“เสียงประชาชน” ควรจะเป็นต้นทางของการออกแบบ “อนาคตประเทศไทย” โดยเฉพาะในช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 14 พฤษภาคม 2566 นี้
แต่ 4 วินาทีของการหย่อนบัตร กับคะแนนเสียงของผู้แทนในสภา คงไม่ใช่คำตอบเดียว ต่อการกำหนด อนาคตประเทศ
เวทีฟังเสียงประเทศไทย Post Election ภาพอนาคตประเทศไทยหลังเลือกตั้ง โดยไทยพีบีเอส ที่ตระเวณไปทั่วประเทศ เพื่อเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ให้ประชาชนได้รับฟังข้อมูล และร่วมส่งเสียงกำหนดอนาคตของประเทศ โดยเวทีภาคเหนือครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
ฟังเสียงประชาชน เลือกอนาคตประเทศไทย วันนี้ชวนมองกันยาว ๆ กับภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่ราบลุ่ม ชุมทางของสายน้ำ แหล่งเกษตรสำคัญทั้งข้าว อ้อย และไม้ผล อีกทั้งเป็นพื้นที่จุดตัดที่จะเชื่อมโยงเศรษฐกิจทั้งในประเทศและกับเพื่อนบ้าน
แต่ปัจจุบันภาคเหนือตอนล่างเผชิญความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ร้อน แล้ง ขาดแคลนน้ำ ต้นทุนการผลิตที่สูง ราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ อีกทั้งมีโจทย์ของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ที่เป็นความท้าทายสำคัญที่คนในพื้นที่มาพูดคุย และฟังเสียงกันเพื่อต่อถึงภาพอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า
วันนี้ทีมงานฟังเสียงประเทศไทย Post Election ภาพอนาคตประเทศไทยหลังเลือกตั้ง มากันที่โรงแรมเก่าแก่กลางเมืองจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งพิษณุโลกถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนล่าง อีกทั้งสถานที่โรงแรม ที่พัก และสถานที่จัดงานจัดประชุมสัมมนาเนื่องจากเมือง ชุมทางการคมนาคมในภูมิภาค ทำให้เมืองพิษณุโลกเป็นชุมทางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญ วันนี้เลยชวนตัวแทนประชาชนคนเหนือล่างทั้ง 10 จังหวัด ซึ่งเป็นทั้งภาควิชาการ ผู้นำชุมชน นักธุรกิจ ตัวแทนส่วนราชการ นักศึกษา หลากอาชีพหลากวัย 50 ท่านมาร่วมกันมอง “อนาคตภาคเหนือหลังเลือกตั้ง” มองจินตนาการถึงภาพอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า
10 ปีข้างหน้าคุณอายุเท่าไร ?
10 ปีข้างคุณอยากเห็นอนาคตภาคเหนือเป็นแบบไหน ?
เริ่มต้นด้วยการชวนคิด 1 คำ ที่มองอนาคตภาคเหนือในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร ซึ่งไม่เหนือความคาดหมาย ที่คำสำคัญจะเป็นเรื่องของ ข้าวราคาดี อากาศสะอาด กระจายอำนาจ และที่น่าสนใจคือ แล้ง โลกร้อน รวมทั้งอีกหลายคำที่สะท้อนความคิดแรก
การปรับตัว : โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปหลายอย่าง ผู้คนโดยเฉพาะคนรากหญ้า คนชายขอบ การปรับตัวของคนธรรมดาจึงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ประชาชนเองจะอยู่ต่อไปอย่างไรให้รอดท่ากลางเงื่อนไขมากมาย
ข้าวราคาดี : ในความเป็นคนหนึ่งที่ใกล้เกษตรกร คำว่าข้าวมีมิติที่ซ่อนอยู่ คำว่าข้าวราคาดี ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมด้วย หมายรวมถึงผู้ปลูก ผู้ผลิต ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รวมถึงทัศนคติผู้บริโภคที่รู้เท่าทันสุขภาพที่ดี เพราะฉะนั้นคำว่าข้าวราคาดีคือปลายทาง มันมีต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
คุณภาพชีวิตดี : ความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปในทุกมิติ ที่ไม่มุ่งผลไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา ความสำพันธ์ขององค์กรต่าง ๆ ของประชาชนทุกเพศทุกวัย ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควรที่ควรจะเป็น
ภาวะแช่แข็ง : เราถูกแช่แข็งภาคพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ ในอนาคตเรามองว่าพื้นที่รอบนอกที่ไม่เพียงแค่กรุงเทพมหานครจะไม่ถูกแช่แข็งและดีขึ้น
เดินทางง่าย : การเดินทางค่อยข้างยาก อย่างที่พิษณุโลกมี taxi พื้นที่จังหวัดอื่น ๆ แทบไม่มีขนส่งสาธรณะหรือขนส่งเอกชน บีบบังคับให้ทุกคนต้องมีรถส่วนตัว หากเรามีคมนาคมสาธารณะให้เราคิดว่าจะดีขึ้นพร้อม ๆ กับการเติบโตของเมือง
เป็นความคิดความฝันถึงอนาคตของภาคเหนือตอนล่าง ที่ผู้ร่วมวงพูดคุยแบ่งปันกันพอเป็นน้ำจิ้ม ก่อนที่จะได้ร่วมรับฟังข้อมูลสถานการณ์ ความเป็นจริงของภาคเหนือ ณ วันนี้
เหลียวหลัง ก่อนแลหน้า : ภาคเหนือ ณ พ.ศ.นี้
ทีมฟังเสียงประเทศไทย เรียบเรียง “ภาคเหนือในกระแสความเปลี่ยนแปลง” โดยรวมข้อมูลในมิติต่างๆ ของภาคเหนือมาเพื่อให้ผู้ร่วมพูดคุยได้เห็นสถานการณ์สำคัญของภาค
“ภาคเหนือ” ภูมิภาคที่เต็มไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ป่าไม้ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำสำคัญของประเทศ
ภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของผู้คนทั้งจากชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม จากพรมแดนติดประเทศ เพื่อนบ้านทั้งลาว เมียนมา และเชื่อมไปในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
พื้นที่กว่า 100 ล้านไร่ของภาคเหนือ กว่าครึ่ง หรือร้อยละ 53 เป็นป่าไม้ ที่เหลือเป็นพื้นที่ทำการเกษตรร้อยละ 30 และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นร้อยละ 16 ซึ่งมีผลต่อชีวิตของผู้คน สังคมและเศรษฐกิจของคนภาคเหนือ อย่างมีนัยยะสำคัญ
เศรษฐกิจเล็ก พึ่งภาคบริการ
เศรษฐกิจของภาคเหนือมีขนาดเล็กที่สุดในประเทศ และขยายตัวช้า เนื่องจาก การลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ยังกระจายสู่ภาคเหนือไม่มากนัก ภาคบริการมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของ ภาคเหนืออย่างต่อเนื่องโดยมีสัดส่วนกว่าครึ่งในโครงสร้างเศรษฐกิจของภาค รองลงมาเป็นภาคเกษตรและ ภาคอุตสาหกรรม
ภาคเหนือมีความพร้อมต่อการพัฒนาเชื่อมโยงด้านการค้าและบริการกับนานาชาติ และกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและมีเมืองสำคัญที่เป็น ฐานการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับนานาชาติ อย่างเช่น เชียงใหม่ เชียงราย และตากและการเส้นทางคมนาคม ส่งผลให้เกิดโอกาสในการขยายตัวของตลาดการค้า การท่องเที่ยว ทำให้ภาคเหนือเป็นประตูเชื่อมโยง การขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการขยายธุรกิจบริการด้านต่างๆ เช่น บริการทางการแพทย์ การศึกษา การประชุมและ แสดงสินค้านานาชาติ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือ โดดเด่นด้านวัฒนธรรม และธรรมชาติ และเริ่มเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม มากขึ้น แต่รายได้ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองท่องเที่ยวหลักและ ปัญหาฝุ่นควันเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
เกษตรมีศักยภาพแต่เจอโจทย์ที่ดิน
พื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของคนเหนือส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือตอนล่างผลิตพืชสำคัญ คือ ข้าว อ้อยโรงงาน และมันส่าปะหลัง ขณะที่ภาคเหนือตอนบนเป็นพื้นที่สำคัญในผลิตพืชผัก ผลไม้ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ แต่มีโจทย์ใหญ่คือสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรโดยเฉพาะเรื่องที่ดินเนื่องจากเป็นพื้นที่ป่า และเกษตรกรภาคเหนือตอนล่างเป็นผู้เช่าพื้นที่ ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
กระบวนการผลิตของเกษตรกรภาคเหนือเริ่มปรับเปลี่ยนสู่การเกษตรสร้างมูลค่าเช่น เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ และมีการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตมากขึ้น แต่ความเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศความผันผวนของราคาผลผลิตในตลาดโลก และการไหลเข้าของสินค้าจากต่างประเทศที่มีราคาถูกกว่า อาจส่งผลกระทบต่อระบบ การผลิตของภาค
ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทในเศรษฐกิจภาคเหนือน้อย แต่สามารถยกระดับสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้โดย
การใช้อัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อยอด ส่วนการค้าชายแดน- แม้จะมีความพยายาม พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคเหนือ และมีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจีนตอนใต้ แต่ยังไม่สามารถ ดึงดูดอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังคงเป็นเพียงทางผ่านของสินค้า
คนเหนือรายได้น้อย คนสูงวัยเพิ่ม
ภาคเหนือมีประชากรประมาณ 12 ล้านคน คนเหนือรายได้น้อย จำนวนคนสูงอายุเพิ่มขึ้น ความยากจนลดลงแต่มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด ถึงร้อยละ 25.26 รองลงมา เป็นจังหวัดตาก และจังหวัดน่าน ร้อยละ 21.13 และ ร้อยละ 9.48 ตามลำดับ
โครงสร้างประชากรของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ เมื่อปี 2562 โดยมีสัดส่วนผู้สูงอายุ กว่าร้อยละ 21.79 ซึ่งทำให้วัยแรงงานต้องดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น จากประชากรวัยแรงงาน 2.6 คน ดูแลผู้สูงอายุ 1 คน การเตรียมความพร้อมของรัฐเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุยังมีน้อย แม้ว่าในระดับชุมชน จะมีอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นความตื่นตัวและเข้ามามีบทบาทในการจัดสวัสดิการและการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ในรูปของชมรมผู้สูงอายุ
การศึกษาที่ไม่เท่าเทียม ไม่ตอบสนองท้องถิ่น
ภาคเหนือมีสถาบันอุดมศึกษา 29 แห่ง เกือบครบทุกจังหวัด ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นพื้นที่ห่างไกลยังมีปัญหาในการเข้าถึงการศึกษา โดยพบว่าระบบการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม ไม่ ตอบสนองท้องถิ่น และไม่เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ระยะ10 ปีที่ผ่านมามีรูปแบบการจัดการศึกษา หลายลักษณะเกิดขึ้นในภาคเหนือ ทั้งบ้านเรียน ศูนย์การเรียน หรือการศึกษาทางเลือก เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้ผู้เรียน และการศึกษาที่พยายามเน้นการเพิ่มทักษะด้านอาชีพ ให้ผู้เรียนเป็น ฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพ
ระบบสาธารณสุขเหลื่อมล้ำกระจุกตัวเมืองหลัก
การให้บริการสาธารณสุขในภาคเหนือมีความครอบคลุมมากขึ้น แต่ยังคงมีความเหลื่อมล้ำ ระหว่างพื้นที่ โดยสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรกระจุกตัวในจังหวัดที่เป็นเมืองศูนย์กลางและเมืองหลัก
มีจำนวนโรงพยาบาล 195 แห่ง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 2,227 แห่ง และมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรของภาคเหนือมี แนวโน้มดีขึ้น โดยในปี 2562 มีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากร 1 ต่อ1,843 คน ซึ่ง WHO กำหนดอัตราที่เหมาะสมไว้ คือแพทย์ 1 ต่อ 1000 คน
และเป็นที่น่าสนใจว่าการฆ่าตัวตาย มีแนวโน้มเป็น ปัญหาเพิ่มขึ้น ภาคเหนือ มีอัตตราการฆ่าตัวตายสูง 3 จังหวัดแรก คือ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ซึ่งมีอัตรา การฆ่าตัวตายสูงกว่าภาพรวมของ ประเทศถึงเกือบ 2 เท่า ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
ฝุ่นหนักแต่ขาดมาตรการจัดการที่ตอบโจทย์
ภาคเหนือมีความโดดเด่นด้านป่าไม้ที่มีความหลากหลาก แต่เริ่มลดลง อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมลงมาก ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับคนภาคเหนือที่จริงแล้วไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาพพื้นที่ วิถีชีวิตทางการเกษตรซึ่งพึ่งพาการ เผา สภาพของพื้นที่ป่าเต็งรังและ ป่าเบญจพรรณที่มีเศษใบไม้ร่วงสะสม ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะและมีภูเขาล้อมรอบ
ปัญหาการถือครองที่ดินและสิทธิการเข้าถึง บวกกับฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่พัดเข้ามามากขึ้นจากการขยายพื้นที่เกษตรข้ามพรมแดน ขณะที่มาตรการการจัดการกับปัญหายังขาดระบบการจัดการร่วม โดยเฉพาะในการพัฒนาพื้นที่ป่าและแก้ปัญหาไฟป่า แม้จะมีวาระแห่งชาติ
โอกาสและข้อท้าทายของภาคเหนือ
ภายใต้ความท้าทาย ภาคเหนือยังมีโอกาสการพัฒนา อยู่ไม่น้อย ภาคเหนือตอนบนมีศักยภาพ ด้านเกษตรประณีต เกษตรอินทรีย์ โดยเฉพาะพืชผักและดอกไม้เมืองหนาวสำหรับตลาดเฉพาะที่มีกำลังซื้อสูง ภาคเหนือตอนล่างมีศักยภาพด้านการผลิต ข้าว มีฐานทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งท่องเที่ยวเชิง ประวัติศาสตร์ เชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชน เชิงนิเวศน์ และเชิงสุขภาพ มีสถานบันการศึกษาเป็นศูนย์กลาง ทางการศึกษา มีผลงานวิจัยและพัฒนา และสร้างองค์ความรู้เทคโนโลยีที่มีศักยภาพ และยังเป็นหนึ่งในจุดหมาย ปลายทางของการท่องเที่ยวหลายด้านจากการเปิดเส้นทางเชื่อมโลก
แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์โลกที่ได้รับผลกระทบการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี ทำให้หลายส่วน ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วให้ความสําคัญกับการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ในขณะที่แรงงานเอง ควรต้องพัฒนาทักษะทั้ง reskill upskill และ newskill เพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศึกษาพบภาพรวมโจทย์ที่ท้าทาย ของภาคเหนือตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 เรื่อง คือ
1.สิทธิการเข้าถึงทรัพยากร
2.การพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับภูมินิเวศ
3.ระบบการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง
4.ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และ
5.การบริหารบ้านเมืองขาดผู้นำที่ทำงานอย่างเข้าใจต่อเนื่อง และขาดหลักธรรมาภิบาล
เพื่อให้เราได้รับรู้ถึงรายละเอียดของสถานการณ์ที่คนเหนือตอนล่างที่เป็นความท้ายทาย และโจทย์สำคัญที่กำลังเผชิญในอีก 10 ปีข้างหน้า เรามีเรามีผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมทั้งมิติเศรษฐกิจและสังคม เติมเต็มให้คนทั้งวงและคุณผู้ชม คุณผู้อ่าน
ชวนคิดกับความเป็นจริงของพื้นที่เหนือ (ตอนล่าง)
คุณ วิรัช ตั้งประดิษฐ์ กรรมการหอการค้าไทยและ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า เวลานี้ภาคเหนือเราจนกว่าทุกภาค เริ่มจนลงกว่าภาคอีสานสมัยก่อนคนมักจะพูดว่าภาคอีสานจนที่สุด ผลิตภัณฑ์มวลรวมของเราทั้ง 17 จังหวัด มี 1.3 ล้าน ๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ 1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศฉะนั้นโอกาสที่เราจะมาถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ชีวิตมีผลต่อชีวิตของเราเป็นอย่างยิ่งรอมาแปดปีไม่นับสี่ปีก่อนหน้านี้ รอมาด้วยความอดทน
มองว่าภาคเหนือมีอยู่ 4 จังหวัดสี่จังหวัดที่เป็นจังหวัดที่เป็นจังหวัดหลัก ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผลักดันเศรษฐกิจของเรามากมีจังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ เชียงราย กำแพงเพชร สี่จังหวัดของภาคเหนือตอนล่างสองมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประมาณ 300,000,000,000 และส่วนใหญ่เป็นเรื่องของเกษตรระบบขนส่งค้าปีกค้าส่งทั้งสิ้น มองว่าภาคเหนือยังขาดความเชื่อมโยงต่อภูมิภาคเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างสอง โดยเฉพาะจังหวัดนครสวรรค์ดูภูมิรัฐศาสตร์ตั้งแต่โบราณเป็นสะดือของประเทศเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำถนนก็มีสองเส้นแม่น้ำก็มีสี่สายสี่แควเชื่อมเป็นเจ้าพระยา เพราะฉะนั้นอยากให้มองว่าเราจะได้อะไรจากประตูสู่ภาคเหนือที่จะทำความเจริญให้กับภาคเหนือทั้งหมด มองว่าความเชื่อมโยงกับภูมิภาคจะต้องเกิดขึ้น
ภาคเหนือ 8 ปี ที่ผ่านมามีการพัฒนาภาคเหนือน้อยลง เพราะการวางแผนงบส่วนหนึ่งที่ไร้ประสิทธิภาพ ฉะนั้นจึงขาดงบประมาณที่จะพัฒนาส่วนนี้มีผลต่อภาคเหนือประตูสู่ภาคเหนือทั้งหมดถ้าเราจะเชื่อมโยงเวลานี้เชื่อมโยงจากหากเราสังเกตเหนือลงใต้เรามีอยู่แล้ว north south แตร่ east west ไม่ว่าประเทศไทยจะทางรางหรือทางบกวิ่งตรงผ่านประเทศแต่จะอ้อมออกไปสองข้างประเทศน้อยมาก ฉะนั้นภาคเหนือตอนล่างสองต้องเชื่อมโยงภูมิภาคมากที่สุด
ปัจจัยอีกอย่างที่จะเป็นปัจจัย ในการพัฒนาภาคเหนือของเรามากที่สุดคือ รถไฟสายปากน้ำโพธิ์แม่สอด เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องเร่งทำและอีกเส้นคือ เด่นชัย เชียงราย เชียงของ หากมีรถไฟรางคู่ขึ้นมามิติรถไฟก็จะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ยาวมากอาจจะต้องคุยต่อ แต่ตรงนี้ต้องเกิดขึ้นให้ได้เมื่อเกิดขึ้นเศรษฐกิจของภาคเหนือจะโตขึ้นเพราะปัจจัยของเรื่อง infrastructure มีผลเรื่องของการท่องเที่ยว ระบบโลจิสติกส์ที่จะถูกลงสำคัญมากที่สุด อยากผลักดันตรงนี้ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด
เรื่องของ Pm 2.5 เป็นปัญหาใหญ่ที่สำคัญของทางภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่างของ
การที่จะกระทบด้านการท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นภาคเอกชนมองทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของภาคเหนือตอนล่างสองประตูสู่ภาคเหนือต้องพัฒนาเพื่อเปิดประตูเข้าไปให้ถึงไม่ใช่เพียงแค่ชื่อ อยากฝากนักการเมืองชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ Action ให้เกิดผลให้ได้จากนโยบายที่สัญญาไว้
เรื่องเกษตรกร รัฐบาลขาด big data ของชุมชน ทรัพยากรชุมชน ไม่เคยถูกมีข้อมูลของทรัพยากรอยู่เลย รัฐบาลซึ่งมีข้อมูล เพียงบางอย่างคือเรื่องข้าวมันสำปะหลังอ้อยแต่ทรัพยากรอื่น ๆ ไม่เคยทำเช่นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือไม้ผลแบบใหม่ที่ชุมชนสามารถจะแปรรูปนวัตกรรมทางการตลาดรวมกันขายได้ และนาแปลงใหญ่ที่ทำอย่างไม่จริงจังทำเพื่อลดต้นทุนอย่างเดียว ดังนั้น Big data ที่ควรจะมีคือทุกชุมชนเมื่อมีสินค้าอะไร มีศักยภาพอะไรที่จะนำมาสู่รายได้หลัก รายได้เสริม
เพลินใจ เลิศลักขณวงศ์ ประธานศูนย์จิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดตาก จังหวัดตากเรื่องอัตราการฆ่าตัวตายซึ่งตรงกับคลิปที่เปิด อันดับ1 ในขณะเดียวกันความจนและสภาพพื้นที่เป็นเช่นนั้น เรื่องของรายได้ในระดับฐานราก ที่ฆ่าตัวตายเพราะเรื่องหนี้สินของเกษตรกร และสิ่งที่ตายคือเหตุเกิดจากการใช้พาราควอต ในการฆ่าตัวตายเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพี่น้องชาติพันธุ์ที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงดังนั้นในสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากโรคภัยก่อนอย่างช่วงนี้ในพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์จะเห็นสภาพพี่น้องเกษตรกรเริ่มขาบวมน้ำเหลืองเสียเยอะมากและเจ็บปวดทรมาน
ดังนั้นสิ่งที่เป็นและทำร้ายตัวเองด้วยพาราควอต ในเวลานี้จะดูตัวเลขจากโรงบาลแม่ระมาดการเกิดโรคภัยนี้เป็นโรคเฉพาะถิ่นดังนั้นมองว่ารายได้ที่จะต้องมองในจุดนี้ต้องเริ่มที่ฐานประชาชนว่าการเข้าถึงรายได้นั้นเป็นทำอย่างไรขณะเดียวกันเรื่องรายได้ที่ประชาชนเข้าไม่ถึงมันเกิดจากระบบของการเป็นพันธสัญญาที่ไม่เคยเป็นจริงและทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งคาดหวังกันแบบนี้มาตลอดจนวันนี้จนอายุ 60 คาดหวังมาเรื่อย และยังไม่รูปธรรม เมื่อไม่เห็นแล้วจะทำอย่างไรให้เป็นนโยบายหลักของประเทศที่มองมาถึงจุดคนต้นน้ำคือเกษตรกรผู้ผลิตดังนั้นสิ่งที่จะตอบโจทย์และยกระดับรายได้มีคำเดียวคือเกษตรอินทรีย์
คุณสาคร สงมา ตัวแทนภาคประชาสังคม กล่าวว่า สิ่งที่ขาดไปจากบริบทพื้นที่ภาคเหนือล่างในข้อมูลชุดนี้ และเป็นข้อมูลที่เรามีคือสนใจถนนที่ตัดไปเข้ากรุงเทพทั้งหมดเส้นทางลายขวาง ที่จะต่อเชื่อมกับต่างประเทศซึ่งสิ่งนี้เป็นการกลับข้างอำนาจเพราะเราชอบเข้ากรุงเทพ แต่ถ้าถนนสายนี้จะฟื้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ และในข้อมูล
ภาคเหนือตอนล่างกล่าวถึงเรื่องรายได้หลักมวลรวมหลัก คือ ภาคเกษตรกรรมแต่ในภาคเกษตรกรรมเมื่อแยกย่อยออกไปซึ่งกำลังเติบโตคือเรื่องข้าว พืชไร่ มันสำปะหลัง อ้อย เมื่อเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัว มะปรางเป็นไม้ผลภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งแหล่งไม้ผลที่สำคัญ ส้มโอท่าฝอยฝั่งริมน้ำน่าน สิ่งสำคัญที่สุดเห็นเรื่อง แล้ง ร้อน ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจตะกรรมทั้งพืชไร่ไม้ผลข้าวสิ่งนี้คือแนวโน้มในอนาคตที่จะกระทบ
สอง เรื่องที่น่าหนักใจคือการลงทุนด้านทรัพยากรในภาคเหนือตอนล่างซึ่งงานวิจัยไม่ได้มีกล่าวไว้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันอุตสาหกรรมขุดเจาะฝั่งจังหวัดตากรอยต่อพิจิตรหลายที่ที่กำลังเกิดปัญหา เช่น เหมืองทอง…. ที่อนุญาตให้ขุดเจาะต่อ เป็นประเด็นที่น่าหยิบยกขึ้นมาพูดคุยต่อ
ตัวแทนภาคประชาชน จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า สุขภาพคนภาคเหนือเจ็บป่วยตายโดยโรคไม่มีเหตุผล เบาหวาน ความดัน เป็นโรคที่ป้องกันได้
เรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของป่าไม้ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี นครสวรรค์ ชัยนาท เชื่อไหมว่าพัฒนาไปจากเดิมที่มาป่าไม้ 40 % ลดลง 20 % และพิษของ PM 2.5 รุนแรงมากขึ้น
เรื่องของชาวนา ข้อมูลปัจจุบันไม่เคยบอกว่าชาวนาเช่าที่ตัวเองเท่าไหร่ หมายความว่าขายให้นายทุนและทำนาบนพื้นที่ของตัวเองไปเท่าไหร่ และเกษตรอินทรีย์ตายด้วยโรคที่ต้องเร่งผลิตสารเคมีเยอะมาก มะเร็งครองเมืองภาคเหนือตอนล่าง
3 ฉากทัศน์กับอนาคตประเทศไทยหลังเลือกตั้ง
และเพื่อให้เห็นภาพในอนาคตในอีก 10 ปี ข้างหน้าของประเทศไทย ทางรายการและภาคีเครือข่ายได้ประมวลภาคอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น มา 3 แบบ เพื่อเป็นสารตั้งต้นสำคัญที่จะให้คนในภาคเหนือตอนล่างได้มองและเชื่อมโยงกับบริบทของพื้นที่ภาคของพวกเขา
โดยฉากทัศน์ทั้ง 3 เปรียบได้กับดวงอาทิตย์ดังนี้
1.สุริยุปราคา ประเทศไทยยังวนเวียนอยู่ในกับดักรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจแบบสุดขั้ว แม้ว่าภาคท่องเที่ยวจะกลับมาเฟื่องฟู แต่ยังเน้นใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจนสภาพแวดล้อมทรุดโทรม ภาคเกษตรตกไปอยู่ในมือทุนใหญ่จากต่างชาติ ขณะที่รัฐยังคงมีวิธีคิดแบบรวมศูนย์ไม่ยอมกระจายอำนาจ การทุจริตคอรัปชั่นฝังรากลึกเกินเยียวยา
ด้านการศึกษาถือเป็นยุคล่มสลายของระบบท่องจำและการกำกับเนื้อหาจากส่วนกลาง ขณะที่ลูกหลานคนรวยมีทางเลือกไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เปราะบางถึงขั้นวิกฤตจากปัญหามลภาวะทั้งอากาศ ดินและน้ำ รวมถึงปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร ต้นทุนทางสุขภาพของคนไทยสูงลิ่ว คนจำนวนมากเข้าไม่ถึงและบุคลากรทางการแพทย์ยังขาดแคลน กลุ่มคนสูงวัยและอาชีพอิสระขาดหลักประกันทางสังคมและไร้เงินออม กลายเป็นอีกปัญหาของสังคม
2.แสงแดดรำไร ประเทศไทยประคับประคองเศรษฐกิจให้อยู่รอดท่ามกลางเทคโนโลยีที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทุนใหญ่ใช้ฐานข้อมูล Big data และการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มครอบงำตลาด ขณะที่คนรุ่นใหม่ปรับตัวกลายเป็นแรงงานอิสระที่อยู่นอกระบบประกันสังคมและกฎหมายแรงงาน แต่ขาดความมั่นคง
ด้านการศึกษา เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ที่เปิดกว้างกว่าในห้องเรียน โรงเรียนขนาดเล็กยังต้องเผชิญการยุบควบรวม เพราะคนเรียนและงบประมาณน้อย ส่วนในระดับอุดมศึกษากลายเป็นมหาวิทยาลัยแพลตฟอร์ม และเน้นการเปิดสาขาในพื้นที่ต่าง ๆ
สังคมและคุณภาพชีวิต แม้มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก แต่ก็ต้องจ่ายแพง ขณะที่ความสัมพันธ์กลับเหินห่างกลายเป็นสังคมปัจเจกเต็มรูปแบบ คนสูงวัยมีแนวโน้มใช้ชีวิตตามลำพัง และต้องพบกับความเจ็บป่วยที่ได้รับจากช่วงวัยทำงาน สวัสดิการรักษาพยาบาลที่ได้รับจากรัฐไม่ใช่หลักประกันที่จะทำให้เข้าถึงการรักษาที่ดีและทันท่วงที
3.พระอาทิตย์ทรงกลด ประเทศไทยพุ่งทะยานไปข้างหน้าจากวิสัยทัศน์ของรัฐที่ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่มุ่งสร้างความแตกต่างในทรัพยากรมนุษย์และผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ ประชาชนสามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาชุมชน เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สร้างรายได้พึ่งพาตนเองในชุมชน
มีการยกระดับความรู้จนเกิดเป็นปัญญารวมหมู่ ส่งผลให้คนในสังคมเท่าทันและใช้เทคโนโลยีเพื่อสมดุลของชีวิต มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ในมิติสุขภาพมีการใช้ระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพของประชาชนอย่างเท่าเทียม
ด้านการศึกษาการเรียนรู้ของคนไทย คนทุกวัยสามารถใช้แพลตฟอร์มและช่องทางออนไลน์ทั่วโลกได้ทุกที่ทุกเวลา ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา ผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่าจะปรึกษากับคนหรือปัญญาประดิษฐ์ การศึกษาในท้องถิ่นได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ ทำให้มีความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรมและภาษาที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นอย่างสร้างสรรค์
ก่อนและหลังการรับฟังข้อมูลภาพรวมของประเทศไทยและภาคเหนือ ทีมฟังเสียงประเทศไทยชวนผู้เข้าร่วมเวทีเลือก ฉากทัศน์หรือภาพที่น่าจะเป็นของประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าหรือ พ.ศ.2575 เพื่อประเมินด้วยตนเองว่า หลังจากฟังอย่างเปิดใจรับข้อมูลแล้ว ข้อมูลมีผลต่อการตัดสินใจวิเคราะห์สถานการณ์มากน้อยเพียงไร
ซึ่งผลโหวตในแต่ละรอบสะท้อนว่าข้อมูลมีผลต่อการตัดสินใจอย่างมาก เสียงจากการเปิดวงสนทนาพูดคุยหลังโหวตฉากทัศน์รอบ 2
ศรีภัย ศรเขียว ประธานชมรมจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ตนเลือกฉากกระทัศน์ที่สองทั้งครั้งเพราะประเทศไทยประเทศไทยอาจเดินหน้าไม่ถึงไหน ในขณะที่นักการเมืองยังเถียงกันเรื่องตัวเองในสภา
ข้อมูลที่ถูกนำเสนอในวงนี้เป็นข้อมูลที่ดี แต่ข้อมูลตรงนี้จะเข้าถึงและขึ้นไปยังผู้ที่มีอำนาจเหล่านั้นได้อย่างไรเพื่อให้พวกเขาได้คิด
เพราะฉะนั้นตรงนี้จะกลับย้อนมาเลือกฉากกระทัศน์ที่สองเพราะมองว่าระบบธุรกิจของนายทุนจะไปสู่ฉากทัศน์ที่สามแต่ในขณะที่ประชาชนฐานรากกลับไปฉากกระทัศน์ที่หนึ่ง มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะตอนนี้สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือนายทุนกำลังหาเงินโดยใช้ข้อมูลจากที่เราเตรียมไว้ทั้งหมดมาเป็นสิ่งที่จำนำไปสู่การเงินของพวกเขาเพื่อที่จะซื้อเสียงซื้อข้อมูลซื้อคน
อย่างในข้อมูลบอกว่าประชาชนสองคนดูแลผู้สูงอายุหนึ่งคน แต่สุดท้ายจะไม่ใช่ กลับกลายเป็นคนหนึ่งคนจะต้องดูคนถึงสองคนแทน เพราะหากเรามีลูกคนเดียวเราต้องไปดูพ่อแม่ อีกทั้งสังคมปัจจุบันกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวจำนวนมาก คุณต้องดูลูกอีกสองคนด้วย Double ขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องวิเคราะห์กันให้ชัดและทำอย่างไรให้ข้อมูลที่เรามีอยู่ตรงนี้ส่งถึงผู้ที่มีอำนาจนักการเมืองได้
สมชาย เดือนเพ็ญ จังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า เลือกฉากทัศน์ที่ 3 ทั้งสองครั้งแม้ว่าจะเป็นอุดมคติไป คือต้องคิดไปให้ถึง ถ้าการเมืองเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามเราต้องมีความหวัง ที่ผ่านมาเห็นว่าเลือกฉากทัศน์ที่ 2 เพราะเป็นปัจจุบัน ที่เลือกที่ 3 สาเหตุส่วนหนึ่งคือเรื่องของการศึกษาหลาย ๆ คนในที่นี้อยู่ในการศึกษาหลักสูตร 33 และเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ แต่ในปี 2542 มีการปฎิรูปการณ์ศึกษาในรูปแบบใหม่ กรจายอำนาจครั้งใหญ่ ตอนนี้ 20 กว่าปี 2 รอบของการปฎิรูปแต่ยังไม่ไปไหน คิดถึงทรัพยากรบุคคลที่จะมาเปลี่ยนแปลงประเทศ อยากให้การเมืองหลังเลือกตั้งมีทีมที่คำนึงถึงการทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้ตริง
รุ่งอรุณ เลือกฉากทัศน์ที่ 3 ทั้ง 2 ครั้ง เพราะมองฉากทัศน์ที่ 2 เป็นสภาพปัจจุบัน ถ้าเรามองในเรื่องน้ำอย่างสุโขทัยต้องแก้ปัญหาน้ำแล้งไม่ใช่น้ำท่วม ปัจจุบันเด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่นิยมสอบรับราชการ ถ้าเราดูจริง ๆ การค้าขายพรมแดนมีค่อนข้างมาก เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องของจิตใจที่ดี อีกประเด็นคือเรื่องของการแบกรับภาระผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั่นหมายความว่าสุขภาพของคนไทยดีขึ้นต้องมีการดูแล
รศ.ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร : ชวนออกมาวิ่งบนทุ่งลาเวนเดอร์ ในฐานะที่ตนเองเป็นนักวิจัยและนักวิชาการ ฉากทัศน์ที่ 3 เกิดขึ้นอยู่แล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน งานวิจัยพยายามลงไปเข้าถึงชุมชน ประชาชน เพื่อนำงานวิจับไปแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากระยะเวลางบประมาณอาจไปไม่ถึง ส่วนหนึ่งที่อยากจะเติมเต็มจากสิ่งที่ ทางไทยพีบีเอสวิเคราะห์ออกมา สิ่งที่ยังไม่ได้พูดถึงคือเรื่องช่องว่างระหว่างวัย เรายังไม่เคยได้ยินว่าคนรุ่นใหม่คิดอย่างไร ? มหาวิทยาลัยพยายามจะดึงวิธีคิดเด็กขึ้นมา ประเทศไทยยังมีงบวิจัยที่ลงไปในพื้นที่ไม่ทั่วถึง
ตัวแทนคนรุ่นใหม่ กล่าวถึง ฉากทัศน์ที่ 3 คิดว่าในระยะเวลา 10 อาจจะไม่ถึงฉากทัศน์ที่ 3 ในระยะ 10 ปี เปลี่ยนจากฉากทัศน์ที่ 2 เป็น 3 ต้องใช้เวลานาน สิ่งที่สอดคล้องกับปัจจุบันคือคงต้องกลับไปเรื่อง ๆ ในมิติด้าน ๆ ซึ่งทั้ง 2 รอบเลือกไม่เหมือนกัน
อาทิตย์ พิลาบุตร สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์ สอพ. ปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ถ้าการเมืองดี และความหวัง เริ่มได้ยินถี่ขึ้น ในส่วนฉากทัศน์ที่ 3 เปลี่ยนไปได้ด้านเทคโนโลยีอย่างไรเราต้องเปลี่ยนแปลงไปใช้เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีคนไม่ได้เข้าถึงทุกคน ช่วงคนรุ่นใหม่กลับบ้านเยอะในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กระบวนการแห่งความหวังคือเรื่องของการเมือง การเมืองมีโกงรุนแรง แต่หลังจากนั้นไม่ได้มีการพูดถึงหระบวนการถูกทำให้เห็นว่าการเมืองว่าชาวบ้านทำให้ชาวบ้านได้อะไรมากกว่า ผู้นำดีจะนำไปสู่ประเทศที่ดีสิ่งนี้จะเป็นความหวังของเรามากกว่า
สุขสันต์ พิชัย เลือกฉากทัศน์ที่ 3 ทั้งสองครั้ง มองพื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่เป็นจุดเด่นของเรา แต่เราไม่สามารถที่จะบริหารจัดการน้ำที่อยู่จากต้นทางไปสู่ภาคใต้ เราไม่สามารถบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรต่าง ๆ ทำอย่างไรเราจะเอาสิ่งที่เป็นจุดเด่นทางภาคเหนือขึ้นมาได้ เรื่องของการเกษตรเราคิดถึงเรื่องเกษตรนวัตกรรมที่จะหนุนเสริมเรื่องเกษตรกรรมได้รายได้ และผลประโยชน์ขึ้นมา อีก 10 ปีข้างหน้าถ้าเราทำกันจริงจัง 5 ปีอาจจะเห็นผลได้
เพิ่มเติมประเด็นด้านเศรษฐกิจ ในพื้นที่จังหวัดตาก เลียงโค มากที่สุดเป็นแหล่งส่งออกเยอะเลี้ยงโรคระบาด มีการลักลอบเข้าประเทศ พ่อค้าจีนมาลงทุนให้คนเลี้ยงวัวเลี้ยงแต่แค่รับจ้างเลี้ยงเหมือนกัน ไม่ซื้อวัวของชาวบ้านแต่ลงทุนให้พื้นที่เลี้ยง
เลือกฉากทัศน์ที่ 1 ทั้งสองครั้งเพราะคิดว่าในบริบทจริง ๆ ไม่แตกต่าง เรื่องการเปลี่ยนแปลงในชุมชนคือพื้นที่ชุมชนมากกว่าอย่างทรัพยากรในชุมชนดีเพราะแต่ละพื้นที่ดูแลป่าให้อยู่รอด และคนเมืองน่าเป็นห่วงมากกว่าชนบท
บุญยืน คงสงวน นักพัฒนาอาวุโส จ.พิจิตร เลือกฉากทัศน์ที่ 2 ทั้งสองครั้ง หลังจากฟังสิ่งที่ยังไม่ไปถึง 3 ไม่ว่าจะทำเกษตรอินทรีย์หรือข้าวออแกนิ เพราะโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมเชิงระบบยังอยู่ นโยบายลดแลกแจกแถมไม่เคยพูดถึงความเป็นธรรมที่มาของปัญหา เรื่องของการใช้ app 1.2 ล้าน กลุ่มทุนกำลังต้องการที่เพื่อสร้างคาร์บอนเครดิต 1.2 ล้าน เท่ากับพื้นที่ผลผลิตสร้างแหล่งอาหารของคนทั้งโลก
ปัจจุบันความไม่มั่นคงด้านอาหาร จากองค์การอนามันโลกยังไม่ถูกแก้ไข ตั้งแต่ 2015 จนปัจจุบัน แนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นเรื่องความไม่มั่นคงทางอาหาร
Chang system shift the power ต้องเปลี่ยนระบบและขั้วอำนาจใหม่ เปลี่ยนทุนนิยมข้ามชาติภายใต้การพื้นฟูโลกต้องเปลี่ยนไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถสร้างอนาคตที่ดีได้
ผศ.คมสันต์ นาควังไทร มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด : เลือกฉากทัศน์ที่ 2 ทั้งสองรอบ สังคมทั่วไปอยู่ในช่วงสุริยุปราคามาสักพัก และกำลังจะเปลี่ยนผ่าน ภาครัฐก็เริ่มทำและเร่งดำเนินการไปสู่ฉากทัศน์ที่ 3 อยู่ แต่ด้วยเหตุผล generation gap เจนใหม่ที่เข้ามาสนใจด้านการเมืองมากขึ้น แต่เกิดความเชื่อในสังคมไทยคือผู้ใหญ่ไม่เชื่อเด็กและไม่ฟังความคิดเห็นของเด็กมากนัก อยากให้ลดช่วงว่างระหว่างวัย เรื่องความไม่เชื่อใจและปล่อยวางให้รุ่นเด็กได้ทดลองทำ
สนอง เนียมเหลี่ยม ประธานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดพิษณุโลก เลือกฉากทัศน์ที่ 3 ก่อนฟังข้อมูล เมื่อฟังข้อมูลกดฉากทัศน์ที่ 1 เพราะเห็นตัวละครที่จะไปให้ถึงฉากทัศน์ที่ 3 ยากเพราะระบบรัฐและนักการเมือง นายทุนจับมือกันและลงมาสู่ฉากทัศน์ที่ 1 รัฐกับนักการเมืองนักธุรกิจนายทุนใหญ่ ชาวบ้านไม่รอด เพราะการพัฒนาประเทศมาเป็น 100 ปี เราเห็นภาพมาเยอะเห็นนักการเมืองรัฐบาลร้อยสิบ ถ้าท่านยังไม่แก้กฎหมายที่เอื้อประชาชนจะเปลี่ยนได้ต้องแก้กฎหมาย
เบญจวรรณ ตะวงษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวรร เป็นลูกหลานเกษตรกร เรื่องสารเคมีลองถามแม่ถ้าเราไม่ใช้สารเคมีในการทำนาได้ไหม ได้แต่จะใช้ระยะเวลาที่นานกว่า เราจะไม่มีรายได้ทางอื่น บ้านทำนาอย่างเดียวไม่ได้ต้องไปรับจ้างและทำอย่างอื่นด้วย เกษตรกรไม่สามารถอยู่ได้โดยการหาเงินทางเดียว และรัฐต้องช่วยซัพพอร์ตทางด้านเกษตรอินทรีย์ ในอนาคตอาจไม่มีคนรุ่นใหม่กลับมาทำนา จึงเลือกฉากทัศน์สุริยุปราคา ครั้งที่ 2 เลือกแสงแดดรำไร น่าจะได้ดีขึ้น 10 ปีหลัง ถ้าเราเปลี่ยนรัฐบาล
การรับฟังกันอย่างใส่ใจ และเสียงของคน 10 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการมีส่วนร่วม เลือกอนาคตภาคเหนือ เลือกอนาคตประเทศไทย เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาและนโยบายที่จะมาหลังเลือกตั้งตรงตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง
คุณผู้ชมสามารถติดตาม รายการเพิ่มเติมและร่วมโหวตเลือกฉากทัศน์ที่น่าจะเป็นหรือแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ที่ www.thecitizen.plus
สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกอนาคตตัวเองได้
หรือร่วมเสนอประเด็นเพื่อให้เกิดเวทีฟังเสียงประเทศไทยกับไทยพีบีเอส และเรื่องราวกับแฟนเพจTheNorth องศาเหนือ