เครือข่ายแรงงาน ร่วมกันเสนอปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานด้านการรวมตัว เจรจาต่อรอง พ้อเจ้าหน้าที่รัฐไม่แก้ปัญหา ยังมีการคุกคามข่มขู่สหภาพแรงงาน ร้องรัฐให้สัตยาบันอนุสัญา ILO เพื่อคุ้มครองสิทธิการรวมตัวเจรจาต่อรอง พร้อมเรียกร้องแรงงานต้องเลิกเป็นเด็กดี กล้าที่จะเคลื่อนไหวผลักดันรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทุกยุค ขณะที่รัฐบาล คสช. นี้ ก็ไม่ควรวางใจเพราะไม่เคยได้อะไรมาโดยไม่มีการเคลื่อนไหว
ในวันงานที่มีคุณค่าสากล (Decent Work ) วันที่ 7ตุลาคม 2557 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานัรัฐวิสาหกิจัมพันธ์ ได้จัดงาน “งานที่มีคุณค่า” : วาระประเทศไทย ( Decent Work :Thailand Agenda)
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) แถลงว่า ในปีนี้ครบหนึ่งทศวรรษวันงานที่มีคุณค่าสากล ประเทศไทยแม้เป็นหนึ่งใน 45 ประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ปี 2462 แต่การให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวเจรจาต่อรองร่วมซึ่งถือว่าเป็นอนุสัญญาหลัก การให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับต่างๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มครองคนงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี แทบไม่มีพัฒนาการที่จะเป็นหลักประกันแก่คนงาน ทำให้คนงานต้องเผชิญกับภาวการณ์เอาเปรียบ ถูกขูดรีดจนแทบไม่มีหลักประกันใดๆ ซึงประเทศไทยยังไม่มีการให้สัตยาบันหรือมีความก้าวหน้าในการที่จะกระทำการให้สัตยาบัน
จากความพยายามของแรงงานในการก่อต้งสหภาพแรงงาน และการเจรจาต่อรองไม่ได้รับการคุ้มครองที่ดีจนทำให้การเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องใช้เวลาหลายเดือน หรือเป็นปี เมื่อตกลงกันแล้วนายจ้างยังถูกละเมิดต่อข้อตกลง และที่รุนแรงคือการละเมิดต่อกฏหมายแต่เจ้าหน้าที่รัฐกลับไม่ดำเนินการใดๆปล่อยให้เป็นการเผชิญหน้าระหว่างคนงานกับนายจ้าง การไม่คุ้มครองแรงงานนอกระบบคนทำงานอิสระที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธ รวมถึงแรงงาน้ามชาติ การเรียกร้องสิทธิเพื่อชีวิตที่ดี ปอดการเอาเปรียบขูดรีดจนถึงวันนี้ดูเหมือนว่าการแก้ปัญหากลับไปที่จุดเริ่มต้นเมื่อสิยกว่าปีที่ผ่านมาทั้งกระบวนการนายหน้าการห่ประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ การค้ามนุษย์จนนานาชาติส่งสัญญาณที่ไม่ดีต่อสถานการณ์บะเมิดสิทธิแรงงานของประเทศไทย
ดังนั้นในสถานการณ์เข่นนี้รัฐบาลควรที่จะเร่งทบทวนมาตรการต่างๆ เพื่อให้คนงานเข้าถึงหลักการ “งานที่มีคุณค่า” ที่สำคัญต้องต้องมีหลักประกันให้คนงานสามารถเข้าถึงหลักการได้จริง โดยเฉพาะเสริมสร้างอำนาจการต่อรองให้กับคนงาน ให้สิทธิในการรวมตัวจัดตั้งองค์กร น่าจะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้สถานการณ์ละเมิดสิทธิแรงงานของประเทศไทยดีขึ้น และได้รับการยอมรับ และนั่นหมายถึงบทบาทของไทยในเวทีโลก ข้อเสนอในวันครบรอบหนึ่งทศวรรษงานที่มีคุณค่าสากลในปีนี้ รัฐบาลต้องเร่งรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87และ 98
นางสาวธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี กล่าวว่า การจัดงานวันนี้อาจต้องเรียกร้องต่อผู้ใช้แรงงานในการที่จะผลักดันให้รัฐบาลชุดนี้ให้สัตยาบัน ILO ทั้งสองฉบับอย่างไร เพราะขบวนการแรงงานเคยใช้วันนี้ในการคิดตามทวงถามเรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับทุกปีทุกรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แม้รัฐบาลชุดนี้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งขบวนการแรงงานก็ควรต้องจับเคลื่อนทวงถามเช่นเคย หรือว่าขบวนการแรงงานจะเป็นเด็กดีภายใต้รัฐบาลนี้ ซึ่งถามว่าจะหวังให้เขาทำให้ได้อย่างไรขณะนี้เครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มอื่นๆ ที่ออกมาจับเคลื่อนด้วยเพราะไม่ไว้ใจในการแก้ไขปัญหาด้วยการปฏิรูปได้จริง และตั้งแต่ประวัติศาสตร์มาสวัสดิการ สิทธิต่างๆ ของแรงงานได้มาจากการเคลื่อนไหวทั้งนั้น
นางสาวดาวเรือง ชานก กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ กล่าวว่า การจ้างงานในระบบอุตสาหกรรสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นกลุ่มแรงงานที่มีค่าจ้างต่ำ สวัสดิการน้อย ด้วยถูกมองว่าเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ไม่ว่าจะทำงานกี่ปีก็ยังได้เพียงค่าต้างขั้นต่ำ หากต้องการปรับขึ้นค่าจ้าง้องรวมตัวเรียกร้อง
จากการรับเรื่องราวร้องทุกที่ผ่านมา มีแรงงานส่วนหนึ่ง่ได้ค่าจ้างต่ำกว่ากฎหมาย แต่ไม่กล้าที่จะเรียกร้อง เพราะกลัวตกงาน ยอมให้นายจ้างละเมิดสิทธิ เอาเปรียบ กรณีถูกเลิกจ้างนายจ้างก็ต่อรองจ่ายต่ำกว่ากฏหมาย เพราะแรงงานไร้อำนาจต่อรององค์กรรัฐก็ไกล่เกลี่ยให้รับต่ำกว่ากฎหมาย
นายไพฑูรย์ บางหลง ต้วแทนกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าวว่า การละเมิดสิทธิแรงงานนั้นเหตุเพราะกฏหมายแรงงานมีความอ่อนแอ ขาดการคุ้มครองการรวมตัว และการเจรจาต่อรอง ซึ่งเกิดขึ้นจำนวนมาก การต่อสู้เรียกร้องของแรงงานในปัจจุบันไม่สามารถจบลงได้บนโตะการเจรจา ส่วนใหญ่จะเกิดการพิพาทแรงงาน ถูกปิดงาน และเลิกจ้าง การชุมนุมของลูกจ้างก็ถูกคุกคาม และต้องถูกเจ้าหน้าที่รัฐกลาง และองค์กรท้องถิ่นกดดันอีก การที่กฏหมายแรงงานให้สิทธิการยื่นข้อเรียกร้องทั้ง 2 ฝ่าย คือสหภาพแรงงานยื่นต่อนายจ้าง นายจ้างก็ยื่นต่อสหภาพแรงงานภายใต้อำนาจต่อรองไม่เท่ากัน เมื่อเกิดข้อพิพาทการไกล่เกลี่ยจากรัฐส่วนใหญ่จบมาลูกจ้างก็เสียเปรียบ และตามมาด้วยการขออำนาจศาลเลิกจ้าง บางแห่งถูกทำร้ายร่างกาย แจ้งตำรวจในท้องที่แล้วการดำเนินคดีก็ไม่คืบหน้า
องจู ตัวแทนแรงงานข้ามชาติเมี่ยนม่า เล่าว่า การจ้างงานแรงงานข้ามชาติไม่มีความเท่าเทียมทางกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ 300บาท แต่ที่แม่สอดแรงงานข้ามชาติยังได้ค่าจ้างเพียง 120 บาทต่อวัน แรงงานในสมุทรสาครได้ค่าจ้าง 250บาทต่อวัน เพราะบริษัทซับคอนแทรกหักส่วนหนึ่งไว้ สิทธิประกันสังคมวันนี้ฐบอกว่ากฎหมายคุ้มครองแล้วแต่มีแรงงานข้ามชาติที่เข้าสู่ระบบเพียงร้อยละ10เท่านั้น รัฐอ้างว่าเป็นเพราะแรงงานข้ามชาติเป็นแรงงานที่ไม่ถูกกฎหมาย ทำให้กฎหมายไม่คุ้มครอง ซึ่งหากถามแรงงานข้ามชาติทุกคนก็อยากถูกกฎหมายทุกคน ดยากได้ค่าจ้างตามกฎหมาย ได้รับสวัสดิการมีสิทธิในการรวมตัวเหมือนแรงงานไทย หากว่าแรงงานข้ามชาติไม่ถูกกฎหมายก็ทำให้ถูกกฎหมายด้วยการขึ้นทะเบียนเรือประมง แรงงานประมงด้วยเพราะแรงงานทุกคนอยากได้การคุ้มครองเรื่องประกันสังคม เพราะเวลาป่วยเงินค่าจ้าง่ได้มาไม่เพียงพอที่จะจ่ายค่ารักษายาบาล
นายวันชัย ม่วงดี แรงงานซับคอนแทรคในกิจการยานยนต์ กล่าวว่า รู้สึกแย่มากที่ในฐานะคนทำงานเหมือนกันแต่ได้รับค่าจ้างและสวัสดิการต่างกันกับลูกจ้างประจำ บางครั้งถูกย้ายงานไปทำที่อื่นห่างไกลที่พัก เพื่อนร่วมงาน เมื่อถูกเลิกจ้างได้ค่าชดเชยเพียงร้อยละ 15 ของสิทธิตามกฎหมาย การรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานทำได้ยากเพราะนายจ้างจะย้ายงานตลอด เหมือนกับเป็ดไล่ทุ่งที่ย้ายไปเรื่อย แต่แรงงาน Sub Contract ไม่ใช่เป็ด จึงอยากมีสิทธิที่เสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
นายธนกร สมสิน ประธานสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงที่สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างการเจรจาต่อรองส่วนใหญ่อยู่ที่การต่อรองเรื่องวาระข้อตกลงว่าจะทำสัญญากี่ปีนายจ้างเสนอ 3 ปี สหภาพเสนอ 1 ปี โดยไม่ได้มีการพูดถึงการปรับสภาพการจ้างใหม่จนมีการพิพาทแรงงานปิดงานชุมนุม การชุมนุมของสหภาพแรงงานไม่สามารถใช้พื้นที่ของบริษัทหรือบริเวณฟุตบาตด้านข้างบริษัทได้ต้องอาศัยชุมนุมบนผิดถนนจราจรซึ่งก็กระทบกับการใช้ถนนของนิคม และความไม่ปลอดภัยของคนงานที่ชุมนุม รวมทั้งมีการยิงรถ และตามไปยิงตัวแทนถึงที่บ้าน จึงได้เข้ามาชุมนุมที่กระทรวงแรงงาน และได้เดินไปที่สำนักงานใหญ่เพื่อให้นายจ้างเปิดการเจรจา แม้วันนี้จะกลับเข้าทำงานแล้ว แต่ก็ยังมีการย้ายงาน สร้างความอึดอัดให้กับคนงานที่กลับเข้าทำงานอยู่บ้าง
นางสาวธนัญภรณ์ บรมสม ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เล่าว่า ปัญหาการเลิกจ้างสหภาพแรงงานหลังการเจรจาข้อตกลงของคนงาน RPC นั้นแม้ว่าจะร้องคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ ครส. กับตัดสินว่าเป็นธรรมแล้ว เพราะนายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และยังมีการรับคนงานกลับเข้าทำงานถือว่าเมตตาเป็นบุญคุณกับคนงาน ครส.ไม่ได้มองที่เจตนารมณ์ที่นายจ้างเลิกจ้างเฉพาะสมาชิกสหภาพแรงงาน และการรับกลับเข้าทำงานนั้นเป็นการจ้างงานแบบสัญญาจ้างปีต่อปีส่งผลต่อความไม่มั่นคงในชีวิตการงาน ได้รับเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตครอบครัว และไม่กล้าที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหรือยุ่งเกี่ยว เพราะกลัวนายจ้างไม่ต่อสัญญาจ้าง
สหภาพแรงงานที่เคยเข้มแข็งเมื่อสมาชิกลดน้อยลงก็ส่งผลต่อการทำงานสหภาพไปด้วย ขณะนี้กลุ่มลูกจ้างที่กลับเข้ามาทำงานได้เพียงค่าจ้างวันละ 300 บาท ต้องทำงานล่วงเวลาเพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนกับทางสหกรณ์ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ อย่างไรคนงานก็ต้องการความมั่นคงในชีวิต ต้องการมีบ้านมีรถเช่นกัน การตกงานยังส่งผลกับลูกที่กำลังเรียนหนังสือด้วย ฉะนั้นการยอมรับสภาพการจ้างที่แย่กว่าเดิม ยอมให้นายจ้างเอาเปรียบมากขึ้นเพื่ออนาคตครอบครัวด้วย
ประเด็นการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงานก็มีปัญหามาก เพราะจัดหางานกล่าวหาว่าไม่ยอมไปหางานทำซึ่งจริงแล้วใม่ใช่ไม่หางานทำแต่ไม่มีใครรับเข้าทำงานเพราะอายุมากแล้ว
คุณวณิช พิพัฒน์จักราภรณ์ ตัวแทนแรงงานนอกระบบ เล่าว่า ความเท่าเทียมในความหมายทางเพศมักถูกมองข้ามในส่วนของเพศวิถี หรือเพศที่สามในระบบการจ้างงานยังมีเพียงเพศหญิง เพศชาย เพศที่สามอย่างตนต้องไปทำงานอิสระ งานแรงงานนอกระบบ ทำเสริมสวย ไม่มีสวัสดิการ หรือการคุ้มครองทางกฎหมาย การรวมตัวเป็นไปได้อยากเป็นแรงงานราคาถูก การเข้าไปทำงานในระบบก็ถูกกีดกัน ไม่มีความก้าวหน้า เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับการมีของเพศที่สาม ฉะนั้นการมองเรื่องความเท่าเทียมด้านสิทธิ สวัสดิการต้องคำนึงถึงเพศที่สามด้วย กรณีการตรวจเชื้อ HIV ในการทำงานแม้กฎหมายห้ามไม่ให้ตรวจเลือดเรื่องนี้แต่คนทำงานที่เป็นเพศสามยังคงถูกกระทำ เป็นแรงกดทับทางเพศ ถูกเลือกปฏิบัติไม่ได้รับการคุ้มครองให้เกิดความเป็นธรรม ฉะนั้นอยากเสนอให้สังคมมองและยอมรับเพศที่สาม ด้วยโอกาสการทำงาน ความมั่นคงก้าวหน้าในหน้าที่การงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ
นักสื่อสารแรงงาน รายงาน