แนวปฏิบัติที่ดีในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย

แนวปฏิบัติที่ดีในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556 มีการจัดกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานย้ายถิ่นและการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ ณ ตลาดทะเลไทย จังหวัดสมุทรสาคร  เนื่องในวันแรงงานข้ามชาติสากล(วันที่ 18 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันแรงงานข้ามชาติสากล แต่เนื่องจากวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ตรงกับวันพุธซึ่งแรงงานข้ามชาติไม่ได้หยุดงาน จึงเลื่อนมาจัดกิจกรรมในวันที่ 22 ธันวาคม 2556 แทน)

ภายในงานมีการพูดคุยถึงแนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานย้ายถิ่น โดยทางศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย ได้ทำจัดทำโครงการวิจัยเรื่อง “แนวปฏิบัติที่ดีในการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทย” โดยระบุถึงแนวคิดแนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติที่สถานประกอบการควรจะต้องมีดังนี้
– การไม่มีแรงงานเด็ก
– การไม่ใช้แรงงานบังคับ
– การไม่เลือกปฏิบัติ  โดยให้มีสภาพการทำงานที่เท่าเทียมกันสำหรับลูกจ้างทุกคน
– ไม่มีการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน
– มีเสรีภาพในการสมาคมระหว่างแรงงาน
– มีการเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับนายจ้าง  การเจรจาต่อรองร่วมกัน และความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
– มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย
– มีความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
– มีการส่งเสริมให้จ้างแรงงานผู้เยาว์
– มีระบบการจัดการสุขอนามัยและระบบารจัดการของเสียและขยะที่เหมาะสม

การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามแนวปฏิบัติที่ดี
– การคุ้มครองตามพรบ. แรงงาน
 สวัสดิการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
 สวัสดิการการรักษาพยาบาล
– การคุ้มครองตามพรบ.ประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
การคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงานและการจ่ายเงินทดแทน 
– การคุ้มครองตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ 
 
แนวปฏิบัติที่ดีในการให้สวัสดิการและความช่วยเหลือด้านอื่นๆ
– การศึกษาบุตรของแรงงานต่างด้าว
– การร้องเรียนของแรงงานและการเปิดช่องทางร้องทุกข์ให้แก่แรงงาน
– การให้ความช่วยเหลือทางคดีและการประสานงาน
– การให้การคุ้มครองนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด (การรับผิดชอบต่อสังคม, best practice )
– การละเว้นไม่ใช้แรงงานเด็ก / แรงงานบังคับ / แรงงานที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์ในกระบวนการรับเข้าแรงงาน
 
ปัจจุบันมีแรงงานเพื่อนบ้านของเราอีกจำนวนมากที่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานรวมถึงการละเมิดสิทธิในด้านต่างๆ ภายในงานครั้งนี้มีสถานประกอบการในจังหวัดสมุทรสาครเพียง 6 แห่งที่ได้หนังสือรับรองว่าเป็นสถานประกอบการที่มีแนวปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานข้ามชาติ ในขณะที่จังหวัดสมุทรสาครมีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมจำนวนกว่า 8,780 แห่ง (ที่มา: lmi.ratchaburi.com/?s=85&Pg=1636) ยังไม่รวมถึงสถานประกอบการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ