กกต.เปิดตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 22 มี.ค. มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 14 พ.ค. แยกรายจังหวัดรวม 77 จังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,287,045 คน
กรุงเทพมหานคร มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 4,469,280 คน รองลงมาเป็น จ.นครราชสีมา มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,124,587 คน, อุบลราชธานี 1,477,644 คน, ขอนแก่น 1,453,689 คน และเชียงใหม่ 1,333,088 คน ตามลำดับ
การเลือกตั้ง 2566 ที่จะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบ เพื่อเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) รวม 500 คน โดยแบ่งเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และ แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
ทีมงานองศาเหนือ สำรวจสัดส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งภาคเหนือ และรายจังหวัดของภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัด จำแนกตามช่วงอายุ รวมถึงย้อนดูว่า เขตเลือกตั้งในปี 2566 และ 2562 แบ่งเขตอย่างไร เพิ่มหรือลดอย่างไร ที่ไหนบ้าง
เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคเหนือ มีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 9,391,411 คน
เมื่อเรียงจังหวัดทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ
- กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน
จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 1,334,230 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 157,327 คน
Gen Y 26-41 ปี / 384,181 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Gen X 42-57 ปี / 362,181 คน
Boomers 58-16 ปี / 366,120 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 64,493 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 95,516 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 430,613 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด Gen Y 26-41 ปี คือร้อยละ 28.79% GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอันดับ 2 Baby Boomer ปี คือร้อยละ 27.44% อันดับ 3 GEN X 27.15%
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 เชียงใหม่ จำนวนการแบ่งเขต 10 เขต ส.ส. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 10 คน จากเขตเดิมปี 2562 มี 9 เขต
เขต 1 : อำเภอเมืองเชียงใหม่ (ยกเว้นตำบลหนองหอย ตำบลวัดเกต ตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลท่าศาลา)
เขต 2 : อำเภอสารภี อำเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตำบลหนองหอย ตำบลวัดเภต ตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลท่าศาลา) และอำเภอสันกำแพง (เฉพาะตำบลสันกลาง ตำบลบวกค้าง และตำบลแช่ช้าง)
เขต 3 : อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ออน อำเภอสันกำแพง (เฉพาะตำบลต้นเปา ตำบลสันกำแพง ตำบลทรายมูล ตำบลห้วยทราย ตำบลแม่ปูคา ตำบลออนใต้ และตำบลร้องวัวแดง)
เขต 4 : อำเภอสันทราย อำเภอแม่ริม (เฉพาะตำบลเหมืองแก้ว ตำบลแม่สา และตำบลดอนแก้ว)
เขต 5 : อำเภอแม่แตง อำเภอสะเมิง อำเภอกัลยานิวัฒนา อำเภอแม่ริม (เฉพาะตำบลริมเหนือ ตำบลสันโป่ง ตำบลขี้เหล็ก ตำบลสะลวง ตำบลห้วยทราย ตำบลแม่แรม ตำบลโป่งแยง และตำบลริมใต้)
เขต 6 : อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ (เฉพาะตำบลศรีดงเย็น และตำบลหนองบัว)
เขต 7 : อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย อำเภอไชยปราการ (เฉพาะตำบลแม่ทะลบ และตำบลปงตำ)
เขต 8 : อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง
เขต 9 : อำเภอแม่วาง อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตำบลแม่ศึก ตำบลแม่นาจร และตำบลช่างเคิ่ง)
เขต 10 : อำเภออมก๋อย อำเภอดอยเต่า อำเภอฮอด อำเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตำบลบ้านทับ ตำบลปางหินฝน ตำบลกองแขก และตำบลท่าผา)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดเชียงใหม่ 83.33 %
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 180,638 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 29,992 คน
Gen Y 26-41 ปี / 60,531 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Gen X 42-57 ปี / 47,648 คน
Boomers 58-16 ปี / 34,176 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 8,291 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 18,640 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 42,467 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด Gen Y 26-41 ปี คือร้อยละ 33.51% อันดับ 2 GEN X คือร้อยละ 26.38% – Y+X เกินร้อยละ 50 ของประชากร
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 แม่ฮ่องสอน จำนวนการแบ่งเขต 2 เขต จากเขตเดิมปี 2562 มี 1 เขต ส.ส. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 23 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 ได้แก่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า อ.เมืองแม่ฮ่องสอน และ อ.ขุนยวม
เขตเลือกตั้งที่ 2 ได้แก่ อ.แม่ลาน้อย แม่สะเรียง และ อ.สบเมย มีหน่วยเลือกตั้งจำนวน 458 หน่วย จากเขตเดิม 1 เขต
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ 83.46 %
จังหวัดลำปาง จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 615,045 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 61,617 คน
Gen Y 26-41 ปี / 157,963 คน
Gen X 42-57 ปี / 176,658 คน
Boomers 58-16 ปี / 184,462 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Silent 77 ปีขึ้นไป / 34,345 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 35,432 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 218,807 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด คือร้อยละ Baby Boomer 29.99 % อันดับ 2 GEN X คือร้อยละ 28.72% อันดับ 3 GEN Y ร้อยละ 25.68% – สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 ลำปาง : แบ่งเขต 4 เขต เหมือนปี 2562 มี ส.ส. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 46 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอห้างฉัตรและอำเภอเมืองลำปาง [ยกเว้นตำบลบ้านแลง ตำบลบ้านเสด็จ ตำบลกล้วยแพะ ตำบลปงแสนทอง ตำบลพระบาท (นอกเขตเทศบาลนครลำปาง) ตำบลชมพู (นอกเขตเทศบาลนครลำปาง) และตำบลพิชัย (นอกเขตเทศบาลนครลำปาง)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเมืองปาน, อำเภอวังเหนือ, อำเภองาว, อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง (เฉพาะตำบลบ้านแลงและตำบลบ้านเสด็จ)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอแม่เมาะ, อำเภอแม่ทะ และอำเภอเมืองลำปาง [เฉพาะตำบลกล้วยแพะ ตำบลปงแสนทอง ตำบลพระบาท (นอกเขตเทศบาลนครลำปาง) ตำบลชมพู (นอกเขตเทศบาลนครลำปาง) และตำบลพิชัย (นอกเขตเทศบาลนครลำปาง)
เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอเกาะคา, อำเภอเสริมงาม, อำเภอสบปราบ, อำเภอเถิน และอำเภอแม่พริก
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดลำปาง คือ 80.06 %
จังหวัดลำพูน จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 335,262 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 31,647 คน
Gen Y 26-41 ปี / 91,465 คน
Gen X 42-57 ปี / 93,320 คน
Boomers 58-16 ปี / 101,378 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Silent 77 ปีขึ้นไป / 17,452 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 18,358 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 118,830 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด คือร้อยละ Baby Boomer 30.24 % อันดับ 2 GEN X คือร้อยละ 27.83 % – Bommer และ GEN X เกินร้อยละ 50 ของประชากร
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 ลำพูน : แบ่งเขต 2 เขต เหมือน ปี 2562 มี ส.ส. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมือง อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านธิ
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอบ้านโอ่ง อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอลี้ อำเภอป่าซาง
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดลำพูน คือ 87.34%
- กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
จังหวัดเชียงราย จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 946,475 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 113,107 คน
Gen Y 26-41 ปี / 264,723 คน
Gen X 42-57 ปี / 270,529 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 256,376 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 41,740 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 67,709 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 298,116 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด คือร้อยละ GEN X คือร้อยละ 28.58 % – อันดับ 2 GEN X คือร้อยละ 27.97 % – และอันดับ 3 Baby Boomer คือร้อยละ 27.09% / สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 เชียงราย : แบ่งเขต 7 เขต เหมือน ปี 2562 ผู้สมัคร ส.ส. เชียงราย 7 เขต มีผู้สมัคร รวม 79 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองเชียงราย (ยกเว้นตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลนางแล ตำบลท่าสุด ตำบลดอยลาน และตำบลห้วยสัก)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลนางแล และตำบลท่าสุด) อำเภอเวียงชัย, อำเภอเวียงเชียงรุ้ง, และอำเภอแม่จัน (เฉพาะตำบลแม่จัน ตำบลป่าตึง ตำบลป่าซาง ตำบลสันทราย และตำบลท่าข้าวเปลือก)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอแม่ลาว, อำเภอแม่สรวย และอำเภอเวียงป่าเป้า
เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตำบลดอยลานและตำบลห้วยสัก) อำเภอพาน และ อำเภอป่าแดด
เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอเทิง, อำเภอพญาเม็งราย, อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ (เฉพาะตำบลบุญเรือง)
เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอแม่สาย, อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่จัน (เฉพาะตำบลแม่ไร่ ตำบลแม่คำ ตำบลศรีค้ำ และตำบลจอมสวรรค์)
เขตเลือกตั้งที่ 7 : อำเภอเชียงแสน, อำเภอดอยหลวง, อำเภอเวียงแก่น, อำเภอเชียงของ (ยกเว้นตำบลบุญเรือง) และอำเภอแม่จัน (เฉพาะตำบลจันจว้าและตำบลจันจว้าใต้)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดเชียงราย คือ 77.79 %
จังหวัดน่าน จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 390,055 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 42,685 คน
Gen Y 26-41 ปี / 107,284 คน
Gen X 42-57 ปี / 115,716 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 105,085 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 19,285 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 24,628 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 124,370 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด คือร้อยละ GEN X คือร้อยละ 29.67 % – อันดับ 2 GEN Y คือร้อยละ 27.5 % – และอันดับ 3 Baby Boomer คือร้อยละ 26.94 % / สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 น่าน : แบ่งเขต 3 เขต เหมือน ปี 2562 ผู้สมัคร ส.ส. น่าน มีผู้สมัคร รวม 29 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองน่าน, อำเภอภูเพียง และอำเภอท่าวังผา
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอบ้านหลวง, อำเภอเวียงสา, อำเภอนาน้อย, อำเภอนาหมื่น, อำเภอแม่จริม และอำเภอสันติสุข
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอปัว, อำเภอเชียงกลาง, อำเภอสองแคว, อำเภอทุ่งช้าง, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอบ่อเกลือ
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดน่าน คือ 80.01 %
จังหวัดพะเยา จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 388,095 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 40,614 คน
Gen Y 26-41 ปี / 101,963 คน
Gen X 42-57 ปี / 114,552 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 113,769 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 17,197 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 23,621 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 130,966 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด คือร้อยละ GEN X คือร้อยละ 29.52 % – อันดับ 2 GEN Y คือร้อยละ 26.27 % / สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 พะเยา : แบ่งเขต 3 เขต เหมือน ปี 2562 ผู้สมัคร ส.ส.พะเยามีผู้สมัคร รวม 25 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองพะเยาและอำเภอแม่ใจ
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอภูซาง, อำเภอเชียงคำ และอำเภอจุน
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอปง, อำเภอเชียงม่วน, อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอภูกามยาว
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดพะเยา คือ 78.76%
จังหวัดแพร่ จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 367,300 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 36,651 คน
Gen Y 26-41 ปี / 93,506 คน
Gen X 42-57 ปี / 108,259 คน
Boomers 58-16 ปี / 109,056 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Silent 77 ปีขึ้นไป / 19,828 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 21,319 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 128,884 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด Baby Boomer 29.69% คือร้อยละ อันดับ 2 GEN Y คือร้อยละ 29.47 %
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 แพร่ : แบ่งเขต 3 เขต ปี 2562 2 เขต ผู้สมัคร ส.ส.แพร่มีผู้สมัคร รวม 25 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอสูงเม่น (ยกเว้นตำบลหัวฝายและตำบลบ้านปง) และอำเภอเมืองแพร่ (ยกเว้นตำบลแม่คำมี ตำบลห้วยม้า ตำบลแม่หล่าย ตำบลแม่ยม ตำบลวังธง ตำบลท่าข้าม และตำบลวังหงส์)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอสอง, อำเภอร้องกวาง, อำเภอหนองม่วงไข่ และอำเภอเมืองแพร่ (เฉพาะตำบลแม่คำมี ตำบลห้วยม้า ตำบลแม่หล่าย ตำบลแม่ยม ตำบลวังธง ตำบลท่าข้าม และตำบลวังหงส์)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอลอง, อำเภอวังชิ้น, อำเภอเด่นชัย และอำเภอสูงเม่น (เฉพาะตำบลหัวฝายและตำบลบ้านปง)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดแพร่ คือ 79.01%
- กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ
จังหวัดตาก จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 367,300 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 36,651 คน
Gen Y 26-41 ปี / 93,506 คน
Gen X 42-57 ปี / 108,259 คน
Boomers 58-16 ปี / 109,056 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Silent 77 ปีขึ้นไป / 19,828 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 21,319 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 128,884 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 30.6 % อันดับ 2 GEN Y คือร้อยละ 28 %
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 ตาก : แบ่งเขต 3 เขต เหมือนปี 2562 มีผู้สมัคร ส.ส.ตาก มีผู้สมัคร รวม 3 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอวังเจ้า, อำเภอเมืองตาก, อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก (เฉพาะตำบลแม่สลิด ตำบลตากออก และตำบลสมอโคน)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภออุ้มผาง, อำเภอพบพระ และอำเภอแม่สอด (ยกเว้นตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ และตำบลท่าสายลวด)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอท่าสองยาง, อำเภอแม่ระมาด, อำเภอบ้านตาก (ยกเว้นตำบลแม่สลิด ตำบลตากออก และตำบลสมอโคน) และอำเภอแม่สอด (เฉพาะตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ และตำบลท่าสายลวด)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดตาก คือ 76.81%
จังหวัดพิษณุโลก จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 688,462 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 84,170 คน
Gen Y 26-41 ปี / 186,170 คน
Gen X 42-57 ปี / 209,958 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 171,801 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 35,800 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 50,560 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 207,601 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 30.5 % อันดับ 2 GEN Y คือร้อยละ 27.128 % อันดับที่ 3 Baby Boomer คือร้อยละ 24.95% สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 พิษณุโลก : แบ่งเขต 5 เขต เหมือนปี 2562 มีผู้สมัคร ส.ส.พิษณุโลก มีผู้สมัคร รวม 64 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองพิษณุโลก (เฉพาะตำบลในเมือง ตำบลอรัญญิก ตำบลวัดจันทร์ ตำบลบ้านคลอง ตำบลพลายชุมพล ตำบลท่าทอง ตำบลบึงพระ ตำบลวัดพริก และตำบลวังน้ำคู้)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอพรหมพิรามและอำเภอเมืองพิษณุโลก (เฉพาะตำบลไผ่ขอดอน ตำบลบ้านกร่าง ตำบลจอมทอง ตำบลมะขามสูง ตำบลปากโทก ตำบลหัวรอ ตำบลบ้านป่า ตำบลดอนทอง และตำบลสมอแข)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอวังทองและอำเภอเนินมะปราง
เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอบางกระทุ่ม, อำเภอบางระกำ และอำเภอเมืองพิษณุโลก (เฉพาะตำบลท่าโพธิ์และตำบลงิ้วงาม)
เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอวัดโบสถ์, อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดพิษณุโลก คือ 74.14%
จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 786,761 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 98,481 คน
Gen Y 26-41 ปี / 216,173 คน
Gen X 42-57 ปี / 245,836 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 186,402 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 39,869 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 58,920 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 226.271 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 31.25% อันดับ 2 GEN Y คือร้อยละ 27.48 % อันดับที่ 3 Baby Boomer คือร้อยละ 23.69% สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 เพชรบูรณ์ : แบ่งเขต 6 เขต ปี 2562 มี 5 เขต มีผู้สมัคร ส.ส.เพชรบูรณ์ มีผู้สมัคร รวม 63 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (ยกเว้นตำบลท่าพล ตำบลนางั่ว และตำบลป่าเลา)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอน้ำหนาว, อำเภอหล่มสัก (ยกเว้นตำบลท่าอิบุญ ตำบลสักหลง ตำบลหนองสว่าง ตำบลฝายนาแซง ตำบลน้ำเฮี้ย ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า และตำบลบุ่งคล้า) และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (เฉพาะตำบลท่าพล ตำบลนางั่ว และตำบลป่าเลา)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอเขาค้อ, อำเภอหล่มเก่า และอำเภอหล่มสัก (เฉพาะตำบลท่าอิบุญ ตำบลสักหลง ตำบลหนองสว่าง ตำบลฝายนาแซง ตำบลน้ำเฮี้ย ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า และตำบลบุ่งคล้า)
เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอวังโป่ง, อำเภอชนแดน และอำเภอหนองไผ่ (เฉพาะตำบลห้วยโป่ง ตำบลนาเฉลียง ตำบลยางงาม ตำบลหนองไผ่ และตำบลบัววัฒนา)
เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอบึงสามพัน, อำเภอหนองไผ่ (ยกเว้นตำบลห้วยโป่ง ตำบลนาเฉลียง ตำบลยางงาม ตำบลหนองไผ่ และตำบลบัววัฒนา) และอำเภอวิเชียรบุรี (เฉพาะตำบลสามแยก ตำบลบึงกระจับ ตำบลโคกปรง และตำบลยางสาว)
เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี (ยกเว้นตำบลสามแยก ตำบลบึงกระจับ ตำบลโคกปรง และตำบลยางสาว)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ 72.55%
จังหวัดสุโขทัย จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 480,847 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 53,517 คน
Gen Y 26-41 ปี / 122,674 คน
Gen X 42-57 ปี / 151,331 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 127,087 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 26,238 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 31,444 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 153,325 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 31.47% อันดับ 2 Baby Boomer คือร้อยละ 26.43 % อันดับที่ 3 GEN Y คือร้อยละ 25.51% สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 สุโขทัย : แบ่งเขต 4 เขต ปี 2562 มี 3 เขต มีผู้สมัคร ส.ส.สุโขทัย มีผู้สมัคร รวม 38 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองสุโขทัย (ยกเว้นตำบลวังทองแดงและตำบลเมืองเก่า), อำเภอศรีสำโรง (ยกเว้นตำบลวัดเกาะ ตำบลบ้านซ่าน ตำบลบ้านไร่ ตำบลราวต้นจันทร์ และตำบลนาขุนไกร) และอำเภอกงไกรลาศ (เฉพาะตำบลไกรใน ตำบลไกรกลาง ตำบลกกแรต และตำบลบ้านใหม่สุขเกษม)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอบ้านด่านลานหอย, อำเภอคีรีมาศ และอำเภอกงไกรลาศ (ยกเว้นตำบลไกรใน ตำบลไกรกลาง ตำบลกกแรต และตำบลบ้านใหม่สุขเกษม)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอทุ่งเสลี่ยม, อำเภอสวรรคโลก (ยกเว้นตำบลปากน้ำ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง และตำบลป่ากุมเกาะ), อำเภอศรีสำโรง (เฉพาะตำบลวัดเกาะ ตำบลบ้านซ่าน ตำบลบ้านไร่ ตำบลราวต้นจันทร์ และตำบลนาขุนไกร) และอำเภอเมืองสุโขทัย (เฉพาะตำบลวังทองแดงและตำบลเมืองเก่า)
เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอศรีสัชนาลัย, อำเภอศรีนคร และอำเภอสวรรคโลก (เฉพาะตำบลปากน้ำ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง และตำบลป่ากุมเกาะ)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดสุโขทัย คือ 74.34%
จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 369,327 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 43,154 คน
Gen Y 26-41 ปี / 91,377 คน
Gen X 42-57 ปี / 114,210 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 99,355 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 21,231 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 25,537 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 120,586 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 30.92% อันดับที่ 2 Baby Boomer คือร้อยละ 26.9 %
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 อุตรดิตถ์ : แบ่งเขต 3 เขต ปี 2562 มี 2 เขต มีผู้สมัคร ส.ส.อุตรดิตถ์ มีผู้สมัคร รวม 30 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอทองแสนขัน, อำเภอท่าปลา, อำเภอน้ำปาด, อำเภอฟากท่า, อำเภอบ้านโคก และอำเภอพิชัย (เฉพาะตำบลนายางและตำบลนาอิน)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอลับแล, อำเภอตรอน และอำเภอพิชัย (ยกเว้นตำบลนายางและตำบลนาอิน)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดอุตรดิตถ์คือ 73.81%
- กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 569,482 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 70,815 คน
Gen Y 26-41 ปี / 158,905 คน
Gen X 42-57 ปี / 176,733 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 135,843 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 27,186 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 42,369 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 163,029 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 31.03% อันดับที่ 2 GEN X คือร้อยละ 27.9% อันดับที่ 3 Baby Boomer คือร้อยละ 23.85 % สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 กำแพงเพชร : แบ่งเขต 4 เขต เหมือนปี 2562 มีผู้สมัคร ส.ส.กำแพงเพชร มีผู้สมัคร รวม 42 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองกำแพงเพชร (ยกเว้นตำบลสระแก้วและตำบลไตรตรึงษ์)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอโกสัมพีนคร, อำเภอพรานกระต่าย, อำเภอลานกระบือ, อำเภอไทรงาม (ยกเว้นตำบลหนองแม่แตง ตำบลหนองไม้กอง และตำบลไทรงาม) และอำเภอเมืองกำแพงเพชร (เฉพาะตำบลสระแก้ว)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอคลองลาน, อำเภอปางศิลาทอง, อำเภอคลองขลุง และอำเภอเมืองกำแพงเพชร (เฉพาะตำบลไตรตรึงษ์)
เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอขาณุวรลักษบุรี, อำเภอบึงสามัคคี, อำเภอทรายทองวัฒนา และอำเภอไทรงาม (เฉพาะตำบลหนองแม่แตง ตำบลหนองไม้กอง และตำบลไทรงาม)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดกำแพงเพชรคือ 72.19%
จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 842,836 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 99,456 คน
Gen Y 26-41 ปี / 224,907 คน
Gen X 42-57 ปี / 252,098 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 215,557 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 50,818 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 59,577 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 266,375 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 29.31% อันดับที่ 2 GEN Y คือร้อยละ 26.68% อันดับ 3 Baby Boomer คือร้อยละ 25.58 % สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 นครสวรรค์ : แบ่งเขต 6 เขต เหมือนปี 2562 มีผู้สมัคร ส.ส.นครสวรรค์ มีผู้สมัคร รวม 70คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองนครสวรรค์ (ยกเว้นตำบลพระนอน ตำบลหนองปลิง ตำบลหนองกรด ตำบลหนองกระโดน และตำบลบ้านแก่ง)
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอโกรกพระ, อำเภอพยุหะคีรี และอำเภอเมืองนครสวรรค์ (เฉพาะตำบลพระนอน ตำบลหนองปลิง ตำบลหนองกรด ตำบลหนองกระโดน และตำบลบ้านแก่ง)
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบรรพตพิสัย, อำเภอเก้าเลี้ยว และอำเภอชุมแสง
เขตเลือกตั้งที่ 4 : อำเภอหนองบัว, อำเภอท่าตะโก และอำเภอไพศาลี (ยกเว้นตำบลโพธิ์ประสาท ตำบลสำโรงชัย และตำบลตะคร้อ)
เขตเลือกตั้งที่ 5 : อำเภอตาคลี, อำเภอตากฟ้า และอำเภอไพศาลี (เฉพาะตำบลโพธิ์ประสาท ตำบลสำโรงชัย และตำบลตะคร้อ)
เขตเลือกตั้งที่ 6 : อำเภอลาดยาว, อำเภอแม่วงก์, อำเภอแม่เปิน และอำเภอชุมตาบง
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดนครสวรรค์คือ 73.87%
จังหวัดพิจิตร จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 430,898 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 50,315 คน
Gen Y 26-41 ปี / 112,880 คน
Gen X 42-57 ปี / 129,905 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 112,798 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 25,000 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 29,535 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 137,798 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN Y คือร้อยละ 30.15 % อันดับที่ 2 GEN X คือร้อยละ 26.2 % อันดับที่ 3 Baby Boomer 26.18% สัดส่วน x y และ baby boomer ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
การแบ่งเขต
ในการเลือกตั้งปี 2566 พิจิตร : แบ่งเขต 3 เขต เหมือนปี 2562 มีผู้สมัคร ส.ส. พิจิตร มีผู้สมัคร รวม 28 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองพิจิตร, อำเภอสามง่าม และอำเภอวชิรบารมี
เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอสากเหล็ก, อำเภอวังทรายพูน, อำเภอตะพานหิน, อำเภอทับคล้อ และอำเภอดงเจริญ
เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภอบางมูลนาก, อำเภอโพทะเล, อำเภอบึงนาราง และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดพิจิตรคือ 70.71%
จังหวัดอุทัยธานี จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 261,826 คน
แบ่งตามช่วงอายุ
Gen Z 18-25 ปี / 31,437 คน
Gen Y 26-41 ปี / 70,399 คน
Gen X 42-57 ปี / 78,968 คน – เจนที่มีสัดส่วนมากที่สุด
Boomers 58-16 ปี / 64,909 คน
Silent 77 ปีขึ้นไป / 16,113 คน
เมื่อเทียบสัดส่วน First Voter และผู้สูงอายุ / First Voter 18-22 ปี 18,812 คน น้อยกว่า ผู้สูงอายุ 58 ปีขึ้นไป 81,022 คน
GEN ที่มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด GEN X คือร้อยละ 30.16% อันดับที่ 2 GEN Y คือร้อ ยละ 26.89% GEN X และ GEN Y เกินร้อยละ 50 ของประชากร
การแบ่งเขตเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งปี 2566 อุทัยธานี : แบ่งเขต 2 เขต เหมือนปี 2562 มีผู้สมัคร ส.ส.อุทัยธานี มีผู้สมัคร รวม 2 คน
เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วยอำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอทัพทัน อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอหนองฉาง (ยกเว้นตำบลเขาบางแกรก ตำบลเขากวางทอง และตำบลทุ่งโพ)
เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วยอำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต อำเภอบ้านไร่ และอำเภอหนองฉาง (เฉพาะตำบลเขาบางแกรก ตำบลเขากวางทอง และตำบลทุ่งโพ)
จำนวนผู้มาใช้สิทธิในปี 2562 ของจังหวัดอุทัยธานีคือ 74.56 %
ภาพรวมภาคเหนือผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 665,089 คน คิดเป็นร้อยละ 7% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
ภาพรวมภาคเหนือผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 2,969,525 คน คิดเป็นร้อยละ 31.18% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
- เมื่อเปรียบเทียบในภาคเหนือ 5 อันดับ จังหวัด ที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด – เทียบตามจำนวนคน
อันดับ 1 เชียงใหม่ จำนวน 95,516 คน
อันดับ 2 เชียงราย จำนวน 67,709 คน
อันดับ 3 นครสวรรค์ จำนวน 59,577คน
อันดับ 4 เพชรบูรณ์ จำนวน 58,920 คน
อันดับ 5 พิษณุโลก จำนวน 50,560 คน
ถ้าเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็น จากจำนวนประชากร อันดับ 1 ตาก 10.67% อันดับ 2 แม่ฮ่องสอน 7.76 อันดับ 3 กำแพงเพชร 7.44%
- และเปรียบเทียบในภาคเหนือ 5 อันดับ จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด – เทียบตามจำนวนคน
อันดับ 1 เชียงใหม่ จำนวน 430,631 คน
อันดับ 2 เชียงราย จำนวน 298,116 คน
อันดับ 3 นครสวรรค์ จำนวน 266,735 คน
อันดับ 4 ลำปาง จำนวน 218,087 คน
อันดับ 5 พิษณุโลก จำนวน 207,601คน
ถ้าเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็น จากจำนวนประชากร อันดับ 1 ลำปาง 35.58% อันดับ 2 ลำพูน 35.44%อันดับ 3 แพร่ 35.09%
จังหวัดที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดของประเทศไทยในปี 2562 ลำพูน คิดเป็นร้อยละ 87.34 เป็นแชมป์ติดต่อกัน 4 สมัย รองลงมาแม่ฮ่องสอนคิดเป็นร้อยละ 83.46 และรองลงมาเชียงใหม่คิดเป็นร้อยละ 83.33
เขตที่มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ “เขตเลือกตั้งที่ 8 จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 88.06 % จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในเขต
จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิ์น้อยที่สุด พิจิตรคิดเป็นร้อยละ 70.71
ชวนเข้าไปเช็ค ส.ส. ตามเขตบ้านคุณได้ที่นี่
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://rocketmedialab.co/election-66-3/?fbclid=IwAR2CstYX5lNx3lf9KpHGA473wDqvFKPg5D403XSybsOxjyEhABjSzOOlOPc