กาแฟและท่องเที่ยวชุมชน โอกาสฟื้นเศรษฐกิจหนองจาน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น

กาแฟและท่องเที่ยวชุมชน โอกาสฟื้นเศรษฐกิจหนองจาน อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น

ภาพ / ข่าว : ศรายุทธ ฤทธิพิณ นักข่าวพลเมืองเครือข่ายปฎิรูปดินภาคอีสาน

คณะอาจารย์และนักศึกษา มข.ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนการทำกาแฟแฮนด์เมด ผลิตผลของชุมชนหนองจาน พร้อมศึกษาวิถีชีวิตการจัดการทรัพยากร “นอนบ้านดิน กินข้าวไร่ ใบเที่ยวถ้ำ ดื่มด่ำกาแฟลด หมู่บ้านห่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

20 สิงหาคม 66 นายกิตติ โพธิ์เตมีย์ ผู้ประสานงานชุมชนหนองจาน ต.นาหนองทุ่ม อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น (สมาชิกเครือข่ายปฎิรูปที่ดินภาคอีสาน คปอ.) แจ้งว่า ผศ.ดร.ดลฤทัย โกวรรธนะกุล หรือ อาจารย์ส้ม มหาวิทยาลัยขอนแก่น  สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยว นำนักศึกษาในรายวิชา Tourism Project ระดับชั้นปีที่ 2 และปีที่ 4 กลุ่มวิชาเลือกหลักสูตรด้านการจัดการมรดกการท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม กว่า 30 คน ลงพื้นที่เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนวิธีและขั้นตอนการทำกาแฟแฮนด์เมด ผลผลิตของชุมชนหนองจาน รวมทั้งร่วมเรียนรู้วิถีชีวิติชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวหมู่บ้านเชิงอนุรักษ์กับการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน

ผู้ประสานงานชุมชน บอกด้วยว่า ก่อนถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนหนองจานมาก่อน และเป็นต้นกำเนิดกาแฟหนองจาน เป็นพันธุ์อราบิกา และพันธุ์โรบัสตา ที่ชาวบ้านปลูกด้วยมีอจนได้เมล็ดกาแฟดิบที่มีคุณภาพ น้ามาคั่วและบดด้วยใจ จึงเป็นสูตรเฉพาะของบ้านหนองจาน มีกลิ่นหอมอร่อยเข้มกำลังดี

“ในส่วนของอาจารย์ส้ม เคยมาร่วมเป็นวิทยากรการอบรมไกด์มัคคุเทศก์ให้กับสมาชิกชุมชนหนองจาน เมื่อ 10 กว่าปี ที่ผ่านมา เมื่อได้ขึ้นมาพื้นที่อีกครั้ง เกิดความประทับใจในการจัดการทรัพยากรของชุมชน เพราะนอกจากมีการปลูกข้าวไร่ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แล้วนั้นยังได้มีการจัดตั้งกลุ่มปลูกกาแฟ โดยอาจารย์ส้มบอกว่า จะสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชุมชน เพื่อให้เป็นกลไกกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ซึ่งชุมชนหนองจานบนพื้นที่ภูเขาสูงแห่งนี้ ถือเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่มีการฟื้นฟูรักษาทรัพยากร และสืบทอดวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน”

ด้านนางสาวจริยา เซรัมย์ ประธานกลุ่มปลูกกาแฟหนองจาน เล่าว่า หลังจากได้กลับคืนสู่ถิ่นฐานเดิม ชาวบ้านในสมัยนั้นซึ่งเป็นรุ่นพ่อ – แม่ ได้เริ่มปลูกกาแฟขึ้นมาอีกครั้ง ประมาณปี 2553 แต่ไม่ต่อเนื่อง เพราะพื้นที่บ้านหนองจานถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ชาวบ้านจึงไม่สามารถอยู่อาศัยและทำการเพาะปลูกและไม่มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรได้อย่างเต็มรูปแบบ จึงเกิดปัญหาความขัดแย้ง ทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาขับเคลื่อนและต่อสู้ในเรื่องสิทธิที่ดินทำกินมาตลอด

จริยา เล่าต่อว่า หลังการแก้ไขปัญหานำไปสู่ข้อตกลงที่ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีขึ้น ตน (จริยา) ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่สนใจและได้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนบ่อยครั้ง เช่น เมื่อวันที่ 12 ส.ค.62 ได้เข้ากิจกรรมอบรมส่งเสริมการผลิตกาแฟ และการให้ความรู้การจัดการป่าชุมชน จากนั้นกลุ่มกาแฟชุมชนหนองจาน จึงได้เกิดขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 15 คน จะทำการปลูกช่วงต้นฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม โดยจะแบ่งพื้นที่ปลูกตามหัวไร่ปลายนาของแต่ละคน ประมาณ 2 – 3 ไร่

“เมื่อเข้าสู่ฤดูเก็บผลผลิต จะนำมาขายให้กับทางกลุ่มฯ จากนั้นสมาชิกในกลุ่มจะทำการนำเมล็ดกาแฟมาสกัดร่วมกัน โดยเริ่มจากนำไปตากแดด ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จนแห้งสนิท จะทำการกะเทาะเปลือกออก แล้วนำไปตำในครก จากนั้นนำมาใส่กระด้งฟัดจนเสร็จสิ้นขั้นตอน จึงเอามาคั่วและบด และบรรจุใส่ซอง จำนวน 1 ซอง มีปริมาณ 140 กรัม ขายในราคา 100 บาท โดยกลุ่มกาแฟหนองจาน จะเป็นผู้นำออกจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าในพื้นที่ค่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือตามงานเวทีเสวนา และขายให้กับคนในชุมชนกันเอง ส่วนเงินที่ได้จากการขายส่วนหนึ่งจะนำมาซื้อถุงบรรจุ สติ๊กเกอร์ และอื่นๆ ส่วนที่เหลือก็แบ่งปันใก้สมาชิก ถือเป็นแหล่งรายได้เสริมอีกช่องทางหนึ่งให้แก่ครอบครัวในชุมชน”

ประธานกลุ่มกาแฟ เล่าต่อท้าย ว่า สำหรับชุมชนหนองจาน มีพื้นที่จำนวน 1,810 ไร่ โดยจัดสรรให้กับสมาชิกชุมชนจำนวน 42 ครัวเรือน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน พื้นที่ส่วนที่เหลือจำแนกเป็นป่าชุมชน.สำนักสงฆ์, ศูนย์เด็กเล็ก และพื้นที่บริเวณบ้านดิน ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ข้อพิพาทในที่ดินทำกิน ช่วงเดือนเมษายน ปี 2534 รัฐบาล (รสช.) ในขณะนั้นได้มีโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎร ผู้ยากไร้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม (คจก.) ในหลายพื้นที่ของภาคอีสาน โดย รสช.ให้คำมั่นว่าจะจัดสรรที่ดินทำกินให้ใหม่ ปรากกฎว่าหลายรายถูกหลอกให้อพยพและถูกลอยแพ หลายพื้นที่ที่จัดสรรให้ก็มีเจ้าของเดิมอยู่ ผู้เดือดร้อนจึงได้ร่วมชุมนุมคัดค้าน ให้ยกเลิกโครงการ คจก.

สำหรับพื้นที่ชุมชนหนองจาน ชาวบ้านถูกอพยพให้ออกไปอยู่ในหมู่บ้านผาสามยอด ต.ผานกเค้า อ.ภูกระดึง จ.เลย ซึ่งได้รับผลกระทบในชะตากรรมเช่นเดียวกับหลายชุมชนในพื้นที่ภาคอีสาน กระทั่งในเดือนกรกฎาคม 2535 โครงการ คจก.ได้ถูกยกเลิก เมื่อได้คืนสู่ถิ่นฐานที่ดินทำกินเดิมอีกครั้ง ปรากฎว่าถูกประกาศเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ชาวบ้านจึงไม่สามารถอยู่อาศัยและทำการเพาะปลูกและเก็บหาทรัพยากรจากป่าได้ และเกิดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องพื้นที่แนวเขตทับซ้อนระหว่างแนวเขตอุทยานฯกับพื้นที่อยู่อาศัยที่ทำกินและป่าใช้สอยของชุมชนเรื่อยมา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ