เฝ้าระวังพื้นที่อ่อนไหวเสี่ยงดินถล่ม ภาคเหนือ

เฝ้าระวังพื้นที่อ่อนไหวเสี่ยงดินถล่ม ภาคเหนือ

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายจังหวัดจุดเสี่ยงเกิดเหตุดินสไลด์ถล่ม ยังคงต้องเฝ้าระวังภัยดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก เพราะฝนที่ตกในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวันที่ 2 สิงหาคม 2566

9 สิงหาคม 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝน คาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี ในช่วงวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่ฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ซุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน เช่นพื้นที่ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดตาก (อำเภอท่ าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลางทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา และอำเภอแม่จริม ระดับน้ำจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก

ทำให้ยังคงต้องติดตามและเฝ้าระวังภัยดินถล่มอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ กรมทรัพยากรธรณีออกประกาศเตือน พื้นที่จังหวัดน่าน แม่ฮ่องสอน ตาก และกาญจนบุรี เฝ้าระวังภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 7-9 ส.ค. 66 โดยต้องมีการ วัดปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดตามข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มม./24 ชั่วโมง

ธรณีพิบัติภัยดินถล่มส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เช่น ที่ลาดตามแนวเขา หน้าผาสูงชัน ที่ราบเชิงเขา และริมฝั่งทางน้ำตามร่องเขา โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคใต้ของไทย การเกิดดินถล่มส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมีฝนตกหนักต่อเนื่อง เมื่อน้ำฝนไหลซึมลงไปตามช่องว่างของชั้นดินหรือหินบนลาดเขาจนกระทั่งอิ่มตัวด้วยน้ำ ภายใต้สถานการณ์ที่มีปริมาณน้ำฝนมากเกินกว่าความสามารถในการซึมซับได้ของชั้นดิน จะเกิดการพังทลายหรือการเลื่อนไหลของชั้นดินลงมาตามลาดเขา 

สถานการณ์ในแต่ละพื้นที่จากเครือข่าวนักข่าวพลเมือง

เช่นในพื้นที่ จังหวัด แม่ฮ่องสอน นักข่าวพลเมือง คุณสุวัต สมาจิตโอบอ้อม เครือข่ายเยาวชนลุ่มน้ำสาละวิน เล่าถึง ฝนที่ตกติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน เกิดน้ำป่าไหลหลาก สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือนถูกกระแสน้ำพัด ถนนถูกตัดขาด

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เส้นทางถนนเชื่อมต่อภายในตำบลแม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถูกตัดชาด ไฟฟ้าดับ สัญญาณโทรศัพท์ล่มไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกได้ ที่หนักสุด คือ ชุมชนบ้านแม่ตอละ ถูกน้ำพัดบ้านเรือนเสียหายกว่า 12 หลังคาเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เปิดเส้นทางให้เครื่องจักรกลหนักสามารถเข้าพื้นที่ซ่อมแซมถนน โดยสภาพบางช่วงของถนนมีก้อนหินถล่มและดินสไลด์ มีต้นไม้ล้มทับ ล่าสุดหลายหน่วยงานในพื้นที่รวมถึงหน่วยงานนอกพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าไปช่วยเหลือเบื้องต้น แจกจ่ายเครื่องอุปโภค บริโภค ข้าวสารอาหารแห้ง และสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน

และสถานการณ์ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 พื้นที่บ้านท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ริมน้ำสาละวิน ห่างจากบ้านแม่สามแลบทางทิศเหนือด้วยระยะทางกว่า 17 กม. ได้รับความเสียหายจากฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน ช่วงนี้รถยนต์สามารถวิ่งเส้นระหว่างแม่สามแลบ-ท่าตาฝั่งได้ตามปกติ แต่ไม่แนะนำให้เดินทางคนเดียว มีบางช่วงก่อนถึงบ้านแม่แวน หินถล่มลงมากลางถนนบางก้อนใหญ่ต้องใช้แรงคนกลิ้งกว่า 4-5 คน บริเวณจุดห้วยโกเฮง ดินสไลด์ทับถนน ก่อนหน้านั้นชาวบ้านที่สัญจรไปมาได้ใช้กำลังคนเปิดเส้นทาง รถยนต์สามารถผ่านได้ชั่วคราว และบริเวณใกล้ถึงอุทยาน ช่วงโค้งมีน้ำขังและเป็นดินโคลน ซึ่งชาวบ้านกังวลว่า หากฝนยังตกหนักต่อเนื่องอีกหลายวัน ถนนอาจถูกปิดตายไม่สามารถสัญจรได้ หลายจุดที่มีแนวโน้มดินอาจสไลด์เพิ่มเติม และบางช่วงทางโค้งบริเวณคอสะพานมีสภาพทรุด ผลจากกระแสน้ำป่าไหลหลากฉับพลัน ได้กัดเซาะดินระหว่างรอยต่อของถนนและคอสะพาน

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2562 ภาพจากนักข่าวพลเมือง Day 24 บริเวณแขวงทางหลวงตากที่ 2 ประกาศปิดถนนชั่วคราวถนนทางหลวงสาย 105 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก-อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณกิโลเมตรที่ 139 ระหว่างบ้านแม่ตะวอ หมู่ 1 กับบ้านแม่จวาง หมู่ 8 ตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ดินสไลด์ทรุดเป็นรอยแยกขนาดใหญ่ ทำให้รถสัญจรไปมาไม่ได้


วันที่ 9 สิงหาคม 2562 นักข่าวพลเมือง คุณ ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี ปักหมุดแจ้งเตือน ถนนขาด ท่าเรือบ้านท่าสองยาง [แม่ตะวอ] ก่อนถึงบ้านแม่จวาง จังหวัดตาก (คาดว่าจะใช้เวลาสร้างทาเลี่ยงอีก 3-4 วัน )

สถิติการเกิดดินถล่มในประเทศไทย

ข้อมูลปี พ.ศ. 2513 – 2554 พบว่าเหตุการณ์ดินถล่มมีแนวโน้มการเกิดที่สูงขึ้น

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ เคยกล่าวไว้ในงานแถลงข่าว “ดินถล่มและระบบเตือนภัยในประเทศไทย” เมื่อวันที่ 10 ส.ค.61 จากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2547 นั้นภัยพิบัติดินถล่มนั้นเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของจีนมากถึง 80% และมีกรณีดินถล่มที่รุนแรงกว่าเหตุการณ์ที่ ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน หลายครั้ง แต่ก็ไม่เกิดความสูญเสียเพราะไม่มีคนเข้าไปอาศัยในพื้นที่ดังกล่าว

“เราอยู่ในพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม เมื่อย้อนอดีตจะพบว่าไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน ประเทศไทยมีพื้นที่รอถล่มอยู่จำนวนมาก ทั้งภูเขาและพื้นที่มีความเจริญหรือขุดดินขายล้วนอันตราย จากสถิติที่เก็บข้อมูลจะเห็นว่าจำนวนครั้งการเกิดดินถล่มมีการกระโดดขึ้นในปี 2545 ขึ้นมาเรื่อยๆ  

จากการศึกษายังพบว่าดินถล่มตามธรรมชาตินั้นมีช่วงเวลาเกิดประมาณ 5-6 ปี ซึ่งในปี 2561 นี้ก็อยู่ในคาบของการเกิดดินถล่มพอดี โดยปัญหาดินถล่มส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ เพราะหินที่ทำให้เกิดดินถล่มบ่อยนั้นคือหินแกรนิต ซึ่งการกระจายอยู่ทางภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นลักษณะทางธรณีวิทยาไม่เอื้อให้เกิดดินถล่ม

ซึ่งนักวิจัยยังพบสัมพันธ์ค่อนข้างชัดเจนระหว่างดินถล่มกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง เพราะมีการเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ที่มีความชันสูง ดินสลายตัวเร็วกว่าตำแหน่งอื่น ส่วนการตัดต้นไม้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ฝนที่ไม่มากนักเกิดการถล่มได้ แต่ฝนตกหนักและมีต้นไม้เยอะก็เสียหายได้เพราะเป็นธรรมชาติ เพียงแต่ตัดต้นไม้จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการถล่มเร็วขึ้น บางครั้งเป็นการไหลลงไปในร่องน้ำที่ทางวิชาการเรียกว่า น้ำขุดเอาดินออกมา

ข้อมูลแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มในประเทศไทย โดย กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2564 กล่าวถึง พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มในประเทศไทย 54 จังหวัด 517 อำเภอ 2,845 ตำบล ลำดับที่มีพื้นที่ความเสี่ยงภัยดินถล่มมากที่สุด คือ จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มสูงมาก-ปากกลาง 15,840 ตร.กม. มี 24 อำเภอ 140 ตำบล ซึ่งเป็นหมู่บ้านเสี่ยงดินถล่ม 1,492 หมู่บ้าน


เข้าใจปรากฏการณ์ดินสไลด์ถล่ม

กับ รองศาสตราจารย์ ดร. พิษณุ วงศ์พรชัย อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับปัจจัยที่ทำให้ดินสไลด์

2 ปัจจัยหลักดินถล่ม

ปัจจัยที่กระตุ้นและเอื้อให้เกิดดินสไลด์ง่ายขึ้นมีมากขึ้นในภาวะปัจจุบัน ไม่เพียงแต่เกิดในฤดูฝนแต่หากเมื่อปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดดินไสลด์ได้ จึงทำให้เราเห็นเหตุการณ์ดินถล่มในบ้านเรามีความถี่เพิ่มมากขึ้น

  • ปัจจัยหนึ่ง ที่มีความสำคัญคือเรื่อง น้ำฝน ในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาเรามักจะเห็นหลาย ๆ พื้นที่มีปริมาณนมาก มากในที่นี้ความหมาย คือ ฝกตก 1 ครั้งมีปริมาณมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าตกทุก ๆ 5 วัน 10 วัน แต่ในการที่มีปริมาณฝนมากในบางช่วงจังหวะก็ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดดินถล่มได้

ในแง่ของน้ำฝนในทางธรณีวิทยา ความหมายของ น้ำ ที่ไม่ได้หมายถึงน้ำฝนเพียงอย่างเดียว

ทางธรณีวิทยาหากเราพูดถึงน้ำจะมีอยู่ 2 ส่วนคือ น้ำบนผิวดิน และน้ำใต้ดิน แม้ว่าปริมาณฝนที่ตกลงมาไม่ได้เยอะมาก แต่เมื่อไหร่ที่มีฝนตกลงมา ก็จะมีการซึมของน้ำใต้ดินด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่มีน้ำฝนซึมลงไปใต้ดินจะไปเพิ่มระดับน้ำบาดาล ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บอกได้ว่าทำไมบริเวณวันที่ฝนไม่ตกทำไมมีแผ่นดินถล่มเพราะน้ำที่ซึมลงในใต้ดิน ทำให้พื้นที่ดินบริเวณนั้นชุ่มน้ำมมาก จนกระทั้งเป็นสภาวะที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องมีฝนตกลงมากในพื้นที่นั้น

  • ปัจจัยที่สอง ที่เราพบเห็น คือ ต้นไม้มีส่วนสำคัญที่ป้องกันไม่ให้หน้าดินถล่ม เพราะรากของต้นไม้ไปยึดเกาะดินเอาไว้ เมื่อไหร่ที่มีการตัดไม้เยอะมากขึ้น ก็มีโอกาสที่ทำให้ดินถล่มได้ง่ายขึ้น

นอกจากนั้นสภาพทางธรณีวิทยามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หินบริเวณนั้น ๆ หินฝุพัง บริเวณหน้าดินที่มีความแตกต่าง ซึ่งเป็นในเชิงวิชาการและชาวบ้านเข้าใจได้ยาก

ในกรณีของจังหวัดน่าน หรือแม่ฮ่องสอน ไม่ได้หลักพ้นไปจากคำอธิบายนี้ แต่ต้องดูเรื่องปัจจัยพื้นที่นั้น ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น ในอดีตที่ประชากรมีน้อย และไม่ได้มีปัญหาเรื่องพื้นที่ทำกินและพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งในอดีตเมื่อเกิดดินถล่มการจะเป็นข่าวนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจ แต่ในปัจจุบันเมื่อมีเรื่องของพื้นที่ทำกิน ปัญหาของของการอยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม เมื่อมีปัจจัยที่เหมาะสมทำให้เกิดดินถล่ม ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เสียหาย หรือถึงแก่ชีวิต เป็นเรื่องน่าเศร้า แต่เราต้องเข้าใจว่าพื้นที่ตรงนั้นอาจไม่เหมาะสมในการอยู่อาศัย 

ในแง่ของการรับมือเป็นเรื่องที่เราควบคุมได้ยากเพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ

แต่ชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เสี่ยง สามารถร่วมเฝ้าระวังโดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ ศึกษา ตรวจวัดปัจจัยที่สามารถทำได้ด้วยชาวบ้านหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เมื่อฝนตกมากกว่า 100 มิลิเมตร เริ่มมีความเสี่ยงในการออกแจ้งเตือน และเฝ้าติดตามต่อเนื่อง เพิ่มความระมัดระวัง

อีกทั้งมีเครื่องมือของหลายหน่วยงานที่พยายามกำหนดพื้นที่ในบริเวณใดมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะฉะนั้นท้องถิ่นเข้าใจ ชาวบ้านเข้าใจ มีความรู้ในทางนี้ก็จะรู้ว่าพื้นที่ตนเองเสี่ยงมากน้อยเพียงใด กฏสามารถช่วยให้บรรเทาความเสียหายได้มากโดยกรณีของชีวิตผู้คนอาจใช้การอพยพ


สาเหตุสำคัญของแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ เกิดขึ้นบนเขต “รอยเลื่อนมีพลัง (active fault zone)”

ในทางธรณีวิทยา “รอยเลื่อน (fault)” หรือ “แนวรอยเลื่อน (fault line)” เป็น “รอยแตกระนาบ (planar fracture)” ในหิน ที่หินด้านหนึ่งของรอยแตกเคลื่อนที่ไปบนหินอีกด้านหนึ่ง รอยเลื่อนขนาดใหญ่ในชั้นเปลือกโลกเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันหรือเฉือนกันในเขตรอยเลื่อนมีพลัง

โซนที่มีความอ่อนไหวง่ายที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ เมื่อไหร่ที่เกิดแผ่นดินไหว จะทำให้พื้นที่ดินหรือพื้นที่นั้นเกิดการเขย่า ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศเช่น อิหร่านเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวจะมีแผ่นดินถล่มตามมา ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างดินหินภูเขาก็จะไหลลงมาทับบ้านเรือนผู้คนล้มตาย แต่โดยปกติหากแผ่นดินไหวบ้านเรือนไม่แตกหักเสียหายก็ไม่เกิดความเสียหาย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเกิดแผ่นดินไหวเกิดแผ่นดินถล่มลงมาก็จะเกิดความเสียหายเป็นวงกว้างเยอะ แต่การเกิดแผ่นดินไหวเป็นปัจจัยหลักและไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในแง่ของการให้ชาวบ้านได้รู้ว่าตนเองอยู่ในพื้นที่ใกล้รอยเลื่อนแผ่นดินไหว ที่มีโอกาสสูงที่หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงในระดับหนึ่งเกิดดินถล่มและมีความสุ่มเสี่ยง

และความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่เสี่ยงและรอยเลื่อนในประเทศไทย พบว่ามีความสอดคล้องกันมาก ไม่ว่าจะขยับหรือไม่ขยับ ในบริเวณนั้นก็จะถูกกำหนดในแผนที่ว่าเป็นพื้นที่อ่อนไหวเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่ม การเกิดแผ่นดินไหวเป็นเรื่องปกติ ในทางธรณีวิทยาเพราะเปลือกโลกเคลื่อนตลอดเวลา

โลกรวนสัญญาณเตือนหนึ่ง ในสภาวะที่มีความรุนแรงในแง่ของบวกและลบ เช่น ในบางพื้นที่ไม่ค่อยได้เจอกับฝนที่ตกมากขึ้น วันดีคืนดีพื้นที่เจอฝนมากกว่าปกติ แน่นอนว่าภาวะโรครวนก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม


เครื่องมือมอนิเตอร์พร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก พายุ ดินโคลนถล่ม เฝ้าระวังพร้อมแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยตลอด 24 ชม.

1.DPM Reporter แอพพลิเคชั่นสำหรับจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย และเครือข่ายภาคีด้านสาธารณภัย ของกรมป้องกันสาธารณภัยเพื่อใช้รายงานข่าว และบริหารข่าวสารด้านสาธารณภัย โดยในแอพพลิเคชั่นมีการแบ่งฟังชั่นใช้งาน จะมีแผนที่ข่าวรายงานพื้นที่เสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติในทุกรูปแบบ แยกเป็นหัวข้อต่างๆ ประกอบด้วย

1.รายงานแจ้งข่าวสารารณภัย

2.รายงานประจำวัน ทั้งน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ไฟไหม้

3.รายงานสรุปสาธารณภัยประจำวัน

4.ห้องแชทสนทนา

5.แจ้งเตือนพื้นที่ใกล้เคียง

ios โหลดที่นี่ : https://apps.apple.com/th/app/dpm-reporter/id977297308#?platform=iphone 

Android โหลดที่นี่ : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.depthfirst.dpm.reporter&hl=en&gl=US


2.Thai DisAster Alert อีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะทำหน้าที่รายงานสภาพอากาศ รายงานคุณภาพอากาศ พยากรณ์อากาศ รายงานปริมาณน้ำในเขื่อน ข่าวสารเตือนภัย แจ้งเหตุการณ์ ซึ่งจะมีฟังชั่นที่แตกต่างจาก “DPM Reporter” โดยแอพพลิเคชั่น Thai DisAster Alert จะคอยแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วม ข่าวภัยพิบัติ พื้นที่อุณหภูมิในและภูมิภาค

ios โหลดที่นี่ : https://apps.apple.com/th/app/thai-disaster-alert/id1558404227

Android โหลดที่นี่ : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.ddmp.nd&hl=th&gl=US


3.WMSC แอพพลิเคชั่นจากกรมชลประทาน ทำหน้าที่รายงานข้อมูลจากศูนย์ประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำเรียลไทม์ และเฝ้าระดับน้ำในอ่างกักเก็บน้ำ โดยเฉพาะตรวจสอบระดับน้ำผ่านกล้องวงจรปิด ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นจะมีฟังชั่นแบ่งย่อย ดังนี้

1.รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน

2.ข้อมูลน้ำในอ่าง โดยมีกราฟแสดงปริมาตรในอ่างขนาดใหญ่

3.ข้อมูลน้ำฝน

4.ข้อมูลน้ำท่า

5.กล้องติดตามสถานการณ์น้ำ

6.ข้อมูลการเกษตร

7.กรมชลประทาน Social Networ

ios โหลดที่นี่ : https://apps.apple.com/th/app/wmsc/id881559159?l=th

Android โหลดที่นี่ : https://play.google.com/store/apps/details?id=io.cordova.wmsc.app.rid.go.th


4.Water4Thai แอพพลิเคชั่นจากสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล สถานการณ์น้ำในประเทศไทย ปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำ และสภาพอากาศ โดยสามารถเลือกพื้นที่ทั้งประเทศหรือเป็นรายจังหวัดในหัวข้อต่างๆได้ ดังนี้ 

1.ข้อมูลปัจจุบันเรื่องการเกิดฝนตกหนัก ข้อมูลจาก สบอช.

 2.สถานการณ์น้ำรายวัน ข้อมูลจาก สบอช. 

3.สภาพอากาศ ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา 

4.ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา 

5.ระดับน้ำในลำน้ำ ข้อมูลจากกรมชลประทาน 

6.ระดับน้ำในคลอง กทม. ข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร 

7.CCTV ลุ่มน้ำ ข้อมูลจากกรมชลประทาน 

8.ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ข้อมูลจาก กฟผ.(EGAT) 

9.น้ำทะเลหนุนสูงสุดประจำวัน ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์

ios โหลดที่นี่ : https://apps.apple.com/th/app/water4thai/id548984244 

Android โหลดที่นี่ : https://water4thai.en.uptodown.com/android 


5.ThaiWater แอพพลิเคชั่น “คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ” ติดตามสถานการณ์น้ำ จากคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยแอพพลิเคชั่นทำหน้าที่มอนิเตอร์สถานการณ์น้ำ ภาวะฝน อากาศ และพายุ ปริมาณน้ำในเขื่อน พร้อมรายงานปริมาณฝนตกตลอด 24 ชม. โดยเฉพาะฟังชั่นคาดการณ์ฝนและคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยได้ล่วงหน้า

ios โหลดที่นี่ : https://apps.apple.com/th/app/thaiwater/id1097487200?l=th

Android โหลดที่นี่ : https://play.google.com/store/apps/details?id=mobile.nhc.thaiwater&hl=th

4 ขั้นตอน เฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยดินถล่มนั้น

1️ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย

2️ ประสานงานอาสาสมัครเครือข่ายในพื้นที่เสี่ยงภัย

3️ ออกประกาศเฝ้าระวังภัยดินถล่ม

4️ ตรวจสอบเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย เพื่อหาสาเหตุประเมินสถานการณ์ และให้คำแนะนำแนวทางการป้องกันภัยและลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย

ขณะเกิดเหตุ

1️ หนีเอาตัวรอดโดยวิ่งไปยังจุดปลอดภัยตามเส้นทางอพยพที่กำหนดไว้

2️ ไม่ควรอพยพข้ามลำน้ำ เพราะสะพานข้ามลำน้ำอาจขาดหรือชำรุด ทำให้ถูกน้ำพัดไป

3️ หากพลัดตกน้ำ ให้หาต้นไม้ใหญ่ยึดเกาะและปีนให้พื้นน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนีเพราะอาจกระแทกกับเศษหิน ดิน ซากต้นไม้ ที่ลอยมากับน้ำได้

4️ ไม่เข้าใกล้หรือกลับเข้าไปในบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย เพราะอาจเกิดดินถล่มซ้ำได้

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ