เครือข่ายเหนือ ยื่นแผนเฉพาะหน้าแก้ฝุ่นถึงมือนายก

เครือข่ายเหนือ ยื่นแผนเฉพาะหน้าแก้ฝุ่นถึงมือนายก

เรื่องและภาพ : สถานีฝุ่น

16 กันยายน 2566 เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ หอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ และภาคประชาชน ได้มีข้อเสนอเชิงยุทธศาตร์และมีมติให้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวต่อท่านนายกรัฐมนตรีนายเศรษฐา ทวีสิน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสั่งการให้มีการบริหารลักษณะเฉพาะพื้นที่ในเขตป่าอุทยานแห่งชาติทั้ง 10 แห่ง ที่มีการเผาไหม้ซ้ําซาก มาตลอด 5-10 ปีรวมจํานวนพื้นที่มากกว่า 2 ล้านไร่ต่อปีและก่อเกิดฝุ่นขนาดใหญ่ (ปลาตัวใหญ่) อ้างอิง Big Data จากคณะทํางานของสบนร.ที่มีดร.เจนชาญณรงค์เป็นหัวหน้าคณะทํางาน) รวมถึงปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยฝุ่นควันจากทั้งสองแหล่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนืออย่างรุนแรงมาตลอด (งานวิชาการของ มช.ระบุมีผลต่อวิกฤติฝุ่นแหล่งละ 50%) รวมทั้งสอดคล้องกับ การแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11-12 กันยายน 2566 ที่กล่าวปัญหาฝุ่นควันที่ทวีความ รุนแรงมากขึ้น

แผนยุทธศาสตร์ฯระยะเฉพาะหน้า ให้ปฏิบัติได้ในช่วงต้นปี 2567 ทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่

1.ให้มีแผนการบริหารการเผาท้ัง 10 แปลงใหญ่

1.1 แต่งต้ังคณะทํางานที่มีเป้าหมายเพื่อบริหารการเผาอย่างเหมาะสมเพื่อลดความวิกฤติของ ฝุ่นควันใน 10 พื้นที่แปลงใหญ่ให้ได้ ช่วง ตุลาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 โดยมีนายกฯหรือรองนายกฯที่รับผิดชอบเป็นประธานคณะทํางานมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชน ภาคเอกชน ร่วมเป็นคณะทํางาน

1.2 มอบหมายหรือแต่งตั้งให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทั้ง 10 แห่ง เป็น CEO บริหารงานในช่วง ตุลาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 และให้รัฐบาลสนับสนุนอํานาจตามกฏหมาย งบประมาณ กําลังพลให้เหมาะสม กับขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ เร่งรัดให้มีการทําความเข้าใจร่วมกันกับชุมชนใกล้ป่าและแหล่งกําเนิดมลพิษในข่วง ตุลาคม – ธันวาคม 2566 มีกลไกบูรณาการหลายฝ่ายทั้งป่าไม้ ฝ่ายปกครอง องค์กรท้องถิ่น ชุมชน วิชาการ เพื่อ ทําแผนจัดการไฟร่วมกันบนพื้นฐานไฟจําเป็น ที่ต้องจัดการอย่างเหมาะสม และจัดการป้องกันไฟต้องห้ามอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การยกระดับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เป็นการสื่อสารภัยพิบัติ ระดับเดียวกับ กรณีน้ําท่วม โควิด 19 หรือ กรณีหมูป่าติดถ้ํา มีโฆษกสถานการณ์ ระดับชาติ และระดับจังหวัดและช่องทางสื่อสารทั่วถึง

3. แก้ปัญหาระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะของกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะประเด็นที่ไม่สามารถประกาศเขตภัยพิบัติอันเกิดจากมลพิษฝุ่นควัน เช่นพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่อําเภอสายไม่ได้รับการ ช่วยเหลือบรรเทาอย่างที่ควร ให้มีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบรุนแรง และให้มีนโยบายมาตรการทาง ภาษีหรือห้ามนําเข้าพืชเกษตรใช้ไฟที่ก่อมลพิษผลกระทบข้ามแดนเพิ่มจากที่รัฐบาลแถลง

4. แก้ปัญหาการขาดเจ้าภาพรับผิดชอบดูแลและจัดการป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นผลกระทบจากการถ่าย โอนภารกิจป้องกันและดับไฟป่า จากกรมป่าไม้ เสนอให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพิ่ม พร้อมปรับปรุงระเบียบใช้เงินให้สอดคล้องกับปัญหา ในระยะยาวให้มีหน่วยดับไฟป่าตําบลบรรจุเป็นมาตรการ ตามวาระแห่งชาติฉบับใหม่5. ให้เร่งรัดแก้ปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการเผาในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ เพื่อนบ้าน (มีการเพิ่มพื้นที่มากถึง 10% ในปี 2566 ข้อมูล กรีนพีช) แม้อาจจะขัดแย้งกับข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนตามที่กําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจึงต้องตัดสินใจที่จะดําเนินการในเรื่องฝุ่นควันข้ามแดน ดังนี้1.) ให้ใช้ระบบตรวจสอบ Good Agriculture Practices (GAP) ทันทีในการนําเข้า พืชผลการเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน2.) ให้ผู้รับซื้อในประเทศประสานผู้ปลูกให้เข้าระบบ Fire Check (ระบบการบริหาร การเผาที่สอดคล้องกับสภาพความพร้อมในการระบายอากาศ อ้างอิง คพ.และมช.)3.) ให้จัดตั้งศูนย์กลางปฏิบัติการร่วมแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 ระดับอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ที่ภาคเหนือตอนบน

สภาลมหายใจภาคเหนือจี้นายกเศรษฐา-ข้อุเสนอ.pdf

เฉพาะกิจรับ67 รัฐบาลเพื่อไทย.pdf

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ