เครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชน จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชิวิต “ Kick Off พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาชุมชนเข้มแข็ง”

เครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชน จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชิวิต “ Kick Off พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาชุมชนเข้มแข็ง”

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทที่สาม มีภารกิจตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์กร ตามมาตรา 7 (1) “ในการช่วยเหลือและสนับสนุนแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนทั้งเมืองและชนบท โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณาการ และหลักการพัฒนาที่ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ” ซึ่งที่ผ่านมาในด้านการพัฒนามิติเศรษฐกิจและทุนชุมชน พอช. ได้สนับสนุนให้องค์กรชุมชนจัดทำ “แผนธุรกิจเพื่อชุมชน” (CBMC-Community Business Model Canvas) เพื่อให้สมาชิกในชุมชนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในครัวเรือน ด้วยกระบวนการให้องค์กรชุมชนวิเคราะห์ศักยภาพ และทุนภายในชุมชนของตนเอง

ปี 2560 – 2565 พอช. ร่วมกับภาคีทั้งภายใน และภายนอกได้สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนกับองค์กรชุมชนทั่วประเทศให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน และแผนธุรกิจเพื่อชุมชน รวม 2,354 ตำบล ครอบคลุมทั้งเรื่องการผลิต การแปรรูป-การตลาด และการบริการด้านท่องเที่ยวโดยชุมชน และเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนทั้ง 5 ภาค จึงได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของภาคประชาชน และยังได้ยกระดับตำบลเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่มีศักยภาพ 3 ประการ คือ มีคนทำงานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ มีองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน และมีแผนการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง จัดตั้งขึ้นเป็น “ศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน” ตั้งแต่ปี 2563 – 2566 จำนวน 58 ศูนย์บ่มเพาะฯ ครอบคลุมทั้ง 18 กลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน การพัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้นให้กับคนในชุมชน และนอกชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยได้เชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการพัฒนา เพื่อให้คนในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่พอเพียงเลี้ยงคนในครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถรวมกันเป็นกลุ่ม/เครือข่ายต่อยอดเป็นธุรกิจของชุมชนได้ในอนาคต

4

พอช. / ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภามคม 2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมกับเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชน จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต “Kick Off พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ” เติมความรู้ใหม่ให้กับผู้นำของศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชนสู่การเชื่อมโยงการทำงาน และความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี สร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนกับผู้นำศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนร่วมกัน โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน จากทั้ง 5 ภาค ทั่วประเทศ ณ ห้องประชุมไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ชั้น 1 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

29 พฤษภาคม 2566 13.00 – 18.00 น.

วัตถุประสงค์การจัดสัมมนา

2

โดย นายสามารถ สุขบรรจง หัวหน้าสำนักเลขานุการยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง

เรื่องเศรษฐกิจฐานรากเป็นเรื่องสำคัญ พอช.พยายามสนับสนุนงบประมาณเรื่องเศรษฐกิจฐานราก  เรื่องปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ  รวมถึงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ ที่ผ่านมามีการเชื่อมโยงเครือข่าย platform online ปีนี้จะยกระดับให้มีมาตราฐานมากขึ้น  พอช.ได้สนับสนุนคณะทำงาน ช่วยกันออกแบบเชื่อมโยงเครือข่ายจัดทำแผน 5 ปี 2566-2570  ประธานสถาบันคุณกอบศักดิ์  ให้ความสำคัญเรื่องนี้  จากการประชุมคณะกรรมการสถาบันมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเศรษฐกิจและทุนชุมชน  2 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าพอช.จะไม่ได้รับงบประมาณเรื่องเศรษฐกิจฐานรากโดยตรง  มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ศูนย์บ่มเพาะ  ได้ดูแลคุณภาพชีวิตให้แก่กลุ่มเปราะบาง ปีนี้มีแผนการขับเคลื่อนศูนย์บ่มเพาะใหม่ 28 ศูนย์  วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ได้แก่

  1. เพื่อให้เกิดการรับรู้ และสร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนกับผู้นำศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน
  2. เพื่อเติมความรู้ใหม่ให้กับผู้นำของศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชนสู่การเชื่อมโยงการทำงาน และความร่วมมือกับหน่วยงานภาคี
  3. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนร่วมกัน
3
นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ. พอช.

บรรยาย : แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ชุมชนเข้มแข็ง

โดย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า

เรื่องเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับเรื่องปากท้อง  อาชีพรายได้  เป็นเรื่องสำคัญ  เศรษฐกิจฐานรากมีคณะทำงานขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง  ปัจจุบัน คุณกอบศักดิ์ ภูตระกูล  ประธานคณะกรรมการสถาบัน ได้เข้ามาร่วมเป็นอนุกรรมการเศรษฐกิจและทุนชุมชนด้วยตนเอง

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่ ตำบลดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี พบว่า สถาบันการเงินของชุมชนได้ไปไถ่ถอนโฉนดจากสถาบันการเงินของเอกชน  เพื่อให้ที่ดินยังอยู่กับลูกหลาน   ตำบลดงขี้เหล็ก เป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ล้อมขนาดใหญ่ของประเทศไทย  มีสมาชิกในชุมชนปลูกต้นมะสัง  ขายต้นมะสัง online ต้นละ 2,000 บาท สร้างรายได้หลักแสนบาท  มีความรู้เทคนิคการล้อมต้นไม้ใหญ่  ปลูกต้นมะสังในโรงเรือน 5,000 ต้น ใช้ระบบการรดน้ำเพียง 7 นาที ผ่าน Smart phone

เศรษฐกิจฐานราก นอกจากการผลิต เกี่ยวกับการตลาด ปัจจุบันมีตลาด online  การขายสินค้า online   มีการรวมกลุ่มการผลิต การวางแผนการผลิต  ผมไปดูงานที่สระบุรี  ชาวบ้านเล่าว่า ปลูกผักบุ้งต้นใหญ่ตัดขายได้ครั้งเดียว  หากปลูกผักบุ้งต้นเล็กตัดได้ 3 ครั้ง  เป็นตัวอย่างการวางแผนการผลิต

ทิศทางการส่งเสริมสนับสนุนของพอช. คือ การกระจายความรู้ของผู้นำ  เรื่องเศรษฐกิจ  องค์ความรู้  การเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาคีในการวางแผนเศรษฐกิจฐานราก เช่น เรื่องการตลาด  ลดต้นทุนการผลิต  การส่งเสริมเรื่อง Package  การเชื่อมโยงสินค้าข้ามพรมแดน กรณีกองทุนสวัสดิการชุมชนสั่งข้าว จ.ชัยภูมิไปส่งที่จ.ภูเก็ต ข้าวทุก 1 ถุง จะมีการนำเงิน 4 บาท เงินเข้ากองทุนสวัสดิการชุมชน  ถือว่าใช้เครือข่ายองค์กรชุมชนเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน

นายกฤษดากล่าวต่อว่า งบประมาณ พอช. อาจมีน้อย อนาคตจะสนับสนุนให้พี่น้องเขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ  ทราบว่า พรุ่งนี้จะมีการจัดทำแผนเศรษฐกิจและทุนชุมชน  หวังว่าจะเป็นแผนการทำงานที่สำคัญขอเชิญชวนมาร่วมกัน  อนาคตจะมีการสร้างการเรียนรู้จากสถานที่จริง  อยากเรียนรู้ศูนย์กระจายสินค้า ไปจ.กาญจนบุรี พอช.จะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง  ในการเรียนรู้เรียกว่า  Codi Academy   ปัจจุบัน พอช.มีการปรับโครงสร้างการทำงานเพื่อให้ไปสนับสนุนการทำงานของพื้นที่ให้มากขึ้น   สุดท้ายขอบคุณตัวแทนองค์กรชุมชน และหน่วยงานที่มาร่วมแลกเปลี่ยนด้วยกัน

5
วงเรียนรู้ “รูปธรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน” 

และในช่วงต่อมาเป็นช่วง วงเรียนรู้ “รูปธรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน” 

แชร์ประสบการณ์การทำงานผู้แทนศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชน ปี 2563 – 2564 ที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทฯ ปี 2565 นำโดย

  • กลุ่มการผลิต : นางสาวอรุณี เกาะกลาง กลุ่มจักสานจากต้นคลุ้มตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
  • กลุ่มแปรรูป-การตลาด : นายพิพัฒน์ แก้วจิตคงทอง ศูนย์สาธิตการตลาดครบวงจรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
  • กลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน : นายศิริวัฒน์ วราธนาวิชญ์ ศูนย์บ่มเพาะเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
6
พี่น้องเครื่อข่ายศูนย์บ่มเพาะ “เศรษฐกิจและทุนชุมชนจากภาคใต้”

ต่อมาในวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ช่วงเช้า เป็นการจัดกิจกรรม “ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชน”

12
11
10
9

13
14
บรรยากาศการแบ่งกลุ่มย่อยทั้ง 5 ภาค

แบ่งกลุ่มย่อย 5 ภาค จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเครือข่ายเศรษฐกิจและทุนชุมชนและนำเสนอผลการหารือของแต่ละภาค

และในช่วงบ่าย เป็นช่วงการจัดกิจกรรม “เติมความรู้ใหม่ เพื่อการต่อยอดงานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนจากหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์   โดยวิทยากรหน่วยงานภาคีที่ทำงานเกี่ยวกันด้านเศรษฐกิจและทุนชุมชน  ในหัวข้อ

  • สร้างมาตรฐานธุรกิจของชุมชนด้วยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
  • ขายดีมีกำไร สู่การแบ่งปันสู่สังคม : ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.)
  • Idea นอกกรอบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย : ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • การแปรรูปอาหารดีมีคุณภาพ จากชุมชนสู่สากล : ผู้แทนสถาบันอาหาร
  • การยกระดับกลุ่มอาชีพชุมชน สู่ผู้ประกอบการชุมชน : คุณพิลาสลักษณ์ อนันตธนโชคดี ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดเดอะแม่นายส์ไวน์เนอรี่
  • www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com แพลตฟอร์มทางเลือกของการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ซื้อขายผลิตภัณฑ์ของชุมชน : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดย นายณรงค์ คงมาก ผู้จัดการบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) เกษตรลุ่มน้ำปากพนัง

ดำเนินรายการโดย นายอธิวัฒน์ ปิยะนันท์วงค์ คณะทำงานและเลขานุการคณะทำงานขับเคลื่อน การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

16
17
18
19


Img 1018
20
บรรยากาศกิจกรรม “เติมความรู้ใหม่ เพื่อการต่อยอดงานพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนจากหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ ”

โดยการจัดเวทีสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แต่ละพื้นที่และต่อยอดติดอาวุธด้านความรู้ด้านเศรฐษกิจ ให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องเศรษฐกิจและทุน ภูมิปัญญาท้องถื่น ทรัพยากร และจุดเด่นที่มีในชุมชน เพื่อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มั่นคงยั่งยืนไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไป

8

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ