เปิดตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในระยะเวลาร่วม 20 ปี จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 20,000 คน เสียงจากประชาชนเรียกร้องทุกฝ่ายหยุดความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน เร่งให้รัฐบาลเดินหน้ากระบวนการพูดคุยสันติสุขให้ต่อเนื่อง
วันที่ 22 กันยายน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีการแถลงผลการสํารวจความ คิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งที่ 7 โดยเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY เพื่อเสนอ 7 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลเชิงปริมาณจากการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 1,312 คน และข้อมูลเชิง คุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้นําความคิดเห็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในและ นอกพื้นที่ จํานวน 85 คน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี นักวิจัยอาวุโส สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะตัวแทนเครือข่าย Peace Survey ได้ให้ข้อมูลบทสรุปสถานการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2547จนถึงปัจจุบันว่า เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจํานวน 22,166 ครั้ง ความรุนแรงดังกล่าวทําให้มีผู้เสียชีวิต 7,520 คน และผู้บาดเจ็บ 13,968 คน
แม้ว่าแนวโน้มสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลงอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 หลังจากการพูดคุยสันติภาพในครั้งแรก และเหตุการณ์ความไม่ สงบลดลงตามลําดับจนถึงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีที่มีการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม
เหตุการณ์ความไม่สงบรายเดือนหลังปี พ.ศ. 2563 เริ่มมีความ แปรปรวนมากขึ้นในบางช่วง ทําให้สถิติการเกิดเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2564-65 เริ่มขยับสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 แม้ว่าฝ่ายขบวนการ BRN จะประกาศยุติปฏิบัติการทางทหารชั่วคราวฝ่ายเดียว แต่การปฏิบัติการทางทหารของรัฐก็ยังดําเนินการตามปกติ ทําให้มี เหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ปิดล้อม ตรวจค้นและวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยเกิดขึ้นหลายครั้ง ก่อผลให้มีปฏิบัติการ การทหารตอบโต้กัน ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวการพบปะพูดคุยสันติสุขที่มาเลเซียได้หยุดชะงักมาตั้งแต่การ พบปะกันที่กัวลาลัมเปอร์ในตอนต้นปี พ.ศ. 2563 แต่การพูดคุยถูกทําให้ยุติความต่อเนื่องลงเพราะการเกิดโรคระบาดและมาตรการปิดเมือง
ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังของปี พ.ศ. 2563 และปี พ.ศ. 2564 จึงถือได้ว่าเป็นช่วงเวลา ของการว่างเว้นการพูดคุยสันติสุข หลังจากนั้นการพูดคุยสันติสุขจึงได้กลับมาอีกในปีพ.ศ. 2565 และต้นปี พ.ศ. 2566 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่เมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 การเก็บข้อมูลสํารวจความคิดเห็นประชาชนฯต่อ กระบวนการสันติภาพครั้งนี้ได้ดําเนินการในเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ผลการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนนั้น มีการนําเสนอ 7 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
เพื่อสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ข้อเสนอแนะที่สําคัญลําดับต้น ๆ คือ การเรียกร้องให้ดําเนินมาตรการลดความรุนแรงต่อประชาชน รวมทั้งการเร่งแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ซึ่งประชาชนกว่าร้อยละ 80 ในการสํารวจเห็นว่าเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดของการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งความรุนแรงที่เป็นทางตรง เช่น การก่อเหตุรุนแรงที่สร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน การปะทะด้วยกําลังอาวุธ การทําร้ายร่างกาย การวิสามัญฆาตกรรม และที่เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เช่น ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเลือกปฏิบัติ และการการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะอื่นที่เป็นทางออกสําหรับการสร้างสันติภาพชายแดนภาคใต้นั้น เครือข่าย Peace Survey ได้สังเคราะห์จากความคิดเห็นของประชาชน ประกอบด้วย การให้มีกลไกทางการเมืองและกลไกทางกฎหมายรองรับ กระบวนการพูดคุยที่ครอบคลุมทุกฝ่าย
การพัฒนาและปรับปรุงกลไกการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างแพร่หลาย การเพิ่มบทบาทของประชาชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมทุกฝ่าย
การกระจายอํานาจ การปกครองให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ และข้อเสนอแนะสุดท้าย คือ การมุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์บนฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ เพื่อนําไปสู่โอกาสการสร้างสันติภาพเชิงบวกและยั่งยืน
ข้อมูลที่น่าสนใจจากการสํารวจความคิดเห็นของประชาชน ยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.3 สนับสนุนการ พูดคุยสันติภาพ รวมทั้ง มีความไว้วางใจต่อพรรคการเมือง/นักการเมืองระดับชาติ (สส.) ในการสร้างสันติภาพ จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง คือร้อยละ 28
ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนเเละสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รายงานว่าการแก้ปัญหาการละเมินสิทธิมนุษยชนในพื้นที่อย่างจริงจัง เป็นปัญหาอุปสรรคที่สำคัญและท้าทายต่อกระบวนการสร้างสันติภาพและความเป็นธรรม กว่า19 ปีที่ผ่านมา มีประชาชนกว่าสองหมื่นกว่าคน ที่ถูกละเมิดสิทธิเบื้องต้น เเละยังอยู่รอด มีทั้งบาดเจ็บและพิการ จากการสำรวจพบว่า สถานการณ์ที่ประชาชนเห็นว่า เข้าข่ายในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ใน 5 อันดับ ของผลสำรวจพบว่า ประชาชน 46.9% เห็นว่าชาวบ้านถูกซ้อมทรมานระหว่างการควบคุมตัวโยเจ้าหน้าที่ ตามด้วย 44.7% ระบุว่าการไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมุสลิมคุมฮีญาบ 36.7% เห็นว่าเป็นเรื่องชาวบ้านถูกสุ่มตรวจค้นและถ่ายรูปที่ด่านตรวจโดยไม่ได้เเจ้งเหตุ 33.9% มองว่าเจ้าหน้าที่ปิดล้อมตรวจค้นหมู่บ้าน และอีก 27.6% ระบุว่า การห้ามปิดกั้น ข่มขู่ไม่ให้แสดงความคิดเห็น เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ
และภายใต้กฎหมายพิเศษ3 ฉบับ การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังดำรงอยู่ เมื่อสอบถามความคิดเห็นเชิงลึก
พบว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
ข้อมูลสอดล้องกับข้อมูลจากการวิจัยข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้พบว่า 2560-2665 มีจำนวนการปิดล้อมตรวจค้น โดยเจ้าหน้าที่รัฐถี่มากขึ้น
สําหรับเครือข่ายวิชาการ Peace Survey นี้เป็นความร่วมมือของสถาบันวิชาการและองค์กรภาคประชาชนทั้งใน และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีพันธกิจและบทบาทในการทํางานเพื่อสันติภาพและการพัฒนาในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เครือข่ายภาคประชาสังคม และสถาบัน/องค์กรอื่น ๆ อีกจํานวน 25 องค์กร โดยได้ดําเนินการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ ความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลานราธิวาส และสี่อําเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อําเภอจะนะ เทพา นาทวีและสะบ้าย้อย) ต่อปัญหาความไม่สงบการสร้างสันติภาพและประเด็นอื่น ๆ ที่มีความสําคัญในพื้นที่ รวมทั้งสาเหตุของปัญหาและข้อเสนอแนะต่อกระบวนการสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้ดําเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2559