งานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๓ “สร้างอาหารเพื่อชุมชน สร้างสังคมที่เป็นธรรม”

งานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๓ “สร้างอาหารเพื่อชุมชน สร้างสังคมที่เป็นธรรม”

           งานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๓
 “สร้างอาหารเพื่อชุมชน   สร้างสังคมที่เป็นธรรม”
วันอังคารที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ข่วงเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่  ถ.คลองชลประทาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่

๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.         ร่วมกิจกรรมการออกร้าน นิทรรศการ และการจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในงานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๓ “สร้างอาหารเพื่อชุมชน   สร้างสังคมที่เป็นธรรม”
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.   ร่วมแลกเปลี่ยนงานวิจัย
เรื่องที่ 1 ข้อจำกัดของการมีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อย่างเพียงพอในจังหวัด   
เชียงใหม่และลำพูน
       นำเสนอโดย ดร.สมคิด  แก้วทิพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เรื่องที่ 2 กระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมในกลไกทางนโยบายด้าน
การเกษตรของเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ผู้หญิง
นำเสนอโดย คุณเกษศิรินทร์  พิบูลย์    สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน
ดำเนินรายการโดย
คุณอรุณี  เวียงแสง   ผู้ประสานงานกลไกกลางสนับสนุนเครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ
๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.   ระดมความคิดเห็น เรื่องทิศทางการพัฒนาข่วงเกษตรอินทรีย์ฯ และตลาดเกษตรอินทรีย์
      นำการแลกเปลี่ยนโดย   
๑.   อาจารย์ชนวน รัตนวราหะ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒.   คุณละไมพร วณิชย์สายทอง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
๓.   คุณวีนัส สมจักร ประธานแม่กาดเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่
๔.   ตัวแทนผู้บริโภคเกษตรอินทรีย์
๕.   คุณจีรวรรณ์ โสดาวัฒน์ ผู้จัดการสมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
๖.   ผู้ร่วมงานทุกคน
                      ดำเนินรายการโดย ดร.ชมชวน  บุญระหงษ์    วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.   พิธีทอดผ้าป่า ณ ข่วงเกษตรอินทรีย์เชียงใหม่

ภายในงานมีกิจกรรมระดมทุนในการก่อสร้างอาคารเพื่อจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ณ ข่วงเกษตรอินทรีย์ฯ
ระดมทุนจากการจัดโครงการผ้าป่าสามัคคี เพื่อก่อสร้างอาคารจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์

 ข่วงสาธิต/นิทรรศการ       
 ๑ เมล็ดพันธุ์อินทรีย์
 ๒ สวนผักคนเมือง
 ๓ การแปรรูปจากข้าวอินทรีย์ เช่น ข้าวกล้องงอก, ข้าวควบ, ข้าวแคบ, ข้าวเกรียบ
 ๔ การแปรรูปจากถั่วเหลือง เช่น ซีอิ๊วขาว, เต้าเจี้ยว, ถั่วเน่าแผ่น
 ๔ การกลั่นพืชสมุนไพร
 ๕ เทคนิคเกษตรอินทรีย์ เช่น การทำปุ๋ย, น้ำหมักชีวภาพ, น้ำจุลินทรีย์ท้องถิ่น
 ๖ ระบบเกษตรพันธะสัญญา
 ๗ การตรวจหาสารเคมีฯ ในเลือด
 ๙ นิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ

 ข่วงสุขภาพทางเลือก   เครือข่ายหมอเมือง; นวดผ่อนคลาย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร
 
 ข่วงจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์
 ๑ พืช ผัก สมุนไพร ข้าว ถั่วเหลือง ฯลฯ
 ๒ กล้าพันธุ์ไม้ เมล็ดพันธุ์พืช ฯลฯ
 ๓ เนื้อหมู/ไก่/ปลา, ไข่ไก่, ไข่เป็ด
๔ อาหารพื้นบ้าน ปรุงสด ๆ จากพืชผัก อินทรีย์
๕ ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น เต้าเจี้ยว, ซีอิ๊วขาว, บ๊วยดอง, น้ำผึ้ง, น้ำมันงา, ชาสมุนไพร, ข้าวแคบ, ข้าวแต๋น, ข้าวควบ, กล้วยฉาบ, ขนมพื้นเมือง ฯลฯ
๖ น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, กาแฟสดอินทรีย์

        จากการจัดงานมหกรรมเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ เพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกร ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ สื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ได้รู้จักและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การรับรองมาตรฐาน การตลาด การทำงานผู้บริโภค การทำงานเพื่อขยายผลด้านเกษตรอินทรีย์นั้น ได้รับผลการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี สังเกตจากการมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายแม่กาดฯ
ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคได้เข้าใจเกษตรอินทรีย์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและระบบตลาดที่เป็นธรรมและปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์และบริโภคสินค้าอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจแนวคิดเกษตรอินทรีย์ ตลาดที่เป็นธรรมและการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการทางสังคม และเพื่อให้สื่อมวลชนได้มีข้อมูลด้านนี้เผยแพร่สู่สาธารณชน ทางเครือข่ายเกษตรอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน จึงได้ร่วมจัดงานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ครั้งที่ ๓ ขึ้น

 วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
๑)   สร้างโอกาสให้เกษตรกร ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ สื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน  ได้รู้จัก  และ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การรับรองมาตรฐาน การตลาด การทำงานผู้บริโภค การทำงานเพื่อขยายผลด้านเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๒)   เพื่อระดมทุนในการก่อสร้างอาคารเพื่อจำหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ณ ข่วงเกษตรอินทรีย์ฯ

 สนับสนุนโดย
 ๑ งบพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖
 ๒ โครงการเสริมศักยภาพสตรีเกษตรอินทรีย์กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจครอบครัวและชุมชน
        โดย Oxfam GB 
 ๓ โครงการพัฒนากลไกการจัดการตนเองด้านระบบอาหารและการเกษตรอย่างยั่งยืนระดับตำบล
        โดยองค์การไฮเฟอร์ ประเทศไทย
 ๔ โครงการพัฒนากลไกทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเกษตรกรจากการทำเกษตรพันธะสัญญาโดย EU

 องค์กรผู้จัด
สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน

๗. องค์กรร่วมจัด   
๑.   สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่
๒.   สมาคมมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ
๓.   เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน
๔.   สหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทาจำกัด
๕.   สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่จำกัด
๖.   มูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท และสหกรณ์การเกษตรพัฒนาจำกัด
๗.   เครือข่ายแม่กาดเกษตรอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
๘.   โครงการบูรณาการเชียงใหม่จัดการตนเอง
๙.   เครือข่ายเกษตรกรพันธะสัญญา
๑๐.    เครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม
๑๑.    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
๑๒.   หมอเมืองล้านนาเชียงใหม่
๑๓.   โครงการเกษตรกรปรับตัวภาวะโลกร้อน
๑๔.   โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

 ติดต่อประสานงาน
นางสาวเกษศิรินทร์  พิบูลย์
สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน
         ๓๖๓ หมู่ ๔ ต. หนองจ๊อม อ. สันทราย จ. เชียงใหม่ ๕๐๒๑๐
   โทรศัพท์/โทรสาร ๐๕๓ ๓๕๔๐๕๓-๔ มือถือ ๐๘๙ ๙๙๗๖๖๙๘
   Email: kassirinp@gmail.com

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ