ชี้เป้าไฟแปลงใหญ่ เสนอนายกแก้ฝุ่นเหนือ

ชี้เป้าไฟแปลงใหญ่ เสนอนายกแก้ฝุ่นเหนือ

ปริมณฑลของฝุ่นเป็นปัญหาใหญ่ของภาคเหนือ จึงต้องมีข้อเสนอชุดมาตรการในการนำเสนอเป็นเล่มใหญ่ วันนี้สิ่งที่จะต้องนำเสนอแบบเร่งด่วน ในระยะเวลา 3 เดือนสุดท้ายของ 2566 จะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อต่อเนื่องไปยังเวทีแก้ไขวาระแห่งชาติ เชื่อมต่อไปยังรีวิวในเดือนถัดไป ในประเด็นกรอบอื่น ๆ เช่น มาตรการว่าด้วยการจราจร อุตสาหกรรม การจัดหาเครื่องใช้ให้เพียงพอ และถูกบรรจุในวาระแห่งชาติได้

ศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 วงรวมข้อเสนอ “ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาวิกฤติมลพิษภาคเหนือ (ระยะเฉพาะหน้า) พูดคุยกันในแบบออนไลน์ ระหว่างสภาลมหายใจจังหวัดภาคเหนือ หอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ ตัวแทนภาคประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึงหน่วยงานที่สนใจ กับข้อเสนอก่อนยื่นเสนอยุทธศาสตร์ฯ (ระยะเฉพาะหน้า) เพื่อให้เกิด “แผนการแก้ไขในวงกว้าง” ในพื้นที่ที่ก่อเกิดฝุ่นขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อ จังหวัดในภาคเหนือมาตลอด 16 ปี ภายในวงเน้นหนักในเรื่องของ 10 พื้นที่ไฟแปลงใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก 5-10 ปี รวม 2 ล้านไร่

ถ้ารัฐไม่ทำตามกรอบนี้ จะเกิดปัญหาใหญ่

กรอบและหลักคิด สิ่งที่รัฐมองข้ามที่ผ่านมา และลงรายละเอียดน้ำหนักน้อยในการแก้ปัญหาฝุ่น คือการบรรเทาและแก้ปัญหาจึงเติมหลักคิด คือ

1 รัฐบาลเพิ่งรับตําแหน่งระหว่างปี เหลือเวลาอีกเพียง 3 เดือนจะเข้าสู่ฤดูฝุ่นควัน วาระแห่งชาติเดิมยังไม่ได้ทบทวน คําแถลงยังกว้างๆ แค่ไฟเกษตร เจรจาผลกระทบข้ามแดน และบังคับใช้กฎหมาย การจะให้เกิดมีแผนมาตรการและแนวทางแก้ใหญ่ระยะยาวอาจจะไม่ทัน รวมทั้งเรื่องกฎหมายอากาศ สะอาด ที่ไม่ชัดเจน ข้อเสนอรอบนี้ขอมุ่งเน้นไปที่ระยะเผชิญเหตุ ชี้จุดอ่อน ช่องที่ยังขาด และเป้าเชิงยุทธศาสตร์ แหล่งกําเนิดมลพิษใหญ่ ที่ก่อมวล มลพิษฝุ่นขนาดใหญ่ ต้นทางลมที่พัดเข้าสู่ชุมชนภาคเหนือตอนใน

2. ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์นี้ เพื่อป้องกันบรรเทาวิกฤตมลพิษระยะเฉพาะหน้า ที่จะมาถึงในอีก 3 เดือนข้างหน้าเป็นสําคัญ คัดมาแต่น้อยเรื่องที่สําคัญ และอาจถูกมองข้าม หรือไม่ให้ความสําคัญในเชิงนโยบาย เสริมจากแนวทางแก้ปัญหาที่หน่วยงานดําเนินการมาต่อเนื่อง สิ่งที่ดีและมีเขียนไว้เดิม ขอ รัฐบาลเลือกหยิบดําเนินการต่อเนื่อง และจะไม่ขอกล่าวซ้ํา ในการหารือและเสนอในรอบนี้ เช่น เรื่องแหล่งมลพิษอื่นที่ไม่ใช่แหล่งกําเนิดหลัก (main factors) เทคโนโลยีช่วยเหลือ การดูแลสุขภาพระยะยาว การเจรจาทางการทูต ฯลฯ

3. การระดมความเห็นข้อเสนอหลัก ให้ที่ประชุมร่วมพิจารณา มี 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์ไฟแปลงใหญ่ จับปลาตัวใหญ่ เขตไฟที่ ไหม้ลามต่อเนื่องเป็นกลุ่มไฟในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งจะบรรเทาผลกระทบในระดับสําคัญ 2) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ระหว่างเผชิญเหตุแบบเดียวกับ ภาวะภัยพิบัติอื่น เช่น น้ําท่วม หมูป่าติดถ้ํา ฯลฯ 3) การบรรเทาความเดือดร้อนจากมลพิษเข้มข้นร้ายแรงในพื้นที่ชายแดน อันได้รับผลกระทบเพิ่มจาก ฝุ่นควันข้ามแดน 4) ปัญหาการขาดเจ้าภาพหลักเพื่อปฏิบัติการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อันเนื่องจากการถ่ายโอนภารกิจ การขาดงบประมาณ กําลัง พล และอุปกรณ์เพียงพอต่อการบังคับใช้กฎหมาย และการบรรเทาปัญหา และ 5) ให้เร่งรัดทําความเข้าใจ ทําข้อตกลง และแผนจัดการไฟร่วมกับ ชุมชนใกล้แหล่งกําเนิดมลพิษ บนพื้นฐานของไฟจําเป็นต้องบริหารจัดการอย่างเหมาะสม กับไฟต้องห้ามไม่ให้เกิด ให้มีความชัดเจนเข้าใจอย่างทั่วถึง โดยกลไกร่วมหลายฝ่าย

4. นายกรัฐมนตรี เดินทางมาราชการจังหวัดเชียงใหม่ 15-17 กันยายน 2566 มีกําหนดการพบปะเยี่ยมชมหลายเรื่องหลายประเด็น ไม่ได้มีวาระประชุม แผนปฏิบัติการแก้ปัญหามลพิษฝุ่นควันโดยตรง ภาคประชาชนจึงต้องมีเวทีระดมสมองและยื่นข้อเสนอ ให้รัฐบาลทราบว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่คนใน พื้นที่เดือดร้อน และ วิตกกังวล อีกทั้งยังรู้สึกว่า รัฐยังไม่ได้ทุ่มเทเพื่อแก้ปัญหาจริงจัง โดยได้ร่วมกันชี้ให้รัฐเห็นจุดอ่อนที่ต้องจัดการ เป็นเสียงสะท้อน จากผู้ประสบปัญหาโดยตรง

5 ข้อเสนอระยะเร่งด่วน รับฤดูฝุ่นควัน 2567

ดับไฟแปลงใหญ่ จับปลาตัวใหญ

ไฟแปลงใหญ่พื้นที่ แสน ๆ ไร่ หากจัดการได้ก็จะสามารถบรรเทามลพิษจากชีวมวลขนาดใหญ่ ซึ่งรัฐบาลให้ความสนใจน้อยมาก

1.คือการให้น้ำหนักกับแหล่งกําเนิดมลพิษขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบสูง คือไฟแปลงใหญ่ในเขตป่าที่ไหม้ซ้ําซาก ในพื้นที่ เดิมแทบทุกปี โดยเฉพาะป่าที่มีสถิติรอยไหม้เกิน 1 แสนไร่ เช่น ป่าสาละวิน ป่าศรีน่าน ป่าแม่ตื่น~อมก๋อย

เรื่องง่าย ๆ แต่สอบตกมาโดยตลอด

คือ 2.การยกระดับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้เป็นการสื่อสารภัยพิบัติ ระดับเดียวกับ กรณีน้ำท่วม โควิด19 หรือ กรณี หมูป่าติดถ้ำ ให้มีโฆษกสถานการณ์ ระดับชาติ และระดับจังหวัดและช่องทางสื่อสารทั่วถึง ซึ่งมีข้อเสนอทุกปีและไม่มีทุกปี

ข้อนี้เพื่อชาวแม่สายโดยเฉพาะ เพราะ “แม่สายยังไงก็โดน”

3. แก้ปัญหาระเบียบมหาดไทย รับลูกบอกว่าไม่มีระเบียบ > ในเรื่องที่ไม่สามารถประกาศเขตภัยพิบัติอันเกิดจากมลพิษฝุ่นควัน ถอดบทเรียนปัญหา ชาวแม่สายไม่ได้รับการช่วยเหลือบรรเทาอย่างที่ควร ให้มีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบรุนแรง และ ให้มีนโยบายมาตรการทางภาษีหรือห้ามนําเข้าพืชเกษตรใช้ไฟที่ก่อมลพิษผลกระทบข้ามแดนเพิ่มจากที่รัฐบาลแถลง ปัญหาคาบเกี่ยวเชิงการบริหารของไทย ยกให้เรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่งให้รัฐบาลให้อำนาจและระเบียนบฝ่านโยบาย

เรื่องคาราคาซังหลายต่อหลายปี แต่ปี 2565 มีงบประมาณให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 หมื่นบาท และ ป่าสงวนไม่มีเจ้าภาพ

4. ให้แก้ปัญหาการขาดเจ้าภาพรับผิดชอบดูแลและจัดการป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นผลกระทบจากการถ่ายโอน ภารกิจป้องกันและดับไฟป่า จากกรมป่าไม้ ให้ อปท. โดยให้จัดสรรงบประมาณเพิ่ม พร้อมปรับปรุงระเบียบ ใช้เงิน ให้สอดคล้องกับปัญหา ในระยะยาวให้มีหน่วยดับไฟป่าตําบลบรรจุเป็นมาตรการตามวาระแห่งชาติฉบับใหม่

เรื่องพื้นฐานง่าย ๆ ที่ไม่มีทิศทาง

5.ให้ใช้เวลา 3 เดือนที่เหลือจากนี้ เร่งรัดให้มีการทําความเข้าใจร่วมกันกับชุมชนใกล้ป่าแบะแหล่งกําเนิดมลพิษ มีกลไกบูรณาการหลายฝ่าย ทั้งป่าไม้ ฝ่ายปกครอง องค์กรท้องถิ่น ชุมชน วิชาการ เพื่อทําแผนจัดการไฟร่วมกัน บนพื้นฐานไฟจําเป็นต้องจัดการอย่างเหมาะสม และจัดการป้องกันไฟต้องห้ามอย่างมีประสิทธิภาพ คํานึงถึงผลกระทบทางสุขภาพเป็นสําคัญ

ทำไมจะต้องเสนอแค่ ยุทธศาสตร์เฉพาะหน้า ระยะด่วน ๆ

นอกเหนือจากข้อเสนอเผชิญเหตุ 5 ข้อ

แผนมาตรการตามวาระแห่งชาติเดิมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน มีปัญหาไม่สามารถแก้วิกฤตมลพิษฝุ่นควันได้จริง โดยเฉพาะการไม่ลงราย ละเอียดเนื้อปัญหา และแนวทางแก้วิกฤตในพื้นที่ภาคเหนือ

1. ชุดแผนมาตรการใหญ่ ที่จะมาแทนวาระแห่งชาติเดิม มีความสําคัญมาก เพราะจะกําหนดทิศทาง รูปแบบ และกระบวนทัศน์ต่อ วิกฤตปัญหา โดยจะสะท้อนผ่านตัวชี้วัด KPI ต่างๆ เช่น การห้ามเผาเด็ดขาด หรือ บริหารจัดการแหล่งกําเนิด ขอให้รัฐบาลเร่งรัด กระบวนการระดมสมอง ถอดบทเรียนภาคปฏิบัติจากฝ่ายต่างๆ ระดมองค์ความรู้ข้อเสนอ เพื่อให้เกิดชุดมาตรการตามวาระแห่งชาติ ใหม่โดยเร็ว รวมถึง ความชัดเจนของโครงสร้างบริหารบังคับบัญชาเชิงนโยบาย

2. วิกฤตปัญหาที่มีผลกระทบสูงอีกประการคือมลพิษข้ามแดน อันเป็นผลจากพืชเกษตร ปัญหานี้ทุกประเทศอนุภาคแม่น้ําโขง เกี่ยวข้องทั้งเป็นผู้ก่อและผู้รับผลกระทบเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจปากท้อง และเศรษฐกิจของบรรษัทธุรกิจ รัฐบาลต้องมีความชัดเจนใน ท่าทีแนวทางและมาตรการเพื่อปกป้องประชาชนจากผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งต้องเร่งรัดมาตรการที่ว่า พร้อมๆ กับแผนมาตรการ ตามวาระแห่งชาติ ตามข้อหนึ่ง) โดยเร็วที่สุด

3. ผลกระทบสุขภาพ การตรวจสุขภาพเชิงรุก ขอรัฐบาลพิจารณาดําเนินการในระยะเร่งด่วนปีนี้ไปก่อน และให้บรรจุในแผน มาตรการตามวาระแห่งชาติ เพื่อให้มีการป้องกันบรรเทาด้านสุขภาพเชิงรุก เช่น การตรวจสุขภาพปอดทางเดินหายใจ ในพื้นที่มลพิษซ้ำซาก กระบวนการต้องเริ่มนับจากตอนนี้

สรุปหลังจากเปิดวงพูดคุย หลังการเสนอมาตรการเร่งด่วนโดยทีมสภาลมหายใจภาคเหนือ ที่เอ็นระยะเร่งด่วน คือ ชุดข้อมูลชุดแนวทางระยะเร่งด่วยเพื่อให้ทันระยะเวลาประชันชิดและเป็นการผลักดันโดยกลไกปกติเป็นเรื่องที่ยากลำบาก

1.คือยุทธศาสตร์ไฟแปลงใหญ่ เพื่อรัฐจะได้คิดถึงเรื่องงบประมาณ บุคลากร คน การจัดการในพื้นที่ปัญหาซ้ำซาก โฟกัสกับปัญหานี้ในพื้นที่ดังกล่าวที่จะปล่อยให้เป็นเรื่องบริหารจัดการแบบปกติ

2. เรื่องของการยกระดับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้เป็นการสื่อสารภัยพิบัติ ระดับเดียวกับ กรณีน้ำท่วม โควิด19 หรือ กรณี หมูป่าติดถ้ำ ให้มีโฆษกสถานการณ์ ระดับชาติ และระดับจังหวัดและช่องทางสื่อสารทั่วถึง ซึ่งมีข้อเสนอทุกปีและไม่มีทุกปี แต่เพิ่มขึ้นมาให้ทั่วถึงให้ประชาชนที่หลากหลายโดยเฉพาะชนเผ่า

3.เรื่องการแก้ระเบียบมหาดไทย เขียนให้ชัดเจนขึ้นว่ามีข้อเสนอที่เป็นกฏระเบียบติดขัดหลายเรื่องในคณะทำงานของรัฐเอง แต่ประชาชนเห็นว่าหากมีการใช้อำนาจทางการเมืองมาเร่งรัดก็ไม่ไปไหน

4.เรื่องของเจ้าภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเรื่องที่เรื้อรังและให้มาทีละหน่อย เป็นเรื่องที่ฝ่ายการเมืองต้องเคาะมีเจ้าภาพในการดูแลให้ครบ ซึ่งเป็นกลไกราชการไม่สามารถแก้ได้

5.เวลาที่เหลือ 5 เดือน ดึงแผน ดึงความเข้าใจ แทนที่เดิมมกราเริ่มแผนใหม่ทุกครั้ง วิธีคิดแบบภัยพิบัติเริ่มต้นจากเดือนตุลาคมในการเตรียม แผน ความเข้าใจ ข้อมูลต่าง ๆ พื้นที่ เปลี่ยนวิธีการจากเดิม

ข้อเพิ่มเติมจากนายยกเอ แม่สาย นำเสนอให้กับในวง คือ ขอ 6. กลไกมาตรการมีคณะกรรมการกลางร่วมระหว่างพรมแดน และจัดตั้งศูนย์กลางปฏิบัติการร่วมแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 ระดับอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ที่ อ.แม่สาย

ด้านคุณ บัณรส บัวคลี่ กล่าวว่า

1.ทางสภาลมหายใจภาคเหนือ ต้องมีแถลงข้อเสนอการแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่นเหนือต่อนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ในวาระที่มาราชการเชียงใหม่ 15-17 ก.ย. นายกมาทั้งที เจ้าถิ่นไม่ขยับไม่หือไม่อือ แสดงว่าเห็นชอบทุกประการ มันก็ไม่ใช่ เราจึงออกแบบให้มีตุ๊กตาเพื่อให้ที่ประชุมช่วยเติมเต็ม เห็นพ้อง แล้วก็แถลงต่อสาธารณะเลย อย่างน้อยก็เป็นอะไรรูปธรรม บอกว่า ประชาชนไม่ได้หลับ และ เรามองเห็นปัญหาข้อใหญ่ ๆ ที่รัฐบาลอาจจะมองข้าม เราชี้เป้าให้แล้วไง ถ้ารัฐไม่ขยับ และเกิดปัญหาซ้ำซากตรงนั้นอีกในปีหน้า ก็จะได้รู้กันไป

2.รัฐบาลใหม่เข้ามาตอนใกล้ฤดูฝุ่นแล้ว งบแผ่นดินใช้ตามกรอบเดิม รอ พรบ. งบใหม่ไม่ทันกิน นี่เป็นข้อจำกัดต่อมาคือ รัฐบาลแถลงนโยบายมีเรื่อง pm 2.5 ด้วย แต่สั้น กว้างๆ แค่สามประเด็น ไฟเกษตร บังคับใช้กฎหมาย และขอความร่วมมือเพื่อนบ้าน คือมันกว้าง มันไม่ชัด มองไม่เห็น ยุทธศาสตร์ วิธีการ และที่สำคัญ อะไรที่เคยหาเสียงไว้ก็ไม่เอามาใส่ เช่น พรบ. อากาศสะอาด รัฐบาลจะแบ่งภารกิจหน้าที่กับ รมว. ทรัพยากร และ รองนายกฯ ดูสวล. พล.ต.อ. พัชรวาทย์ อย่างไร ขอบเขตปัญหาเรื่องนี้มันใหญ่นะ ต้องให้นายกฯ บัญชาการและกระทรวงอื่นมาร่วม ด้วยซ้ำ ปรากฎมันก็ยังไม่ชัด เอาไง เรื่องชุดมาตรการระยะยาว แนวทางแก้ใหญ่ในภาพรวม คงจะมาคาดคั้นเอาหน้างานไม่ทันแล้ว เพราะข้าศึกกำลังยกมาในสามเดือนนี้ มาตรการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยฝุ่นละออง ใช้มาแต่ 2562 จะครบห้าปี ค.พ. กำลังตั้งเรื่อง มารีวิว นี่ค่อยมาว่ากันในเรื่องมาตรการภาพรวม ซึ่งน่าจะค่อยขยับ แต่ไม่ทันใช้จริงดังนั้น มาพูดเรื่องวิกฤตปีหน้าที่จะมาถึงในสามเดือนเป็นสำคัญ ทำไง เอาไง จุดอ่อนตรงไหน ป้องกันตรงไหน จะยกทัพตีจุดไหนส่วนอะไรที่เหลือ ข้อเสนอปลีกย่อย จราจร ท่อไอเสีย ควันธูป สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แผนมาตรการใหญ่ภาพรวม ไว้รอระยะต่อไป เอาที่ท่านพร้อมรื้อแผนวาระแห่งชาติ เรามาระดมกันอีกรอบ

3.ข้อเสนอจะเน้น มาตรการภาคปฏิบัติที่เป็นจริง ทำได้จริง สมเหตุผลไม่ใช่ข้อเสนอแบบแนวคิดกว้างๆ เชิงหลักการ จะมองจากจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อจำกัดที่เป็นจริงมีความชัดเจนในเชิงยุทธศาสตร์ ว่า จะตีตรงไหน ตีแล้วบรรเทาเบาบางในระดับสำคัญได้ ยิ่งดี เลือกจับปลาตัวใหญ่ เลือกบรรเทาแหล่งกำเนิดใหญ่ กระทบสูง เลือกชี้จุดอ่อน และขอให้รัฐไปอุดจุดอ่อนนั้นเป็นข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ

4. สภาหอการค้า 17 จังหวัดเหนือเข้มแข็งและสนใจปัญหาผลกระทบฝุ่นควันจริงจัง เครือข่ายประชาชนสภาลมหายใจ 9 จังหวัด จะอ้างอิง big data จากคณะทำงานวิชาการของ สบนร. ชี้พื้นที่ไหม้ซ้ำซากในป่า ที่เกินแสนไร่มีมากถึง 11 ป่า ว่านี่แหละเป้าสำคัญปี 2566 การไหม้ใหญ่ๆ ก็วนอยู่ในพื้นที่ป่าไฟแปลงใหญ่ ซ้ำซากกลุ่มนี้ ป่าสาละวิน ไหม้เกือบทั้งป่า 77% ป่าศรีน่าน ไหม้เนื้อที่มากสุด 4 แสนไร่ มากจริงๆ เกิน 70% ของพื้นที่ป่าป่าแม่ตื่น เหนือเขื่อนภูมิพล นี่ก็แหล่งใหญ่ซ้ำซากของประเทศ ไหม้ลามเป็นเดือนนี่คือแหล่งต้นทางมวลฝุ่นควันก้อนใหญ่ ขนาดใหญ่ และเป็นต้นทางลม ส่งมลพิษเข้าสู่ภาคเหนือตอนในพื้นที่ซ้ำซากที่ว่า คนน้อย เจ้าหน้าที่น้อย ห่างไกล สังคมไม่สน รัฐบาลกรุงเทพก็ไม่เห็น ไม่เหมือนป่าสำคัญแหล่งท่องเที่ยว ดอยสุเทพ อินทนนท์ นี่คือเป้าหมายที่เราจะบอกให้รัฐบาลจัดการ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ