มาก้อ…แล้วจะไม่เก้อ กับการเดินทางของรถ Local Voice EP.3

มาก้อ…แล้วจะไม่เก้อ กับการเดินทางของรถ Local Voice EP.3

สำหรับนักเดินทางแล้วจุดหมายปลายทางอาจจะมีความสำคัญ แต่ระหว่างทางก็มีคุณค่าและสำคัญไม่แพ้กัน เพราะมันคือตัวแปรว่าเราถึงที่หมายหรือไม่ และการเรียนรู้ระหว่างทางจะทำให้เราเติบโตขึ้น

อย่างวันนี้เป็นวันที่สามแล้วที่รถ Local voice ออกเดินทางมาจากเชียงใหม่ จุดที่เราจอดกันเป็นที่ตำบลบ้านก้อ อ.ลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอลี้ ประมาณ 50 นาที เดินทางมาทางอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เพื่อมาฟังเสียงคนในพื้นที่ว่า การสร้างเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรที่จะเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวและสร้างรายได้

รถ Local Voice ที่บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน

ชาวบ้าน เล่าว่า ‘ก้อ’มาจากลูกก่อ หรือลูกก้อ ตามตำนานเรื่องเล่าในอดีตเล่ามาว่า พระพุทธองค์เสด็จมาในพื้นที่บริเวณชุมชน มีคนนำลูกก่อไปถวาย จึงเป็นที่มาของพื้นที่ ในอดีตก้อเป็นเมืองที่มีความสำคัญเป็นด่านที่จะไปค้าขายกับล้านนา มีเจ้าเมืองปกครอง และยังคงเหลือหลักฐานวัดเก่าแก่ของชุมชน

บ้านก้อเป็นพื้นที่ซ้อนทับกับเขตอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ยังคงมีปัญหาเรื่องสิทธิในที่ทำกิน หลายปีที่ผ่านมาเคยเกิดไฟแปลงใหญ่ ที่เกิดไฟไหม้ทุกปี โดยเฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เกิดฝุ่นควันอย่างหนัก ชาวบ้านในพื้นที่และคนในภาคเหนือได้รับผลกระทบกัน จนนำไปสู่การพยายามปรับเปลี่ยนให้ทรัพยากรอยู่ได้ คนอยู่ได้ ผ่านหลายๆ จุด ทั้งก้อโมเดล หรือการรวบรวมภูมิปัญญาต่าง ๆ มาสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

คุณจิรกร สุวงศ์ สมาชิกชุมชนและทีมเรียนรู้เพื่อจัดเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนในอนาคต

ทวนไปสำรวจต้นทุนผ่านการรปับเปลี่ยนของคนในพื้นที่ในการเปลี่ยนพื้นที่ข้าวโพดเชิงเดี๋ยวไปสู่การทำเกษตรกรรมที่หลากหลาย ซึ่งวันนี้เราจะพาไปเรียนรู้ผ่านเรื่องปศุสัตว์ โดยมีคุณจิรกร สุวงศ์ ประธานยุทธศาสตร์กิจการวิชาการและการพัฒนา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เป็นคนชวนคุยและพาเราไปเข้าใจชุมชนเพื่อที่จะเชื่อมโยงจัดเป็นจุดท่องเที่ยวและเรียนรู้ในอนาคต

สวนเกษตรผสมผสานของ วีระยุทธ มาลา ที่บ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน

จุดแรกไปดูพื้นที่วิสาหกิจชุชนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และพันธุ์พื้นเมือง ของผู้ใหญ่แคน วีระยุทธ มาลา ที่ทำเกษตรผสมผสานในพื้นที่ 12 ไร่เศษ โดยปรับจากที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเดียว มาเป็นผลิตแบบหลากหลายมา ประมาณ 4 ปี หลังจากที่พบว่ากลับการย้ายกลับมาจากเมืองใหญ่มาทำงานในชุมชนด้วยการผลิตพืชเชิงเดี๋ยวยังไม่ตอบโจทย์รายได้และการอยู่รอด เพราะต้นทุนจากค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่ต้องขนส่งมาจากตัวอำเภอที่ค่อนข้างไกล ทำให้ต้นทุนสูง จึงปรับมาแบ่งสรรพื้นที่ทำการเกษตรใหม่ แบ่งเป็นปลูกไผ่ 50 กอและลำไยในพื้นที่ 3 ไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ 8 ไร่ และเลี้ยงสัตว์อีก 1 งาน มีวัวพื้นเมือง ปลาดุก กบ ไก่ไข่ ไก่ประดู่หางดำ เลี้ยงไส้เดือน ทำปุ๋ยและน้ำหมักเอง มีการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในแปลง มูลสัตว์ไปเป็นปุ๋ยให้พืช หญ้าในแปลงข้าวโพดเป็นอาหารวัว ผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ไก่เอง ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า พร้อมทั้งได้รับการรับรองมาจรฐาน Q จากการผลิตไผ่ซางหม่น ลำไย กาแฟ ในผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงวัว ไก่

แปลงปลูกหญ้า เพื่อการปศุสัตว์

จุดที่สองไปแปลงปลูกหญ้าที่ในอนาคตจุดนนี้จะเปิดให้นักท่องเที่ยวจะได้มาเรียนรู้จาการลงมือทำปศุสัตว์เอง ปลูกหญ้า ตัดหญ้าเพื่อนำไปเลี้ยงวัว ตอนนี้มีแปลงหญ้าทดลองเพื่อให้คนในชุมชนได้มาเรียนรู้ มีทั้งหญ้าแองโกล่า เนเปีย ลูซี่ หวานอิสราเอส เป็นแปลงของหนานเบส ธนัส มูลใจ ที่คิดว่าจะทำอย่างไรให้มีอาชีพนอกเหนือจากากรปลูกข้าวโพด และช่วยให้ชาวบ้านลดการนำวัวไปเลี้ยงบนดอย ส่วนคอกวัวจะอยู่ห่างออกไป จุดนนี้วิวสวยไม่น้อย มีวัว 16 ตัว เป็นพันธุ์ลูกผสมวัวพันธุ์พื้นเมืองกับวัวเนื้อบรามัน เพื่อให้มีคุณภาพเนื้อที่ดี และมีความแข็งแรงทนทานแบบวัวพื้นที่ เลี้ยงมา 3 ปี ขายไป 2รุ่น ใน 270,000 บาท

ปางเลี้ยงควายสวยงามที่บ้านก้อ

จุดที่สามมาเรียนรู้เรื่องความยไทย สัตว์เลี้ยงในอดีตของคนในพื้นที่ ซึ่งอ้ายเบิร์ด อนิวัต สุชัย เจ้าของฟาร์มควายสวยงาม บอกว่า มีความสุขจากากรได้เลี้ยงควายควบคู่กับการทำงานประจำ เพราะที่ของตัวเองอยู่ใกล้ลำน้ำ มีจุดที่ให้ควายได้ลงไปแช่ ตื่นเช้ามาก็มาปล่อยควายให้ไปหากิน เย็นก็มาเรียกควายกลับปาง ช่วยเป็นอาชีพเสริมได้ ตอนนี้มีควาย 12 ตัว ที่กำลังพัฒนาควายไทย เพื่อเป็น ควายประกวด ในพื้นที่ 5ไร่ ควบคู่กับการทำงานเทศบาล และอยากสื่อสารให้ชาวบ้านรู้ ว่าเลี้ยงควายแล้วมีรายได้

กลุ่มแปรรูปผลผลิตจากการทำประมง และของฝากจากบ้านก้อ

จุดที่สี่จุดนี้มีของให้กิน เป็นร้านขายอาหารและก๋วยเตี๋ยวในชุมชน พร้อมกับจุดของกินของฝาก เพราะที่นี่เป็นจุดที่อยู่ในพื้นทีทับซ้อนเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีแม่น้ำปิงไหลผ่านชุมชน ทำให้อีกอาชีพของชุมชน คือ การทำประมง โดยมีปลาที่จับมาได้จากแก่งก้อ แหล่งน้ำสำคัญ อ่างเก็บน้ำต่างๆ ของชุมชน จึงมีปลาอบแห้งให้ได้ลิ้มลอง และซื้อกลับไปเป็นของฝาก อย่างปลากระวาดอบแห้ง หรือน้ำพริกปลาตะเพียนก็อร่อยดีเลยทีเดียว

หน่อไม้จากป่าของผลผลิตจากป่าในช่วงฟดูฝนแบบนี้ และปลาอบแห้งจากแก่งก้อ

และปลาบางส่วนที่จับในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในชุมชน ก็มาจาการเพาะเลี้ยงของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเทศบาลตำบลก้อ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัย การปลูกหม่อนหรือมัลเบอร์รีสายพันธุ์ต่าง ๆและจุดที่รวบรวมผลผลิตงานจักสานไม่ว่าจะเป็น กระด้ง ไม้กวาด จากผู้สูงอายุ

อุ้ยทอผ้า โดยมีผู้ช่วย(ป่วน)เป็นแมวส้มชื่อบุญรอด

จุดสุดท้ายของวันนี้เรามากันที่ศูนย์ผญาภูมิปัญญา ผ้าทอนวัตกรรมบ้านก้อุทุ่ง ที่นี่มีแม่ๆ หลายนั่งปั่นฝ้ายทอผ้ารอต้อนรับอยู่ จะบอกว่าผ้าทอที่นี่คุณภาพดีทำจากฝ้ายที่ปบลูกเองในชุมชน ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ให้เลือกหาเลือกซื้อและยังมีผลิตภัณฑ์ชุมชนมามาวางจำหน่ายด้วย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทุนชุมชนที่เราได้เข้าไปลองเรียนรู้ เพื่อเป็นสารตั้งต้นในการเข้าใจพื้นที่เพื่อตั้งวงคุยกันเรื่องของต้นทุนท้องถิ่นของคนก้อที่จะเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ช่วยสร้างเศรษฐกิจและแก้ปัญหาชุมชนอีกด้วย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ