นิรันดร์ สมพงษ์ เกษตรรุ่นใหม่ โครงการบ้านมั่นคง สปก.ปากช่อง โคราช สร้างนวัตกรรม IOT ควบคุมระบบให้น้ำอัตโนมัติในการเกษตร พร้อมขยายผลสู่ชุมชนทั่วประเทศ

นิรันดร์ สมพงษ์ เกษตรรุ่นใหม่ โครงการบ้านมั่นคง สปก.ปากช่อง โคราช สร้างนวัตกรรม IOT ควบคุมระบบให้น้ำอัตโนมัติในการเกษตร พร้อมขยายผลสู่ชุมชนทั่วประเทศ

ผู้เข้าร่วม Work Shop Smart Farm IOT รุ่นที่ 3

นครราชสีมา/23-24มีนาคม2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. จัด Work Shop หลักสูตร การสร้างเครื่องมือ Smart Farm IOT เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อ ลดต้นทุน ลดเวลา เพิ่มผลผลิต ด้วยนวัตกรรมราคาประหยัด” ในการทำเกษตรกรรม ให้แก่ชุมชนตำบลเป้าหมาย รุ่นที่ 3 ประกอบไปด้วย  ตำบลปากช่อง อ.ปากช่อง  ตำบลวังกระทะ อ.ปากช่อง  ตำบลโนนสมบูรณ์  อ.เสิงสาง  ตำบลสามเมือง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา และผู้สนใจ จำนวน 30 คน ณ สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง (คทช.) อำเภอปากช่อง ตำบลปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

2
ผู้เข้าร่วม Work Shop ลงมือปฏิบัติการจริง

เป้าหมายในการจัด Work Shop ดังกล่าว เป็นการส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล Internet Of Things (IOT) เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนในการทำเกษตรกรรม  จากที่ผ่านมาเกษตรกรในชุมชนได้มุ่งมั่นพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมเพื่อเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร แต่ก็ยังต้องประสบกับปัญหาและข้อจำกัดของสภาพดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ประกอบกับน้ำน้อย ปริมาณแหล่งน้ำที่ไม่เพียงพอในต่อการทำเกษตรกรรม รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในขั้นตอนการผลิต จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชุมชนได้นำอุปกรณ์ IOT มาประยุกต์ใช้ และพัฒนาเป็นระบบการรดน้ำอัตโนมัติที่สามารถควบคุมผ่านระบบมือถือและรีโมทคอนโทล เพื่อบริหารจัดการการใช้น้ำเพื่อการเกษตรของชุมชน ร่นระยะเวลาในการให้น้ำพืช เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่เกษตรกร ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นการผลิตใช้เอง จึงมีราคาถูกกว่าระบบการรดน้ำอัตโนมัติ ที่มีจำหน่ายทั่วไป เป็นการลดต้นทุนการผลิตในอีกทางหนึ่ง

3
นายนิรันดร์ สมพงษ์

นายนิรันดร์ สมพงษ์ ประธานสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง (คทช.) จำกัด ได้เล่าให้ฟังว่า Internet of Things (IoT) คือ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง”  การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมไปถึงการทำเกษตรของทางชุมชน สามารถใช้ในการบริหารจัดการแปลงพืช ผัก อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้แรงงานคนให้น้อยที่สุด ซึ่งได้นำเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์การเกษตรต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้น สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้ เช่น การใช้เซ็นเซอร์วัดค่าความชื้นดินแล้วสั่งการรดน้ำได้อย่างแม่นยำ โดยคำนวณปริมาณน้ำและเวลาในการรดน้ำที่เหมาะสม ทำให้ไม่ต้องห่วงอีกต่อไป

4

Smart Farm iot นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ “ลดเวลา ลดต้นทุน ลดแรงงาน เพิ่มผลผลิต” ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ด้วยงบประมาณหลักร้อยบาท   นิรันดร์ กล่าวทิ้งท้าย

5
นายพสธร หมุยเฮบัว 

นายพสธร หมุยเฮบัว  ผู้เข้าร่วมอบรม ต.สามเมือง อ.สีดา จ.นครราชสีมา เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันเป็นผู้ใหญ่บ้านและก็ทำอาชีพเกษตรกรรม เป็นเกษตรผสมผสาน และทำประมงเลี้ยงปลานิลขาย ทำอาหารปลอดภัย GMP ที่มาอบรมวันนี้ได้ความรู้เรื่องการจัดการระบบน้ำโดยการใช้ระบบของ iot ก็เป็นการทำให้ประหยัดน้ำลดแรงงานด้วย ที่สำคัญวันนี้เราใช้แบบเป็นทางผ่านมือถือ application  ในระบบ android หรือถ้าใครไม่มีระบบมือถือไม่มีตัวส่งสัญญาณก็จะให้ใช้ระบบรีโมทนะครับควบคุมระยะไกลประมาณ 1 กิโลเมตรในการเปิดปิดปั๊มน้ำ แค่มาเรียนรู้ก็ประหยัดเงินได้แต่ก่อนก็ทำไปตามความเข้าใจของเรา ตัวของผมเองก็ใช้เทคโนโลยีสะอาดอยู่ครับแต่ว่ามันราคามันก็สูง ถ้าผมได้มาอบรมแบบนี้ก่อนผมก็อาจจะลดต้นทุนของผมลงได้เยอะ โครงการที่ดีครับก็อยากให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ iot แบบนี้ไปหลายๆรุ่นหลายๆจังหวัด

7
 นายอนิรุต นายชาญชัยชนะ ทิพย์รีย์ (โอเว่น) ตานา

นายชาญชัยชนะ ทิพย์รีย์ (โอเว่น)​ ผู้เข้าอบรมจาก ต.โนนสมบูรณ์​ อ.เสิงสาง จ.นคราชสีมา  ได้เล่าเกี่ยวกับการอบรมรมครั้งนี้ว่า การอบรมเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ iot เป็นการเพิ่มเติมความรู้ระบบใหม่ๆ ส่วนตัวทำฟาร์มเห็ด ตอนนี้อยู่ในช่วงพัฒนาคือจะเน้นทำน้อยให้ได้มาก ก็จะได้นำความรู้เรื่อง iot ไปสื่อสารให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรในชุมชน ซึ่งการอบรมครั้งนี้ได้เห็นอุปกรณ์ใหม่ๆซึ่งบางอุปกรณ์นี่มีมานานแล้วแต่เราเพิ่งรู้ว่ามันเอามาใช้ประยุกต์ใช้กับตรงจุดนี้ได้ซึ่งหลายๆคนบางทีเห็นวางอยู่มันเป็นรีโมททีวี แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเกษตรกรได้ และต่อยอดขึ้นไปก็คือเราจะสามารถทำในเชิงธุรกิจ นำไปประกอบเป็นชุดเซ็ทที่ราคาเกษตรกรจับต้องได้ถูกกว่าของร้านค้าตามท้องตลอดทั่วไป    ซึ่งมีราคาสูงมากราคาหลักหมื่นเหลือราคาหลักร้อยหลักพัน การอบรมในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมาก

6
นายอนิรุต ตานา

นายอนิรุต ตานา ผู้เข้าอบรมจาก ต.วังกะทะ อ.ปากช่อง จ.นคราชสีมา   เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนก็ทำเกษตรกับพ่อกับแม่ ก็จะเป็นผูกพันกับไร่กับสวน แต่พอโตขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้วก็ออกทำงานโรงงาน แต่ว่าก็พอถึงจุดนึงก็อยากกลับบ้านมาดูแลพ่อกับแม่  ก็เลยทำงานแล้วก็เก็บเงินแล้วก็ออกออกศึกษาเรียนรู้ตามศูนย์เรียนรู้ทั่วไปที่ที่ตัวเองคิดว่าจะเอาไปใช้ที่สวนได้ เริ่มๆปลูกข้าวโพด ทำไปทำมารู้สึกว่าเราเริ่มทำงานไม่ทัน ก็เลยก็เลยออกหาเรียนรู้หาความรู้เกี่ยวกับการทำสมาร์ทฟาร์ม ไปตามงานการเกษตรต่างๆ หลายที่ เพื่อจะไปหาความรู้เพื่อจะไปหาความรู้แบบก็หามาเรื่อยๆ ได้ไปเจออาจารย์ ที่เป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับการทำ smart farm ที่งานเกษตร มทส. ขอเวลาอาจารย์ศึกษาเรื่องนี้ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง แล้วก็เอากลับไปทำที่แปลง ฝากพ่อกับแม่เปิดไม่ได้เลย เพราะว่าท่านจะเปิดแล้วก็จะทิ้งแล้วก็เย็นแล้วค่อยมาปิด ก็เลยเอาปัญหาตรงเนี้ยครับมาปรึกษากับอาจารย์แล้วก็เอาไปแก้ไข ทำที่สวนครับผมเองก็ทำมาเรื่อยๆ แต่ว่ายังมีข้อบกพร่อง สำหรับการทำงานระบบเปิดน้ำอัตโนมัติ คือปกติจะเอามาใช้สำหรับไล่แมลงช่วงตอนเย็น แมลงก็จะเริ่มเข้ามาทำลายพืชที่เราปลูกแต่ว่าเนื่องด้วยเราทำงานทั้งวันคือเหนื่อยล้า แล้วกลางคืนเราต้องพักผ่อน ก็เลยวางแผนว่าทำยังไงเราถึงจะสามารถพ่นปุ๋ยหรือยาตัวสารไล่แมลงตอนกลางคืนได้ ก็เลยมาปรึกษากับอาจารย์ ทำโมเดลที่เราคิดว่าแบบนี้มันจะทำได้ ก็ลองเอามาปรึกษากับก็ได้ให้แนวความรู้ ก็เอาไปเพิ่มเติมกับตัวแขนกลพ่นหมอกของเราได้ ผมเรียนช่างยนต์ แต่ก็เริ่มมาศึกษาคอมพิวเตอร์ ศึกษาเรื่องระบบกลไกต่างๆ คือไม่ว่าจะเรียนต่างสาขามา ก็สามารถเข้าเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ เพราะว่า เมื่อเรามีแรงบันดาลใจแล้ว เราจะศึกษาหาความรู้แล้วก็ชดเชยในสิ่งที่เราขาด เราก็เอาปัญหามาถามกับผู้รู้ที่แท้จริง ตัวอุปกรณ์ผมจะทำให้แบบว่าราคามันถูกให้ทุกคนได้ใช้ และงานบางอย่างเกษตรกรสามารถทำได้ไม่จำเป็นต้องจ้างทั้ง 100% สามารถทำรอได้ 70% อีก 30% น่าจะเป็นพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่มีความชำนาญแต่สามารถดูแลได้

9
นางสาวสุธิดา บัวสุขเกษม หัวหน้าสำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจจัดการความรู้และสื่อสา

ส่วน Work Shop การสร้างเครื่องมือ Smart Farm IOT  อยู่ภายใต้โครงการถอดองค์ความรู้การพัฒนาตำบลเข้มแข็ง ประจำปี 2566  โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจจัดการความรู้และสื่อสาร  ทำงานร่วมกับสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักเลขานุการยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง สำนักงานภาค 5 ภาค  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนารูปแบบ (Model) การพัฒนาตำบลเต้นแบบเข้มแข็งมิติคนมีคุณภาพ และการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี  สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามพื้นที่ ในการยกระดับตำบลเข้มแข็ง  ร่วมกันของขบวนองค์กรชุมชน  โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในการศึกษาเพื่อถอดองค์ความรู้ ภายใต้โครงการนี้ 

8

พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาตำบลเข้มแข็ง มิติคนมีคุณภาพ จำนวน 10 พื้นที่ และมิติการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงพื้นที่ จำนวน 10 พื้นที่   มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การสร้างเครื่องมือ Smart Farm IOT ใช้เอง จังหวัดอยุธยา  จังหวัดชุมพร และจังหวัดนครราชสีมาในครั้งนี้จัดรวม 10 ตำบล  ได้แก่  1) ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 2) ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  3) เทศบาลตำบลวังตะกอ  อำเภอหลังสวน  จังหวัดชุมพร  4) ตำบลบ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 5) ตำบลคลองน้อย อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6) ตำบลสำพะเนียง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  7) ตำบลปากช่อง อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  8) ตำบลวังกระทะ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 9) ตำบลโนนสมบูรณ์  อ.เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 10) ตำบลสามเมือง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา

10
12
13
14


author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ