นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบประทานบัตรเหมืองแร่โปแตช ให้แก่ บริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) และจัดแถลงข่าวเรื่อง “ประทานบัตรเหมืองแร่โปแตชใบแรกของไทย 30 ปีที่รอคอย” (คลิกอ่าน) ทำให้เกิดข้อสงสัยพอสมควรว่าจักรมณฑ์เป็นใคร
ถ้าย้อนไปนิดหน่อยจะพบว่า นายจักรมณฑ์ คืออดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส. โดยขึ้นปราศัยบนเวทีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ที่ปทุมวัน โดยหนุนปฏิรูป ต้านคอรัปชั่น จนภายหลังรัฐประหารตนได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นในบริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด ประกอบไปด้วย
- กระทรวงการคลัง
- บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี)
- บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เทพารักษ์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทไทย-เยอรมัน ไมนิ่ง จำกัด
บริษัทต่างชาติ
- บริษัทอาซาฮีกลาส จำกัด (ญี่ปุ่น)
- เทมาเสค โฮลดิ้งส์ (ไพรเวท) ลิมิเตท (สิงคโปร์)
- บริษัท กาเลนก้า จำกัด (บริติช เวอร์จิน)
- บริษัทอัลกรอรี่ ไฟแนนซ์ ลิมิเต็ด จำกัด (บริติช เวอร์จิน)
- บริษัทพี ที พีโทรคีเมีย กรีซิค (เพอซีโร) (อินโดนิเซีย)
รายชื่อคณะกรรมการ บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน)
- นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง
- นายมงคล จิวะสันติการ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง และ ผอ.องค์การเภสัชฯ
- นายสมัย ลี้สกุล รองประธานบริษัทอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC ภายหลังนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีมอบประทานบัตรเหมืองแร่โปแตช ให้แก่ บริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของ TRC ก็พุ่งสูงขึ้น
- นายธีรัชย์ อัตนวานิช อดีตคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ปัจจุบันรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
และชาวต่างชาติประกอบด้วย
- น.ส. มา ลัวเดส เอฟ ลีบัวอีโน
- นาย ราซาลี บิน โมฮัมหมัด
- นาย หวอง เฮง ติว น.ส. อานัง บุดดิวิรันติ
- นาย ฮาจิ อาบู บาการ์ บิน ฮาจิ อิบราฮิม
ปัจจุบันมีการยื่นขออาชญาบัตรพิเศษเพื่อทำการสำรวจแหล่งแร่ และขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่โปแตช ไปแล้ว 11 จังหวัด 16 พื้นที่ ได้แก่ จ.นครราชสีมา จ.ขอนแก่น จ.ชัยภูมิ จ.สกลนคร จ.อุดรธานี จ.มหาสารคาม จ.หนองคาย จ.นครพนม จ.ยโสธร จ.กาฬสินธุ์ และจ.บึงกาฬ คิดเป็นเนื้อที่รวมกว่า 1,700,000 ไร่
ภาพประกอบจาก: https://www.youtube.com/watch?v=4U51baMA7gQ#t=656