แม่โจ้โพลล์ชี้”เกษตรอินทรีย์มีคุณภาพและความปลอดภัย แต่ยังราคาสูงและหาซื้อยาก”

แม่โจ้โพลล์ชี้”เกษตรอินทรีย์มีคุณภาพและความปลอดภัย แต่ยังราคาสูงและหาซื้อยาก”

ผู้คนในปัจจุบันมีความใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น จึงส่งผลให้เกษตรอินทรีย์กลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม อีกทั้งระบบเกษตรอินทจากการสำรวจข้รีย์ยังเป็นระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มว่าเกษตรอินทรีย์มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อยให้อยู่รอด และความยั่งยืนของระบบเกษตรกรรม คือ ผู้บริโภคที่มีคุณภาพ (Active Customer) ที่จะลุกขึ้นมากำหนดอาหารที่มีคุณภาพให้กับตนเองได้

20162009114830.jpg

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 1,207 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 – 12 กันยายน 2559 ในหัวข้อ “สินค้าเกษตรอินทรีย์ในมุมมองผู้บริโภค” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสอบถามผู้บริโภคเกี่ยวกับมุมมองความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรทั่วไป 2) เพื่อสอบถามความเชื่อมั่นที่มีต่อมาตรฐานของสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ 3) เพื่อสอบถามปัญหาหรืออุปสรรคที่ส่งผลต่อการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ สรุปผลได้ดังนี้

จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรอินทรีย์และสินค้าเกษตรทั่วไป พบว่า ผู้บริโภคร้อยละ 89.59 มีความคิดเห็นว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์มีความแตกต่างจากสินค้าเกษตรทั่วไป ในด้านความปลอดภัยในการบริโภค ความปลอดภัยในการผลิต หาซื้อได้ยาก ราคาสูง สินค้ามีคุณภาพ และรูปลักษณ์ภายนอกสวยงามกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป ส่วนที่เหลือร้อยละ 10.41 มีความคิดเห็นว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่มีความแตกต่างจากสินค้าเกษตรทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้อยละ 57.22 กลับซื้อสินค้าเกษตรทั่วไปมาบริโภค โดยให้เหตุผลว่า หาซื้อได้ง่ายกว่า และราคาต่ำกว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีผู้บริโภคเพียงร้อยละ 13.79 ที่ซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์มาบริโภค โดยให้เหตุผลว่า มีความปลอดภัยในการบริโภค และมีคุณภาพดีกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป

20162009114949.jpg 

โดยเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงปัญหาหรืออุปสรรคที่ส่งผลต่อการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ พบว่า อันดับแรก คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีน้อยกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป (ร้อยละ 63.85) รองลงมาได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป (ร้อยละ 50.91) ผู้บริโภคขาดการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 36.65) ผู้บริโภคไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานของสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 17.50) สภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีปัญหา (ร้อยละ 17.16) และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่สวยงามน่าดึงดูดใจ (ร้อยละ 14.10) ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความมั่นใจในมาตรฐานของสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตโดยเกษตรกรในประเทศไทย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้อยละ 44.06 มีความมั่นใจในมาตรฐานการผลิต ส่วนร้อยละ 21.78 ไม่มีความมั่นใจในมาตรฐานการผลิต และอีกร้อยละ 34.16 ไม่แน่ใจ

เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับราคาของสินค้าเกษตรอินทรีย์เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าเกษตรทั่วไป พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้อยละ 55.20 มีความคิดเห็นว่าสินค้าทั้งสองชนิดควรมีราคาที่เท่ากัน ส่วนผู้บริโภคร้อยละ 37.42 มีความคิดเห็นว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ควรมีราคาที่สูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป ประมาณร้อยละ 20.91 และผู้บริโภค    ที่เหลืออีกร้อยละ 7.38 มีความคิดเห็นว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ควรมีราคาที่ต่ำกว่าสินค้าเกษตรทั่วไป ประมาณร้อยละ 21.24

เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่ทำให้มั่นใจในคุณภาพและสะดวกต่อการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ พบว่า อันดับแรก คือ ห้างสรรพสินค้า/ซุปเปอร์มาเก็ต (ร้อยละ 37.53) รองลงมาได้แก่ ตลาดสดทั่วไป    (ร้อยละ 37.12) ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 33.89) ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 26.02) และตลาดระบบสมาชิกที่มีการติดต่อซื้อขายโดยตรงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค (ร้อยละ 17.98) ตามลำดับ

20162009115642.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ