วาระรวมตัวเพื่อสร้างวาระร่วมการพัฒาชุมชนในมิติใหม่ของคนกลับบ้าน

วาระรวมตัวเพื่อสร้างวาระร่วมการพัฒาชุมชนในมิติใหม่ของคนกลับบ้าน

“การกลับบ้านของเรา เขามองว่าเราสิ้นไร้ไม้ตอกไม่มีทางไป กลับไปตายรัง”

เวทีเสวนาสถานการณ์คนรุ่นใหม่กลับบ้าน

“คำหล้า COMEHOME 2023”เทศกาลกลับบ้านของคนรุ่นใหม่ ใน Concept “ตุ้ม ต้วย แต้ม” การรวมกลุ่มของคนรุ่นใหม่กลับบ้าน ภายใต้บทบาทคนรุ่นใหม่กลับบ้านกับสถานการณ์ชุมชน “ยุคใหม่” ที่กำลังเปลี่ยนไป By อาสาคืนถิ่น ร่วมกับกลุ่มฮักนะเขมราฐ และเทศบาลตำบลเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ตุ้ม : ภาษาอีสานซึ่งหมายถึงการรวมตัว รวมพลัง ทำกิจกรรมร่วมกันผ่านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ซึ่งในความหมายในงานนี้คือ “Home” บ้าน ล้อไปกับภาษาอีสานคำว่า“โฮม” เป็นการเปิดพื้นที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เปรียบเสมือนชุมชนคนรุ่นใหม่กลับบ้าน ที่ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นที่ สร้างบ้านหลังนี้ร่วมกัน

ต้วย : ภาษาอีสานซึ่งหมายถึง การป้าย หรือสัมผัส ซึ่งในความหมายในงานนี้คือ การ “Connect” เชื่อมโยงผู้คนผ่านการสัมผัสด้วยภาษากาย แลกเปลี่ยน พูดคุยบทเรียนการทำงานในชุมชนที่แตกต่างอย่างเข้าใจ

แต้ม : ภาษาอีสานคือการวาด ซึ่งในความหมายของงานนี้คือ “Creative” พื้นที่ที่ทุกคนจะได้นำศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ แสดงออกร่วมกัน ผ่านกิจกรรม Workshop ในงาน ด้วยมุมมองของตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนความหลากหลายของชุมชน ที่ทุกเสียงล้วนมีค่าเท่ากันในการเปลี่ยนแปลง

Performance โดยตัวแทนอาสาคืนถิ่นรุ่น 6
ดนตรีบรรเลงขับขานเรื่องราวของพี่น้องชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ
บูธผลิตภัณฑ์จากอาสาคืนถิ่น

ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลายประกอบด้วย Connect ผ่านกิจกรรม Workshop, Exhibition, วงเสวนา Talk, กิจกรรม Performance, พาเลทไพรดชุมชน, และพบกับศิลปินต่างๆ ที่รวบรวมบทเรียนการกลับบ้าน ประสบการณ์สร้างสรรค์ชุมชนภายใต้บริบทหลากหลายทั่วประเทศ ที่ทุกคนในงานคือส่วนหนึ่งในการสร้างพื้นที่ และส่งเสียงแห่งการเปลี่ยนแปลงร่วมกันครั้งนี้

กิจกรรมถอดบทเรียนอาสาคืนถิ่นรุ่น 6

ก่อนการจัดกิจกรรม ได้มีการถอดบทเรียนสถานการณ์การกลับบ้านที่ผ่านมาของคนรุ่นใหม่ วิเคราะห์ทรัพยากรชุมชนที่มีอยู่กับบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป จะทำยังไงให้สิ่งเหล่านี้เกิดคุณค่าได้ และยังมองไปถึงทิศทางชุมชนกับการ “อยู่รอด อยู่ร่วม” ของอาสาคืนถิ่นทุกรุ่นที่พร้อมมาแลกเปลี่ยนกัน การแลกเปลี่ยนกับคนรุ่นใหม่ที่กลับมาในพื้นที่จริง และกลับมาพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าได้ รู้จักชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรมเขมราฐ พารู้จักวงคุย กลุ่ม “ฮักนะเขมราฐ” การสรุปบทเรียนครั้งนี้เป็นการยืนยันว่า ตัวตนและวิธีคิดที่ชัดเจนขึ้นว่า

“การกลับบ้านไม่ได้แปลว่าเราล้มเหลว แต่เป็นการกลับไปทำความรู้จักตัวเองอีกครั้ง”

หลายคนเคยผ่านข้อท้าทาย คำถามมากมายระหว่างกระบวนการพิสูจน์ตนเอง แต่พื้นที่แห่งนี้กลับเป็นพื้นที่ปลอดภัย ส่งเสริม และสนับสนุนความฝันซึ่งกันและกัน

ไพรด์ชุมชนที่ยืนว่าคนทุกคนต้องเท่าเทียมกัน

ไพรด์ชุมชน เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการแสดงบ่งบอกอัตลักษณ์ ตัวตน และความเป็นคนที่เท่ากัน เพื่อยืนยันว่า รูปแบบของการพัฒนาชุมชนมีหลากหลาย ใครถนัดด้านไหน แบบไหนก็ทำ หากยึดหลักการและเชื่อมั่นว่าผลลัพธ์คือการเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคม และเป็นการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาว่า กิจกรรมทุกอย่างไม่ควรกระจุกตัวอยู่ในแค่เมืองหลวงแต่ควรกระจายให้ทั่วทุกพื้นที่ เพื่อเปิดที่และการเข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลายในทุกมิติของชุมชน สังคมและประเทศ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมอย่างอิสระแต่สอดคล้องภายใต้บริบทวัฒธรรม ประเพณี และ ปัญหาร่วมของชุมชน สังคมนั้นๆ และทลายกรอบของความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในทุกพื้นที่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ