ฟังเสียงประเทศไทย | ศรีสะเกษ เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ฟังเสียงประเทศไทย | ศรีสะเกษ เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ศรษฐกิจสร้างสรรค์ คืออะไร ?

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม

ประกอบด้วย 15 สาขา Text  1) งานฝีมือและหัตถกรรม 2) ดนตรี 3) ศิลปะการแสดง 4) ทัศนศิลป์ 5) ภาพยนตร์ 6) การแพร่ภาพและกระจายเสียง 7) การพิมพ์ 8) ซอฟต์แวร์ 9) การโฆษณา 10) การออกแบบ 11) การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม 12) แฟชั่น 13) อาหารไทย 14) การแพทย์แผนไทย 15) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ซึ่งงานฝีมือและหัตถกรรม ดนตรี ศิลปะการแสดง  ภาพยนตร์ อาหารและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นหนึ่งในทุนทางสังคมและโอกาสในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชาวศรีสะเกษและภาคอีสาน

ที่มา : พ.ร.ก.จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561

ที่มา : CEA

จังหวัดศรีสะเกษ

มีเนื้อที่กว่า 8,800 ตารางกิโลเมตร Text 8,839.976 ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 อําเภอ Text  206 ตําบล 2,633 หมู่บ้าน

มีประชากร 1,457,556 คน Text ณ ธันวาคม 2564  ซึ่งมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ชาวลาว ชาวเขมร ชาวกูย  และเยอ

มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา และมีจุดผ่านแดนถาวร ช่องสะงำ ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว  โดยในปี 2564  มีมูลค่าการค้าชายแดนรวม กว่า 1,600 ล้านบาท Text 1,612.39 ล้านบาท ส่งออก 1,127.45 ล้านบาท การนำเข้า 484.94 ล้านบาท

มีพื้นที่ทำการเกษตรกว่า สี่ล้านสองแสนไร่  Text 4,224,892 ไร่ ปลูกข้าวรวมกว่าสามล้านสามหมื่นไร่  Text 3,034,991 ไร่ และปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งปลูกหอมแดงมากที่สุดของประเทศ รวมถึงปลูกผลไม้ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง มากที่สุดในภาคอีสาน  

มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำมูล ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ ห้วยขะยุง และห้วยทา  พร้อมแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน คือ เขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา

ด้านการท่องเที่ยว

ในปี 2564 (มกราคม – สิงหาคม) มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือน กว่า สองแสนคน Text 203,406 คน  ศรีสะเกษเป็นประตูสู่แหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอมโบราณ อาทิ เขาพระวิหาร ปราสาทสระกำแพงใหญ่ สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับเสียมราฐ นครวัด-นครธม ซึ่งเป็นมรดกโลกได้ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง และสามารถพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงสามเหลี่ยมมรกต ไทย-ลาว-กัมพูชา

ด้านอุตสาหกรรมบันเทิง

ศรีสะเกษมีค่ายเพลงที่รวมตัวกันกว่า 20 ค่าย ในชื่อ “ศรีสะเกษตุ้มโฮม” โดยมีผู้กดติดตามทางช่อง YouTube รวมกว่า 10 ล้านคน และมียอดผู้ชมออนไลน์รวมกันกว่า 4,700 ล้านวิว (Text ข้อมูล ณ ธันวาคม 2564) รวมมูลค่ากว่า 450 ล้านบาทต่อปี

และยังมีมีมหกรรมดนตรีในเดือนธันวาคม เพื่อรองรับแฟนคลับและนักท่องเที่ยว กว่า สองหมื่นคน Text 14,000-20,000 คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 10 ล้านบาท

จ.ศรีสะเกษ ยังเป็นแหล่งรวมศิลปิน เช่น ยิ่งยง ยอดบัวงาม / นกน้อย อุไรพร / เสถียร ทำมือ / พจน์ สุวรรณพันธ์ / แบงค์ รณพร ไทดอลมิวสิค โค้ก วง Around / มะปราง วง Sleepycat และศิลปินรุ่นใหม่  (เติมภาพศิลปิน)

รวมถึงมีค่ายเพลง และอุตสาหกรรมบันเทิงที่หลากหลาย (เติมชื่อค่าย / ศิลปิน / โลโก้ ไม่ต้องอ่านชื่อก็ได้ค่ะ เช่น เซิ้งมิวสิค ไทบ้านมิวสิค  ซองดูฮี

จากแผนพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษปี 2566-2570 ระบุว่า ในปี 2563 เศรษฐกิจสร้างสรรค์มีมูลค่ารวมกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ( Text 10,076 ล้านบาท)

โดย แบ่งเป็น

–        อุตสาหกรรม Text 6,297 ล้านบาท

–        โรงแรมและภัตตาคาร Text 3,481 ล้านบาท

–        บริหารและสนับสนุน Text 82 ล้านบาท

–        ศิลปะ  Text 216 ล้านบาท

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative economy เป็นอีกโอกาสที่จะดึงเอาศักยภาพ และคุณค่าของท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าในหลายมิตินะคะ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ไปจนถึงระดับนโยบาย

ฟังเสียงประเทศไทย ชวนปักหมุดล้อมวงสนทนาในพื้นที่อีสานใต้ “เมืองศรีสะเกษ” ซึ่งมีความหลากหลายของวิถีวัฒนธรรม 4 ชนเผ่า กูย เขมร ลาว และเยอ รวมถึงเป็นพื้นที่ของศิลปิน นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่มากด้วยผลงาน ทั้ง ศิลปะ ดนตรี และภาพยนตร์ในภูมิภาค อย่างเช่น ผู้สร้างไทบ้านเดอะซีรีส์ เหล่านี้คือต้นทุนที่ชาวศรีสะเกษได้ล้อมวงสนทนาถึงภาพอนาคตเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของพวกเขา

ฉากทัศน์ A เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

(City of Crafts & Folk Arts)

ศรีสะเกษเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (City of Crafts & Folk Arts) โดยภาคชุมชนเป็นกำลังหลักเห็นถึงความสำคัญและขีดความสามารถในท้องถิ่น ทั้ง ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์ ทั้ง 4 ชนเผ่า กูย เขมร ลาว เยอ และงานหัตถกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชุมชน และการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมนำวัฒนธรรมที่สั่งสมมานานใช้เป็นทุนเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ ข้อมูลที่มีการศึกษารวบรวมเป็น Data base และเผยแพร่อย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาต่อยอดวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงการตลาดที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น

“ศรีสะเกษเราเนี่ยได้รับการเห็นชอบเป้าหมายในการพัฒนาจังหวัด 20 ปี จากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใน 5 เรื่อง ซึ่งทุกคนพูดมาครบหมดเลยนะเรื่องที่หนึ่ง คือเมืองน่าอยู่แล้วก็พหุวัฒนธรรม อันนี้คือเป้าอีก 20 ปีข้างหน้าซึ่งทุกคนพูดมามันสอดคล้องส่วยเขมรลาวเยอ แล้วก็เกษตรกรรมปลอดภัยและก้าวหน้า อันนี้สอง และที่ 3 นักกีฬาท่องเที่ยวและเผชิญสร้างสรรค์แล้วก็วิถีชีวิตสงบสุขและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมฉากทัศน์ ที่ผมคิดว่าหัตถกรรมแล้วก็ศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของเราเนี่ยสามารถเป็นจริงได้

เพราะว่าจากข้อมูลโดยเฉพาะหัตถกรรมที่ผมว่าคือผ้าทอของศรีสะเกษที่เป็นผ้าไหม ที่มีข้อมูลว่า 22 อำเภอมีถึง 481 กลุ่มที่ทำผ้าทอ ในปี 64 มีมูลค่าในการเก็บข้อมูลจากโอท็อปนะครับที่เป็นผ้า 1,190 ล้านเฉพาะปี 64 นั่นหมายถึงว่ามูลค่ามหาศาลจากผ้าทั้ง ๆ ที่มันมีข้อจำกัดเรื่องของแรงงานผู้สูงอายุนะครับหรือการออกแบบลวดลายหรือการตลาด แต่นั่นคือต้นทุนที่มันสูงอยู่แล้วถ้าเราเอาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เนี่ยไปบวกเข้าด้วยว่ามันมีคุณค่าอยู่แล้วเพียงแต่เพิ่มมูลค่ามันในแง่ของการต้องบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่นเองที่ท้องถิ่นอยู่กับชุมชนอยู่กับพี่น้องที่ผลิตอยู่แล้วก็เพิ่มแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เข้าไปหรือหาแนวทางที่จะไปยกระดับ โดยระดับจังหวัดนี้ก็มีนโยบายโดยเฉพาะวาระจังหวัด 10 ประเด็นของจังหวัดที่ต่อเนื่องตั้งแต่ผู้ว่าราชการคนที่แล้วมาถึงผู้ว่าราชการคนปัจจุบัน

ทั้งศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของศรีสะเกษที่อยู่ในชาติพันธุ์ต่าง ๆ การแสดงในพิธีกรรม ลำสะเอง ลำมะมวด แกนมอ พวกนี้ถือว่าน่าจะเป็นฉากทัศน์ที่สำคัญ ที่จะเพิ่มเศรษฐกิจให้กับจังหวัดศรีสะเกษ”

ฉากทัศน์ B เมืองแห่งภาพยนตร์

(City of Film)

ศรีสะเกษเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เมืองแห่งภาพยนตร์ (City of Film) โดยภาคเอกชนเป็นกำลังหลักบูรณาการทำงานร่วมกันในแนวระนาบ สร้างโอกาสส่งเสริมด้านการลงทุน รวมทั้งเชื่อมโยงการตลาดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เช่น การจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ (Film Festival) ส่งเสริม Creator นักสร้างหนังหน้าใหม่ รายย่อยในท้องถิ่น ควบคู่กับการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้ง แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ทางธรรมชาติ และวิถีวัฒนธรรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและการลงทุน ซึ่งจำเป็นที่รัฐท้องถิ่นและภาคเอกชนต้องลงทุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ พร้อมสร้างระบบนิเวศการท่องเที่ยวเชื่อมไปยังจังหวัดโดยรอบในพื้นที่อีสานใต้ รองรับความต้องการบริโภคของนักท่องเที่ยว และผู้สร้างภาพยนตร์

“ในตลอดช่วง 10 ปีมา ศรีสะเกษเรามีความโดดเด่นมากในเรื่องของภาพยนตร์ เราจะเห็นได้ว่า ถ้าพูดถึงสัตว์ของสตาร์ทอัพ เราจะมียูนิคอร์น แต่ถ้าเกิดว่าเราพูดแบบไทยหน่อยก็จะเรียกว่านิลมังกร เรามีนิลมังกรของศรีสะเกษ ก็คือทีมไทบ้านเดอะซีรีส์ เป็นกลุ่มการรวมตัวของน้อง ๆ คนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการทำหนังออกมาจนปัจจุบันเติบโตและมีจักรวาลไทบ้าน

ซึ่งมันเป็นการจุดประกายทำให้คนรุ่นใหม่ๆในเมืองเขามองเห็นว่าด้วยศักยภาพของตัวเขาเขาสามารถที่จะไปถึงจุด ๆ นั้นได้แล้วมันเข้าครบสามเหลี่ยมความคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้มันต้องมีฟีล มีโดเมน และมีเพอร์ซัน วันนี้น้อง ๆจักรวาลไทบ้านขยับตัวเองไปเป็นฟีล คือคนที่อยู่ในฟีลภาพยนตร์ ไปสร้างคนในวงการภาพยนตร์ให้เกิดขึ้นและมันก็จะเกิดเป็นวงที่ 3 ก็คือการต่อยอดในการสร้างบุคลากรด้านภาพยนตร์วันนี้มันทำให้ครบเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์มันเกิดขึ้นแล้วที่ศรีสะเกษ

เพราะฉะนั้น ถ้ามองถึงว่า หนังอีสานที่อยู่ในใจคนทั่วประเทศทุกคนต้องคิดถึงศรีสะเกษเพราะเรามีทีมจักรวาลไทบ้านที่เป็นทีมนำร่องให้กับพวกเราแต่สิ่งที่เราจะต่อยอดและมันจะเป็นผลพลอยได้หลังจากนี้คืออะไรคือเรื่องของการเขียนบทเรื่องของการทำนิยายผมคิดว่าสิ่งเหล่าเนี้ยมันจะเป็นจิ๊กซอว์อีกชิ้นหนึ่งที่จะมาต่อยอดวัฒนธรรมของศรีสะเกษ เราอาจจะมีหนังที่เชื่อมต่อเรื่องวัฒนธรรมของเผ่ากูย เรื่องเล่าของสไน เรายังขาดสิ่งเหล่าเนี้ยที่อนาคตถ้าเราทำได้อุตสาหกรรม เรื่องของนิยายการเขียนบทมันจะสร้างมูลค่าและซอฟท์พาวเวอร์ให้กับศรีสะเกษอย่างมหาศาล

เพราะฉะนั้นถ้าเกิดว่าเราเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้ร่วมกันได้ ผมคิดว่ามันไม่ไกลเกินไปที่ศรีสะเกษของเราจะเป็นเมืองแห่งภาพยนตร์แล้วก็มันจะสร้างเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ทีนี้สิ่งที่เราจะต้องส่งเสริมกันหลังจากนี้คืออะไรภาครัฐถ้าเห็นแล้วว่าจุดเด่นของเราอยู่ในเรื่องของศักยภาพในการทำอุตสาหกรรมหนังมากับการศึกษา ต้องส่งเสริม ต้องมีการนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปบรรจุในหลักสูตรเพื่อส่งเสริมให้เด็ก ๆ เราเข้าถึงมากขึ้นนโยบายเรื่องของการลงทุนนโยบายด้านภาษีจูงใจให้ภาคเอกชนยากที่จะฟันดิ้งหนังให้กับคนศรีสะเกษมากขึ้นแล้วด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันผมคิดว่ามันกว้าง สมัยก่อนเยอะ มันเป็นโอกาสหนึ่งที่ผมคิดว่าศรีสะเกษของเราจะโดดเด่นได้บนเวทีของโลกครับ”

ฉากทัศน์ C เมืองแห่งดนตรี

(City of Music)

ศรีสะเกษเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เมืองแห่งดนตรี (City of Music) โดยท้องถิ่นเป็นกำลังหลัก ร่วมขับเคลื่อนการเปิดพื้นที่และสร้างโอกาสในการทำงานของศิลปิน และนักสร้างสรรค์ในชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ ทั้ง ศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินอีสานคลาสสิก ศิลปินอีสานอินดี้ ผสมผสานพหุวัฒนธรรมดนตรีร่วมสมัย เชื่อมโยงบูรณาการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรมให้กระจายการเข้าถึงที่หลากหลาย พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพงานดนตรี เครื่องดนตรี  เครื่องเสียง เวทีการแสดงและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้มีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งของศิลปินให้สอดคล้องความต้องการของผู้ชมผู้ฟังผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

“เราพูดประเด็นเรื่องอนาคตจังหวัดศรีสะเกษในปี 2,570 อยากจะชวนคุยว่า เราต้องเอาต้นทุนจากของเดิมที่มีอยู่แล้วมีเรื่องอะไรบ้างภูเขาไฟใช่ไหม ไทบ้านที่สร้างชื่อเสียงให้กับแล้ว เราควรไปโอกาสอันเนี้ยมาเป็นจุดตั้งต้นจุดสำคัญในการชิพตัวเองสู่ปี 70 ซึ่งเป็นอะไรเรามองว่ามันคือเรื่องดนตรีค่ะ

หนังก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่มันชิพไปดนตรีประกอบภาพยนตร์ มันคือห่วงโซ่ทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีหลาย ๆ อาชีพที่ประกอบมาด้วยกัน จะขออนุญาตพาทุกท่านนึกภาพตาม 3 องค์ประกอบหลักของการเป็นเมืองสร้างสรรค์

อันแรกคือเรื่องของพื้นที่ค่ะ จังหวัดศรีสะเกษเป็นเมืองน่าอยู่คือเราเคยคุยกันในวงเล็กๆว่าเอ๊ะเมืองน่าอยู่ยังไงอยู่ในแผนเศรษฐกิจของจังหวัดด้วยในการที่จะขับเคลื่อนไปบริบทของเมืองมันกำลังมาน่ารักกำลังพอดีไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไปกำลังคอมแพคและรู้สึกถึงความเป็นวิธีเป็นเมืองที่สงบแต่ไม่เงียบมีวิธีที่น่าอยู่น่าน่ามีชีวิต มีความเป็นแบบศิลปินหรือแม้กระทั่งจุดที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ได้อันนี้คือพื้นที่ที่เมืองมันมีบริบทแบบนี้คาแรกเตอร์แบบนี้ หนูเรียกว่ามันคือมันคือจิตวิญญาณของเมือง ที่มาเราจะต้องรู้เสน่ห์อันนี้เรามาหลายรอบแล้วรู้สึกว่าประทับใจอันนี้คือเรื่องพื้นที่ยืน หนึ่ง คือพื้นที่ในเชิงประวัติศาสตร์ย่านวงเวียนแม่ศรีที่เราทำเรื่องของพื้นที่อย่างสร้างสรรค์ เอาไว้นั่นคือย่านเมืองเก่าซึ่งอาจารย์ประจวบเองก็ได้ศึกษาวิจัยเรื่องนี้

อันที่สอง อยากชวนคุยประเด็นเรื่องของสินทรัพย์ ที่จังหวัดศรีสะเกษมีปูเยอะมากเลยเมื่อกี้เราคุยกันสินทรัพย์ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้จับต้องได้มีอะไรบ้างอาคารทรัพยกรรมต่าง ๆ สิ่งของโปรดักส์สินค้าที่เรามีอยู่แล้วจับต้องไม่ได้มีอะไรบางคนศรีสะเกษ เขาไม่รอโอกาส ศรีสะเกษเป็นเมืองรองไม่มีใครกล้าปฏิเสธไม่ใช่เมืองหลักไม่ใช่เซ็นเตอร์ของภาคอีสานแต่เขาสร้างโอกาสจากตัวเขาเองและไม่รอคอยโอกาสจากคนอื่นหลายภาคส่วนทั้งภาคเอกชน ภาคราชการภาคการศึกษา สร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง สร้างเป็นเมืองสปอร์ตซิตี้สร้าง เป็นเมืองหนังสร้างกลุ่มนักสร้างสรรค์ต่าง ๆ นี่คือเขาสร้างโอกาสด้วยตัวเอง อันนี้คือสินทรัพย์ที่มี

สุดท้ายคือเรื่องของดนตรี สำคัญที่สุดเขาสร้างคอมมูนิตี้เขาสร้างกลุ่มกันขึ้นมาการสร้างกลุ่มมันเป็นการเรียนรู้แบบแชร์แลกเปลี่ยนกันแบบชิบได้เลยโดยไม่ได้แบบต่างคนต่างอยู่ต่างคนต่างทำอันนี้เป็นองค์ประกอบหลักในการขับเคลื่อนทำให้เกิดระบบนิเวศสร้างสรรค์และอีกอันหนึ่งส่วนสำคัญการเป็นเมืองด้านดนตรีดนตรีเป็นภาษาสากล คุณไม่ต้องจะเข้าใจคำความหมายของภาษาเขมรก็ได้ แต่คุณสนุกคุณเรียนรู้ไปกับมันและสื่อสารสากลทั่วโลกไปอยู่บนเวทีโลกได้และเป็นอีกโอกาสหนึ่งของน้อง ๆ เยาวชนที่จะสร้างอาชีพใหม่โดยไม่ต้องออกไปที่เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ก็ตาม เขาสามารถสร้างอาชีพใหม่ ๆ ที่ปัจจุบันอาจยังไม่เกิดขึ้นได้ที่บ้านที่ศรีสะเกษแห่งนี้แล้วก็ 3 ารถแชร์ไปในสู่สายตาชาวโลกได้เช่นเดียวกันค่ะ”

เมืองหัตถกรรมและศิลปะ / เมืองแห่งดนตรี หรือ เมืองแห่งภาพยนตร์ เป็นเพียง 3 ฉากทัศน์ จากภาพอนาคตที่นับไม่ถ้วน ซึ่งหยิบยกมาเป็นเครื่องมือในวงสนทนา ให้ทั้งชาวศรีสะเกษ และคุณผู้ชมได้มองถึงต้นทุนที่รายล้อมค่ะ โดยมีผู้ขับเคลื่อนสำคัญคือศิลปิน นักสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละท้องถิ่น


คุณผู้ชมสามารถร่วมเป็นส่วนสำคัญในการมองภาพอนาคตและหาทางแก้โจทย์นี้ โดยอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ www.thecitizen.plus พร้อมเสนอประเด็นเพื่อให้เกิดเวทีฟังเสียงประเทศไทยกับไทยพีบีเอส

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ