ขบวนองค์กรชุมชน 13 จังหวัดจัดทำแผน “Stay Alive Keep Alive”

ขบวนองค์กรชุมชน 13 จังหวัดจัดทำแผน “Stay Alive Keep Alive”

นครนายก / ระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2566 สำนักงานภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก ร่วมกับสำนักประสานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดของขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตะวันออก และการเชื่อมโยงสู่แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน” โดยมีขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตะวันออก 13 จังหวัด เจ้าหน้าที่ภาคกรุงเทพฯปริมณฑลและตะวันออก และเจ้าหน้าที่ภาคกลางและตะวันตกเข้าร่วมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และระบบการเชื่อมโยงแผน ให้กับขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตะวันออก พัฒนาขบวนองค์กรชุมชน และเจ้าหน้าที่ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาจังหวัด (SWOT Analysis) เรียนรู้เทคนิคและวิธีการสำคัญในการจัดทำ และเสนอแผนพัฒนาในระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด รวมถึงการกำหนดจังหวะก้าวในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดของขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตะวันออก ซึ่งได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดย นางสาวจินนา ตันศราวิพุธ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และทีมวิทยากร 7 คน โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 180 คน ณ ห้องประชุมภูมนตรา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

3


นายวิชัย นะสุวรรณโน รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าวว่า พอช.กำหนดวิสัยทัศน์ ปี 2579 “ชุมชนเข้มแข็งเต็มพื้นที่ประเทศไทย” โดยเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาและบูรณาการแผนพัฒนา เป็นเครื่องมือในการไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง จะนำไปสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข พัฒนากระบวนการจากฐานราก ระเบิดจากข้างใน พัฒนาฐานรากของพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง และเชื่อมโยงสถานการณ์ของประเทศ เรื่องความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคม ถ้าฐานรากเข้มแข็งสามารถแก้ปัญหา และพัฒนาตัวเองได้ ปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดลง ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็จะลดลง ชุมชนเข้มแข็งเป็นเป้าหมายสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ในหมุดหมายที่ 9 การแก้ปัญหาความยากจนจากฐานราก ด้วยกระบวนการที่ชัดเจน ทำให้แก้ปัญหาความยากจนของคนฐานล่างได้ โดยมีกระบวนการในการสำรวจข้อมูล และสำรวจความต้องการ และประสานหน่วยงานมาร่วมสนับสนุนการแก้ปัญหาร่วมกัน สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน“เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำร่วมกัน ระบบการกระจายอำนาจในอนาคต ระบบงบประมาณที่ผ่านมาทาง พอช. ก็จะลดลง แต่งบประมาณจะสนับสนุนเพิ่มผ่านระบบราชการในพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นขบวนองค์กรชุมชนต้องเตรียมพร้อมในการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงแผนงานงบประมาณในพื้นที่มาเป็นทรัพยากรสู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ต้องทำเรื่องนี้เป็นวาระร่วมของขบวนองค์กรชุมชนภาคกรุงเทพฯปริมณฑล และตะวันออก และของขบวนองค์กรชุมชนทุกภาค ต้องมาออกแบบกระบวนการทำงานร่วมกัน”อย่างไรก็ตาม ทิศทางการปฏิรูป พอช. และการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน ก็มีเป้าหมายในการยกระดับการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน ซึ่งเดิมมีกลไกขบวนองค์กรชุมชนในระดับจังหวัดทุกประเด็น ในการทำงานเชื่อมโยงกับ พอช. แต่ต่อไปจะมีการยกระดับการทำงานร่วมกับกลไกกลางระดับจังหวัด ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ท้องที่ เอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานวิชาการ และอื่นๆ พอช. ซึ่งขบวนองค์กรชุมชนไม่สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในพื้นที่ได้เพียงลำพัง จึงต้องมีการเปิดพื้นที่การทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน จัดทำแผนพัฒนา และผลักดันให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน สร้างกระบวนการเรียนรู้ และจัดทำรายงานการพัฒนาจังหวัดของภาคประชาชนเสนอไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ และเข้าใจการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน เป็นการผลักดันวาระการเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน

5


นางสาวจินนา ตันศราวิพุธ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคกลาง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้บรรยายหัวข้อ “การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565” โดยได้ให้ความสำคัญของยุทธศาสตร์และแผนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำแนกแผนในปัจจุบัน มี 3 ระดับ 1.แผนยุทธศาสตร์ชาติ 2.แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 3.แผนปฏิบัติการ ดังที่ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 เป็นการบริหารงานเชิงพื้นที่ มี 7 หมวดที่สำคัญในการบริหารงาน โดยมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะองค์ประกอบของภาคประชาสังคม จังหวัดละ 2 ท่าน มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด นอกจากนั้นกล่าวถึงโครงสร้าง กลไกและไทม์ไลน์ของการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด“การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่สำคัญนั้น ต้องยึดความต้องการและศักยภาพของประชาชนในจังหวัด มีองค์ประกอบที่เป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลพื้นที่ทางกายภาพ ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาจังหวัด สู่การกำหนดประเด็นการพัฒนาผ่านการวิเคราะห์ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงภาคประชาชน”

7
8
9
10

หลังจากนั้นได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ศักยภาพจังหวัดผ่านการวิเคราะห์ SWOT Analysis จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคและ TOWS Matrix เพื่อกำหนดประเด็นการพัฒนาของจังหวัด โดยการแบ่งกลุ่มย่อยรายจังหวัด และมีการนำเสนอผลจากการวิเคราะห์ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดปทุมธานี จากตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT จังหวัดตราด จุดแข็ง ตราดถือว่าเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่ทีชื่อเสียงและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่เป็นพืชหลักทางเกษตรและสุขภาพ ผนวกกับนโยบายรัฐที่ส่งเสริมด้านสุขภาพ LOHAS สู่การกำหนดประเด็นการพัฒนา ในการพัฒนาแหล่งผลิตผลไม้ปลอดภัยและสมุนไพรท้องถิ่นสู่การดำรงชีวิตแบบ LOHAS ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด เป็นต้น จากการนำเสนอผลการวิเคราะห์ ทางทีมวิทยากรได้ร่วมกันให้ข้อเสนแนะต่อการวิเคราะห์ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ประเด็นพัฒนาของแต่ละจังหวัด โดย นางสาวจินนา ตันศราวิพุธ ได้กล่าวว่า “ขอชื่นชมพี่น้องขบวนองค์กรชุมชน “Stay alive keep alive” สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างการเรียนรู้ระหว่างทาง โดยต้องมีข้อมูลเชิงประจักษ์มาสนับสนุนการวิเคราะห์ ยืนยันประเด็นเพื่อให้เห็นความชัดเจน ให้มีจุดเน้นและสิ่งสำคัญจะได้มีวิสัยทัศน์ ไม่ใช่ใช้ความคิดหรือความรู้สึก การวิเคราะห์แต่ละประเด็นให้ครอบคลุมทั้งvalue Chain หรือ และใช้ประเด็นหลัก ไม่ลงรายละเอียดมาก เพราะจะทำให้สับสนได้ตอนจับคู่วิเคราะห์ TOWS Matrix ซึ่งประเด็นรายละเอียดจะนำไปใช้ขยายในแผนงานโครงการต่อไป

14
13
11
15



ความสำคัญของ TOWS Matrix คือการจับคู่ประเด็นการพัฒนา ควรเป็นสิ่งที่คิดต่อและครบทุกประเด็น ตามเรื่องที่บรรจุในการวิเคราะห์ SWOT ซึ่ง ประเด็นที่บรรจุไว้ต้องเป็นประเด็นที่สำคัญที่ต้องการแก้ไขปัญหาและพัฒนา สร้างการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในการจัดทำแผน ในเชิงข้อมูลและเชิงแลกเปลี่ยน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการหรือสภาพปัญหาอย่างไรก็ตามจากเวทีดังกล่าวได้นำไปสู่การวางทิศทางหรือจังหวะก้าวในการหารือร่วมของพี่น้องขบวนองค์กรชุมชน โดยนำความรู้ ความเข้าใจ วิธีการและเทคนิคการจัดทำแผนพัฒนานี้ ไปสู่การหารือวางแผนออกแบบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ในการทบทวนแผนพัฒนาของขบวนองค์กรชุมชน ผ่านการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับตำบล เพื่อจัดทำแผนพัฒนาในระดับจังหวัดและนำไปสู่การปฏิรูป พอช. ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนายกระดับการทำงาน ให้กับขบวนองค์กรชุมชนนางสาวศิริวรรณ บุตราช ที่ปรึกษาขบวนองค์กรชุมชนภาคฯ ได้กล่าวปิดการสัมมนาและให้กำลังใจ “พอช. คือบ้านของเรา เราจะสร้างการพัฒนาร่วมกันด้วยมือของเรา และแผนที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสิ่งที่เราทำในวันนี้ เราทำงานบนฐานความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง เป็นความเหนี่ยวแน่น การทำงานครั้งนี้เป็นการสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ เป็นบ้านของเรา ประเทศไทยที่คงอยู่ต่อไปด้วยแรงใจและแรงคิด จงมีความมั่นใจว่า เราก้าวก่อนแล้วและจะก้าวต่อไป”

16
17
4

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ