4 หน่วยงาน ร่วมวางเป้าความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ

4 หน่วยงาน ร่วมวางเป้าความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ

บพท. : วันที่ 29 มีนาคม 2566 4 หน่วยความร่วมมือส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำ ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดประชุมออกแบบเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ณ ห้องประชุมหว้ากอ 1 (NXPO) อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 14 สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กทม. มีผู้เข้ากว่า 40 คน ทั้งในระบบออนไลน์ และออนไซต์

ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า จากการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยระบุถึงเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนงานผ่านความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการลดความเหลื่อมล้ำขจัดความยากจนด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และเป้าหมายสำคัญคือการร่วมทำงานในพื้นที่ กับ 2 กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ 1) ครัวเรือนยากจน 2) เศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเราจะต้องกำหนดร่วมกันในการขับเคลื่อนว่าจะดำเนินการในรูปแบบไหนบ้าง ซึ่งระบบข้อมูลของครัวเรือนยากจนใช้ขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหาความยากจนใน 2 ฐาน คือ 1) ระบบข้อมูลของ TPMAP เป็นฐานทั่วประเทศ ที่มีข้อมูลทั่วประเทศกว่า 6 ล้านคน 2) ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ PPPCONNECTจากงานวิจัย 20 จังหวัด มีระบบข้อมูลชี้เป้าที่แม่นยำ ที่ดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่ดำเนินการร่วมกับกลไกระดับจังหวัด มีข้อมูลคนยากจนกว่า 9 แสนคน มีระบบวิเคราะห์ปัญหาและฐานทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนงานต่อได้เลย โดยมีกลไกในพื้นที่ รวมถึงมหาวิยาลัยพัฒนาพื้นที่อยู่  และการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ผ่านผู้ประกอบการชุมชน (Local Business) รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน OTOP และ Local SME ที่มีลักษณะร่วมอยู่ประมาณ 200,000 กว่ากลุ่ม  ในรูปแบบ (1) เป็นธุรกิจชุมชนที่มีการจ้างงานในพื้นที่ (2) เป็นธุรกิจชุมชนที่ใช้ทรัพยากรในพื้นที่ (3) เป็นธุรกิจชุมชนที่มีโครงสร้างการกระจายรายได้ ซึ่งเศรษฐกิจฐานรากเป็นการทำเศรษฐกิจที่เติบโตในชุมชนในพื้นที่

สำหรับแนวทางการทำงานในพื้นที่คือ แนวทางการทำงานในพื้นที่ ประกอบด้วย 1) สร้างและประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสมของกระทรวง อว. เพื่อเสริมพลังแกนนำชาวบ้านที่ พอช. พัฒนาขึ้น ในการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจอาชีพ 2) สร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชนพื้นที่ รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการในชุมชน โดยเฉพาะการขยายผลการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน (CBT) จาก อพท. เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ และสร้างให้คนรุ่นใหม่เกิดสำนึกรักษ์ท้องถิ่นและพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้เข้มแข็ง 3) สร้างผู้ประกอบการชุมชน/ธุรกิจชุมชน ให้มีศักยภาพการประกอบการ และสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่สามารถดึงคนจนให้สามารถเป็นแรงงานที่มีรายได้สม่ำเสมอได้ โดยขยายผลจากงานวิจัยของ อว. รวมถึงการขับเคลื่อนและการสนับสนุนเชิงนโยบายของ สสว. ในส่วนของกลไกการทำงานร่วมกัน กลไกเชิงนโยบาย ซึ่งจะมีการหารือแนวทางนโยบายและทิศทางการทำงาน อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง และกลไกเชิงคณะทำงานร่วม ซึ่งจะมีการ Mapping เรื่องการบริหารฐานทุนเดิม ในการเลือกพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของครัวเรือนยากจน (2) พื้นที่ที่มี Area Manager โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ (3) เป็นพื้นที่ที่มีระบบข้อมูลยอมรับได้ เพื่อนำองคาพยพจากทุกหน่วยมาร่วมกันสร้างพื้นที่ต้นแบบระดับจังหวัด (Case Study)ต่อไป

น.ส.จันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

ด้าน น.ส.จันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้นำเสนอถึงบทบาท และการเชื่อมโยงถึงพื้นที่รูปธรรมการขับเคลื่อนงานร่วม 4 หน่วยงานว่า มีการวางแนวทางการสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน โดย 1) ให้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายร่วม ทั้งคนจนและครัวเรือนยากจนในพื้นที่และการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากผ่านผู้ประกอบการชุมชน 2) การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 3) การพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน/ผู้ประกอบการท้องถิ่น และ 4) การสร้างงาน สร้างอาชีพ หนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ โดยดึงคนจนเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิต เพื่อให้มีรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งข้อมูลครัวเรือนยากจนในระบบ Provincial Poverty Alleviation Operating System (PPAOS) บพท. ณ วันที่ 24 มี.ค. 66 ใน 20 จังหวัด มีจำนวนครัวเรือนยากจนรวม 235,704 ครัวเรือน สมาชิกครัวเรือน รวม 1,039,270 คน รวมถึงการมีฐานทุนที่มีการแยกกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) อยู่ลำบาก ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 2) อยู่ยาก 3) อยู่พอได้ 4) อยู่ดี และมีการ MAPPING พื้นที่จังหวัดในพื้นที่วิจัย บพท. โดยมีพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม (SRA) รวม 7 จังหวัด ประกอบด้วย จ.ลำปาง จ.กาฬสินธุ์ จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร จ.พัทลุง จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการประสานการทำงานในพื้นที่ของ 4 หน่วยงาน (บพท. พอช. อพท. และ สสว.) ใน 2 จังหวัด คือ จ.ร้อยเอ็ด และ จ.ลำปาง

ในการนี้ที่ประชุมได้มีการวางแนวทางขับเคลื่อนโดยเน้นย้ำเป้าหมายในการขับเคลื่อนร่วมกันคือ “ลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความยากจน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” การขับเคลื่อนดังกล่าวจะต้องลงไปถึงกลุ่มเป้าหมายพื้นที่ ทำงานร่วมได้ใน 2 มิติ คือ มิติที่ 1 การส่งต่อกลุ่มเป้าหมายและส่งต่อแนวคิดในพื้นที่ตามพันธกิจของหน่วยงาน เป็นการขับเคลื่อนตามภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงาน โดยมีการนำเสนอความคืบหน้า รูปธรรม หนุนเสริมร่วมกัน สู่ระดับนโยบาย การผสานพลังจาก 4 องค์กร สามารถที่จะขับเคลื่อนและดำเนินการตามภารกิจหน่วยงานได้เลย เช่น บพท. สนับสนุนทุนวิจัยทั่วประเทศ กลุ่มเป้าหมายคือ ครัวเรือนยากจน ผู้ประกอบการ มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ , พอช. มีขบวนองค์กรชุมชน , สสว. มี SME ส่วน อพท. มี CBT มิติที่ 2 คือ การกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการร่วม เพื่อให้เกิดพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดพื้นที่ในการขับเคลื่อนพื้นที่ยุทธศาสตร์ “ระดับจังหวัด” ให้มหาวิทยาลัยระดับพื้นที่ เป็นภาคีหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งหน่วยงานต่างๆ จะต้องไปเสริมพลังกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ กรณีพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม (SRA) ในแต่ละจังหวัดจะต้องมีการทำกระบวนการระดับนโยบายจังหวัด พื้นที่ระดับครัวเรือน ใช้เครื่องมือ “แฟมมิลี่โปรไฟล์” เช่น 1 อำเภอ มีกระบวนการกลั่นกรองตำบลต้นแบบ หลังจากได้ข้อมูลตำบลต้นแบบแล้ว ก็นำเครื่องมือมาใช้กลั่นกรองและวิเคราะห์เพิ่มเติม ตั้งแต่กระบวนการชุมชน การตลาด ปรับปรุงขั้นพื้นฐาน  การแปรรูป และการท่องเที่ยว เป็น ROAD MAP พัฒนาเชิงพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจน  ทั้งนี้ พื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคม (SRA) ดำเนินการในพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย ลำปาง กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร พัทลุง ปัตตานี และยะลา ซึ่ง บพท. , สสว. และ พอช. สามารถขับเคลื่อนร่วมกันได้เลย และทาง อพท. อาจจะมองถึงการเสริมพลังเพิ่มเติม พร้อมทั้งเสนอให้มีเวที Kick Off ในการประกาศนโยบายในการจับมือในการทำและขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวต่อไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ