หละปูนบ่แม่นเมืองรอง จวนมาลองหละปูน

หละปูนบ่แม่นเมืองรอง จวนมาลองหละปูน

ลองขับรถมางาน “ลองลำพูน” นี่เป็นครั้งแรกเห็นที่เราได้เห็นงานสร้างสรรค์ในโกดังร้างที่ปรับพื้นที่ให้เป็น Creative Space กลางย่านใจกลางเมืองลำพูน โกดังกรุงไทย อาร์ต แฟคทอรี่ ตั้งบนถนน มุกดา ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองลำพูน ลำพูน ถนนซอยเล็ก ๆ ที่บริเวณรอบข้างเต็มไปด้วยตึกเก่า ที่บ้างเปิดร้านเก่าไปพร้อมกับงานนี้ เราใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่นาทีเดินเข้าในงาน เดินเข้ามาเห็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ภายในงานนี้หลากหลาย ทั้งงานของศิลปินเมืองลำพูน นิทรรศการภาพถ่าย งานคราฟ ผู้ประกอบการรายย่อยต่าง ๆ ที่มาร่วมกัน “ลอง” ประกอบสร้างฟื้นย่านเมืองเก่าในคูเมืองกันสักตั้ง

แม้ว่าลำพูนจะถูกจัดให้เป็นกลุ่มเมืองสำคัญกลุ่ม 1 ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ศูนย์กลางของอาณาจักรหริภุญชัย และมีความพยายามของคนรุ่นใหม่ รุ่นเดิมในหลายกลุ่มพยายามฟื้นเศรษฐกิจลำพูน แต่ยังไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากเท่าที่ควร

ภาพบรรยากาศตึกเก่าใน จ.ลำพูน จาก Creative Economy Agency

บริบทใจกลางเมืองลำพูนในเขตเมืองเก่ามีอาคารเก่ากระจายอยู่ทั่วกว่า 128 อาคาร และถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 40% ปัจจุบันถูกประเมินว่าอยู่ในภาวะ dead space ซึ่งหลายคนในปัจจุบันมักบอกว่า ลองไปเดินลำพูนตอนประมาณหลัง 1 ทุ่มมันเป็นความเงียบสงบที่หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นเมืองที่ไร้ชีวิตนี่เป็นโจทย์หนึ่งที่ โปรเจ็กต์ลองลำพูน (Long Lamphun) ภายใต้โครงการ Lamphun City Lab ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) และเทศบาลลำพูน อีกงานหนึ่งที่คนลำพูนอยากบอก “หละปูนบ่แม่นเมืองรอง จวนมาลองตี้หละปูน”

ลองที่ 1 คนลำพูนได้ลองทำ ลองคิด จูนคนรุ่นใหม่ X คนรุ่นเดอะ เห็นศักยภาพและการไปต่อร่วมกัน

ลองที่ 2 ชวนคนนอกลองเข้ามาลำพูนทั้งจังหวัด ลองเที่ยว ลองอยู่ ลองลงทุน

การรีโนเวตโกดังร้างเก่าซึ่งเดิมทีเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้างตั้งอยู่บนถนนมุกดา ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และถ่ายทอดความหมายของเมืองลำพูนอดีต ปัจจุบัน อนาคต

Long being ~ Long stay ~ Long do

พี่เอก ไชยยง รัตนอังกูร กรรมการบริหาร Lamphun City lab และ Executive Director โปรเจ็กต์ลองลำพูน (Long Lamphun)  

พี่เอก ไชยยง รัตนอังกูร กรรมการบริหาร Lamphun City lab และ Executive Director โปรเจ็กต์ลองลำพูน (Long Lamphun)  

การทำงานนี้คือ หนึ่ง อยากลำพูนเป็นเมืองแห่งการทดลอง เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง สอง อยากให้เมืองนี้ Long ในความหมายของภาษาอังกฤษ คือ ยาวนาน ยั่งยืน มีชีวิตที่ยืนยาวนานมีความสุขยั่งยืน ในขณะเดียวกันผู้คนที่แวะเวียนเข้ามามาอยู่ที่นี่อย่างยาวนานมากขึ้น เพราะงานหลาย ๆ ชิ้นที่ค้นพบในปัจจุบันคือ

ลำพูนเป็นเมืองทางผ่านยังคงเป็นแบบนั้นอยู่ ถูกตราหน้าว่าเป็นเมืองรอง

จำนวนการผ่านคนแวะเวียนมาที่เมืองมีแค่ระยะสั้น เวลาที่คนใช้ชีวิตและมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจกิจกรรมทางท่องเที่ยวที่ลำพูนในระยะเวลาสั้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจที่สั้นตามไปด้วย โจทย์คือทำอย่างไรให้เรามีกิจกรรมมีรูปแบบของเมือง ซึ่งดึงดูดผู้คนให้มาใช้ชีวิตที่นี่ให้ยาวนานขึ้น นั้นเป็นโจทย์หนึ่งของลองลำพูน และเป็นหนึ่งในการทดลอง สองคือ คนเข้ามาแล้วหรือคนที่อยู่มีชีวิตที่ยาวทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ และกิจกรรมทางด้านสังคมที่ยาวนานมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลจะทำให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างยั่งยืนยาวนานที่ลำพูน

Call for action “บ้านเกิดของฉัน เมืองนอนของทุกคน” คนในได้ทดลองทำ คนนอกมาลองดู

สิ่งแรกที่ทำในการทดลองคือ ลอง call for action สำหรับคนในพื้นที่ก่อน ให้ทุกคนออกมาลองเปิดบ้านลองค้นหาตัวตนที่มีอยู่ ลองที่จะเปลี่ยนจากสิ่งที่เคยทำให้เป็นโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง เริ่มใช้กิจกรรมเรื่องของภาพถ่ายครอบครัวเพื่อเล่าเรื่องของเมืองผ่านภาพถ่ายของเมือง ภาพถ่ายของผู้คนที่อยู่ในเมือง ในขณะเดียวกันลองสำรวจสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่ามีสินทรัพย์อะไรบ้างที่มีคุณค่า ที่จะเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดการพัฒนาในอนาคตได้ เช่น สินทรัพย์ทางวัฒนธรรมมีงานศิลปะและมีศิลปินที่อยู่ในลำพูนเยอะแยะมากมาย มีผู้คนหลากหลายและมีงานหัตถกรรม ซึ่งองค์ประกอบโดยรวมครบถ้วนที่เห็นภายในงานนี้

อีกด้านการเหลียวดูเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งเต็มไปหมด ในทีมลองลำพูน และทีมลำพูนซิตี้แลป เดินสำรวจทรัพยากรทั่วเมือง พบสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือลำพูนเรามีอาคารร้างและไม่ได้ถูกใช้งานใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและในทางกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่มากมาย ทีมทำการเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเหล่านั้น

และลองทำตัวอย่างให้ผู้คนในลำพูนได้เห็นว่าอาคารเก่าสินทรัพย์ที่ถูกทิ้งร้างเหล่านั้นสามารถแปลงสภาพเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ทางเศรษฐกิจได้ในปัจจุบันและนาคต ยกตัวอย่างเช่นโกดังตรงนี้ที่จัดงาน ถูกปิดกว่า 10 ปีมีความพยายามประกาศขายภายใน 10 ปี แต่ยังขายไม่ได้ จึงพยายามที่จะคุยกับทางเจ้าของซึ่งธนาคารกรุงไทยเปลี่ยนให้เป็นกรุงไทยอาร์ตแฟคทอรี่ เป็นพื้นที่นำเสนอเรื่องราวซึ่งเป็นสินทรัพย์ของคนลำพูนคืองานศิลปซึ่งปกติเราไม่มีโอกาสที่จะหาดูงานศิลปได้ที่ไหนลำพูนไม่ได้ มีอาร์ตมิวเซี่ยมแต่เรามีศิลปินที่อยู่อาศัยที่ต่าง ๆ ในลำพูน ถ้าไม่ใช่คนลำพูนไม่มีทางที่จะรู้ว่าเรามีศิลปินระดับโลกอยู่ในพื้นที่ นี่เป็นโจทย์หนึ่งที่จะทำอย่างไรให้คนลำพูนรู้ คือการยกตัวอย่างการทำแบบนี้ คือ เราเทิร์นพื้นที่ให้กลายเป็น ART Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยง่าย ๆ ขึ้นมา

มีบ้านร้าง บ้านว่างเก่า ๆ ในเมืองเยอะแยะมากมาย เราชวนผู้คนเปลี่ยนบ้านเหล่านี้ให้เป็นสถานที่ ที่จะต้อนรับเชื่อมโยงที่จะมาพักอาศัยที่ลำพูน และอีกหนึ่งตัวอย่างคือการทำบ้านพักตัวอย่าง เชิญชวนผู้คนลำพูนในพื้นที่ลำพูนมานั่งดูตัวอย่าง เวิร์คช็อปร่วมกันในเมื่อถ้ามีพื้นที่อยู่กันสองคนตายายแต่มีบ้านห้องแถวสอง หากจะเปลี่ยนบ้านให้เป็นห้องพักเปลี่ยนเป็นพื้นที่ที่จะสร้างรายได้ให้กับเราตายาย ทำได้เองไหมหากทำได้เองก็ยินดีที่จะสนับสนุน และมีหนุ่มสาวสถาปนิกพี่อยู่ในเมือง creative ที่ในเมืองไปช่วย คุณตาคุณยายและพร้อมที่จะเปลี่ยนบ้านเก่าให้กลายเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว

สิ่งเหล่านี้คือการ call for action สำหรับคนในเมือง ทำแบบนี้เพื่ออะไร เพื่อที่จะทำให้เห็นว่าลำพูนทั้งเมือง ที่อาจจะไม่ได้อยู่ในเมืองได้เห็นว่าลำพูนมีกิจกรรมแบบนี้เกิดขึ้น และมีสินทรัพย์ต้นทุนในพื้นที่แบบนี้และมี Ecosystem บ้านพัก ร้านกาแฟ ร้านอาหารมีระบบนิเวศซึ่งเอื้อ ที่จะทำให้การท่องเที่ยวเชื่อมต่อกัน และชวนคนนอกย้ายมาอยู่ที่นี่แล้วเมื่อเทียบกับต้นทุนของการใช้ชีวิต เทียบกับเมืองกับรอบข้าง ต้นทุนการใช้ชีวิตที่ลำพูนยังไม่ได้สูงมาก ลำพูนอาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งให้คนนอกสามารถเข้ามาลงทุนตั้งออฟฟิศอยู่ จากเดิมที่เคยมีสตูดิโออยู่ที่ในเมืองใหญ่ ๆ อย่างเชียงใหม่ซึ่งราคาค่าเช่าสูงก็อาจมาตั้งออฟฟิศที่นี่ก็ได้ ตอนนี้สิ่งหนึ่งที่ต้องการ คือ เราต้องการให้คนลำพูนเปิดเมือง เปิดตัว เปิดใจทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันเราต้องเปิดเมืองเพื่อต้อนรับผู้คนข้างนอกกลับมาร่วมทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกับเรา เพราะลำพังเมืองทั้งเมืองไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นิทรรศการหนึ่งที่ชื่อว่าบ้านเกิดเมืองนอนเราใช้แท็กไลน์ว่า บ้านเกิดของฉัน เมืองนอนของทุกคน โจทย์ที่ลองลำพูนพยายามเสนอ

เส้นทางผ้าลำพูน Silk and THE CITY

ผ้าทอมือ ที่ว่ากันว่า งดงามที่สุดของภาคเหนือ และหญิงสาวชาวเหนือที่จะเข้าพิธีแต่งงานต้องสวมชุดผ้าทอจากลำพูนเท่านั้น การันตีได้จากชุดไทยที่ทำจาก ‘ผ้าไหมยกดอกลำพูน’ ซึ่งลิซ่า Blackpink สวมใส่ในมิวสิควิดิโอเพลง LALISA แบรนด์ผ้าชื่อดังอย่างนันทขว้าง ก็มีต้นกำเนิดจากที่นี่ ไหนจะตุ๊กตาแกะสลักไม้สวมชุดชาวเขา ตุ๊กตานางรำ ไปจนถึงไส้อั่วยายปี๋ ไส้อั่วเก่าแก่ระดับตำนานที่เป็นของฝากชื่อดังของลำพูน

ทอภาพฝันเมืองลำพูนสู่ มหานครแห่งผ้า

กิจกรรมหนึ่งในงานลองลำพูน “ทอภาพฝันเมืองลำพูนสู่ มหานครแห่งผ้า” ลำพูนมีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ผ้ากับเมืองมีความสัมพันธ์กันไหม เรายังไม่ค่อยเห็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้เห็นว่าผ้ากับเมือง มีความผูกพันสัมพันธ์กัน ทดลองชวนคนทำผ้าทั้งจังหวัดลำพูนมานั่งคิดรวมกัน ในเมื่อเราเป็นหนึ่งในเรื่องของการทำผ้าทอยกดอกก็ต้องเมืองลำพูน ผ้าฝ้ายทอมือต้องเมืองลำพูน งานผ้าต่าง ๆ ลำพูนเป็นเหมือนนครหลวงของผ้า ทำอย่างไรให้โลกรู้ ให้คนลำพูนรู้ ว่าจะพัฒนาแนวทางอย่างไร ให้เมืองกลายเป็นนครหลวงแห่งผ้า ทำให้คนมาที่นี่ด้วยเงื่อนไขของผ้า คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับแฟชั่นในอนาคตกลายเป็น ดึงดูดอีกจุดหนึ่งของลำพูน

เมือง ๆ หนึ่งต้องมีสิ่งที่เป็นจุดหมายปลายทางที่หลากหลายเพื่อที่จะดึงดูดผู้คนมา ซึ่งกิจกรรมนี้ได้มาเป็น Road Maps Commitment ที่ผู้คนในกลุ่มเกี่ยวกับผ้ามาทำสัญญาร่วมกันวันนั้นเจตนารมย์ร่วมกันว่าจะพัฒนานอกจากพัฒนา product คือ ผ้าแล้ว จะพัฒนาตนเองในเรื่องของผ้ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาเมืองไปด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น การเปิดพื้นที่โรงย้อมให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ พัฒนาโรงทอให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จะพัฒนาศูนย์เกี่ยวกับรวบรวมลายผ้าเป็นพิพิธภัณฑ์หลายผ้ายกดอกจะทำให้พิพิธภัณฑ์ลายผ้ายกดอกกลายเป็นคาเฟ่ Working space ร้านอาหารได้อย่างไร ไม่ใช่เพียงทำโรงทอแล้วปิดและส่งไปขายที่เมืองทองธานีกลายเป็นทำให้เมืองเงียบเหมือนเดิม ทำอย่างไรให้กิจกรรมเหล่านี้ดึงดูดผู้คนกลับมา ดึงแฟนที่เป็นแฟนคลับผ้าลำพูนทั่วประเทศกลับมาเที่ยว มาดู มาตามรถ Maps มาทดลองทำมาเห็นบรรยากาศของเมือง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดภาพที่สวยงามผ้ากับเมือง เป็นสิ่งที่ลองลำพูนก็ชวนคนมาทดลองคิดทดลองทำ

หลังจากที่ได้ทดลองทำ กับ “ลองลำพูน”

หลังจากที่ได้ชวนทุกคนในลำพูนมาทดลอง คิดว่าน่าจะได้ผลการทดลองที่ตามมาในอนาคต เราอาจจะเห็นบ้านพักโฮมสเตย์ที่พร้อมจะพัฒนาและให้นักท่องเที่ยว เข้ามาที่มีมาตรฐานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมีกำลังซื้อเข้ามาอยู่ที่เมืองเริ่มต้นอาจจะสองห้องสามห้อง สี่ห้อง หวังว่าจะเป็นแบบนั้น เป็นการเปลี่ยนสินทรัพย์อาคารที่ปัจจุบันไม่ได้สร้างรายได้มาเป็นอาคารที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนสิ่งเหล่านี้นั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างระบบดึงผู้คน เข้ามาเติมเต็มในเมืองมากขึ้นทำให้คนในเมืองมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีผู้เล่น มีแขกเข้ามาเยี่ยมเยือนมากขึ้น

ในขณะเดียวกันในส่วนที่เป็นภาพใหญ่การพัฒนาเมืองเชื่อว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานราชการในพื้นที่น่าจะเห็นตัวอย่างต้นแบบของรูปแบบการพัฒนาเดิม ที่มีแต่ไอเดีย มองไม่เห็นความเป็นไปได้ว่าจะทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ลองลำพูนก็ทดลองทำให้เห็นแล้วว่าเรามีสินทรัพย์และสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นรูปแบบของแกลเลอรี่ หรือพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมซึ่งแสดงงานที่มีคุณภาพที่เทียบ ได้กับงานแสดงศิลปะระดับโลกได้

ตนมั่นใจว่าทุกอย่างที่เราวางไว้โชว์เป็นตัวอย่าง ทำให้ระบบบริหารราชการท้องถิ่นมั่นใจและเห็นภาพมากขึ้นว่ามันมีความเป็นไปได้และเริ่มคิดเริ่มวางแผน เดิมทีเราไปดูงานในต่างประเทศบางทีเห็นตัวอย่างที่มันใกล้ตัวไป ดูตัวอย่างความสำเร็จของคนอื่นไม่ไกล เขียงเท่าตัวอย่างของตัวเองมาจัดทำให้เป็น Prototype ให้เห็นว่าของทุกอย่างสินเบี้ยใกล้มือทั้งนั้น

การพัฒนาเมืองหลักที่ผ่านมาแม้แต่เมืองในภูมิภาคเอง ก็ทำให้เกิดความเป็นรองของ เมืองรอบข้าง และหลายเมืองกำลังอยู่ในสถานการณ์เมืองหด แต่จะทำไม่ให้ถดถอยได้อย่างไร ?

เข้าใจว่าการวางมาสเตอร์แปลนของการพัฒนาประเทศในภาพใหญ่ต้องมีเมืองหลักและเมืองรอง แต่นั่นเป็นภาพใหญ่แต่ในเชิงการพัฒนาในระดับไมโคร ไม่ควรจะดูว่าพัฒนาโดยยึดแนวทางว่าเมืองไหนคือเมืองหลัก เมืองไหนคือเมืองรอง จริง ๆ ทุกเมืองเป็นเมืองหลักได้ด้วยตัวของมันเองถ้าใช้การพัฒนาเมืองที่บนพื้นฐานของสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของแต่ละเมืองนั้น เมืองนั้นเป็นเมืองหลักในแต่ละเรื่องได้ เช่น เมืองลำพูนสินทรัพย์ของเขาคือศิลปะ วัฒนธรรม หัตถกรรม ความเป็นมือถักทอ สินทรัพย์คือเป็นการทำงานเกษตรชั้นสูง เราก็โฟกัสเรื่องนั้นเลยและทำเรื่องนั้นให้เป็นเรื่องหลักทุ่มเทงบประมาณยุทธศาสตร์การวางยุทธศาสตร์ทุ่มเทกระบวนการทำงานของทุกหน่วยงาน เพื่อที่จะสร้างสิ่งหลักให้กลายเป็นสิ่งที่มีรูปแบบการพัฒนาที่มั่นคงมี infrastructure ให้สิ่งเหล่านี้ได้พัฒนาได้อย่างมั่นคง

เพราะฉะนั้นจะ ไม่มีคำว่าเมืองรอง “จะมีแต่เมืองหลัก ในเรื่อง นั้น ๆ เพราะแต่ละเมืองมีความต่างกัน ฉะนั้นทุกเมืองจะเป็นเมืองหลัก เราก็จะไม่ได้โฟกัสว่าอันนี้คือหลัก อันนี้รอง อันนั้นมาก อันนี้น้อย วิธีคิดแบบนี้จะทำให้วิธีคิดสร้างความหลากหลายให้กับเมือง สร้างความหลากหลายให้กับท้องถิ่น และในขณะเดียวกันการจัดการงบประมาณก็จะง่ายมากขึ้นมากกว่าการบริหารจากส่วนกลางเพราะเป็นการบริหารโดยไม่ยึด area base เป็นหลักเป็นเรื่อง subject base topic base ในเมื่อมีความชัดเจนในเรื่องใดใดกลไกวิธีการพัฒนาการจัดสรรงบประมาณการบริหารโครงการก็จะชัดเจน

คุณอัญ อัญมณี มาตยาบุญ  สถาปนิกสาวชาวลำพูน : Creative director Lamphun City Lab

เปลี่ยน 40 นาที ต่อคน ต่อนาที ตั้งโจทย์ให้เป็น 3 วัน 2 คืน

โจทย์เรื่องตึกร้างบ้านเก่าที่เราต้องการเปลี่ยนให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองได้ แต่อีกโจทก์หนึ่งที่สำคัญ คือ โจทก์ระยะเวลาที่นักท่องเที่ยวใช้เวลาในจังหวัดลำพูนแค่  40 นาที ต่อคน ต่อนาที ซึ่งไม่สามารถสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ คนในพื้นที่ก็จำนวนน้อยและไม่กินไม่ซื้อจับจ่ายใช้สอย จึงไม่สามารถเกิดความเคลื่อนไหวระบบนิเวศของเศรษฐกิจใดมากพอที่จะพัฒนาเมืองไปในทิศทางที่เป็นเมืองสร้างสรรค์ ที่นี่มาร่วมกันตั้งโจทย์เปลี่ยน 40 นาที ต่อคน ต่อนาที ให้เป็น 3 วัน 2 คืน วิธีจะดึงนักท่องเที่ยวให้อยู่ในสามวันสองคืนต้องมีอะไรบ้างต้องมีที่พักมีที่ไปต้องมีการเดินทางจากสิ่งนี้เลยตีโจทย์จากโจทย์นี้ทำเป็นห้องพักตัวอย่างนักท่องเที่ยวทำเป็นรูทการท่องเที่ยวในลำพูนที่จะอยู่ได้ 3 วัน 2 คืนขึ้นมา แต่การมาท่องเที่ยวก็อาจจะเชื่อมโยงจากทางเชียงใหม่มาลำพูนใช้เวลากี่นาที จากลำพูนไปอำเภออื่นกี่นาที ว่าด้วยเรื่องเวลา ภายใต้แผนที่นี้มีข้อมูลผู้ประกอบการ 4 หมวด คือ เรื่องของศิลปะแหล่งหัตถกรรม แหล่งที่เป็นฟาร์มเกษตรหรือกรีนสเปซ เส้นทางการกินอาหารโลคัล

ลองในที่นี้หมายถึง สำหรับคนนอกเธอลองเที่ยวลองอยู่ลองใช้ชีวิตที่เหลือให้นานขึ้นอีกซักหน่อย สำหรับคนในลองเปิดบ้าน ลองเปิดใจ

หลังจากทดลอง เห็นคนที่มาเป็นคนกลุ่มใหม่ที่เราไม่เคยเจอมาก่อนในการทำงานในลำพูนเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่กลุ่มคนที่มีครอบครัวเริ่มมีครอบครัวและกลุ่มคนวัยทำงานในส่วนของชุมชนเองเข้ามาเพื่อทดลองขายสินค้ามาดูห้องพักตัวอย่างมาดูบ้านตัวอย่างผ่านงานนี้มีกลุ่มคนรุ่นใหม่มากมาย

สิ่งหนึ่งที่ดีใจมากคือจากการทดลองเปิดพื้นที่ตรงนี้ร้านรอบข้างเปิดด้วยเปิดตามจากตรงนี้ขยายไปสู่ร้านรอบข้างร้านกาแฟร้านตัดผมร้านไอติมคนรุ่นใหม่ขายโพสการ์ดอยากให้ในอนาคตที่เรามีแรงมากกว่านี้มีสักพักกำลังเพิ่มเติมอย่าขยายผลให้กว้างขึ้น

พอได้ลองทำแล้วมองอนาคตเมืองลำพูนในฐานะทีมที่ทำงานตั้งแต่คิดและทำให้เกิดขึ้นจริงสำหรับลำพูนตัวเองมองว่า เราต้องการโครงสร้างที่พัฒนาในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของคนโครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่แค่ถนนไม่ใช่แค่ท่อระบายน้ำสายไฟเสาไฟฟ้ามันคือโครงสร้างพื้นฐานที่จะพัฒนาปัญญาของคน ในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ให้คนมาได้แสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรทดลองทำธุรกิจใหม่หรือทดลองวางงานศิลปให้สาธารณะชนสิ่งเหล่านี้ อย่างอาคารตัวนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เกิดการพัฒนาในด้านของคนมากขึ้น

สื่อหนึ่งในพื้นที่ที่มาสัมภาษณ์ทีมทำงานคือเด็กมัธยมที่เรียนอยู่ในลำพูน น้อง ๆ มัธยม ถือกล้องถ่าย ใช้มือถือสัมภาษณ์ทีมงาน ถึงเบื้องหลังงานนี้มันคืออะไร ซึ่งเราในฐานะคนทำงานนี่เป็นมิชชั่นหนึ่งที่อยากให้คนในพื้นที่เห็นว่าในบ้านเกิดของทุกคนที่อยู่ในลำพูนมีสิ่งที่เป็นสินทรัพย์มากมายและเป็นโอกาสในการทำงานในอาชีพในบ้านเกิดในอนาคตของเขาได้

อิงฟ้า เบญจมาภรณ์ ดวงเกิด : Project coordinator โปรเจกต์ “ลองลำพูน” คนหละปูน เกิด ใหญ่ ตี้หละปูน

ลอง ไม่ใช่ รอง ลอง…กลับมา เพราะ คนรุ่นใหม่ออกจากลำพูนไปเยอะ

อยากให้คนเข้ามาลองใช้ชีวิตในลำพูนให้นานมากขึ้นนานมากกว่า 40 นาทีทั้งลองอยู่ลองใช้ชีวิตลองทำธุรกิจหรือลองอะไรก็ได้ที่อยากเข้ามาอยู่ในพื้นที่จังหวัดลำพูน

ลำพูนมีทั้งเรื่องราวประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นประวัติศาสตร์ยาวนานหลาย 1,000 ปีและมีเรื่องราวหลายอย่างที่เราสามารถเข้ามาหลงใหลเข้ามาอยู่กับมันได้อีกหนึ่งอย่างในฐานะคนรุ่นใหม่ในตัวเมืองลำพูนมีคนอยู่เพียงแค่ 2,000 คนซึ่งน้อยมาก เทียบเท่ากับถนนวัวลายเชียงใหม่แค่เพียงเส้นเดียว ทำให้นิเวศการขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจเมืองทางสังคมมันเงียบและน้อยมาก

“ถ้าเปรียบเทียบคือไม่ได้เป็นเมืองผู้สูงอายุแต่เป็นเมืองของผู้ป่วยติดเตียงสามทุ่มจะไม่มีรถขับในตัวเมืองแล้ว”

เมืองถูกกำหนดเป็นเมืองวัฒนธรรมเพราะฉะนั้นเราจะเห็นร้านที่สามารถนั่งดื่มกิน และได้น้อยคนรุ่นใหม่ออกจากบ้านเกิดไปเยอะ เราจึงอยากดึงเด็กรุ่นใหม่หรือคนที่เป็นคนรุ่นใหม่กลับเข้ามาอยู่ในเมืองลำพูนแล้วสร้าง dynamic สร้างเศรษฐกิจพื้นที่

เป้าหมายของงานคือการทำพื้นที่สร้างสรรค์ศิลปะ อย่างในงานลองลำพูนคนที่เป็นผู้ประกอบการที่เข้ามาจอยงานร่วมงานจะเป็นคนในชุมชน ส่วนนึงไม่เข้าใจแต่ส่วนนึงก็ได้ลองมาทดลองทำร่วมกัน อีกเป้าหมายหนึ่งคืออยากทำให้เมืองสวยงามคนที่มาอยู่เราไม่ได้ปิดกั้นว่าจะต้องเป็นคนลำพูนเท่านั้นเราต้องการทุกคนที่อยากจะให้เมืองพัฒนาได้ลองเข้ามาร่วมที่รักลำพูนที่คิดว่าอยากอยู่ลำพูน

อิงฟ้ามองว่าลำพูนมีอยู่สองรูปแบบคือคนรุ่นใหม่ที่อยากพัฒนาเมืองไปให้สุดกับอีกรุ่นหนึ่งที่ยังมองว่าลำพูนเป็นเพียงเมืองประวัติศาตร์ทางโบราณคดี ซึ่งเป็นเรื่องไม่ผิดทั้งสองฝ่ายแต่ควรจะมีพื้นที่ตรงกลางในการที่แชร์แนวทางและความคิดร่วมกันในทีมเคยคุยกันถึงเรื่องของการที่จะให้คนรุ่นเก่า เข้าใจในสิ่งที่เราทำว่าเราพยายามทำในสิ่งที่เป็นความยั่งยืนของพื้นที่และเราก็รักลำพูนในแบบที่เขารักเช่นกันเพราะนี่ก็เป็นบ้านเกิดของเรา

มองอนาคตหลังจากลองทำ

แผนของเราต้องการที่จะสร้าง dynamic ในเมืองลำพูนให้ลำพูนกลับมามีชีวิตอีกครั้งให้บ้านเมืองสวยให้ตึกร้างไม่เป็นตึกร้างให้ในเมืองกลับมามีชีวิตเชื่อมโยงพื้นที่ภายนอกชาวบ้านได้รับรายได้จากการท่องเที่ยวไม่จำเป็นจะต้องหน้าเกษตรกรรมหรือฤดูกาลท่องเที่ยวใดเพียงอย่างเดียวแต่ ส่วนนึงคืออยากเป็นกระบอกเสียงให้คนลำพูนเปลี่ยนแปลงความคิดบางอย่างเพื่อที่จะเข้ากับโลกยุคปัจจุบันแต่ไม่ได้ละทิ้งสิ่งเดิมให้ร่วมสมัยมากขึ้น

อนาคตอยากต่อยอดทำพื้นที่ art academy ในพื้นที่ลำพูนเด็กที่สนใจด้านศิลปะเชื่อมโยงอยู่ในลำพูนอยู่แล้วอย่างวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พรีเซนต์ความเป็นเชียงใหม่ได้สวยงาม ถ้ามีเด็กในลำพูนที่เข้าใจเรื่องศิลปะและเชื่อมโยงเรียนรู้จากศิลปินที่อยู่ในจังหวัดลำพูนที่มาความสามารถเค้าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ศิลปะในพื้นที่ลำพูนยังเหยินและพรีเซนต์ความเป็นลำพูนออกมาในรูปแบบของศิลปะได้อย่างสวยงามของจังหวัดลำพูนเช่นกัน

ลองคิดว่าตัวเองนั่งในห้องเงียบ “อยากบอกอะไรกับเมืองลำพูน” ในฐานะคนรุ่นใหม่

อยากให้ทุกคนในลำพูนออกมาช่วยกันเปลี่ยนบ้านเกิดเมืองนอนของเราตัวเองเองเข้าใจและทุกคนมองเห็นเหมือนกันว่าเมืองลำพูนไม่ไหวแล้วจริงๆและมันเงียบเกินไปซึ่งเราจะอยู่กันแบบนี้ไม่ได้ในโลกยกนี้ถ้าหากเราต้องการจะก้าวต่อไปและมองอนาคตเมืองลำพูนไปด้วยกันต้องจับมือกันทั้งคนรุ่นใหม่คนรุ่นเก่าแล้วคุยกันว่าสิ่งที่เราทำจะทำไปในทิศทางไหน “ลองมาเข้าใจกันดู” เพราะสุดท้ายไม่ว่าจะคนรุ่นไหนสิ่งที่มีเจตนารมย์ร่วมกันคือเป้าหมายเดียวกันทำเมืองนี้ลำพูนทั้งเมืองให้น่าอยู่และมีความสุขที่สุด

เร็ว ๆ นี้รถแห่ locals voice ภาคเหนือ แห่รถไปฟังเสียงคนหละปูน เสียงคนท้องถิ่นมีความสำคัญไหม ?

  • เสียงของท้องถิ่น เป็นเสียงที่สำคัญมาก เป็นเหมือนการรวบรวมเสียงพลังของคนท้องถิ่น เป็นเหมือนการแสดงเจตนารมย์หรือทิศทางที่คนอยากจะเห็นอนาคตของตัวเองว่าจะไปในทิศทางไหน สิ่งหนึ่งที่กลไกของรัฐกลไกของภาคสังคมกลไกขององค์กรต่างๆ ที่อยู่รอบรอบมีหน้าที่ทำอย่างเดียว คือ ทำอย่างไรให้เจตนารมย์ของประชาชนเสียงของคนท้องถิ่นเหล่านั้นได้ถูกปฏิบัติ ได้ถูกทำให้เกิดขึ้นเป็นจริง นั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เมืองไหนที่ไม่มีเสียงของคนท้องถิ่นและเจตนารมย์ของประชาชนนั้นเป็นเมืองที่แห้งแล้ง เพราะฉะนั้นเมืองไหนที่มีเจตนารมย์ที่ชัดเจนนั่นคือเมืองที่มีอนาคต ลองลำพูนชัดเจนว่าการทำกิจกรรมครั้งนี้เพื่อให้คนมาทดลองทำ สิ่งหนึ่งที่เราอยากได้รับเป็นเป้าหมายคืออยากให้คนในพื้นที่มีเจตนารมย์ร่วมกัน และเห็นภาพที่ชัดเจนอยากให้คนเห็นภาพความต้องการของคนในเมืองนี้อย่างชัดเจนว่าเค้ามองอนาคตของเค้าอย่างไรเสียงของคนในท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่เราทำเวทีต่าง ๆ ตั้งแต่ปีที่แล้วชัดขึ้นเรื่อย ๆ แต่จะพูดกี่ทีก็เหมือนเดิมสิ่งหนึ่งที่เดียวที่ไม่เหมือนเดิมต้องไม่เหมือนเดิมคือกลไกที่จะต้องมา Support ต้องจริงจังหนักแน่นต้องมาทำงานร่วมกับเจตนารมย์ของคนในพื้นที่ ทุกวันนี้ประชาชนไม่เปลี่ยนแปลงแต่องคาพยพเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงในเรื่องวิธีคิดเปลี่ยนแปลงในเรื่องของคน ถึงทรัพยากรไม่มั่นคงแต่ประชาชนมั่นคงมาก
  • เสียงของคนท้องถิ่นสำคัญมาก เพราะเป็นเสียงของประชาชนที่อยากจะได้หรือมองอนาคตเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับเสียงของคนประชาชนความต้องการของคนในพื้นที่จริง ๆ ภาครัฐแทบไม่ต้องคิดอะไรเยอะถ้าฟังเสียงและทำ facilitate ให้เกิดขึ้นเพราะคนในพื้นที่หลายองค่ะพยบพร้อมที่จะทำร่วมด้วยและให้สนับสนุน
  • Human rights ของเราเสียงของท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเรามีสิทธิ์ที่จะจัดการทรัพยากรหรือพื้นที่ที่เราอยู่แล้วคนท้องถิ่นเค้าเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่จริง ๆ เค้ามีส่วนในการจัดการชีวิตจัดการพื้นที่และมีส่วนในการออกแบบคุณภาพชีวิตของเค้าได้เสียงของท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะได้สื่อสารออกมาและขับเคลื่อนตนเองเคยเรียนด้านกฎหมายมากฎหมายของคนอื่นกับกฎหมายของตัวเองเองอาจจะไม่เหมือนกันเพราะกฎหมายของอิงจะ base on human rights มันเป็นวงกลมอันใหญ่แล้วรัฐธรรมนูญกฎหมายสิ่งแวดล้อมกฎหมายแพ่งอาญาต่าง ๆ มันต้องอยู่ในขอบเขตของ Human rights ถ้ากฎหมายข้อใดมันไม่ได้เป็นไปตามนั้นคือมันไม่ใช่กฎหมายสำหรับตัวเอง

รถ “Locals Voice” สตูดิโอเคลื่อนที่จาก Thai PBS เดินทางมาปะคนเหนือ เริ่ม 25 กันยายน – 3 ตุลาคม 2566 นี้

เมื่อท้องถิ่น เต็มไปด้วยเรื่องราว และกิจกรรมสำคัญที่หลากหลายที่คนพื้นที่และภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนอยู่ ทีม Locals Thai PBS  ขอมีส่วนร่วมกับกิจกรรมและเรื่องราวของท้องถิ่น พา “รถ Locals Voice” สตูดิโอเคลื่อนที่ ตระเวน ไปยัง พื้นที่ภูมิภาค อีสาน เหนือ กลาง ใต้ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของภาคีเครือข่ายหลากหลายรูปแบบ โดยไทยพีบีเอส ได้ออกแบบ รถ Local Voice ให้เป็นสตูดิโอเคลื่อนที่ ที่สามารถเดินทางและแวะในพื้นที่สาธารณะและจัดกิจกรรมด้วยกันกับภาคีเครือข่าย มหาวิทยาลัยหรือองค์กรสาธารณะในพื้นที่

ชวนคนในพื้นที่ “หละปูนบ่แม่นเมืองรอง จวนมาลองตี้หละปูน”

วัน อาทิตย์ ที่ 24 กันยายน 2566

  • รถ “Locals Voice” ถึง จังหวัดลำพูน นำจอดที่ กรุงไทย อาร์ต แฟคทอรี่ ถนน มุกดา ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองลำพูน ชวนชมนิทรรศกาลเรื่องเล่า เมืองลำพูน บ้านเกิดเมืองนอน และ นิทรรศกาลโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เมืองลำพูนอย่างยั่งยืน สกสว.Xมช. 
  • รถ “Locals Voice” เปิดรถให้คนเข้ามาร่วมกิจกรรม ห้อง “โล่ง” บนรถรวมเรื่องของคนลำพูนที่อยากจะบอก (เราจะเอาเสียงทุกเสียงมาฟังและขยายเรื่องนี้ต่อ)
  • Local Forum ตั้งวงคุย “เจนใหม่ X เจนเก่า ลองหาต้นทุน “ลำพูนเมืองลอง” ไม่ใช่เมืองรอง
  • Work Shop “นักสื่อสารจัดการเมือง” ณ หอศิลป์สล่าเลาเลือง

วัน จันทร์ ที่ 25 กันยายน 2566

  • บันทึกเทปรายการฟังเสียงประเทศไทย โจทย์ อนาคตท่องเที่ยว ลำพูน
  • ออกเดินทางจาก อ.เมืองลำพูน ไป ยัง อ.ลี้ บ้านก้อลำพูน แวะ จุดที่ 1.อ.ป่าซาง-กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองเงือก อ.ป่าซาง จุดที่ 2.ปกาคอฟฟี่ pa’ka coffee กาแฟดูแลป่า อ.บ้านโฮ่ง

วัน อังคาร ที่ 26 กันยายน 2566

  • รถ “Locals Voice” ขับแห่ตามเส้นทางท่องเที่ยว บ้านก้อ ทุนชุมชนที่ก่อตัว เตรียมออกจากวังวนฝุ่น โดย คุณ จิรกร สุวงศ์  เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ ก้อ เที่ยวเส้นทางชุมชน เริ่มจาก ศูนย์ทอผ้า ก้อทุ่งโฮม > แก่งก้อ > ดูที่พักอุทยานฯ > เที่ยวฟาร์มไก่ไข่ > เที่ยวsmart farm > ดูที่พักโฮมสเตย์ > เข้าอุทยาน ชมทุ่งกิ๊ก
  • Local Forum ตั้งวงคุย ก้อกำลังเปลี่ยน “ตั้งต้นทุนชุมชน ก่อตัวเตรียมออกจากวังวนฝุ่น”

วัน พุธ ที่ 27 กันยายน 2566

  • กิจกรรม “ห้องโล่ง” จุดบอกเรื่อง ที่อยากบอก อยากเล่า (ในตัวเมืองหละปูน)
  • รถLocals voice X เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน ร่วมเปิดนิทรรศกาลโคมแสนดวง ณ หอศิลป์สล่าเลาเลือง
  • นิทรรศกาลโคมนานาชาติ สาระความรู้  // กิจกรรมสาธิตการทำโคม ร่วมกับกลุ่มชาวบ้าน ใต้ต้นฉ่ำฉา // เวทีเสวนาเรื่อง แนวคิดโคมแสนดวงที่เมืองลำพูนสู่เทศกาลโคมนานาชาติ ครอสไลฟ์องศาเหนือ

แล้วพบกันจาว “หละปูน”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ