกในกลุ่มมากขึ้น

ประเพณี โคมล้านนามีในช่วงเดือนพฤศจิกายนอยากจะเชิญนักท่องเที่ยวพ่อแม่พี่น้องในจังหวัดใกล้ไกลมาเที่ยวที่มีของดีมากมายอย่างเช่น โคมที่ทำจากแรงของชุมชนและแรงศรัทธา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ