เผยผลตรวจ “เหมืองทองคำพิจิตร” พบสารปนเปื้อนในร่างกายชาวบ้าน

เผยผลตรวจ “เหมืองทองคำพิจิตร” พบสารปนเปื้อนในร่างกายชาวบ้าน

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยรังสิตจัดงานร่วมนำเสนอผลการศึกษาหัวข้อ
“เปิดหลักฐานใหม่ผลตรวจสิ่งแวดล้อม…เหมืองทองคำพิจิตร”
ณ สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดขึ้นเพื่อรับฟังการชี้แจงของหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญเรื่องเหมืองทองคำ
เพื่อหาข้อสรุปถึงแนวทางการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งกำลังเดือดร้อนและเจ็บป่วย

20150902145349.jpg

( บรรยากาศเวที “เปิดหลักฐานใหม่ ผลตรวจสิ่งแวดล้อม … เหมืองทองคำพิจิตร” ซึ่งชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถ.สามเสน )

โดยเป็นการเปิดเผยผลศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รอบกิจการเหมืองทองคำ ที่กลุ่มนักวิชาการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน และ พืช กว่า 600 จุดรอบเหมือง มาตั้งแต่ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รอบกิจการเหมืองทองคำ กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 ชาวบ้านผู้อยู่อาศัยอยู่รอบเหมืองอัคราฯ ต.เข้าเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร เข้าร้องเรียนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เข้ามาแก้ปัญหาผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจเกิดขึ้นจากกิจการเหมืองทองคำ

จนเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการทำงานร่วม 5 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนชาวบ้าน เหมืองทองคำ ฝ่ายปกครอง ทหาร และทีมวิชาการ มีหน้าที่เก็บข้อมูลในทุกมิติ เพื่อยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น

สำหรับทีมวิชาการมี “มหาวิทยาลัยรังสิต” เป็นแกนหลัก ภารกิจสำคัญคือเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อม 4 รายการ ได้แก่ แหล่งน้ำ ดิน พืช ความผิดปกติของเซลล์ในเลือดและปัสสาวะ เพื่อหาการปนเปื้อนของสารโลหะหนัก และไซยาไนด์

ผลการตรวจบางส่วนได้รายงานต่อที่ประชุม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาแล้ว โดยพบการปนเปื้อนตะกั่ว และแมงกานีสสูงเกินมาตรฐาน ในตัวอย่างของพืชทอดยอดลงในน้ำ นอกจากนี้ยังพบอีกว่ามีเซลล์เลือดและปัสสาวะของชาวบ้านประมาณ 30 เปอร์เซ็น ที่ผิดปกติ ทว่าในส่วนของดิน และแหล่งน้ำ ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน เช่นเดียวกับเซลล์เลือดและพืชที่จะเปิดเผยผลตรวจอย่างละเอียดครั้งแรกในเวทีนี้

ผศ. ดร. สิตางศุ์ พิลัยหล้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เผยผลการวิเคราะห์โลหะหนักในแหล่งน้ำถึงการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างตะกอนดิน 21 จุด และได้ทดสอบการปนเปื้อน พบว่ามีแมงกานีสปนเปื้อนในดินเกินกว่ามาตรฐานและพบปรอทกับตะกั่วปนเปื้อนในน้ำด้วย อีกทั้งยังพบแคสเมียม ซึ่งสารเหล่านี้สามารถสะสมในร่างกายและเป็นอันตรายได้

ภญ.ดร.ลักษณา เจริญใจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงผลการวิเคราะห์ไซยาไนด์และโลหะหนักในพืช พบว่ามีไซยาไนด์ในต้นข้าว ต้นบอน กระชาย ผักบุ้ง กระทกรก หญ้าปากควาย เป็นต้น และพบว่ามีปริมาณเคสเมียมในพืชสูงพบแมงกานีสในต้นข้าว กระชาย บอน ฝักกระถิน ตะไคร้ ใบถ่อน ผักบุ้ง เป็นต้น และพบตะกั่วปริมาณเล็กน้อยในพืชบางชนิด

ผลตรวจเซลล์เลือด ดร.อรนันท์ พรหมมาโน คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผย “ผลการวิเคราะห์สารหนู แมงกานีส และความผิดปกติของเซลล์ในเลือดและปัสสาวะ” จากการลงพื้นที่สามครั้ง ผลเลือดที่ทะยอยออกมากับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พบว่า ผลตรวจจาก 731 ราย พบผิดปกติ 483 ราย มีสารหนูและแมงกานีสในร่างกาย

ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยในหัวข้อ “สัมปทานเหมืองทองคำ ประเทศไทยได้อะไร” ว่า                                                    “ทองคำที่ฝังตัวในไทย มีราวๆ 800-900 ตัน จะแฝงตัวกับหิน พบ 53 แหล่งที่เจอทองคำจะละลายตัวได้ คือต้องสะกัดนำหินไปบด และนำไซยาไนต์และโซดาไฟไปละลายออกมา ทิ้งกากแร่ (จะมีแมงกานิส และสารหนู) เหมือนเวลาคั้นกะทิ ได้กะทิแล้วก็เอากากทิ้งไป  

ปัจจุบัน มี 2 รายที่ได้ทำเหมืองทองคำ คือ พิจิตร และ เลย ค่าภาคหลวงแร่ปัจจุบันเก็บอยู่ร้อยละ 20  ปัจจุบันทองที่ผลิตได้อยู่ในรูปแบบโลหะผสม  เมื่อทองสกัดแล้วจะถูกส่งไปต่างประเทศเป็นแปรรูป และถูกส่งกลับมาขายในไทยตามราคาตลาดโลก  

ต่างประเทศมีการแยกชุมชนออกจากเหมืองทองชัดเจน ต่างประเทศมีการใช้ทองคำเป็นหลักประกันสะสมทองคำชัดเจนขึ้นเพื่อไม่ให้ค่าเงินผันผวน และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม  แต่ในไทยยังไม่มีนโยบายซื้อทองคำเพื่อเป็นหลักประกัน โดยนายกฯ ยังบอกว่า เศรษฐกิจไทยยังมั่นคง เหมืองทองไทยเป็นการลงทุนของบริษัทออสเตรเลีย (คิงส์เกต) เป็นรายใหญ่มากในไทย กำลังขออาชญาบัตรพิเศษ 107 ฉบับ ครอบคลุม 4 แสนกว่าไร่ จากการสำรวจ 9.5 แสนไร่ ในหลายจังหวัด  ภาพรวม ขุดไปแล้ว 50 ตันที่พิจิตร  มีการจ่ายค่าภาคหลวง 3,238 ล้านบาท ที่ส่งให้ รัฐบาลไทย (กพร.) รายได้ต่อปี เช่น ปี 56 บริษัท มีรายได้ 7,000 ล้าบาท จ่ายค่าภาคหลวง 10% เหมืองฯได้ปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของสภาพัฒน์หรือไม่ พบว่า แผนพัฒนาตนเอง ก็ยังไม่ชัดเจน ซึ่งหากรัฐบาลไทยสามารถผลิตทองเองได้ จะเป็นผลดีมากแทนการเสียเงินไปซื้อทองคำดิบจากฮ่องกงกลับมาเพื่อแปรรูปเอง ทั้งๆที่เราก็มีบ่อทองคำเองอยู่แล้ว แต่ผลิตไม่ได้

ในแง่เศรษฐกิจเราพบว่า เหมืองจ้างงานประมาณ 700 ตำแหน่ง เฉลี่ยมีเงินหมุนเวียนในพท. 17 – 20 ล้านบาท ทองคำที่ไทยขุดไดันั้น กลับทำให้ไทยเสียมูลค่าการนำเข้าทองคำ ปีละ 50,000 ล้านบาท  การสูญเสียพื้นที่ชาวบ้านในชุมชน เริ่มแตกแยกมากขึ้นจากผลต่างๆที่ออกไป มีการโยกย้ายถิ่นฐานมากขึ้น แบบแผนเชิงวัฒนธรรมสูญเสียไป ไม่มีความกลมกลืนในเชิงวัฒนธรรม นำไปสู่ปัญหาของการเมืองท้องถิ่น

ปัญหาด้านสุขภาพ ชาวบ้านประเมินค่าเสียหายทั้งหมด 2,500 – 3,000 บาท ต่อเดือน , กังวลปัญหาสุขภาพ เพราะ ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ที่สำคัญผลของสุขภาพ ไม่อาจสรุปได้ว่า เกิดจากเหมืองแร่ทองคำ” ดร.สมิทธ์ ตุงคะสมิต กล่าว

 

20151002150226.jpg

สารหนู เกินมาตรฐาน  ดร.อาภา หวังเกียรติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผย “ผลการวิเคราะห์โลหะหนักในดิน” จากการเก็บตัวอย่างทั้งหมด 56 จุด รอบเหมืองแร่ทองคำ พบสารหนูเกินมาตรฐานทั้งสิ้น 47 ตัวอย่าง จุดที่มีค่า

สูง คือ ขอบบ่อหลวง ใกล้บ่อกักเก็บกากแร่ของเหมือง และอยู่ที่กองดินกักเก็บกากแร่ มีอยู่ 4 จุด ส่วนพื้นที่นา และพื้นที่เกษตร มีสารหนูอยู่ด้วยแต่ไม่สูงมากนัก

นอกจากนี้ยังมีมุมมองจาก ดร.อาภา ถึงเรื่องปัญหาเหมืองแร่ทองคำ

สำหรับการจัดเวทีในครั้งนี้ ดร.อาภา มองว่า “เวทีนี้มีความคืบหน้านิดหน่อยในเรื่องการแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน มันเห็นภาพชัดขึ้นว่าจะมีการแก้ปัญหา โดยเฉพาะเรื่องน้ำ เรื่องการตรวจสุขภาพ ซึ่งเจ้าภาพจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข คิดว่าอันนี้ก็

น่าจะดำเนินไปได้ เพราะกระทรวงสาธารณสุขไม่ไปเกี่ยวกับเรื่องการเปิดปิดเหมืองเท่าไหร่ มีหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้าน”

ขณะที่ผลการตรวจด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เสร็จสิ้นไปประมาณ 80% แล้วนั้น ดร.อาภา เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจวิเคราะห์ดิน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอผลการตรวจจากกรมพัฒนาที่ดิน “เราก็ไปตามอยู่ กรมพัฒนาที่ดินก็

บอกว่าวันศุกร์จะเสร็จ วันจันทร์จะเสร็จ เราก็พยายามติดตามให้ได้ผลออกมา ผลพืชก็ยังไม่เรียบร้อย พอผลทั้งหมดมันยังไม่ออกมา มันก็ทำ Mapping โยงข้อมูลไม่ครบถ้วน”

ด้านปัญหาเรื่องเหมืองแร่ทองคำ จ.พิจิตร ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ร้อนระอุ จนนำไปสู่คำสั่งของอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือ กพร. ให้เหมืองหยุดการประกอบโลหะกรรม เป็นเวลา 30 วันนั้น ดร.อาภา เผยว่า “คือที่จริง

เหมืองยังไม่ได้ปิดเลยนะตอนนี้ เพราะว่าอัคราฯ มีการอุทธรณ์คำสั่งนั้น ซึ่งมีระยะเวลาในการพิจารณาภายใน 30 วัน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีการพิจารณาคำอุทธรณ์ ก็เหมือนว่ายังไม่ตัดสินนะว่ายังไง หมายความว่าที่ผ่านมาเหมืองยังไม่หยุดเลย”

พร้อมกันนี้ ดร.อาภา ได้ชี้ให้เห็นประเด็นชวนจับตาว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จะจัดการกับเรื่องการยื่นอุทธรณ์ของบริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด ในเรื่องการสั่งปิดเหมืองอย่างไร รวมทั้งเวทีซึ่งกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน

และการเหมืองแร่ เตรียมจัดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้ จะเป็นการจัดเวทีเพื่อเอื้อให้ฝ่ายบริษัทอัคราฯ ออกมาแก้ต่าง และสามารถกลับไปประกอบกิจการต่อไปได้อย่างถูกต้องหรือไม่

ขอบคุณแหล่งข้อมูล  :  https://www.facebook.com/exthaipbs
                          https://www.facebook.com/greennewstv
                          http://www.greennewstv.com

 

 

 

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ