ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ยังจำได้ไหม ไหนใครผ่านอะไรกันมาบ้างครับ แม้ไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์แต่นี่คือพื้นฐานที่ทุกคนต้องผ่านมา ไม่แน่ใจว่าทุกคนยังจำอะไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เคยเรียนในห้องเรียนครั้งยามเด็กกันบ้างครับ ส่วนผมจำได้ คือการปลูก ”ถั่วเขียว” แล้วได้ ”ถั่วงอก” … ซึ่งสุดท้าย คำอธิบาย ปลูกถั่วเขียว ก็ได้ถั่วเขียวนั้นแหละครับ แต่ “ถั่วงอก” หมายถึง ระยะหนึ่ง (ระยะงอกถึงระยะต้นอ่อน) ในการเจริญเติบโตของต้นถั่ว นั้นเอง…
ที่จริงแล้ว วิทยาศาสตร์อยู่กับเราตั้งแต่เกิด มันเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ที่ถูกมองข้าม เมื่อเราพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หลาย ๆ คนมักจะเบือนหน้าหนี และบอกว่ามันยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ ไม่สนุกมากนักแต่สุดท้ายเรื่องราวรอบตัวเรามักจะพิสูจน์ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์เสมอ
เช่นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ Science Week 2023 ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะกิจกรรม Young citizen Science Communication Contest 2023 ที่ชวนเด็กเยาวชนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายได้มาเล่าเรื่องหรือกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับที่โรงเรียนที่บ้านหรือแม้กระทั่งที่ชุมชนของพวกเขาไม่ว่าจะเป็นปัญหาทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือข้อสงสัยอะไรก็แล้วแต่มีเงื่อนไขเพียงอย่างเดียวว่าเขาใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอย่างไร ซึ่งครั้งนี้ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและศูนย์วิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ไม่ชวนน้อง ๆ เรียบเรื่องราว วิทยาศาสตร์นำมาเล่าเรื่องกันครับ
ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากน้องน้องเยาวชนจากภาคเหนือตอนบนหลายจังหวัดครับทั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอนเชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง ที่เดินทางนำเรื่องราว การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ ของเขามาเล่าสู่เพื่อนเพื่อนได้ฟังกัน มีเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องครับไม่ว่าจะเป็นนักสืบ สายน้ำนักสืบไลเคน การสังเกตสิ่งแวดล้อมและความสมบูรณ์จากการส่องนก การปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อฟื้นฟูดิน นี่คือตัวอย่างเท่านั้นนะครับ
ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่เราได้คุยเบื้องหลัง กับน้องๆ อย่าง น้องการ์ตูน ด.ญ.บุญยกร ใหม่ยะ นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านเฟือยลุง ต.และ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน กับเรื่อง “สิ่งที่ดีสำหรับเขา ไม่ใช่เราแต่เป็นเธอไลเคน” น้องการ์ตูนบอกว่าโรงเรียนของหนูเป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในจังหวัดน่าน ซึ่งในโรงเรียนของหนูมีต้นไม้หลากหลายชนิด มีทั้งไม้ผลและไม้ยื่นต้น เช่นต้นเงาะ ต้นลำไย ต้นมะขาม ซึ่งหนูสังเกตเห็นว่าแต่ละต้นจะมีจุดที่ขาว ๆ เขียว ๆ เกาะอยู่ตามลำต้น ซึ่งก่อนหน้านี้หนูยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร จนหนูได้ไปเข้าค่ายวิทยาศาสตร์พลเมือง ทำให้หนูรู้ว่าสิ่งนี้คือไลเคนนั้นเอง หลังจากการอบรมหนูจึงชวนเพื่อน ๆ ในโรงเรียนทำการสำรวจไลเคน ซึ่งเพื่อน ๆ ก็ยังไม่รู้จักเจ้าตัวไลเคน หนูจึงเล่าให้เพื่อน ๆฟังว่าไลเคนเกินจากการรวมตัวของราและสาหร่าย ร่วมกันแอบเอื่อประโยชน์ต่อกัน ซึ่งตัวไลเคนเองจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพอากาศ หากพื้นที่ไหนมีมลพิษก็จะไม่มีไลเคน ซึ่งในโรงเรียนของพวกเราก็มีอยู่ 2 ชนิด นั้นก็คือ ครัสโตส(crustose) และ โฟลิโอส (foliose) เป็นไลเคนกลุ่มที่ทนทาน บ่งบอกว่าโรงเรียนของเรามีคุณอากาศที่พอใช้ ซึ่งเราจะทำการสำรวจต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในโรงเรียน หากพบชนิดไหนที่หายาก หนูก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงใน C-site
ส่วนน้องหวาน วรดา เขื่อนเมือง นักเรียนโรงเรียนบ้านด่าน ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ซึ่งเขาได้เล่าเรื่อง “โรงไฟฟ้าหงสากับชะตาบ้านด่าน” ก่อนหน้าที่เราได้ไปถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง ซึ่งพวกเราได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น กระบวนการนักสืบสายน้ำ การสำรวจไลเคน การสำรวจดินและน้ำ รวมไปถึงการติดตามคุณภาพอากาศอย่าง PM2.5 ผ่านเครื่องวัดคุณภาพอากาศ กิจกรรมที่พวกเราชอบที่สุดก็เป็นกิจกรรมของนักสืบสายน้ำ เพราะได้สำรวจสัตว์หน้าดิน และได้รู้จักสัตว์หน้าดินหลาย ๆ ชนิด อย่างเช่น ปลาบู่ ปลามัน แมลงชีปะขาว ดักแดลิ้น โดยใช้อุปกรณ์ในการสำรวจอย่าง แวนขยาย กระชอน เทอร์โมมิเตอร์ รวมไปถึงการวัดความเร็วของน้ำ และสังเกตสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำในชุมชน ซึ่งพวกเราได้รับการอบรมมาก่อนหน้านี้ ซึ่งสัวต์นำหน้าดินที่เราเจอจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของแหล่งน้ำในชุมชน อย่างเช่น ถ้าเจอสัตว์หน้าดินมีจำนวนมากแสดงว่าคุณภาพน้ำดี แต่หากเจอสัตว์หน้าดินน้อยแสดงว่า แหล่งน้ำมีคุณภาพแย่ ส่วนดินเราก็ได้มีการวัดค่า PH ของดินเพื่อตรวจสอบความเป็น กรด และด่าง ของดิน หากดินมีความเป็นกรดสูงก็จะทำให้ส่งผลก็การเติบโตของพืช เราก็จะนำปูนขาวไปใส่เพื่อลดความเป็นกรดของดินลง
กระบวนการวิทยาศาสตร์พลเมืองมีความสำคัญ ในเรื่องของการสำรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างเช่น อากาศ ผ่านตัวไลเคน และสำรวจน้ำผ่านสัตว์หน้าดิน ซึ่งมีความสำคัญเพราชุมชนของเรายังมีการบริโภคปลาจากแหล่งน้ำในชุมชนซึ่งในตัวปลาเองก็อาจจะมีสารตกค้าง อย่างสารประรอท หนูเลยอยากให้คนในชุมชนเห็นผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อลดการบริโภคที่จะส่งผลต่อร่างกาย กระบวนการที่เราทำมาก็จะนำไปเผยแพร่ให้กับน้อง ๆ นักเรียน ได้เรียนรู้ และคนในชุมชนได้รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งเรากำลังวางแผนที่จะเข้าไปสื่อสารกับคนในชุมชน เพื่อจะให้คนในชุมชนป้องกันตัวเอง
สำหรับน้องป้อนข้าว ด.ญ.นรมน สุต๋านักเรียนโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ก็เตรียมเรื่องเอเลี่ยนสปีชีส์ สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามา จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เป็นกระเเสมาก ๆ ซึ่งจะเข้ามารุกรานสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นของเรา ส่วนใหญ่ถูกนำเข้ามาโดยมนุษย์ ทำให้สัตว์ประจำถิ่นบางสายพันธุ์เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ หนูจึงสนในเรื่องนี้และนำกระบวนการวิทยาศาสตร์พลเมืองเข้ามาช่วย ทั้งในเรื่องการสังเกตและการสื่อสาร ผ่านการประชาสัมพันธ์และช่องทางออนไลน์ในเรื่องของผลกระทบของเอเลี่ยนสปีชีส์ เพื่อให้เกิดความตระหนักและไม่สนับสนุนการเลี้ยงหรือการนำเข้าของเอเลี่ยนสปีชีส์
วิทยาศาสตร์พลเมืองเป็นชีวิตประจำวันของหนู อย่างเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมในประเทศของหนูเพราะอะไรบางอย่าง หนูก็อยากที่จะเป็นคนคิดค้นวิธีและหาวิถี ที่จะช่วยเหลือเพื่อทำให้ประเทศของหนูดีขึ้น
ซึ่งตัวหนูเองเป็นเยาวชนก็จะทำการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ออกสู่สังคมให้มากขึ้น หากในอนาคตก็อาจจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นไรขึ้นมาใหม่ ๆ มาขึ้นที่จะมาช่วยเหลือโลกของเรา ซึ่งอาจจะไม่แค่ในเชียงใหม่เท่านั้นเพราะหากให้ข้อมูลเฉพาะคนเชียงใหม่ ข้อมูลหลาย ๆ อย่างอาจจะไม่ทั่วถึง ต้องขยายออกไปจังหวัดอื่น ๆ
ส่วนน้องพี ด.ช.พีร ทายะรังสี นักเรียนโรงเรียนวารีเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ก็นำเสนอเรื่องใกล้ตัวในชุมชน ที่เขาได้สัมผัสได้อย่างน่าสนใจ น้องบอกว่า ใน อ.แม่ออน มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ น้ำแม่ออน ซึ่งแม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำที่คนในชุมชนใช้สอยกันในชีวิตประจำวัน ซึ่งในพื้นที่ อ.แม่ออน มีการประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมเป็นจำนวนมาก พอมีคนประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมมากขึ้นส่งผลให้เกิดในเรื่องของมลภาวะที่เกิดขึ้นในฟาร์ม ที่อาจส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน ผมจึงใช้กระบวนการวิทศาสตร์เข้าไปตรวจคุณภาพของแหล่งน้ำ พบว่า มีค่าฟอสเฟตและค่าไนเตรตที่เกินค่ามาตรฐาน “ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมคิดว่าเราสามารถใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์พลเมือง มาใช้ในการแก่ไขปัญหาได้ครับโดยการให้คนในชุมชนนำน้ำจากแหล่งน้ำใกล้บ้าน มาตรวจสอบคุณภาพของน้ำร่วมกัน เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของแหล่งน้ำ เมื่อชุมชนเกิดความตระหนักแล้ว ผมก็จะเสนอว่าเราสามารถแก่ไขปัญหาได้อย่างไรบ้าง อย่างเช่น การสร้างบึงประดิษฐ์ ปลูกพืช 3 ระดับ ที่จะช่วยในเรื่องของการกลองน้ำได้ ซึ่งหลังจากนี้ผมก็จะเข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนไม่ว่าจะเป็นการสำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา ที่สามาถแก้ไขได้อย่างยั่งยืนได้มากกว่านี้
วิทยาศาสตร์พลเมืองมีความจำเป็นอย่างมาก อย่างเช่น อาจจะเกิดปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ในโรงเรียน เราต้องต้องช่วยกัน แบบเป็นทีมที่มีความถนัดที่หลากหลายเข้ามาช่วยกันในการแก่ไขปัญหาเหล่านั้นได้
หรือ ถ้าเราทำงานวิจัยออกมาเรื่องหนึ่ง แล้วเข้าไปตรวจสอบในชุมชน แล้วเราไม่สามารถสร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชน หรือไม่ได้มีกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน เมื่อเราออกจากชุมชนแล้ว ข้อมูลหรือวิธีการต่าง ๆ ชาวบ้านอาจจะกลับไปทำแบบเดิมได้อีก กระบวนวิทยาศาสตร์พลเมืองจึงมีความสำคัญมาก ๆ
การนำเสนอเรื่องราววิทยศาสตร์ให้ผู้คนสนใจและเกิดการรับรู้ในเวลาจำกัด นับเป็นความท้ายทายสำหรับนักสื่อสารวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่สนใจอยากจะถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถเลือกรับฟังข้อมูลที่ตนเองสนใจได้ การนำเสนอที่น่าดึงดูด ชวนติดตาม โดยใช้เวลาสั้น กระชับ และสามารถถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของการถ่ายทอด จึงเป็นทักษะการสื่อสารที่สำคัญ
.
สำหรับงานนี้ คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ไกลตัว และฝึกให้เด็กเยาวชนได้ถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ ผศ. ดร. ว่าน วิริยา ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เล่าว่า เป้าหมายของงานครั้งนี้ก็คืออยากให้เด็กรักในงานวิทยาศาสตร์แบบไม่ต้องลึกเชิงลึกถึงเป็นโครงงานหรืออะไรมาก แค่อยากให้มาสื่อสารว่าวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองหรือ citizen Science ในชุมชนของตัวเองหรือในโรงเรียนของตัวเองมีการนำวิทยาศาสตร์เข้าไปเรียนรู้ปัญหาหรือเรียนรู้สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนของตัวเองหรือชุมชนของตัวเองยังไงบ้างเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีความตระหนักถึงมลพิษทางสิ่งแวดล้อมปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องใช้วิทยาศาสตร์ที่มันยากจนเกินไปแล้วก็อีกอย่างหนึ่งคือเด็กๆจะได้มีเวทีที่แสดงออกหรือมีเวทีที่ใช้ในการสื่อสารให้ประชาชนได้รับรู้ว่าเขาทำอะไรอยู่ในโรงเรียนเขาทำอะไรอยู่ในชุมชนอันนี้ก็เป็นเหมือนว่าเป็นเป้าหมายหรือว่าเป็นกระบวนการที่อยากให้เกิดขึ้นในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในครั้งนี้
วิทยาศาสตร์พลเมือง citizen Science ง่ายๆ อย่างเช่นนักสืบสายน้ำนักสืบสายลมอะไรอย่างนี้ ทุกคนน่าจะเรียนรู้กันแล้วแต่ว่าเหมือนว่าโรงเรียนไหนที่ได้ทำในชุมชนบ้างแล้วอยากได้รู้ว่าชุมชนไหนได้ทำบ้างหรือแหล่งน้ำไหนอย่างเช่นที่มีการทำที่น่าน ครั้งนี้ก็มีตัวเเทนเด็กๆ ที่น่านมาเล่าว่าพวกเขาได้เรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองที่เขาได้ทดลอง โดยเฉพาะอำเภอเฉลิมพระเกียรติก็มีปัญหาเรื่องปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มีอาจจะมีผลกระทบมาจากโรงไฟฟ้าหงสาซึ่งตัวนี้ก็เป็นบริบทหนึ่งที่ให้เยาวชนหรือให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมแล้วก็เข้ามาได้แสดงออกในกระบวนการวิทยาศาสตร์ในเวทีนี้
นักวิทยาศาสตร์ เป็นคนช่างสังเกต อยากรู้อยากเห็น ชอบใช้เหตุผล ขยันหาความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบพิสูจน์และเพียรพยายามหาคำตอบอย่างอดทน สุดท้ายอยากจะชวนทุกท่านร่วมในกระบวนการวิทยาศาสตร์พลเมืองcitizen Science กับนักข่าวพลเมือง C-site กับการสำรวจเอเลี่ยนสปีชีส์ “ปลาหมอสีคางสีดำ”เพียงสแกน QRCODE หรือ กดลิงก์เริ่มบันทึกการสำรวจ https://shorturl.asia/y6FPf