คนกลับบ้านกับมิติใหม่ในการพัฒนาชุมชน

คนกลับบ้านกับมิติใหม่ในการพัฒนาชุมชน

“กลับบ้าน”เป็นได้ทั้งประโยคคำถาม คำเชิญและเจ็บปวด หลากหลายมิติและความรู้สึกของแต่ละคน หลายองค์กรพัฒนาและปั้นโครงการที่ชวนให้คนรุ่นใหม่กลับบ้าน กลับไปพัฒนาชุมชน สำนึกรักษ์บ้านเกิด แต่หลายโครงการต้องหยุดชะงักและไปต่อไม่ได้ เพราะติดกรอบเรื่องทุนและงบประมาณ เกิดการความฉงนใจมากมาย ทั้งข้อสงสงสัย คำถามและการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ปัจจัยสำคัญของคนกลับบ้านในนามของอาสาคืนถิ่น ที่เปิดพื้นที่ให้คนได้ทดลองใช้ชีวิตผ่าน “โปรเจคชีวิต” ของอาสาแต่ละคน

อาสาคืนถิ่นมาจากทั่วประเทศด้วยวัยที่หลายหลาก ประเด็นปัญหาที่หลากหลาย แน่นอนว่า ความเข้าใจเรื่องชุมชนและการพัฒนาชุมชนไม่เท่ากัน แต่ทุกอย่างถูกสะท้อนและทำภายใต้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน พบว่า ปัญหาที่เจอไม่ได้ต่างกันในทุกภูมิภาค เป็นเบสิคของปัญหากับชุดความเชื่อของคนบ้านนอกเราที่ว่า ต้องเป็นเจ้าคนนายคน ทำงานในเมืองจะมีกินมีใช้ คุณภาพชีวิตต้องดีขึ้น เราเปลี่ยนชุดความคิดเหล่านี้ค่อนข้างยาก กว่าที่อาสาแต่ละคนจะผ่านมาได้ก็กระอักกระอ่วนใจไม่น้อย

เวทีคำหล้า คำโฮม เป็นเวทีสุดท้ายของอาสาคืนถิ่นรุ่นที่ 6 พวกเราเลือกที่จะเดินทางไปที่อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพราะอยากจะนำชุดความเชื่อและยืนยันว่า การกลับบ้านของคนรุ่นใหม่ไม่ใช่เรื่อง “เพ้อฝัน” แต่ผ่านกระบวนการทดลองและลงมือทำมาแล้ว เป็นการรวมรุ่นอาสาคืนถิ่นทั้ง 6 รุ่น เพื่อสะท้อนปัญหา ถอดบทเรียนที่ผ่านมาเพื่อสร้างวารจะร่วมและทิศทางการทำงานต่อสำหรับคนกลับบ้านรุ่นต่อไป

กิจกรรมครั้งนี้ทำให้เห็นพัฒนาการและชุดความคิด พร้อมกับองค์ความรู้ในมิติของการอยู่รอด อยู่ร่วม เพื่อรองรับคนกลับบ้าน อาทิ เครือข่ายที่เชื่อมโยงคนกลับบ้านในภูมิภาคเอเชีย และการทำสมาคมคนกลับบ้านเพื่อยกระดับไปสู่การทำธุรกิจร่วมกัน และเพื่อเป็นการยืนยันว่า การพัฒนาชุมชนต้องให้คนในชุมชนและคนกลับบ้านเข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาในรูปแบบและมิติที่แต่ละคนสนใจ ภายใต้บริบทชุมชน ความเชื่อ ความศรัทธา ปัญหาด้านต่างๆ เพราะคนในชุมชนเข้าใจดีที่สุดว่า พวกเขาต้องการอะไร ควรแก้ไขแบบไหนถึงจะสอดคล้องและเข้ากับบริบทของชุมชน ขณะเดียวกันการพัฒนาชุมชนมีหลากหลายรูปแบบและวิธีการ การจัดเทศกาล การบอกเล่า การลงพื้นที่ถนน การชุมชนประท้วง และเครื่องมือสำคัญอย่างการจัดงานไพรด์ชุมชน ที่หยิบยกปัญหาชุมชนมาเล่าผ่านพื้นที่ที่มีความหลากหลายผ่านคนกลับบ้านเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่กลับบ้านทำ

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้น คนรุ่นใหม่ไม่ได้มีองค์ความรู้มากกว่าบรรพบุรุษ แต่พวกเรามีเครื่องมือ มีประสบการณ์และวิธีที่หลากหลาย ผลลัพธ์สุดท้ายคือ ชุมชนและสังคมเปลี่ยนไปในรูปแบบที่คนเท่าเทียมกัน ทุกปัญหาถูกแก้ไข ไม่ใช่แค่การอยู่รอด อยู่ร่วม แต่อยู่อย่างไรให้มีคุณค่าและความหมายทั้งตนเอง ชุมชนและสังคม สิ่งสำคัญคือ “ชีวิตไม่ควรมีแค่ความฝันและความหวัง แต่ถ้าขาดความจริงก็ไร้ผล” เป็นอีกโจทย์ที่ทำให้มานั่งคิด ทบทวน ไตร่ตรองและมองหลายๆอย่างชัดเจนขึ้น กว้างขึ้น

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ