เสียงประชาชนเลือกอนาคตภาคใต้

เสียงประชาชนเลือกอนาคตภาคใต้

เมื่อชวนคนใต้ พูดถึงคำสำคัญๆ สำหรับอนาคตภาคใต้ ในอีก 10 ปีข้างหน้า มีหลากหลายคำ เช่น แหล่งผลิตอาหาร  เกษตรอินทรีย์  ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ เมืองน่าอยู่และคุณภาพชีวิตดี กระจายอำนาจ ส่งเสริมคนรุ่นใหม่ ท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ชุมชท้องถิ่นเข้มเเข็ง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นภาพความหวังของใครหลาย ๆ คน แล้วอะไรที่จะทำให้ความฝันนั้นเดินหน้าสู่อนาคตในอีก 10 ข้างหน้า รวบรวมมาให้ทุกคนได้อ่านกัน โดยคำสำคัญเหล่านี้เป็นเสมือนสารตั้งต้นของการพูดคุยขยายประเด็นในอนาคตข้างหน้า

เเละช่วงนี้เป็นช่วงสถานการณ์เลือกตั้งที่ใกล้เข้ามาทุกที พรรคการเมืองก็เริ่มจัดทัพปรับโฉมใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพบริบททางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวนักการเมืองหน้าเก่ากับพรรคการเมืองใหม่ หรือการปรับโฉมดึง “คนรุ่นใหม่” นำทัพ เเละนโยบายก็เริ่มออกกันมาเเล้ว รายการฟังเสียงประเทศไทยเราออกเดินทางไปยัง ภาคใต้ จ.สงขลา เป็นหมุดหมายที่เราชวนเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กว่า 50 ชีวิต ทั้งประเด็น สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม เเละการศึกษา ล้อมวงสนทนากันที่ หาดสมิหลา อ.เมือง จ.สงขลา พื้นที่สาธารณะสำหรับคนทุกวัย เพื่อชวนมองอนาคตภาคใต้ กับอนาคตประเทศไทยในอีก 10 ปี ข้างหน้าค่ะ

ภาคใต้มีอะไร?

เมื่อพูดถึงภาคใต้ 14  จังหวัดภาคใต้หรือดินแดนด้ามขวานของไทย ขนาบข้างด้วยทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน  ทำให้แทบทุกจังหวัดติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นยะลา และพัทลุง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ภาคใต้สูญเสียศักยภาพของพื้นที่ลงไปแต่อย่างใด

ด้วยพิกัดที่ตั้งของภาคใต้มีพรมแดนติดกับเมียนมาและมาเลเซีย  ผู้คนจึงเชื่อมโยงผูกพันทั้งในลักษณะญาติมิตร   แรงงาน การค้าระหว่างพรมแดน  และการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงระหว่างกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  

  • พื้นที่ภาคใต้มีทั้งสิ้น  44.2 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.3 ของประเทศ
  • มีประชากรทั้งหมดประมาณ 7.3 ล้านคนคิดเป็นประมาณ 11%  ของประชากรทั้งหมดของไทย
  • ส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรม
  • และเข้าสู่สังคมสูงวัย ทำให้สัดส่วนกำลังแรงงานและประชากรวัยเด็กลดลง

ด้านการเกษตร

โครงสร้างเศรษฐกิจภาคใต้ยังพึ่งพิงภาคเกษตรและการทำประมงเป็นหลัก แต่มีแนวโน้มลดลงจากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศและความผันผวนด้านราคาของสินค้าเกษตรหลักของภาค รวมถึงส่งออกไปตลาดจีนกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ผลผลิตภาคเกษตรที่สำคัญของภาคใต้ คือ ยางพารา  ประมง  ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ (ใส่ภาพแทน)   รวมทั้งมีพื้นที่ราบลุ่มน้ำปากพนังและทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งปลูกข้าวของภาค มีความพร้อมที่จะพัฒนาเพื่อยกระดับการผลิตให้เป็นสินค้ามูลค่าสูงและได้มาตรฐานการส่งออก     ในขณะที่ภาคท่องเที่ยว บริการ เริ่มมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของภาคใต้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้านการท่องเที่ยว

ช่วงสถานการณ์โควิด 19 รายได้จากการท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการว่างงานของวัยแรงงาน แม้ว่าวันนี้ภาคการท่องเที่ยวและบริการจะทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังเป็นโจทย์สำคัญว่าจะทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจใต้มั่นคงได้อย่างไร  

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ด้านทรัพยากรของภาคใต้ ความสมบูรณ์ลุ่มน้ำ ภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ มีแนวโน้มลดลง จากการถูกบุกรุกและ ใช้ประโยชน์เพื่อขยายพื้นที่ทางการเกษตรและเพื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  

ภาคอุตสาหกรรม

ภาคอุตสาหกรรมของภาคใต้อยู่ในภาวะชะลอตัว และการผลิตส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรขั้นต้น ประกอบด้วย 3 อุตสาหกรรมหลักสำคัญ ได้แก่ ยางพาราและไม้แปรรูป ปาล์มน้ำมัน และอาหารทะเลแปรรูปภาคใต้เคยมีมูลค่าการค้าผ่านด่านชายแดนสูงที่สุดของประเทศ  แต่ในช่วงโควิด19  ธุรกิจชายแดนหยุดชะงัก  

ธนาคารโลกออกรายงานความเหลื่อมล้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หลังวิกฤติโควิด-19 ในปี 2563 ตัวเลขประชากรไทยที่อยู่ใต้เส้นความยากจนเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 ล้านคน จากที่เคยมีแค่ 4.8 ล้านคน  และภาคใต้อัตราคนจนเพิ่มมากที่สุดเป็นครั้งแรกในปี พ..2563  ร้อยละ 10.94 หนี้สินเฉลี่ยของครัวเรือนภาคใต้สูงขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้ต่ำ เงินออมน้อย

คุณภาพชีวิตและระบบสาธารณสุข  

การบริการด้านสาธารณสุขขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์โดยสถานพยาบาลขนาดใหญ่และแพทย์ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองสำคัญ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ชนบทไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง

ปัจจัยที่ส่งผลกับภาคใต้

ภายใต้แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับภาคใต้  พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ SEC การค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และเป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง

  • การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศที่เร่งตัวและรุนแรงขึ้น เป็นหนึ่งในปัญหาที่สร้างผลกระทบและความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน
  • ในอนาคตข้างหน้า ภาคการเกษตรทั่วโลกจะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำสะอาด ต้นทุนการเกษตรที่สูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงานจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย  

โอกาสที่จะเกิดขึ้นกับภาคใต้

  • มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามหลายแห่งทั้งทะเลอ่าวไทยและอันดามันและทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ  เป็นฐานการสร้างรายได้ให้กับภาคการผลิตด้านเกษตร ประมง และบริการการท่องเที่ยว
  • ต้นทุนขับเคลื่อนสำคัญของภาคเกษตรภาคใต้ คือ กลุ่มเกษตรรุ่นใหม่ ที่มีสัดส่วนสูงถึง 36% ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมด มีทั้งกลุ่มที่รับช่วงต่อมาจากรุ่นพ่อแม่ หรือกลุ่มที่กลับมาอยู่บ้าน   จะทำให้เกิดเป็นเครือข่ายเกษตรกรที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของการเกษตรของภาคใต้ในอนาคต

โจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้รายได้หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจ หมุนเวียนและกระจายลงสู่ประชาชนราก หญ้าอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นคงของวิถีวัฒนธรรมตลอดจนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีค่าไว้อย่างยั่งยืน

โอกาสและข้อท้าทายของ 

เศรษฐกิจจะดีถ้ามีนักม่องเที่ยวเข้ามา แต่เข้ามาแล้วทำไงให้มีคุณภาพ มีการกระจายรายได้ ไม่ใช่กระจุกอยู่ในเมือง

เป็นคำพูดของ สมพล ชีววัฒนาพงศ์  ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสงขลา มองว่า 2 ปีที่ผ่านมาเราเจอกับสถานการณ์สถานการณ์โควิด ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมาก ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลาย ภาคธุรกิจก็กลับมาพลิกฟื้นกลับมาอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ 6 เดือนที่ผ่านมา เราเห็นนักท่องเที่ยวเข้ามาใกล้เคียงกับช่วงก่อนที่จะมีสถานการณ์โควิด

คิดว่า 10 ปีข้างหน้า ภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของไทย เราจะกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวของภาคใต้อย่างไร กับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามา คิดว่าเราควรมียุทธศาสตร์ มีแผนที่ชัดเจนที่จะปรับเปลี่ยน เน้นนักนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง อย่างในประเทศเเถบยุโรป ประเทศเล็กๆที่นักท่องเที่ยวเข้าไปปริมาณความต้องการซื้อสินค้า ก็มีจำกีด เเละมีค่าใช้จ่ายที่สูง เข้าไปท่องเที่ยวเเล้วไปแล้วอนุรักษ์ทรัพยากร ศิลปะวัฒนธรรม มองว่าอนาคตถ้าเราทำได้ เมืองก็จะน่าอยู่  มีเสน่ห์ คนทั่วโลกอยากเข้ามาใช้ชีวิต

ชุมชนเล็กต้องต้องเสียสละหรือต้องบาลานซ์ให้กับเมืองที่พัฒนา ต้องเสียสละให้กับการพัฒนา

เป็นคำพูดของไมตรี จงไกรจักร  ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า ตอนนี้ภาคใต้มีทรัพยากรดี่สุดในประเทศที่เหลืออยู่ ทำให้ทุกอย่าง กำลังจะเข้ามาทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เราจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวนมากก็จริง อย่างหมู่บ้านผมเป็นหมู่บ้าน ที่เป็นทางผ่านการท่องเที่ยว เเต่ผมเเละชุมชนไม่เคยได้อะไรจากการท่องเที่ยวเลย ที่ผ่านมาชุมชนเล็กต้องต้องเสียสละให้กับการพัฒนาหรือต้องบาลานซ์ให้กับเมืองที่พัฒนา

เเละอีกประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อน เราแค่พูดเป็นวาทะกรรมลดโลกร้อนแต่ไปสร้างฟอกขาว อย่างเช่น บริษัทเอกชนไปช่วยปลูกต้นไม้ สร้างCarbon Creditไปขาย แล้วบอกว่าบริษัทเป็นคนปลูกต้นไม้เเล้วซึ่งไม่ใช่ เเละนโยบายยังเอื้อให้กับธุรกิจขาดใหญ่ ชุมชนเล็กต้องต้องเสียสละหรือต้องบาลานซ์ให้กับเมืองที่พัฒนา ต้องเสียสละให้กับการพัฒนาผู้เสียสละไม่เคยได้รับการดูแล เช่น กรณีเกาะหลีแป๊ะ  เเละสุดท้ายเรื่องภัยพิบัติ มองว่าอนาคตก็จะหนักขึ้น เพราะตอนนี้เราคิดแค่เรื่องการจ่ายชดเชยเยียวยา นักการเมืองยังเป็นคนรุ่นเดิม ยังเป็นการรวบอำนาจเเละประชาชนอย่างเราถูกรวบอำนาจตลอดเวลา

เราไม่มีความหวังกับวัฒนธรรมทางการเมืองเเบบเดิม

เป็นคำพูดของสมบูรณ์ คำแหง เครือข่ายปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสงขลา สตูล กล่าวว่า มิติทางการเมืองวันนี้ เราปฎิเสธไม่ได้ว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองกระทบกับอนาคตแน่นอน เเละจะกระแทกกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเดิม เราไม่มีความหวังกับวัฒนธรรมทางการเมืองเบบเดิม  การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองจะเกินขึ้น

ในอีก10 ปี ต้องจับตา ถ้าพูดถึงอนาคตอย่างลืมที่จะวิเคราะห์มิติเหล่านี้ด้วย ความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อมจะสูงขึ้น หลังโควิด-19 ภาคธุรกิจมองว่าศักยภาพภาคใต้จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น คงเป็นการมองในมิติเดียว อย่างเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเชื้อมโยงทางการค้าระหว่างภูมิภาคคงหนีไม่พ้นเรื่องอุตสาหกรรมต่างๆ  เเละเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สองเรื่องสองความคิดเหล่านี้กำลังปะทะกันแรงมาก ยกตัวอย่างเช่นพี่น้องเทพาไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน เเต่เขามองไปโลกอนาคต มองไปถึงเทรนของโลก กำลังจะบอกว่าการปล่อยให้ใช้พลังงานและฟอสซิล แบบนี้ จะนำไปสู่หายนะของโลกและมองว่าความขัดแย้งของภาคธุรกิจและสิ่งแวดล้อมจะสูงขึ้น นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน

สิริน ชีพชัยอิสระ สภาองค์กรชุมชนเทศบาลนครหาดใหญ่ กล่าว่าเรามีความหวังมาก ถ้าเรามีสิทธิเลือกได้ทำไมเราไม่เลือกที่ดีที่สุด ให้กับตัวเราเเละคนรอบตัวเรา ตอนนี้เรามีการส่งสินค้าฮาลาลของภาคใต้ใน 5 จังหวัด ไปต่างประเทศ หมายความว่า เรากำลังเอาเงินตราต่างประเทศเข้ามาด้วยความสามารถศักยภาพของคนไทย และทรัพยากรที่เรามี ซึ่งตอนนี้ ถ้าไม่มี BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เราขายของไม่ได้ มาตรฐานคนซื้อ BCG หมดแล้วเราต้องเข้าใจบริบทของโลกว่าโลกเปลี่ยนไปอย่างไร 

โอกาสของภาคใต้ จะมี Wellness ทำไมเราไม่เอาโอกาสแบบนี้มาคุยกัน สร้างแบรนด์ประเทศไทย  วันนี้เราต้องสร้างอาชีพด้วยการเอาความรู้มาลงทุน เราแข็งขันได้เราต้องคิดใหม่ คิดเป็นคิดพึ่งตัวเอง สร้างโอกาส สร้างเครือข่ายเเละทุกส่วนต้องบูรณาการเเละสิ่งที่เราทำอยู่ตอนนี้คือการสร้างเศรษฐกิจชุมชนและทุนชุมชน

ธีรพจน์ กษิรวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา จ.กระบี่ กล่าว่า 10 ปีความหวังไม่ได้อยู่ที่พรรคการเมือง  เราต้องเริ่มทำจากตัวเรา พอเราทำนักการเมืองจะมาชอป คนในวงเลือกทิศทางภาคใต้สีเขียว ซึ่งเป็นเทรนโลก ล่าสุดที่ผ่านมา ที่มีการประชุมเเละประกาศผลการตัดสิน “2023 GREEN DESTINATIONS STORY AWARDS” โดย เกาะหมาก จังหวัดตราด จากประเทศไทย ได้รับรางวัลที่ 2 ประเภท Governance, Reset and Recovery
(ระบบการจัดการและการฟื้นฟู) จาก Green Destinations Foundation ได้รางวัลที่ 2 ของโลก ทำให้เห็นว่านักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมจริงๆ

ยิ่งสภาพปัญหา climate change ทุกคนรู้จักเเละรับรู้ว่าโลกกำลังมีปัญหา ขึ้นอยู่กับเราเห็นว่าเราเลือกที่จะทำหรือไม่ทำ อย่างบางเรื่อง บางชาติเข้ามาครอบไปแล้ว เช่น เข้ามาซื้อสวนผลไม้ เปิดล้งรับซื้อผลไม้ อุตสาหกรรมการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพ จีนก็เป็นเจ้าของมากมาย

การเปลี่ยนแปลงของโลก ใน10 ปีที่ผ่านมาเป็นการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี แต่ ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีจะทำให้คนข้างนอก สามารถครอบธุรกิจได้ ภาคใต้วันนี้มีศักยภาพมีโอกาส เป็นความจำเป็นที่เราต้องเริ่มจัดการด้วยตัวเราเอง เเล้วเชื่อมเครือข่ายขยับเดินหน้าไปด้วยกัน

เทพรัตน์ จันทพันธ์  นักวิชาการสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชนหุ้นส่วนในการพัฒนา มองว่าปัญหาที่เจอมาตลอด คือภาคประชาสังคมไม่เคยมีอำนาจในการต่อรองอย่างแท้จริง ฉะนั้นการสร้างหุ้นส่วนในการพัฒนาในแต่ละเรื่อง ทั้งการจัดสรรทรัพยากรและเรื่องภาษีมองว่า เราสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการจัดสรรในการพัฒนาได้

น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศได้  

ไพรัช วัชรพันธ์ ขบวนการองค์กรชุมชนสงขลา มองว่า ภาคใต้เป็นเมืองพหุวัฒนธรรมเเละแน่นอนภาคใต้อิงกับการท่องเที่ยว ที่ทำรายได้มากที่สุด เเต่จุดอ่อนของภาคใต้คือ เรื่องการจัดการ อย่างชุมชนกับเมืองไม่ค่อยเชื่อมโยงกัน นักท่องเที่ยวก็กระจายออกไปนอกเมือง เรามีมโนราห์ได้รับมรดกโลก แต่เราไม่ค่อยได้เพิ่มมูลค่ากับการท่องเที่ยว เราต้องผนึกกำลังกัน มีส่วนร่วมมากขึ้น ส่วนเรื่องการศึกษา  มองว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต้องกลับมาเรียน เป็นจุดขายเพราะเป็นความภูมิใจของคนไทย

ภาพอนาคตประเทศไทย 2575

หลังจากฟังเสียงสะท้อนความต้องการของคนในพื้นที่ รวมถึงโอกาส และความท้าทายด้านศักยภาพของภาคใต้แล้ว ทีมงานฟังเสียงประเทศไทยเราได้ประมวลภาพอนาคตที่อาจจะเป็นไปได้ในอีก 10 ปี ข้างหน้ามาให้ทุกท่านได้ร่วมกันเลือกและเติมข้อมูลกันต่อด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ฉากทัศน์ที่ 1 สุริยุปราคา 

ประเทศไทย ยังวนเวียนอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจแบบสุดขั้ว แม้ภาคท่องเที่ยวจะกลับมาเฟื่องฟู แต่ยังเน้นใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ จนสภาพแวดล้อมทรุดโทรม 

ภาคเกษตรตกไปอยู่ในมือทุนใหญ่จากต่างชาติ ขณะที่รัฐยังคงมีวิธีคิดแบบรวมศูนย์ไม่ยอมกระจายอำนาจ การทุจริตคอร์รัปชันฝังรากลึกเกินเยียวยา 

ด้านการศึกษา ถือเป็นยุคล่มสลายของระบบท่องจำและการกำกับเนื้อหาจากส่วนกลาง ขณะที่ลูกหลานคนรวยมีทางเลือกไปศึกษาต่อในต่างประเทศ

ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เปราะบางถึงขั้นวิกฤต จากปัญหามลภาวะทั้งอากาศ ดิน และน้ำ รวมถึงปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร 

ต้นทุนด้านสุขภาพคนไทยสูงลิ่ว จนคนจำนวนมากเข้าไม่ถึง และบุคลากรทางการแพทย์ยังขาดแคลน กลุ่มคนสูงวัยและอาชีพอิสระที่ขาดหลักประกันทางสังคม และไร้เงินออม กลายเป็นอีกปัญหาของสังคม

ฉากทัศน์ที่ 2 แสงแดดรำไร 

ฉากทัศน์ที่ 3 พระอาทิตย์ทรงกลด

ประเทศไทยพุ่งทะยานไปข้างหน้า จากวิสัยทัศน์ของรัฐที่ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น มีการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่มุ่งสร้างความแตกต่างในทรัพยากรมนุษย์และผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์

ประชาชนสามารถใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาชุมชน เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สร้างรายได้พึ่งพาตนเองในชุมชน มีการยกระดับความรู้จนเกิดเป็นปัญญารวมหมู่ ส่งผลให้คนในสังคมเท่าทันและใช้เทคโนโลยีเพื่อสมดุลของชีวิต ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม 

ในมิติสุขภาพมีการใช้ระบบฐานข้อมูลและเทคโนโลยี เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างเท่าเทียม ขณะที่ด้านการศึกษาเรียนรู้ของไทย คนทุกวัยสามารถใช้ฟอร์มและช่องทางออนไลน์ทั่วโลกได้ทุกที่ทุกเวลา ครูทำหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษา ผู้เรียนสามารถเลือกได้ว่า จะปรึกษากับคนหรือปัญญาประดิษฐ์

ส่วนการศึกษาในท้องถิ่นได้รับความนิยมจากคนรุ่นใหม่ ทำให้ความแตกต่างหลากหลายของวัฒนธรรมและภาษาที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น อย่างสร้างสรรค์

แลกเปลี่ยนกับคนพื้นที่

สินาด ตรีวรรณไชย มองว่าเป็นอีก10ปีข้างหน้าเป็น พระอาทิตย์ทรงกลด สิ่งที่เราไม่ค่อยรู้ คนรุ่นใหม่เขาสู้อยู่แล้ว บางครั้งพอเราเป็นผู้ใหญ่ประเด็นเราใหญ่มาก แต่จริงแล้วสิ่งที่เป็นพลังก็คือคนรุ่นใหม่ เรามักจะคิดว่าธุรกิจกับชุมชนมันออกแบบกันไม่ได้ ผมว่ามันไม่ค่อยจริง จริงๆมันทำได้

คิดว่าการที่ยังมีคนพูดก็ยังมีคนหวัง สังคมที่ไม่พูดแล้วต่างหากที่น่ากลัว   

กุลทัต หงส์ชยางกูร สถาบันนโยบายสาธารณะ มองว่า ทางสถาบันทำเรื่องภาคใต้แห่งความสุข เราอาจจะเป็นวัย Baby Boomer มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีหลาย Generation เเล้วGenerationไหนที่ต้องขึ้นมาพัฒนา Generation ที่ไม่นอนกลุ่มนี้ เราต้องมีวิธีการทำเขาให้พร้อม สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือเราต้องดูต้นทุนของสังคมภาคใต้ กลุ่ม Baby Boomer ที่ยังมีไฟ  มีบางส่วนที่ชุมชนเข้มเเข็งรวมกลุ่มกันได้ สิ่งหนึ่งที่เราจะไปสู้กับนักการเมืองที่มีอำนาจทางการเมือง งบประมาณ เราต้องติดอาวุธทางการศึกษา  ต้องใช้วิชาการ ข้อมูลเชิงประจักษ์และทดลองแล้วเห็นรูปธรรม นำเสนอ นโยบายสาธารณะจากพื้นที่ของเรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นต้นแบบการสู้กับรัฐ

ถ้ามองเป้าหมาย เป็นพระอาทิตย์ทรงกลด  เราต้องมาออกแบบร่วมกัน สร้างกลไกร่วมกัน เกิดความร่วมมือเกิด เกิดงบประมาณในชุมชน เพื่อให้เคลื่อนงานในพื้นที่

วงศธร สว่างภพ สภาเด็กฯหาดใหญ่มองว่า ความจริงเราว่าไทยไม่สามารถเปลี่ยนผ่านได้ 100 %  ผมสนใจการท่องเที่ยว การคมนาคม  การท่องเที่ยวภาคใต้เราเชื่อมไทยมาเลเซีย แต่ในหลายเรื่อง การท่องเที่ยวยังกระจุกในเมือง ยังไม่ใช่การท่องเที่ยววิถีชุมชน ซึ่งมีอยู่มาก อยากเห็นภาพนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในชุมชนมากขึ้น การคมนาคมการเดินทางเรายังยุ่งยาก 

นันท์ชม จันทร์ดวง เยาวชนรุ่นใหม่ ต.บ่อยาง จ.สงขลามองว่า ได้มีโอกาสทำงานร่วมกบชุมชน ประชาชนฐานรากเริ่มก้าวเข้ามา ในการพัฒนาตัวเอง ตอนนี้ชาวบ้านเริ่มลุกขึ้นมาจัดการตัวเอง มองว่าอีก 10 ข้างหน้า สามารถเป็นพระอาทิตย์ทรงกรดได้  เราจะทำอย่างไรให้ทุก Generation มาร่วมกัน

วัชระ เกตุชู เครือข่ายการศึกษาทางเลือกมองว่า อยู่ใน ฉากทัศน์ที่ 1 สุริยุปราคา ในพรบ.การศึกษาให้อำนาจสิทธิชุมชนในการจัดการศึกษา รัฐเองพยายามควบคุมแอบแก้กฎกระทรวงเพื่อดึงอำนาจกลับ กฎหมายในท้องถิ่นก็เช่นกันที่รัฐดึงงบประมาณกลับไป คืนอำนาจให้ราชการมีอำนาจมากขึ้น  ส่วนเรื่องธรรมธิบาลเราแทบไม่เห็นเลย เสาหลักประเทศสั่นคอน ทิศทางการเมืองอนาคตข้างหน้า มีโอกาสน้อยมากที่จะให้แนวคิดหรืออุดรองรั่วของนโยบายที่เกิดขึ้น

ในอีก10ปีข้างหน้า ไม่ใช่โอกาสของคนรุ่นใหม่

เชาวลิต ไชวานิช ทีมสงขลาใกล้ๆทะเล มองว่า “เป็นพระอาทิตย์ทรงกลด  ทุกคนมีความหวังการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ทำให้เห็นว่าแลนสไลด์เกิดขึ้นจริงรอบนี้คิดว่ามีแลนสไลด์ เพราะคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่นี้ต้องการการเปลี่ยนแปลงมาก เจ็บปวดมาเยอะ คนรุ่นใหม่ยังไม่น่าเป็นห่วง ห่วงครุ่น Baby Boomer ที่ถูกหลอกง่าย ถ้าเราจะเปลี่ยนประเทศ ต้องทำงานแบบองค์รวม ทุกคนมีความหวังที่จะเปลี่ยนประเทศ”

จิราพร ทองใหม่ เครือข่ายคนกล้าคืนถิ่นมองว่า “ยังเป็น เมฆหนา แสงมาไม่ถึง ทุกคนพยายามที่จะผลัดดันเพื่อที่จะไปข้างหน้า ตอนนี้เราพยายามพาคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้าน  ซึ่งตอนนี้เด็ก 10-15 ปี มาจัดค่ายเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน”

กำราบ พานทอง  เครือข่ายเกษตกรมองว่า “ผมใช้เวลาเปลี่ยนพืชยางเชิงเดี่ยวเป็นพีชผสมผสานใช้เวลา 30 ปี แค่ 10 ปีต้องลดมา 2 เท่า แต่ละเรื่องที่เราพลักดัน มีอุปสรรค 3 ข้อ  1. เรื่องการผูกขาด การจัดสรรคออำนาจ 2. โลกรวนที่หยุดไม่ได้ 3. คุณภาพชีวิตและค่าครองชีพที่สูงขึ้น”

สิ่งที่แย่ลงมีกลไกในการจัดการยังมีน้อย เราอยากเห็นชุมชนจัดการตัวเอง ชุมชนสีเขียว เกษตรสีเขียว สังคมสีเขียว

บุณย์บังอร ชนะโชติ มองว่า “อนาคตภาคใต้เปลี่ยนได้ ถ้าเรามีความตั้งใจเปลี่ยนชุมชน เปลี่ยนเมืองเริ่มจากตัวเรา ที่ผ่านมาพี่พยายามเปลี่ยน จากชุมชนที่ยึดถือเรื่องการเมืองเป็นหลัก ชุมชนเริ่มคิดได้ว่ามีอำนาจต่อรอง จาก1 ชุมชนเป็น 20 ชุมชนเรากำหนดอนาคตตัวเองได้ เราต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนสื่อสาร”

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ “มองว่า 10 ข้างหน้า ยังเป็นฉากทัศน์ที่ 2 เมฆหนา แสงมาไม่ถึง การกระจายอำนาจยังไม่ถึงสิ่งที่เราอยากให้เป็น เพราะว่าโครงสร้างราชการไม่สามารถกระจายได้ง่ายๆ 2. อำนาจทุน แม้เราจะมีความฝีนถึงทุนชุมชน ทุนBCE ทุนสตาสอัพ ในความเป็นจริง ทุนต่างชาติก็ยังเป็นเมฆก้อนใหญ่มาก แต่แสงก็ยังมีจากคนรุ่นใหม่”

อะหมัด มองว่า “ยังเป็นฉากทัศน์ที่2 เมฆหนา แสงมาไม่ถึง ไทยเราบุญมีแต่กรรมบัง เรามีอุสรรคเยอะมาก การศึกษาประเทศไทยเราเริ่มมีพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา ทั้งหมด19 พื้นที่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ 8 แห่ง แต่จะทำอย่างไรให้ตอบโจทย์ สมรรถนะจริงๆ  นโยบายการพัฒนาประเทศเปิดมากๆ เราสามารถเสนอนโยบายได้ แต่อนาคตเราจะเจอความขัดแย้งทางนโยบายเยอะมาก เช่น นโยบายระดับประเทศ มันขัดแย้งกับวิถีชีวิตคนในชุมชน ที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น  แต่ก็มีโอกาสเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดได้”

พระอาทิตย์ไม่เคยทำอะไรและไม่มีอะไรเลยที่พระอาทิตย์ไม่ได้ทำ

สมบูรณ์ คำเเหง มองว่า “ภาพผมเป็นนักประท้วง แทบไม่มีใครรู้คือผมเป็นนักประสาน สิ่งที่ผมฝันมาตลอดว่า อยากเห็นขบวนการของภาคประชาชนตื่นขึ้นมาแล้วจัดการตัวเองได้จริงๆ”

10 ที่ผ่านมาเราคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดเยอะมา เรารู้ว่าในจังหวัดไม่ได้มีแค่เรา มีภาคราชการ ภาคธุรกิจ  ผมคุยกับทุกกลุ่ม เราควรที่จะมีความหวังกับเรื่องนี้ สิ่งสำคัญสุดผมเชื่อในการกระจายอำนาจ  การเมืองในประเทศที่เป็นแบบนี้เพราะว่า วัฒนธรรมการเมืองมันตกต่ำมาก สิ่งที่จะกู้กลับมาได้คือ ทำให้คนในประเทศนี้ตระหนักถึงภาษีของเราเอง สังคมจะเปลี่ยนต้องเปลี่ยนจากข้างล่าง การกระจายอำนาจไม่ใช่แค่การเลือกตั้งผู้ว่า แต่ต้องทำให้คนข้างล่าง

วงเเบบนี้ถ้าไปเคลื่อนต่อจะทำให้ภาพที่เราหวังไว้มีพลังมากขึ้น  ภาพของความเป็นประชาชน มีข้อเสนอชัดเจน เชื่อว่าเกิดการเปลี่ยนแปลง

 

หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลศักยภาพของพื้นที่ภาคตะวันออก ควบคู่ไปกับเสียงสะท้อนจากตัวแทนภาคประชาชน นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว คุณคิดว่า อนาคต หรือ ทิศทางการแก้ไขปัญหา ควรเดินหน้าต่อไปทางไหน สามารถร่วมโหวตฉากทัศน์ที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ