เสียงข้ามแดนกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM2.5

เสียงข้ามแดนกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM2.5

เวทีประชาคมลมหายใจลุ่มน้ำโขง เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดน 2023 GMS Breath Congress 2023: Transboundary Air Pollution – P.M 2.5

เพราะเรามีลมหายใจเดียวกัน อากาศไม่มีเส้นพรมแดนกั้น ปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือและฝุ่นควัน PM 2.5ข้ามพรมแดนเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันแก้  วันนี้(22 มิ.ย. 2566 ) ตัวแทนประชาชน นักวิชาการ สภาลมหายใจภาคเหนือ และตัวแทนภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จาก 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง ทั้งไทย เมียนมา ลาว จีน มาร่วมพูดคุยเพื่อร่วมมือกันหาทางออกและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ณ โรงแรมวินทรีซิตี้ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในเวทีประชาคมลมหายใจลุ่มน้ำโขง เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดน 2023 GMS Breath Congress 2023: Transboundary Air Pollution – P.M 2.5

นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีอำเภอแม่สาย  

นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีอำเภอแม่สาย  พื้นที่ชายแดนที่ได้รับผลกระทบและมีปัญหาจากค่าฝุ่นควัน PM2.5  เล่าประสบการณ์ที่เจอมาว่า ตัวอำเภอแม่สายเป็นพื้นที่ที่ไม่มีฮอตสปอตเลย ส่วนใหญ่ไฟจะไหม้ที่เขตสันปันน้ำ อาจจะเพราะไม่ได้มีการจัดการเชื้อเพลิงที่ดี แม้ว่าเราจะมีแนวกันไฟ แต่ด้วยความหนาของเชื้อเพลิงที่ไม่มีการจัดการ ไฟก็เลยไหม้ได้ง่าย  ที่ผ่านมามีการพัฒนาหน้ากากกันฝุ่นแบบต่างๆ แต่เวลาไปดับ ใส่หน้ากากที่ดีไม่ได้ เพราะความร้อน ควัน จึงควรมีการจัดสวัสดิการและอาสาสมัคร เรื่องจากไฟไหม้ทุกปี ทุกปีต้องมารับริจาค รัฐต้องจัดสรรงบประมาณ อุปกรณ์ไปช่วย ควรเป็นสิ่งส่วนกลางสนับสนุนหรือกระจายอำนาจมาให้ท้องถิ่นจัดการ

ในส่วนการจัดการในพื้นที่มีการ หน้ากาก pm2.5 ได้วางแผนซื้อหน้ากากแจก ซื้อเครื่องฟอกให้ศูนย์เด็กเล็ก ต้องใช้ 4 เครื่องต่อห้องให้ได้อากาศที่ปลอดภัย ไม่สามารถไปจัดการได้ เพราะเชียงรายไม่ได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ อยากให้รายงานช่วงเช้า บ่าย ไม่ใช่รายงานรายวัน ทำไมแม่สายสถานการณ์รุนแรงกว่า แต่ไม่เคยถูกรายงาน และอยากให้มีการติดเครื่องวัดคุณภาพอากาศเพิ่ม ส่วนข้าวโพดมาจากฝั่งเมียนมา มีการส่งเสริมการส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมากขึ้น การบริโภคในประเทศไม่พอ เราอยากให้คุยกันระหว่างผู้เดือดร้อน ผู้ได้รับผลประโยชน์ และรัฐบาล ให้โครงสร้างหลักของประเทศสนใจในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

ายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ

นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ฟ้าใสและการจัดตั้งศูนย์ประสานงานกลางอาเซียนมีความคืบหน้า  ความร่วมมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงมีความร่วมมือมากว่า 10 ปีแล้ว เริ่มจากการตรวจวัด ไทยมีเครื่องมือที่พร้อมกว่า เราได้แชร์ไปให้เพื่อบ้านได้รู้ข้อมูล ทำมาเป็นรูปธรรมตั้งแต่ ปี 2553 การยกระดับปฏิบัติติการต้องมียุทธศาสตร์ นำมาสู่กี่ประชุมผู้นำ 3 ประเทศ 2560 เกิดเป็นยุทธศาสตร์ฟ้าใส CLEAR Sky Strategy มีการประชุม จนได้ 1 แผนในการจัดการฝุ่นควันข้ามแดน ระยะสั้น ระยกลาง ระยะยาว โดยแต่ละประเทศไปทำ โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จากประเทศอื่นมาเสริม สองกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหา โดยอาศัยประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ มาปรับใช้ สามการพัฒนาโครงการในอนาคต การวิจัยมาตรการ แผนที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดวงจรการพัฒนาคุณภาพอากาศ

ด้านศูนย์ประสานงานกลาง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบกำหนดแนวทาง วิเคราะห์ตรวจสอบ แก้ไขปัญหา 10 ประเทศอาเซียน อำนวยความสะดวกให้รัฐภาคี ไม่ได้ไปแก้ไขปัญหา แต่ละประเทศต้องแก้ไขปัญหาของตัวเอง ถ้าแก้ไขแล้วต้องการความช่วยเหลือก็ประสานเข้ามา และสมาชิกต้องประกอบประเทศทีเกี่ยวข้อง โดยตั้งที่อินโดนีเซีย ตกลงร่วมหลังจากประชุม COP 11 ล่าสุดมีความเห็นไปแนวเดียวกันว่าต้องมีศูนย์ประสานงานกลางที่อินโดนีเซีย ตอนนี้ศูนย์เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาที่สิงคโปร์ทำหน้าที่รายงานและคาดการณ์ให้ประเทศเครือข่ายอยู่ ซึ่งต้องมีการเจรจากับศูนย์ที่ทำงานอยู่ที่สิงคโปร์กับศูนย์ที่จะตั้งใหม่ที่สิงคโปร์ โดยที่อินโดนีเซียมีแผนประชุมไฮน์เลเวลและคาดว่าศูนย์จะเปิดได้ในเดือนตุลาคม และน่าจะมีความคืบหน้าในการประชุม COP 18 ปลายปีนี้ที่ลาว

นายบัณรส บัวคลี่ ประธานยุทธศาสตร์สภาลมหายใจภาคเหนือ

นายบัณรส บัวคลี่ ประธานยุทธศาสตร์สภาลมหายใจภาคเหนือ ยุทธศาสตร์การแก้ไขฝุ่นควันข้ามพรมแดน โดยมองจากมุมมองของประชาชนจากประเทศไทยเพื่อเป็นตัวตั้งต้นให้ได้มาคุยกันหลังจากนี้ ฝุ่นควันไหลกันมา จากไทย ลาว เมียนมา จากทิศทางลมในรัศมี 200 กว่ากิโลเมตรจากชายแดน ที่ผ่านมาพฤติกรรมการเผา ไทยเผากลางคืน ส่วนลาวส่วนใหญ่เป็นไฟกลางวัน เมียนมาไฟกลางคืนอยู่ตรงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ที่เหลือเป็นไฟที่มีการควบคุม พร้อมข้อเสนอแนวทางแก้ปัญหา 10 ข้อ

1. การเพิ่มของจุดความร้อนในลุ่มน้ำโขง เกิดต่อเนื่องมาตั้งแต่ ทศวรรษ 2010 จากนโยบายปฏิรูปการเมืองเจรจาชนกลุ่มน้อยและเลือกตั้งในเมียนมาร์(ก่อนจะเกิดรัฐประหาร) และ การสร้างถนน R3A R3B เชื่อมจีน และยังมีแนวโน้มเพิ่มอีก

2. ไฟใน สปป.ลาว มากขึ้นชัดเจนในปี 2566 จากราคาพืชเกษตร ข้าวโพด มันสำปะหลัง มีการขยายพื้นที่ปลูก และพฤติกรรมไฟที่เปลี่ยนไปมีไฟเผาป่าขยายพื้นที่กลางคืนมากขึ้น

3. สปป.ลาวความตื่นตัวเรื่องมลพิษฝุ่น ในปีนี้มีเผามากเป็นพิเศษ ก็ปรากฏข่าวสารโซเชี่ยลและการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น กระแสไม่เห็นด้วยกับการเผามีมากขึ้นชัดเจน และมีการน าเสนอตัวเลขค่าคุณภาพอากาศผ่านสื่อ อย่างไรก็ตามเครื่องวัดยังน้อย ไม่ครอบคลุม

4. ไฟในเมียนมาร์(รัฐฉาน/กะยา) มีไฟเกษตรเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเผาป่ามากในบริเวณลุ่มหุบเขาสาละวิน และ ด้าน

ตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน อันเป็นเขตของชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ

5. แหล่งข่าวทหาร สอบถามชนกลุ่มน้อยเรื่องการเผา (ประสานชายแดน) กลุ่มว้าบอกว่าพยายามห้ามคนของตัว และ RCSS บอกว่ามันต้องให้ชาวบ้านเผาเซาะว่าหากิ๋น ไม่งั้นก็อด (ปัญหาเศรษฐกิจ)

6. ดังนั้น การจะชี้ว่า ไฟในเมียนมาร์มาจากข้าวโพดและเกษตรเพียงประการเดียว อาจจะยังไม่พอ ต้องรวมถึงการเผาในป่าชายแดน/และเขตอิทธิพลชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะเขตน้ำสาละวินด้วย

7. ข้าวโพดมีมากในรัฐฉานและนำเข้ามากก็จริง แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นข้าวโพดแปลงใหญ่ พันธเกษตร ซึ่งมีในบางเขตเช่น ตองยี แต่หากข้ามภูเขาฉานโยมา เป็นเขตอิทธิพลชนกลุ่มน้อย ข้าวโพดพันธสัญญา อาจจะไม่มี เป็นแค่แปลงย่อยก็ได้ เรื่องนี้ควรตรวจสอบเพิ่ม
8. ควรหาทางติดตั้งเครื่องวัดอากาศในเมียนมาร์เพื่อสร้างกระแสความรับรู้ ความตระหนักภัยให้สาธารณชน แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องการเมืองการปกครอง
9. ลมในเขตลุ่มน้ำโขงเปลี่ยนไปมา ในช่วง มกราคม-พฤษภาคม หอบฝุ่นควันข้ามไปมา ไม่สามารถระบุชัดว่าประเทศใดเป็นแหล่งต้นทาง ขึ้นกับจังหวะในช่วงนั้น ๆ (ทุกคนเป็นผู้ก่อ และสร้างความระคายต่อผู้อื่น)
10. การสร้างความตระหนัก ขยายข่าวสารของภาคประชาชนร่วมกัน ควรจะมีควบคู่กับการเจรจาภาครัฐ

ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ม.เชียงใหม่

ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ม.เชียงใหม่ ผลกระทบ PM 2.5 กับสุขภาพประชาชน เป็นโจทย์ใหญ่ หากมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนจะได้สร้างความตระหนักเรื่องมลภาวะที่ต่อสุขภาพไปด้วยกัน การศึกษาจะค่อนข้างสิ้นเปลืองเงินและเห็นยาก ต้องการกลุ่มตัวอย่างเป็นหมื่น ข้อมูลการเข้ารพ.ถ้าเก็บเป็นระบบสามารถนำมาใช้ได้ หรือข้อมูลการเสียชีวิต ลำปาง เชียงราย พะเยา PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานมาตลอด และเราดูจำนวนผู้เสียชีวิต ด้วยโรคที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิตสูง พบว่า แพร่ ลำพูน ลำปาง  โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจ เราอยากเห็นข้อมูลแบบนี้ที่ลาว ที่เมียนมา เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ที่ต้องไปคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะเราพบว่าทุกๆ 10 ไมโครกรัมที่เพิ่มขึ้นของฝุ่นทำให้มีคนป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น จึงอยากให้ใช้ข้อมูลเป็นประโยชน์กับการเปลี่ยนแปลง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ