เรื่องเล่า…การเดินทางสายพัฒนา
ถือเป็นการเล่าสู่กันฟังในแบบฉบับของ สช. ที่พยายามสร้างวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบอกต่อ เพื่อให้ทีมงาน เพื่อนพี่น้องนักพัฒนาได้เรียนรู้ร่วมกันครับ สำหรับการเดินทางทริปนี้ของผมเป็นไปอย่างไม่ตั้งใจนักเนื่องจากช่วงเดือน มกราคมที่ผ่านมาต้องยอมรับค่อนข้างมีเวลาให้กับตัวเองน้อยมาก แต่หลังจากเดือนกุมภาพันธ์ ทุกอย่างคลี่คลายเลยมีเวลาจัดสรรให้กับตัวเองทำงานในหลายด้านได้ดีขึ้นบ้าง
ในการจัดการประชุมของ สปพส หรือ สปร.2 ที่จัดขึ้น ณ อิมแพ เมืองทองธานี เป็น เสมือนการต่อลมหายใจของ สปร. ซึ่งเป็นคณะปฏิรูปเดิมโดยมุ่งเน้นการตามมติสมัชชาปฏิรูป และเสนอมุมมองแนวคิดใหม่ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาประเด็นเข้าที่เวทีสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ ในช่วงเดือนมีนาคม หรือการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพระดับชาติในแต่ละปี สำหรับปีนี้ ในช่วงเดือนเมษายน ทางคณะกรรมการชาติเชิญชวนทุกจังหวัดเสนอประเด็นนะครับกลุ่มใดมีประเด็นน่า สนใจก็เตรียมกันไว้
สำหรับเวทีวันที่ 24 กพ ที่ อิมเพค มีผม(นฤเทพ) และพี่ม่อน(ศราวุธ) เข้าร่วมเป็นตัวแทนจังหวัดโดยโควต้า สปร.เดิม และ สช.ร่วมกัน ซึ่งเป็นการพัฒนาแนวคิดการผลักดันแนวคิดเชิงการปฏิรูปโดยกิจกรรมช่วงเช้า เป็นการสรุปบทเรียนจากการปฏิรูปซึ่งเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งคือการจัด สมัชชา โดยตอนหลังแทบจะเรียกว่าการจัดสมัชชาสุขภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนิน งาน แต่ภาระสำคัญคือการเชื่อมโยงการจัดการสุขภาพให้ไปสู่การปฏิรูปประเทศได้ อย่างไร
จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่ม 7 ประเด็นได้แก่ 1)ว่าด้วยข้อเสนอเกี่ยวกับกลไก 2ปว่าด้วยการปฏิรูประบบคลังคือ สปสช. 3)การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข 4)การเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันภัยคุกคาม 5)การอภิบาลระบบสุขภาพ ซึ่งข้อเสนอนี้ที่ประชุมขยายว่าเป็นเสมือนการบริการจัดการปัญหาว่าด้วย องค์กรที่เข้ามาจัดการเทียบเคียงกับคำว่า Goverment 6)การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ และการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น 7)การสนับสนับสุนเสริมสร้างความเข้มแข็งพลเมืองสู่การปฏิรูป โดยสรุปที่ประชุมมีความคิด คิดเห็นที่หลากหลายต่างฝ่ายต่างเสนอและพัฒนาประเด็นที่ตนสนใจอย่างเต็มที่ ซึ่งหลังจากนี้จะเกิดทีมวิชาการเพื่อพัฒนาแนวคิดต่างๆและผลักดันสู่ประเด็น ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
จุดสังเกตุที่เห็นอาจเนื่องด้วยผมเองเข้าร่วมวงของการสร้างพลเมือง จึงทำให้เห็นว่าจุดสำคัญที่สุดของการพัฒนาการปฏิรูป คือการสร้างพลเมือง จึงถือว่าหากเราเองพัฒนาในประเด็นนี้เท่ากับการเตรียมการเพื่อรับการปฏิรูป ในระยะยาว เพราะในกลุ่มการสร้างพลเมืองเล็งเห็นว่าคนเป็นปัจจุบันสำคัญในการสร้างการ เปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาเกิดกลุ่มคนที่เห็นด้วยและผลักดันอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งหากในอนาคตการเกิดขึ้นของจังหวัดจัดการตนเอง ปกครองตนเอง หรือพรบ.กระจายอำนาจ แต่ขาดคนที่จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลง ระบบเหล่านี้ก็เดินได้ยาก แต่ส่วนอื่นประเด็นอื่นก็ยังคงเคลื่อนไหวอยู่เช่น พรบ.จังหวัดปกครองตนเอง การเน้นให้ชุมชนจัดการตนเอง การปฏิรูประบบการคลัง(สปสช.) เป็นต้น ซึ่งทุกสิ่งต้องควบคู่กัน
โดยสรุป ในภาคส่วนของ สปพส. สำหรับเวทีครั้งนี้ เป็นการกลับมาตั้งต้นค้นหาประเด็นโดยคณะสปร.2 และพัฒนาประเด็นสู่เวทีใหญ่(สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ) ซึ่งข้อมูลเชิงลึกเท่าที่ทราบ จังหวัดกลุ่มภาคเหนือค่อนข้างเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดจึงได้รับ การสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช.ในเงินกองกลาง เพื่อเคลื่อนไหวประเด็นการปฏิรูปในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตามวิถีของชุมชน ท้องถิ่น โดยหลังจากนี้คณะ สปพส.จะมีการประสานเครือข่ายต่อไป …
นฤเทพ พรหมเทศน์
27/2/2557