นโยบายสิ่งแวดล้อม พรรคการเมือง x ข้อเสนอภาคพลเมือง

นโยบายสิ่งแวดล้อม พรรคการเมือง x ข้อเสนอภาคพลเมือง

สภาเศรษฐกิจโลก Word Economic Forum (WEF) ได้ประเมินความเสี่ยงที่ร้ายแรงสุดของโลก ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม 3 อันดับแรก ประกอบด้วย ความล้มเหลวของการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความแปรปรวนสภาพอากาศแบบสุดขั้ว และความสูญเสียของความหลากหลายทางชีวภาพ

สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยเป็นอีกโจทย์สำคัญที่ว่าที่พรรคการเมืองในอนาคตต้องวางแผนรับมือและแก้ไข โค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง แต่ละพรรคการเมืองได้นำเสนอนโยบายมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะมิติสิ่งแวดล้อมที่เห็นผลกระทบอย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังมีข้อเสนอภาคพลเมืองที่ติดตาม ขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อมมาตลอด ร่วมสำรวจนโยบายที่แต่ละพรรคเสนอไว้กับข้อเสนอภาคพลเมืองมีอันไหนสอดคล้อง หรือแตกต่างอย่างไรด้วยกัน

นโยบายการจัดการชายหาด

มีหลายพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายการจัดการชายหาด แต่ละพรรคเสนอจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในพื้นที่ทะเลและชายฝั่ง โดยใช้ความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันจากฝั่งภาคประชาสังคมเสนอเรื่องการคืนสมดุลตะกอนชายฝั่ง การยุติโครงการพัฒนาอุตสาหกรรในพื้นที่ชายฝั่งทะเล และสนับสนุนสิทธิชุมชน 

นโยบายมลพิษ PM2.5

ปัญหา PM2.5 สำคัญ เนื่องจากส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม การดำเนินการแก้ไขที่ผ่านมาของภาครัฐที่ผลักภาระมาให้ประชาชน ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์การป้องกันได้ สร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม มีหลายพรรคการเมืองเสนอนโยบายเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ เช่น ผลักดันพ.ร.บ.อากาศสะอาด ออกกฎหมายหมอกควันข้ามพรมแดน สนับสนุนการขับเคลื่อน พ.ร.บ. อากาศสะอาดของภาคประชาชนเป็นต้น

ขณะเดียวกันมีข้อเสนอจากภาคพลเมืองถึงพรรคการเมืองในการแก้ปัญหาเรื่อง PM2.5 เช่นของ Greenpeace เสนอประกาศนำร่องพื้นที่ทดสอบนวัตกรรมสร้างสรรค์หรือแซนด์บ็อกซ์ (sandbox) เป็นเขตพื้นที่ปลอดฝุ่น ด้วยการกำหนดเขตห้ามมีแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น รถยนต์ดีเซลและอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ผลักดันนโยบายกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-จังหวัด เพื่อให้เกิดการบริหาร แก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่

นโยบายการจัดการขยะ

ปัญหาขยะพบเห็นได้ทุกที่ ผลกระทบยิ่งเห็นชัดขึ้นทั้งต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง เต่าทะเล และสุขภาพของมนุษย์ที่พบเศษพลาสติกในอาหาร การจัดการขยะในไทยยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง และขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของภคพลเมือง

นโยบายพลังงานหมุนเวียน

ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานในประเทศไม่เพียงพอ จึงต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ทั้งน้ำมันดิบและพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในปริมาณมาก ส่งผลให้ราคาพลังงานที่สูงขึ้น สิ่งสำคัญคือการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ เปลี่ยนมาเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น ขณะเดียวกันยังมีข้อจำกัดหลายอย่างที่แก้ไขร่วมกัน

พรรคชาติไทยพัฒนา

  • ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งพลังงานทดแทน โดยเน้นการใช้วัตถุดิบทางเกษตรที่มีอยู่ในการประเทศเป็นหลัก สนับสนุนส่งเสริมการใช้พลังงานจากธรรมชาติเพื่อลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาระบบการผลิตให้มีปริมาณของกระแสไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

พรรคก้าวไกล

  • เปลี่ยนอาหารเหลือทิ้งเป็นเงิน – ลด 1 กิโล ได้ 1 บาท แถมคูปองอาหารอินทรีย์ – เปลี่ยนอาหารเหลือทิ้งเป็นเงิน (ลด 1 กิโล ได้ 1 บาท) ผ่านเทคโนโลยีชีวภาพ (เช่น การผลิตก๊าซชีวภาพ และปุ๋ยหมัก) แถมคูปองแลกอาหารอินทรีย์สำหรับบ้านเรือน

Greenpeace

  • ปลดระวางถ่านหินเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในประเทศไทยภายในปี 2570 เพื่อช่วยลดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่ล้นระบบ ลดการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ไม่จำเป็น
  • สนับสนุนมาตรการ Net Metering นโยบายที่รับประกันสิทธิของประชาชนเพื่อผลิตไฟฟ้าในระดับครัวเรือนจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนสะอาดและส่งไฟฟ้าเข้าระบบสายส่งได้ก่อนโดยไม่จำกัดจำนวน
  • หยุดเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และปรับปรุงกระบวนการวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า

นโยบายการจัดการน้ำ

สภาพปัญาทรัพยากรน้ำในไทยที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนน้ำใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ปัญหาการขาดแคลนน้ำบางพื้นที่และตามฤดูกาล หลายพื้นที่มีปัญหามากเนื่องจากอุทกภัย สาเหตุใหญ่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ การสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่และตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบไปในหลายพื้นที่ ทำให้โจทย์เรื่องการจัดการน้ำเป็นอีกสิ่งที่วางแผนรับมือ

ทั้งนโยบายของพรรคการเมืองและข้อเสนอจากภาคพลเมือง ต่างมีความพยายามในการแก้โจทย์ประเด็นสิ่งแวดล้อมในแต่ละมิติแตกต่างกันไป บางอันเป็นการแก้ที่โครงสร้าง บางอันพุ่งเป้าไปในระดับพื้นที่ สิ่งสำคัญคือนโยบายแต่ละอันไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือตอบโจทย์ที่สุด แต่การมีไอเดียจากหลากหลายกลุ่มคน แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่จะแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนทุกส่วนร่วม

สุดท้าย สามารถเข้าไปดูนโยบายต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://yourpriorities.yrpri.org/group_folder/28187 ร่วมโหวต แสดงความคิดเห็นไอเดียหรือนโยบายไหนที่คิดว่าตอบโจทย์ หรือเสนอในแบบของตัวเองเพิ่มก็ได้เช่นกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ