กรุงเทพมหานาคร / วันนี้ 23 มีนาคม 2566 เจ้าหน้าที่สำนักงานบ้านมั่นคง และสถาปนิก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ร่วมเจ้าหน้าที่กับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย กรุงเทพมหานคร ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กระทรวง พม. เครือข่ายสลัมสี่ภาค เครือข่ายคนไรบ้าน ร่วมลงพื้นที่สำรวจอาคารร้างใน กทม. ทั้งหมดสามอาคารประกอบไปด้วย 1) อาคารย่านหัวลำโพงฝั่งวงเวียน 22 กรกฎา ตึกร้าง 3 ชั้น 2)อาคารร้างตั้งอยู่บริเวณจุดลงทางด่วนพระราม4 แยกมหานคร ออกแบบการบริหารจัดการ 3) อาคารร้างย่านรามคำแหง 81 โดยการสำรวจในวันนี้มีเป้าหมายในการสำรวจโครงสร้างที่จะพัฒนาไปเป็นที่เช่าอยู่อาศัยของคนจนเมืองในราคาถูกลดปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำที่อยู่อาศัยในเมือง
สืบเนื่องมาจาก ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา มา มีการประชุมคณะอนุกรรมการบ้านมั่นคงและการจัดการที่ดิน ครั้งที่ 3/2566 ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ถนนนวมินทร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยมีนางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ประธานคณะอนุกรรมบ้านมั่นคงฯ เป็นประธานการประชุม มีผู้เเทนหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาพัฒน์ กระทรวง พม. เครือข่ายชุมชนเมืองและชนบท และเจ้าหน้าที่ พอช. เข้าร่วมประชุม
โดยที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบโครงการต่างๆ ดังนี้ 1.โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบท จำนวน 469 โครงการ 448 พื้นที่ งบประมาณรวม 24,764,400 บาท
2.โครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการพัฒนาคนโดยใช้ศูนย์เด็กเล็กเป็นฐาน งบประมาณจำนวน 6,000,000 บาท
3. โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการอาคารทิ้งร้างเพื่อพัฒนาเป็นที่พักอาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย 500,000 บาท
4.โครงการบ้านพอเพียง จำนวน 12 โครงการ รวม 500 ครัวเรือน งบประมาณ 10,450,000 บาท และงบฯสนับสนุนค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างเครือข่ายชาวเลอูรักลาโว้ย เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เกาะห่างไกล จำนวน 160,000 บาท และ
5.โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคงเมืองและชนบท จำนวน 9 โครงการ 1,449 ครัวเรือน (อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงการและงบประมาณ)
ซึ่งในหัวข้อที่ 3 คือการใช้อาคาร-ที่ดินร้างพัฒนาที่อยู่อาศัยคนจนเมือง
โครงการศึกษาเชิงปฏิบัติการอาคารทิ้งร้างเพื่อการพัฒนาเป็นที่พักอาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย โครงการนี้มีแนวคิดจากคนจนเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ต้องทำมาหากินอยู่ในเมือง เช่น ลูกจ้างบริษัทห้างร้าน รปภ. แม่บ้านทำความสะอาด ขายอาหาร รถเข็น เก็บของเก่าขาย ฯลฯ แต่ที่อยู่อาศัยในเมืองมีราคาแพง คนจนเข้าไม่ถึง ต้องอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรืออยู่นอกเมือง มีภาระเรื่องการเดินทาง
โครงการจึงมีโมเดลการพัฒนาที่อยู่อาศัย 3 รูปแบบ คือ 1.ปรับปรุงห้องว่าง บ้านว่าง ศูนย์ชุมชน หรือสร้างใหม่ในที่ดินว่างของชุมชน จัดทำเป็นห้องเช่าราคาถูก ดำเนินการโดยชุมชนบ้านมั่นคง
2.พัฒนาตึกร้างในเมือง ให้เป็นห้องเช่าราคาถูก โดยการประสานงานกับเจ้าของอาคาร เช่น ธนาคาร สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ หน่วยงานในท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร ฯลฯ และ
3.สร้างใหม่ โดยใช้ที่ดินของหน่วยงานต่างๆ เช่น ที่ดินสาธารณะ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ฯลฯ โดยเช่าที่ดินเพื่อนำมาทำห้องเช่าราคาถูก
นพพรรณ พรหมศรี เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เล่าว่าการลงสำรวจพื้นที่วันนี้เป้าหมายในการสำรวจอาคารร้าง ว่าสามารถปรับปรุงอาคาร ให้เป็นที่อยู่อาศัยราคาถูกสำหรับ ผู้มีรายได้น้อยระดับล่าง ที่ไม่ได้มีเงินเดือนหรือมีอาชีพที่มั่นคง ที่อยู่อาศัยอยู่ในราคาที่เขาสามารถจ่ายไหว จะได้ไม่ต้องไม่ต้องเป็นคนไร้บ้าน โครงการนี้พัฒนามาจากการทำงานร่วมกับคนไร้บ้าน พอพวกเขาพอจะมีรายได้มีอาชีพบ้าง ก็อยากจะมีที่อยู่อาศัย ซึ่งจากที่สำรวจข้อมูล ปกติเขาต้องเช่ารายวันแถวตลาด ซึ่งมีค่าเช่าค่อนข้างแพง แล้วก็ส่วนนึงโครงการบ้านมั่นคง พอช. ก็เป็นโครงการที่ดี รองรับคนจนในชุมชนส่วนนึงอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าคนกลุ่มนี้ ศักยภาพด้านรายได้เนี่ยเขายังเข้าไม่ถึงในแบบบ้านมั่นคง ของ พอช. ก็เลยเห็นช่องว่าง จะพัฒนาเรื่องที่อยู่อาศัยยังให้รองรับคนกลุ่มนี้ ที่เป็นกลุ่มคนไร้บ้านที่อยากจะมีที่อยู่อาศัย กับกลุ่มที่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่เขาเช่าห้องราคาถูกอยู่ ในเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มากพอสมควร โครงการนี้เลยถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เขาได้มีผู้อาศัยที่ที่มั่นคงนอยแล้วก็จะได้ทำอาชีพทำงาน ไปแล้วก็สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้มั่นคง ยกระดับการพัฒนาคณภาพชีวิตขึ้นมา ดีกว่าวิถีเดิมที่เป็นคนไร้บ้าน
ซึ่งในวันนี้ เครือข่ายคนไร้บ้านได้ไปสำรวจบริเวณ ใกล้เคียงกับสถานีรถไฟหัวลำโพง และบริเวณวงเวียน 22 ซึ่งเป็นย่านเดิมที่พี่น้องคนไร้บ้านเขาอยู่ แล้วก็อีกตึกนึงก็คืออยู่ที่ซอยรามคำแหง 81 อยู่ระหว่างถนนรามคำแหงอยู่ระหว่างซอยรามคำแหง 81 และ 83 ก็จะมีอาคารร้างที่มี คนที่เขาไม่ได้มีที่อยู่อาศัย เข้ามาอยู่ปรับปรุงไปเป็นบ้านก็อยู่กันมั่นคงอยู่ในในตัวอาคาร อยู่กันมั่นคงอยู่กันจนเกือบร้อยครอบครัวเหมือนชุมชน อันนี้ก็เป็นรูปแบบสำหรับคน เขาพอพยายามหาที่อยู่อาศัยอยู่เอง อันนี้มันสะท้อนได้ว่าจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เข้าไม่ถึงอาศัยถึงแม้จะเป็นโครงการของรัฐในราคาถูกก็ตาม ก็เลยมีความจำเป็นต้องคิดนโยบายขึ้นมารองรับคนกลุ่มนี้ ก็ถือว่าเป็นนโยบายนำร่องที่เริ่มทดลองหาผู้กระทำแล้วก็ลองพัฒนาการว่านโยบายนี้จะต่อยอดไปสู่ นโยบายของหน่วยงานท้องถิ่นที่จะมีมีความชัดเจนมาสนับสนุนโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้เช่าห้องราคาถูกในเมืองได้ยังไง
ชิดชัย พรหมรัตน์ ผู้นำชุมชนตึกร้างสิรินเพลส ชุมชนย่านซอยรามคำแหง 81 เล่าว่า ตนได้เข้ามาอยู่ พ.ศ. 2547 อาศัยอยู่มาแล้วกว่า 19 ปี แล้วก็ปรับปรุงกันเองไปเรื่อยๆต่อเติมอยู่กันเอง ไม่มีการเก็บค่าเช่า มีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าน้ำค่าไฟให้กับผู้มีอุปการะคุณ ที่ให้เราเชื่อมาใช้ชั่วคราว ตอนนี้ในชุมชนตึกร้างมีผู้อยู่อาศัยกว่า 300 คน ประมาณ 100 ครัวเรือน เรื่องคุณภาพชีวิต คนในชุมชนก็รับจ้างทั่วไป หาเช้ากินค่ำ อยู่แบบมีความสุขตามอัตภาพ ปัจจุบันก็อยากให้มีการพัฒนาเรื่องอาชีพของคนในชุมชน ถ้าในอนาคต มีโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของคนใจให้มั่นคงแต่ต้องเสียค่าเช่า ทางชุมชนก็ต้องสำรวจเรื่องความสมัครใจเพราะคนในชุมชนเรามีรายได้ไม่มาก
ทั้งนี้โครงการมีข้อเสนอให้สร้างที่อยู่อาศัยเป็นโครงการนำร่อง เช่น ใช้ที่ดินว่าง ห้องว่าง ที่บริเวณอาคารร้างย่านหัวลำโพง วงเวียน 22 จุดขึ้นลงทางด่วนพระราม 4 บ่อนไก่ ซอยรามคำแหง 81 ฯลฯในการพัฒนาคุณภาพชีวติคนไร้บ้าน ให้มีสิทธิในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย เพื่อสร้างรูปธรรมการแก้ไขปัญหาต่อไป