ถอดรหัสเว็บข่าว BBC : สื่อออนไลน์ขนาดใหญ่ยอดเยี่ยมของโลก
Thanks: ฝากรูป
เว็บไซต์ บีบีซี นิวส์ สื่อยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ เป็นเว็บข่าวที่เพิ่งได้รับรางวัลสื่อออนไลน์ขนาดใหญ่ยอดเยี่ยม จากสมาพันธ์สื่อออนไลน์ (โอเอ็นเอ) ที่ประกาศมอบรางวัลแก่สื่อออนไลน์ในสาขาต่างๆ เป็นปีแรกเมื่อ 2011 ดังนั้นหนึ่งในโปรแกรมการดูงานของคณะ ThaiPBS ที่เรียนรู้ระบบการจัดการของเว็บไซด์ข่าว BBC ที่ตึก BUSH HOUSE กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงถือเป็นโปรแกรมที่ถูกใจดิฉันยิ่ง
ภายนอกตึกสุดคลาสสิค BBC BUSH HOUSE อันเก่าแก่อายุกว่า 85 ปี ที่ มีแผนกสื่ออนาคต “ WORLD SERVICE FUTURE MEDIA” เราได้พูดคุยกับ ABIGAIL SAWYER ตำแหน่ง INTERNET CONTENT PRODUCER เกี่ยวกับระบบเว็บข่าวของที่นี่
WORLD SERVICE FUTURE MEDIA ให้บริการข้อมูลด้านข่าวสารผ่านเว็บไซด์ โดยทำงานระหว่างประเทศกับอีกหลายๆ ประเทศ เผยแพร่ด้วยภาษาต่างๆ 27 ภาษา เว็บข่าวของบีบีซีได้ออกแบบหน้าตาและปรับการใช้งานใหม่ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงภาษาต่างๆ กันในทิศทางเดียวกัน ที่จริง BBC เริ่มงานด้านเว็บไซด์มานานแล้ว แต่เดิมรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกัน หมวดของการนำเสนอปะปนกัน ก็เลยทำการปรับโฉม ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน โดยออกแบบหน้าแรกของเว็บให้ดึงดูดด้วยภาพและเนื้อหาสั้นๆ แต่ในระบบออนไลน์ยังมีการเชื่อมรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายปรากฏอยู่เช่น วิทยุ ข้อความ เสียง แกลอรี่ภาพ วีดิโอ บล็อก
การออกแบบและจัดการ
บีบีซีมีเซอร์เวอร์ขนาดใหญ่สำหรับการทำงานของเว็บไซด์ หน้าตาเว็บไซด์ถูกออกแบบโดยบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และมีทีม(ภายนอก)ที่พัฒนาการเชื่อมโยง platform อื่น แต่จะออกแบบภายใต้ภาพลักษณ์เดียวกัน ผู้ที่ดูแลระบบเทคโนโลยีคือฝ่ายไอทีที่ตรวจสอบระยะตามเวลา แต่สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจคือผู้ป้อนเนื้อหาจะเป็นผู้สื่อข่าว หรือผู้ที่ดูแลเนื้อหาเอง (Content provider) ผนวกกับตัวระบบประมวลผลที่ออกแบบให้เป็นอัตโนมัติ
“เรามีการจัดการที่เรียกว่า ระบบการจัดการเนื้อหา Content management system สัมพันธ์กับระบบการผลิตเนื้อหา Content production system ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับฝ่ายข่าว เพราะข้อมูลที่มีเป็นจำนวนมาก”
ปีนี้ BBC มีเป้าหมายย้ายระบบออกอากาศ และการปฏิบัติงานทั้งหมดจากกรุงลอนดอนไปยังแมนเชสเตอร์ ที่ตึก FUTURE MEDIA ได้ทำระบบ “NEWS AS GLOBALLY” โดยทำให้การสื่อสารของ BBC มีการแชร์และแบ่งปันทรัพยากร แหล่งข่าวหรือข้อมูลที่หลากหลายรวมทั้งเนื้อหาที่จะเผยแพร่ระหว่างกัน
สิ่งใหม่ที่ปรับจากการเปลี่ยนโฉมเว็บไซด์มาเป็นรูปแบบเดียวกันคือ การทำระบบเพื่อช่วยให้ผู้สื่อข่าวมีสมาธิกับประเด็น รวดเร็วในการใช้งาน และปรับวิธีการทำงานข้ามสื่อได้ง่ายขึ้นคือ การทำระบบให้เป็นอัตโนมัติ ขณะที่ผู้สื่อข่าวและคนทำด้านเนื้อหาของ BBC จะมีการฝึกอบรมในการทำงานข้ามสื่อให้ด้วย เช่นจากการรายงานข่าวโทรทัศน์ สู่การรายงานข่าวด้านเว็บไซด์ด้วย
ในการโพสต์เนื้อหาข้อมูลสู่เว็บ จะมีการจัดหมวดหมู่ เมื่อผู้ส่งเนื้อหาได้เขียนเรื่องและโพสต์ในหมวดนั้นๆ เพื่อเผยแพร่ เรื่องก็จะปรากฏในหมวดหมู่และจัดระบบเข้าไปยังหน้าปกด้วย
สิ่งใหม่อีกประการคือ เพื่อให้การค้นหาข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ให้ความสำคัญคือ “หัวข้อ” เมื่อกำหนดหัวข้อเรื่องแล้ว ทันทีที่เรื่องได้ถูกโพสต์ไป เรื่องราวเดียวกันที่อยู่ในหัวข้อเดียวกันจะปรากฏเป็น “เรื่องที่เกี่ยวข้อง”อยู่ด้านล่างทันที เป็นเสมือนคลิปข่าวที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวและผู้ที่จะใช้ข้อมูลก็จะมีข้อมูลที่ลึกและรอบด้านมากขึ้น
Thanks: ฝากรูป
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เมื่อผู้สื่อข่าวเขียนเรื่องกีฬาในหมวดกีฬา อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแข่งขันโอลิมปิค หัวข้อก็คือ โอลิมปิค เมื่อโพสต์เรื่องราวขึ้นก็จะมีเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือในการสืบค้น หากสนใจเรื่องราวของซีเรีย ก็อาจใส่ข้อความค้นหาว่าbbc.co.uk/indeonesia/topic/ceria ทุกอย่างที่เกี่ยวกับซีเรียก็จะปรากฏขึ้นา เป็นระบบที่ง่ายเมื่อจะค้นหาข้อมูล และเว็บของ BBC จึงเป็นเว็บที่ให้ข้อมูลเชิงลึก
ในหน้าเว็บข่าวของ BBC จะไม่มีการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวเชิงกราฟฟิคมากนัก เนื่องจากเป็นเว็บด้านข่าว จะเน้นภาพ มี text และมีวีดิโอด้านข่าวบ้าง ที่จริง BBC มีแผนกที่ทำเกี่ยวกับงานสื่อเคลื่อนไหวโดยเฉพาะ และแต่ละช่อง แต่ละรายการของ BBC ก็มีเว็บของตนเองที่เชื่อมโยงกันมาได้อยู่แล้ว
ABIGAIL SAWYER บอกกว่าการทำงานเชื่อมกับหลายประเทศทำให้เรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้เว็บที่หลากหลาย แลพบว่าสิ่งสำคัญคือ ผู้ใช้เว็บคาดหวังจะเห็นอะไรจากเว็บไซด์บ้าง ในเว็บของอารบิค มีหลากหลายสิ่งที่หน้าเว็บ เต็มไปด้วยสิ่งที่เคลื่อนไหว การ์ตูน กราฟฟิค แต่ผู้ใช้เว็บแถบยุโรป อเมริกากลับชอบให้มีพื้นที่ว่างสีขาว เรียบๆ อ่านง่าย ค้นหาง่าย” จึงเห็นว่าภาพเคลื่อนไหวมากมายไม่จำเป็นต่อเว็บข่าวของ BBC
การแสดงความเห็นต่อเนื้อหาข่าวนั้น จะไม่มีปรากฏท้ายเนื้อข่าวทุกข่าว แต่จะเลือกบางข่าว และมีหน้า “HAVE YOU SAY” ที่จะเปิดให้แสดงความเห็นและแชร์ได้ผ่านเครือข่ายทางสังคม social media และมีคนดูแลความเห็นเหล่านั้นด้วย
ด้านการเชื่อมโยงและการใช้เครือข่ายทางสังคมในข่าวและรายการของ BBC เจ้าหน้าที่บอกว่า มีการทำวิจัยพบว่าในโลกอินเตอร์เน็ตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การใช้รูปภาพเยอะประกอบเนื้อหาไม่สดุดใจเท่าวีดิโอ แถมยังมีเครือข่ายทางสังคม เช่น ‘facebook’ , ‘twittter’ ที่ดึงดูดใจผู้ใช้อินเตอร์เน็ต แต่ขณะเดียวกันเครือข่ายทางสังคมเหล่านั้นก็ทำให้ผู้ใช้งานก็พร้อมที่จะออกจากหน้าเว็บไซด์ตลอดเวลา เว็บของ BBC มีเครือข่ายทางสังคมและระบบเหล่านี้อยู่ แต่จัดการทำงานร่วมไว้น่าสนใจ คือในหน้าแรกของเว็บจะไม่มีการเชื่อมหรือแชร์เครือข่ายทางสังคม แต่จะปรากฏอยู่ด้านในของหน้า “Have you say” ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถแชร์ ลิงค์เข้าเครือข่ายทางสังคมเช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ โหวต และแสดงความเห็นได้ แต่ BBC ก็ให้ความสำคัญกับเครือข่ายทางสังคม ล่าสุดในเฟสบุ๊ค BBC มีหน้าแฟนเพจของ BBC หลายส่วน เช่น BBC NEWS, BBC News Magazine, BBC London News, BBC World New เป็นต้น ล่าสุด BBC ได้พัฒนาระบบ Control Panel ที่ให้ผู้ใช้ได้สามารถอัพเดทเรื่องราวของ BBC ผ่านหัวข้อ บุคคล โปรแกรมรายการที่ตนสนใจ และเมื่อเลือกแล้วก็จะลิงค์ให้เห็นรายละเอียดในเว็บของ BBC
จุดยืนในการทำงานของ BBC กรณีประเด็นข่าวจากประชาชน
ในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็น แง่มุมข่าวสารที่มาจากประชาชนด้วย เจ้าหน้าที่ BBC อธิบายระบบของการผลิตข่าวของ BBC ว่า ก่อนที่จะนำเรื่องราวเกี่ยวกับข่าวจากประชาชนหรือผู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ มานำเสนอนั้น จะต้องถูกตรวจสอบจากระบบของ BBC อย่างเข้มข้น โดย BBC จะมีทีมที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ
เมื่อประชาชนส่งแง่มุมประเด็นข่าวมายัง BBC ผ่านทางอีเมล์ หรือสื่อใหม่ก็มีจะมีคนทำงานที่คัดเลือกประเด็นเหล่านั้น โดยนำประเด็นสอบถามไปยังกล่องอีเมล์ของคนทำงานภายใน BBC จากนั้นผู้สื่อข่าว โปรดิวเซอร์รายการ ก็จะตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้น และหากเห็นความสนใจเรื่องใดก็ประสานไปยังเจ้าของเรื่องผ่านเบอร์โทรศัพท์และอีเมล์ที่ส่งมา
กรณีการส่งภาพข่าวหรือคลิปวีดิโอที่สำคัญเข้ามาและเป็นเหตุการณ์ที่สุ่มเสี่ยง BBC จะตรวจสอบอย่างละเอียด ใช้ทั้งจากประสบการณ์ของผู้สื่อข่าวเอง ตรวจสอบสภาพพื้นที่ต่างที่กล่าวอ้างในวีดิโอ สำเนียงที่พูด สภาพอากาศ สถานที่เกิดเหตุโดยใช้ google map หรือ google earth ทั้งหมดเพราะเกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือที่ BBC สั่งสมมายาวนาน ซึ่งหากในกรณีที่ BBC ตรวจสอบภาพหรือเรื่องราวที่ส่งมาแล้วนำเผยแพร่ ภาพและคลิปเหล่านั้นถือว่าได้มอบสิทธิ์ให้บีบีซีเผยแพร่ ซึ่งในวงคุยมีการแลกเปลี่ยนวิธีคิดในการใช้สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้วยรูปแบบ “นักข่าวพลเมือง” ของ ThaiPBS กับเจ้าหน้าที่ BBC ด้วย ว่า ThaiPBS มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่แนะนำวิธีการสื่อสารสาธารณะกับประชาชนและให้สื่อเรื่องราวจากพื้นที่ผ่านงานวีดิโอ 3 นาทีและขยายผลสู่พื้นที่หน้าจอในลักษณะต่างๆ ซึ่งต่างจาก BBC ที่รับประเด็นและนำเข้าสู่กระบวนการทำงานของ BBC เอง แต่การฝึกการเรียนรู้ด้านการนำเสนอข่าวสารของบีบีซีมีการจัดลักษณะแคมเปญร่วมกับโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
Thanks: ฝากรูป