เปิดการฝึกผสม CARAT 2016 กองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

เปิดการฝึกผสม CARAT 2016 กองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

การฝึกผสม CARAT 2016 ระหว่างกองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา (ระหว่างวันที่ 16 – 24 มิ.ย.59)

ในวันที่ 16 มิ.ย.59 พล.ร.ต.สิทธิพร มาศเกษม ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ และผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม CARAT 2016 เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกผสม CARAT 2016 ณ สโมสรสัญญาบัตรกองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมี พล.ร.ต.โนว์ ผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจผสมที่ 76 คณะนายทหารฝ่ายอำนวยการ การฝึกฯ และกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกฯ ร่วมพิธี ซึ่งจะมีการฝึกภาคทะเล/ภาคสนาม ระหว่าง 16 – 24 มิ.ย.59 ในพื้นที่ อ่าวไทยตอนบน และ จ.ชลบุรี

วัตถุประสงค์ของการฝึกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญทางด้านองค์บุคคลให้มีประสิทธิภาพในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่ตนได้รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น และทางด้านองค์ยุทธวิธีมีการปฏิบัติการวางแผนร่วมกันระหว่าง กองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือสหรัฐฯ ในสาขาการปฏิบัติการต่างๆ อันได้แก่ การปฏิบัติการรบผิวน้ำ การป้องกันภัยทางอากาศ การปราบเรือดำน้ำ การปฏิบัติการเกี่ยวกับทุ่นระเบิด การปฏิบัติการตามลำน้ำ และการปฏิบัติการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีตลอดจนการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

การฝึก CARAT ที่ผ่านมา 21 ครั้ง ประสบความสําเร็จด้วยดี จากการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในอันที่จะทําให้การฝึกในแต่ละครั้งบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ทั้งสองฝ่ายที่ได้กําหนดไว้ นับตั้งแต่การประชุมวางแผนการฝึก การจัดการฝึก และการสรุปผลการฝึก นํามาซึ่งการพัฒนาการฝึกในสาขาปฏิบัติการปฏิบัติการต่างๆ อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปี

กำลังที่เข้าร่วมการฝึก
ฝ่ายไทย
ประกอบด้วย กองเรือยุทการ (กร.) หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) กรมสรรพาวุธทหารเรือ (สพ.ทร.) และ กรมแพทย์ทหารเรือ (พร.) โดยกำลังร่วมการฝึกมีดังนี้
– เรือฟริเกต 3 ลำ ประกอบด้วย ร.ล.นเรศวร ร.ล.ตากสิน และ ร.ล.สุโขทัย
– เรือยกพลขึ้นบก 4 ลำ ประกอบด้วย ร.ล.อ่างทอง ร.ล.สุรินทร์ ร.ล.มัตโพน และ ร.ล.ราวี – เรือปฏิบัติการทุ่นระเบิด 2 ลำ ประกอบด้วย ร.ล.ลาดหญ้า และ ร.ล.ถลาง
– เรือตรวจการชายฝั่ง (เรือ ตกช.) 3 ลำ ชุด เรือ ต.213/ต.228 – เรือปฏิบัติการความเร็วสูง 6 ลำ
– ชุดตรวจการณ์ทุ่นระเบิดจาก สอ.รฝ.
– ชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
– ชุดประดาน้ำ
– เครื่องบินตรวจการณ์ผิวน้ำ 1 ลำ (F-27 MK 200)
– เครื่องบินตรวจการณ์ 1 ลำ (DO-228)
– เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง 1 ลำ (Bell 212)
– เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 1 ลำ (S-70B)
– เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือผิวน้ำ 1 ลำ (Super Lynx)
– กำลังรบยกพลขึ้นบก พร้อมรถสะเทินน้ำสะเทินบก 8 คัน (8 AAV)
– ชุดถอดทำลายอมภัณฑ์ จากกรมสรรพาวุธทหารเรือ (สพ.ทร.)
– ชุดก่อสร้างเคลื่อนที่ จาก กรมก่อสร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ (กสพ.ฐท.สส.)
– ชุดแพทย์เคลื่อนที่จาก กรมแพทย์ทหารเรือ (พร.)

ฝ่ายสหรัฐฯ
ประกอบด้วย กองเรือเฉพาะกิจผสมที่ 76 (Task Force 76)
– เรือพิฆาต USS STETHEM (DDG 63)
– เรือยกพลขึ้นบก USS ASHLAND (LSD 48)
– เรือกู้ซ่อม USNS SALVOR (T-ARS 52)
– เรือขนสิ่งอุปกรณ์ยกพลขึ้นบก USNS MONTFORD POINT(T-ESD 1)
– เครื่องบิน P-3C Orion
– กำลังรบยกพลขึ้นบก 1 กองพัน (USMC Reinforced Company Landing Force)
– หมวดลาดตระเวน (Recon Platoon)
– รถสะเทินน้ำสะเทินบก 12 คัน (12 AAV)
– ชุดปฏิบัติการชายหาดที่ 7 (NBU -7)
– ชุดก่อสร้างเคลื่อนที่ที่ 4 (NMCB -4)
– ชุดพยาบาลที่ 6 (NEPMU -6)
– ชุดปฏิบัติการพิเศษที่ 1 (NSWU -1)
– ชุดปฏิบัติการตามลำน้ำที่ 1 (CRG -1 Det Guam)
– ชุดถอดทำลายอมภัณฑ์ที่ 5 (EODMU -5)
– วงดุริยางค์ (C7F Band)

หัวข้อการฝึกผสม CARAT 2016 ในท่า/ในสนาม
-การติดตั้งระบบ CENTRIX และการวางแผนการสื่อสาร
-การฝึกการปฏิบัติของหน่วยสนับสนุนยกพลขึ้นบก
-การฝึกรักษาความปลอดภัยให้กับกองกำลัง(Force Protection)
-การฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HA/DR)
-การฝึกอพยพพลเรือน (NEO)
-การฝึกถอดทำลายอมภัณฑ์
-การฝึกปฏิบัติการตามลำน้ำ
-การฝึกดำน้ำทางยุทธวิธี
-การฝึกดำรงชีพในป่า
-การฝึกลาดตระเวนในป่า/ภูเขา
-การฝึกสำรวจหาดของนาวิกโยธิน
-การฝึกของชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
-กิจกรรมสร้างสัมพันธ์กับชุมชน (COMREL)
-การก่อสร้างอาคารในพื้นที่ทางทหาร
-การแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์

การฝึกในทะเล
-การเดินเรือในช่องทางกวาด
-การฝึกปฏิบัติการทุ่นระเบิ
-การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารโดยใช้ระบบ CENTRIXS
-การฝึกป้องกันภัยทางอากาศ
-การฝึกปราบเรือดำน้ำ
-การฝึกประลองยุทธ์
-การนำ ฮ. ขึ้น –ลงดาดฟ้าในเวลากลางวัน/กลางคืน
-การฝึกทัศนะสัญญาณและการสื่อสารในทะเล
-การฝึกแปรกระบวน
-การฝึกยิงอาวุธในทะเล

รหัสการฝึกมาจากภาษาอังกฤษคำว่า CARAT ย่อมาจาก CO-OPERATION AFLOAT READINESS AND TRAINING ซึ่งหมายถึง “การฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล” ระหว่างสหรัฐฯ กับมิตรประเทศต่าง ๆ ในแถบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม และใช้ชื่อการฝึกที่เหมือนกันคือ CARAT ตามด้วย ค.ศ. เช่นในปี ค.ศ.2000 ใช้ชื่อการฝึกว่า CARAT 2000 เป็นต้น ทั้งนี้กองทัพเรือได้เริ่มฝึกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2538 (CARAT 95) โดยกองเรือฟริเกตที่ 1 และ กองเรือฟริเกตที่ 2 จะผลัดเปลี่ยนกันเป็นหน่วยรับผิดชอบในการฝึก

ภาพข่าว : สมนึก เชื้อสนุก 087-145-2477

20161606192937.jpg

20161606192945.jpg

20161606192957.jpg

20161606193007.jpg

20161606193015.jpg

20161606193021.jpg

20161606193037.jpg

20161606193044.jpg

20161606193051.jpg

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ