ลมหายใจของเมืองคืออะไร ?

ลมหายใจของเมืองคืออะไร ?

“เมืองที่เรารู้จักและมองเห็นอาจเป็นเพียง 1% ของทั้งหมด”

value – sustainability VS investment – value ?

ช่วงเวลาเสาร์ตอนเย็นที่ยังคงมีอะไรในหัวมากมาย แต่ตั้งใจจะมาดูสารดคี The Last Breath of Sam Yan ผ่านงาน Chiang Mai Book Fair

“เขามองชุมชนไม่ได้เห็นชีวิตอยู่ในนั้น เขาเห็นเป็นพื้นที่ที่เขาคิดต่อว่าจะทำประโยชน์อะไรได้”

คำพูดเปิดเรื่องของ #thelastbreathofsamyan สารคดีที่สร้างขึ้นมาเพื่อบันทึกภาพการไล่รื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิม #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม โดย ฟิล์ม-เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ และเหล่าบรรดานิสิต-นักศึกษาตัวเล็ก ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลุกขึ้นคัดค้านการรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิม ช่วยครอบครัวที่ดูแลศาลเจ้า ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ โดยสำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ PMUC ผู้ที่เรียกตัวเองว่าสถาบันการศึกษา ซึ่งกรณีรื้อถอนโรงภาพยนตร์สกาลานั้นมาควบคู่กับการรื้อถอนศาลเจ้าสะพานเหลือง โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งมอบให้ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ผู้ประมูลพื้นที่นี้ได้คือตราบาปอย่างหนึ่งที่เคยเกิดขึ้น

“มือถือสากปากถือศีล” กับคนที่อ้างว่าตัวเองเป็นอนุรักษ์นิยมแต่กำลังทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชนที่ไม่ควรมองข้าม แล้วเด็กที่ถูกมองว่าไม่รู้คุณค่าทางประวัติศาสตร์กลับลุกขึ้นมาปกป้อง

เรื่องราวมีความเกี่ยวเนื่องกับ ตัวของ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนอกระบบ ซึ่งมหาลัยหลาย ๆ พื้นที่ในต่างจังหวัดก็เช่นกัน จำได้ว่าครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์คณะจารย์นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเดินขบวนแสดงความไม่เห็นด้วยกรณีนำมหาวิทยาลัยออกนอกกำกับของรัฐบาล เดินถือป้ายประท้วงและมีข้อความบนป้ายผ้าที่นิสิต “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นของพระเจ้าอยู่หัว อย่านำมาเป็นของส่วนตัว”, “อย่าทำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นธุรกิจ”, “คนจนต้องเรียนจุฬาฯได้” ซึ่งตัวเองไปเดินเล่นแถวจุฬาล่าสุดทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปไวจริง ๆ คอนโดขึ้นเต็มไปหมด อาคารเก่า ๆ แถบจะไม่เหลือแถมแถวย่านสามย่านของกินราคาสูงลิบ

ในวงคุยสารคดีเรื่องนี้ชวนให้ตั้งคำถามสำคัญว่าเจนทริฟิเคชั่น (gentrification) หรือการพัฒนาเมืองในนามของความใหม่ เจริญ ทันสมัย โดยไม่สนใจว่าการกระทำดังกล่าวจะกระทบกับค่าครองชีพหรือวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นนั้นควรมีขอบเขตหรือไม่อย่างไร ทำให้มองเห็นความเจริญหลาย ๆ ต้องควบคู่ไปกับคนด้วย การผลักคนออกจากเมืองที่เจริญเราจะอยู่แบบนั้นจริง ๆ หรอ

เชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่คนกรุงเทพฯ หรือนิสิตเก่าจุฬา ฯ ก็ดูได้ และควรดู เพื่อทำความเข้าใจ การเคลื่อนไหวเหล่า activist active citizen นักศึกษาไม่ได้มีแค่ความรุนแรงต่อต้าน ในทางหนึ่งสารคดีชิ้นนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่คนธรรมดาสามารถหยิบเพื่อสื่อสารกับคนบนยอดพิรามิดให้เหลียวมองคนตัวเล็ก ๆ ในสังคม

ดูสารคดีมองย้อนกรณีแบบนี้เกิดขึ้นกับพื้นที่ local มากมายเช่นกัน การรื้อบ้านเขียว คลองแม่ข่า ซึ่งในต่างประเทศมีตัวอย่างให้เห็นของการแก้ทางออกเรื่องนี้

https://www.facebook.com/thaithenorth/videos/1002009193561163

🙂 งานนี้มองเห็นความก้าวหน้าของตัว active citizens คนธรรมดาลุกขึ้นมาทำสื่อ ทำสารคดีได้ แม้จะไม่ได้มีฝีมือขั้นเทพเหมือนคนทำหนัง production ดี แต่การเล่าเรื่องศิลปะของความเป็นคนปรบมือให้พีดี เซอร์ไพรส์การประกอบฟุตจากสถานการณ์ เหตุการณ์ในแต่ละช่วง ในช่วงเวลานั้น ตั้งแต่นักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องติดป้ายคัดค้านการรื้อถอนหน้าศาลเจ้าใหม่ ถูกด่า ไล่ กีดกันโดยคนของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาพของศาลเจ้าแม่ทับทิมที่ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน หลักฐานในช่วงเวลาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่พูดถึงเรื่องนี้ VTR ของผู้บริหารจุฬาที่ฟังแล้วยิ่งขนลุก ดี ดีมาก ทำดีแล้วและทำต่อไป อย่างน้อยถ้าเราแพ้ก็ได้จารึกไว้สู้วันหน้า เนี่ยมีหลักฐาน !!

นี่คงเป็นช่วงเวลาฟางเส้นสุดท้ายก่อนศาลตัดสินให้กำลังใจจริง ๆ แต่สุดท้ายจะแพ้หรือชนะก็ขอเป็นกำลังใจหนึ่งของปลายทางไม่ว่าเรื่องนี้จะไปถึงจุดไหน รวมถึงตัวสารคดีชุดนี้และการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ อาจเป็นก้าวหนึ่งของการสร้างสังคมให้เกิดความตระหนัก เพื่อหาทางถอดบทเรียน สร้างข้อตกลงแบบสันติวิธีถึงลมหายใจของเมืองที่ควรรักษาไว้ต้องมีวิธีการที่เป็นธรรมอย่างไร ต่อจากศาลเจ้าแม่ทับทิม ที่ไหนจะถูกพรากลมหายใจเป็นรายต่อไป

ขอบคุณ #ชาวเชียงใหม่ต้องการดูหนังเรื่องนี้

ตัวอย่างภาพยนตร์ The Last Breathe of Samyan

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ