Social Innovation Village: Idea Hacks 2023 เวทีนครศรีธรรมราช

Social Innovation Village: Idea Hacks 2023 เวทีนครศรีธรรมราช

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดโครงการ Social Innovation Village: Idea Hacks 2023 เพื่อนำผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้ไปแก้ไขปัญหาตอบโจทย์จากพื้นที่เป้าหมายได้จริง และก่อให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่เป้าหมาย ยกระดับคุณภาพสินค้าหรือบริการของธุรกิจเพื่อสังคม ลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ และเป็นต้นแบบการขยายผล  ให้เข้าถึงปัญหาตามบริบทของพื้นที่เป้าหมาย นำไปสู่การสร้างผลตอนแทนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562

ระหว่างวันที่ 9 -11 กรกฎาคม 2566 โครงการฯ ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้กับชุมชนที่สนใจ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีดร.อำพล อาภาธนากร ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นางสาวพัชรลดา จุลเพชร หัวหน้างานพัฒนาองค์ความรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชน จัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และชุมชนในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ภาคกลาง เข้าร่วมจำนวน 7 ชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก  จังหวัดนราธิวาส  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนอำเภอแว้ง  จังหวัดนราธิวาส สภาองค์กรชุมชนอำเภอจะแนะ  จังหวัดนราธิวาส สภาองค์ชุมชนเทศบาลตำบลรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส  ศูนย์พัฒนาทักษะจินตเกษตร-BCG  จังหวัดสงขลา ทีมรวมพลังชุมชนตำบลเข้มแข็ง อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วิสาหกิจชุมชนสบู่สมุนไพรลูกชกบ้านควนชก จังหวัดนครศรีธรรมราช สภาองค์กรชุมชนคูหาใต้ เทศบาลตำบลคูหาใต้ จังหวัดสงขลา ชุมชนพระแท่นอินโนเวท อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี วิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยจังหวัดตราด

S 38117399

กิจกรรมภายในงานมีการอบรมให้ความรู้โดยดร.ศิญาณี หิรัญสาลี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในกระบวนการค้นหาความคิดหรือแนวทางของปัญหา เพื่อให้ได้ไอเดียในการทำสิ่งใหม่ๆ และแนวทางในการแก้ไข รวมถึงการระดมสมอง การระดมความคิด เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และร่วมกันแชร์ประสบการณ์สำหรับการริเริ่มสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาและแก้ปัญหาชุมชนหรือนวัตกรรมด้านสังคม อีกทั้งได้เรียนรู้การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment : SROI) ทำให้สามารถวัดผลลัพธ์การแก้ไข

S 38117394

ชุมชนที่เข้าร่วมได้วิเคราะห์ปัญหาของตนเองและแนวทางการค้นหานวัตกรรมกระบวนการเพื่อแก้ไข เช่น ปัญหาการเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของพืชพื้นถิ่นอย่างลูกชกที่จังหวัดนครศรีธรรมราช การแก้ไขปัญหาหนี้สินของชุมชนของอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช การรวบรวมข้อมูลและแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างในพืชผักสู่การพัฒนาเป็นความมั่นคงทางอาหารของชุมชนของสภาองคืกรชุมชนคูหาใต้ จังหวัดสงขลา การเพิ่มรายได้ให้ชุมชนผ่านการผลิตขนมปังแม่หม้ายของอำเภอจะแนะ การแบ่งบทบาทการบริหารจัดการครัวเรือนของชุมชนอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส การพัฒนาไข่ผำเพื่อชุมชนของตำบลพระแท่น กาญจนบุรี การแก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพของจังหวัดตราด การแก้ปัญหาขยะในชุมชนของเทศบาลกรือเซาะ นราธิวาส การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของสถาบันปิดทองหลังพระ นราธิวาส เป็นต้น

S 38117388

นวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social Innovation คือ สิ่งใหม่ที่สร้างขึ้นมาจากความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการ ผลิตภัณฑ์ หรือรูปแบบการพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับ เพื่อแก้ไขและตอบสนองต่อปัญหาทางสังคม เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่การมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว แต่เน้นกระบวนการคิด การทำงานแบบมีส่วนร่วมเป็นหลัก ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่่านั้น

S 38117398

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ