เยี่ยมหมู่บ้านต้นแบบไทยอีสาน”วังขอนแดง” อ.ดอกคำใต้

เยี่ยมหมู่บ้านต้นแบบไทยอีสาน”วังขอนแดง” อ.ดอกคำใต้

.ในขณะที่กลิ่นไอของวัฒนธรรมปี๋ใหม่เมืองล้านนา..ผ่านไปอุ่น ๆ ผมก็ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมวิถีชิวิตของชุมชนไทยอีสาน 

บ้านวังขอนแดงเป็นหมู่บ้านของคนอีสานที่ได้พาครอบครัวย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดต่างต่างของภาคอีสาน เช่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิเป็นต้น และเริ่มย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านวังขอนแดงเมื่อ ปี พ.ศ. 2504 ที่มาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน”วังขอนแดง”ก็มาจากลักษณะของลำน้ำอิงซึ่งมีขอนไม้แดงอยู่ในวังน้ำอิงเป็นจำนวนมากอเลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า”บ้านวังขอนแดง”หมู่บ้านวังขอนแดงมีประชากรทั้งหมด 160 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 725 คน เป็นชาย 356 คน เป็นหญิง 369 คน มีโรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง วัด 1 แห่ง ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ

ปัจจุบันชุมชนบ้านวังขอนแดงเป็นชุมชนขนาดเล็กมีเนื้อที่ประมาณ 7,600 ไร่ การประกอบอาชีพดั้งเดิมคือ การทำนา ทำสวน ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและปลูกพืชผักสวนครัว ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีรายได้ จากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมในครัวเรือน

ชาวบ้านวังขอนแดงเชื่อว่านิสัยรักเพราะมีนิสัยรักความสะอาดเป็นศิริมงคลต่อครอบครัวและยึดมั่นในทางสายกลางทางพระพุทธศาสนานั้นก็คือ ความพอเพียง พอประมาณ มีเหตุมีผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเองชาวบ้าน ในหมู่บ้านวังขอนแดงแรกเริ่มเป็นคนอีสานย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสาน การใช้ชีวิตในปัจจุบันของคนในหมู่บ้านวังขอนแดงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์ ร่วมมือกันดูแลชุมชนและรักษาสภาพแวดล้อมของหมู่บ้านให้งดงามเป็นระเบียบสะอาด ปราศจากมลภาวะ และอบายมุข ชาวบ้านยังดำรงอยู่ในหลักศีลธรรมยึดมั่นในการปฏิบัติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กิจกรรมการรวมกลุ่มในชุมชนบ้านวังขอนแดงประกอบไปด้วยกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม กลุ่มทอผ้ากลุ่มร้านค้าชุมชนและกลุ่มฉางข้าว

ความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านวังขอนแดงก็คือการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2539 เล่มใหม่นอกจากจะเป็นการเสริมรายได้แก่เกษตรกรแล้วยังเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่และดีงามของชาวไทยที่สืบทอดกันมายาวนานอีกด้วย ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรการพัฒนาการเลี้ยงไหมก็ต้องดำเนินการต่อไป เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพของสตรีในชุมชนบ้านวังขอนแดง

ที่นี่ชาวบ้านทุกคนได้สืบสานประเพณีของชาวอิสานอย่างเหนียวแน่น ทั้งภาษาพูด การแต่งกาย อาหารการกิน ประทับในมากในการเยี่ยมครั้งนี้ ก็การสืบทอดวัฒนธรรมการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ลงเยี่ยมเมื่อเช้าวันพุธที่ 20 เมษายน 2559 พร้อมด้วยกับคุณปิ่นแก้ว นามวงศ์ ผู้ช่วยถ่ายภาพของผมที่เคียงคู่ผมในการลงพื้นที่เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนมาตลอด พูดได้ว่าจะตลอดชีวิตอีกด้วย ทั้งนี้..เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ขยายผลแนวปฏิบัติที่เป็นต้นแบบให้แก่ผู้อื่น

ประทับใจในชีวิตและผลงานของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหญิง ตัวน้อย ๆ “นางสาวพัชร์ศศิ สถิตย์พงษ์ประภา” ด้วยวัย 36 ปี ที่เคยใช้ชีวิตในป่าปูนที่กรุงเทพฯ กับสามีคนสุโขทัย ทั้งสองคนคิดว่าเงินคือความสุข แต่หาเป็นดังนั้นไม่ ทั้งสองต้องทิ้งลูกน้อยอยู่กัยตายายที่บ้านวังขอนแดน...ที่เรียกร้อง โหยหาความรัก ความอบอุ่นจากพ่อและแม่ทุกวัน

ทั้งสองสามีจึงตัดสินใจกลับบ้านวังขอนแดง และยึดแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ ยึดปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงฯ เป็นภูมิคุ้มกัน โดยเข้าไปศึกษาอบรมที่ บ้านชาวนา ของท่าน ว.วชิรเมธี ที่ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย ใช้เวลาเรียนรู้ 1 ปี เต็ม ๆ ก็กลับมาที่บ้านนำความรู้ที่ได้รับจากพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี มาทำทีบ้าน ..วันนี้พวกผมไปเห็นประจักษ์ด้วยสา่ยตาว่า..แนวทางของ”เศรษฐพอเพียง” เริ่มเห็นเป็นมรรค เป็นผลแล้ว ในพื้นที่ประมาณ 3 งาน มะนาวกำลังออกลูกให้ผล ในบ้านยังมี กบ ปลา ไม้ผล เป็ด ไก่ ฯลฯ โดยเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก ที่ประทับใจและทึ่งมากคือ การเพาะเลี้ยงใส้เดือนนำมาทำเป็นปุ๋ย ขอขอบคุณมากน้องพัชร์ศศิที่เข้มแข็งต่อสู้ชีวิต ติดต่อน้องได้ที่ โทร.088-4356799

สารสนเทศเพื่อชุมชน ต้องขอขอบพระคุณ ประทับใจในการต้อนรับและนำเยี่ยมชมกิจกรรมของชุมชน ขอคุณ นายปุญญสิทธิ์ ิ วีระชัย ผู้ใหญ่บ้าน โทร.081-1458636 ,นางสาวพัชร์ศศิ สถิตย์พงษ์ประภา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โทร.088-4356799,นายทองแดง โสภาใต้ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โทร.087-7874657,นางสมควร เตาะไธสงค์ ประธานกลุ่มหม่อนไหม,นางสอน ประทุมชัย ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และพี้น้องชาวไทอีสาน-ล้านนาแห่งบ้านวังขอนแดงทุก ๆ ท่าน..

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ