เอญนีโญทำอ่วม ! เกษตรกรหาทางรอด ขอพันธุ์พืชที่ทนแล้ง และสินเชื่อเพื่อเทคโนโลยี

เอญนีโญทำอ่วม ! เกษตรกรหาทางรอด ขอพันธุ์พืชที่ทนแล้ง และสินเชื่อเพื่อเทคโนโลยี

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นเกษตรกร จากทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 839 ราย ระหว่างวันที่ 7-16 สิงหาคม 2566 ในหัวข้อ “เกษตรกรไทย…กับปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนเอญนีโญ (ร้อน แล้ง ฝน)”    เพื่อสำรวจปัญหาการได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนเอญนีโญในช่วงที่ผ่านมาและแนวทางการปรับตัวรับมือปัญหา รวมทั้งความต้องการสนับสนุนด้านเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแปรปรวนเอญนีโญ

 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรในภาคเหนือร้อยละ 35.08  ภาคกลาง ร้อยละ 18.88  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 35.81  ภาคใต้    ร้อยละ 10.23   เป็นเพศชาย  ร้อยละ 49.50  หญิง ร้อยละ 47.52  เพศทางเลือก ร้อยละ   2.97

อายุไม่เกิน 30 ปี ร้อยละ 12.01  อายุ 31 – 40 ปี ร้อยละ 23.30  อายุ 41 – 50 ปี ร้อยละ 31.43 อายุ 51 – 60 ปี   ร้อยละ 21.84 อายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 11.41

ประเภทการทำเกษตร  คือ พืชไร่/พืชพลังงาน/ยางพารา ร้อยละ 60.31 พืชสวน/ไม้ผล  ร้อยละ 21.45 สัตว์ปีก/โคนม/โคเนื้อ/สุกร ร้อยละ   9.06  พืชผัก/สมุนไพรร้อยละ   7.87 การประมงร้อยละ   1.31

ผลการสำรวจพบว่า  การได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนเอญนีโญของเกษตรกรไทยในช่วงที่ผ่านมา (ไม่เกิน 3 เดือน มิ.ย. – ก.ค. 66) เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.26 ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนเอญนีโญ โดยในรายละเอียด คือ

 อันดับ1 (ร้อยละ 49.46) ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมีความรุนแรงขึ้น (ฝนทิ้งช่วงนาน ปริมาณน้ำน้อยลง)

อันดับ 2 (ร้อยละ 46.60) ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว

อันดับ 3 (ร้อยละ 43.74) อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ผลผลิตลดน้อยลง

อันดับ 4  (ร้อยละ 20.98)ทำให้ฤดูกาลผลิตคลาดเคลื่อนไป                                                            

อันดับ 5 (ร้อยละ 18.59)โรค แมลง ศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ต้นทุนกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น

อันดับ 6  (ร้อยละ   1.67)อื่น ๆ เช่น อากาศร้อน จับสัตว์น้ำได้น้อยลง บ่อบาดาลแห้ง

ในขณะที่เกษตรกรเพียงร้อยละ 25.74 เท่านั้น ที่ไม่ได้ผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าว เนื่องจาก

อันดับ 1 (ร้อยละ 12.99) มีแหล่งน้ำสำรองที่เพียงพอเป็นของตัวเอง

อันดับ 2 (ร้อยละ 9.77) อยู่ในพื้นที่เขตชลประทาน

อันดับ 3 (ร้อยละ 18.83) เลื่อนปฏิทินการปลูกพืชออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับการปรับตัวและแก้ไขปัญหาในช่วงเดียวกัน (มิ.ย. – ก.ค. 66) เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.25 ได้มีปรับตัวและแก้ไขปัญหา  โดย

อันดับ 1 (ร้อยละ 51.25) ได้เตรียมแหล่งน้ำสำรองตอนแล้งและกักเก็บน้ำเมื่อมีฝน

อันดับ 2 (ร้อยละ 32.06) ได้ปลูกพืชที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 อันดับ 3 (ร้อยละ 18.83) เลื่อนการปลูกพืชออกไปก่อน เพื่อประเมินสถานการณ์         

อันดับ 4 (ร้อยละ  1.07)  อื่น ๆ เช่น ปลูกพืชใช้น้ำน้อย การใช้น้ำหมุนเวียนในบ่อ          

ขณะที่อีกร้อยละ 30.75 ยังไม่มีแนวทางปรับตัว/แก้ไขปัญหา

ด้านความต้องการสิ่งสนับสนุนและพัฒนาด้านเกษตรเพื่อรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อันดับ 1 (ร้อยละ 64.72) ต้องการส่งเสริมพันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศ

อันดับ 2 (ร้อยละ 54.11) ต้องการสินเชื่อเพื่อการเกษตรในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต เช่น ระบบปลูกพืชในโรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อม

อันดับ 3  (ร้อยละ 48.27) การฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่เกษตรกร

อันดับ 4  ร้อยละ 40.17 ให้เกษตรกรเข้าถึงระบบเตือนภัยล่วงหน้าและข้อมูลสภาพอากาศ

อันดับ 5 ร้อยละ 41.00 ลงทุนพัฒนาและปรับปรุงระบบชลประทาน ให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ

อันดับ 6 ร้อยละ  1.55 อื่นๆ เช่น ต้องการบ่อน้ำบาดาล ต้องการเงินช่วยเหลือสำหรับการกำจัดศัตรูพืช

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ