วิถีคนเลี้ยงไก่ ประดู่หางดำพื้นบ้าน

วิถีคนเลี้ยงไก่ ประดู่หางดำพื้นบ้าน

       ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่เป็นสายพันธุ์ไก่พื้นบ้าน ตัวผู้จะมีลักษณะหน้าแดง หงอนแดง ส่วนขนหน้าแข้งเป็นสีดำ ตัวเมียหน้าออกแดงเรื่อ ๆ ขนหน้าแข้งก็จะมีสีดำ ฟาร์มนี้จะเลี้ยง และพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเอาเนื้อเป็นอาหาร โดยใช้เทคนิคการผสมเทียม  แต่ละสัปดาห์ฟักได้ 5,000 ตัว ทั้งตู้ฟักและตู้เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกษตรกรพัฒนาเอง 

ฟาร์มไก่นี้จะใช้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์อายุ 6-7 เดือนขึ้นไปและมีอายุการใช้งาน 15 เดือนก่อนปลดระวาง ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 70 วัน ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้  ขายได้ทั้งที่ตลาดชุมชนจนถึงโมเดิร์นเทรด ขายได้ทั้งเนื้อ ไข่ และมูลไก่ เกษตรกรเป็นผู้กำหนดราคา และไข่ที่นำไปฟักเป็นลูกเจี๊ยบยังไม่ได้กินอาหารจะขาย ตัวละ 20 บาท ฟักได้อาทิตย์ละ 4-5 พันตัว มีรายได้อาทิตย์ละ 100,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่ดีอีกทางหนึ่ง ของเกษตรกรผู้เลี้ยง

     ไก่ประดู่หางดำเป็นไก่พื้นเมืองไทยสายพันธุ์แท้ พัฒนาโดยกรมปศุสัตว์เมื่อประมาณปี พ.ศ.2548  นำมาคัดเลือกเป็นสายพันธุ์ 4 สายพันธุ์ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ทำ 4 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ สายพันธุ์ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่

พยายามคัดเลือกสายพันธุ์ให้เป็นสายพันธุ์แท้นะครับ

คุณลุง ซิมโอน ปัญญา เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่ และพันธุ์ผสม

         ไก่ประดู่หางดำจริง ๆ มีอยู่แล้วและเป็นสมบัติของประเทศไทย กระจายอยู่ในประเทศไทย เพียงแต่ว่าจะเป็นลักษณะของพันธุ์ผสม จึงคัดเลือกสายพันธุ์ให้เป็นสายพันธุ์แท้ที่มีลักษณะที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษของสายพันธุ์ เช่นได้แก่ ปากดำ แข้งดำ พอตัวผู้จะสีประดู่ หางสีดำเราเลยเรียกว่าไก่ประดู่หางดำ

          วัฒนธรรมของชุมชน ก็จะมีการเลี้ยงบรรพบุรุษนะ ก็ต้องใช้ไก่นะ อย่างเช่นทางภาคเหนือเองก็จะมีเลี้ยงบรรพบุรุษเดือน 9 เขาก็ต้องใช้ทุกบ้านเลย ก็ต้องใช้ไก่ดังนั้นเราจะเห็นว่าไก่พื้นเมือง

อยู่คู่กับวัฒนธรรมชาวบ้าน วัฒนธรรมล้านนา ทั้งอาหารและการดำรงชีวิตมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว  แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ตอบโจทย์เขาเลยก็คือว่าไก่พื้นเมืองที่ผ่านมามันเลี้ยงไม่เป็นระบบ เลี้ยงไม่สม่ำเสมอ ปริมาณไม่สม่ำเสมอ คุณภาพก็ไม่สม่ำเสมอนะ ดังนั้นเวลาเขาจะกินไก่สักตัวเนี่ยหาซื้อไม่ได้

      ไก่พื้นเมืองเองเนี่ยเขาจะค่อนข้างจะปรับตัวได้ง่ายกับรูปแบบการเลี้ยงในชนบท แล้วสามารถใช้วัตถุดิบอาหารในชนบทได้นะ ยกตัวอย่างเช่นหญ้าเนเปียร์  เช่นแหนแดงนะ 

เช่น หนอนแมลงสาบเสือเราสามารถใช้วัตถุดิบต่าง ๆ เหล่านี้นำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ได้ รวมไปถึงรูปแบบการเลี้ยงเนี่ย เขาเหมาะสมที่จะเลี้ยงในรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยกึ่งอิสระ ก็มีตัวโรงเรือนนะ แล้วก็มีพื้นที่ปล่อยอิสระที่มีรั้วรอบขอบชิด ซึ่งไก่พื้นเมืองเนี่ยสามารถที่จะแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ แล้วทำให้ไก่เขามีความสุขซึ่งก็จะสะท้อนกลับไปที่รสชาติของเนื้อไก่ด้วย

      ไก่บ้านทั่วไป อาจจะเลี้ยง 8 เดือน 1 ปีถึงจะได้ 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นไก่ประดู่หางดำที่เรานำมาเลี้ยง จะได้เลี้ยงประมาณซัก 3 เดือนจะได้น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม กับในภาคเหนือเราเอง จริง ๆ ไก่พื้นเมืองเนี่ยเป็นของที่คู่กับวัฒนธรรมของท้องถิ่นไทยไม่ว่าจะเป็นประเพณีของชาวล้านนาเองนะครับอาหารวัฒนธรรมอาหารไม่ว่าจะเป็นลาบไก่แกงแคไก่ใช่ไหมครับยำจิ้นไก่ก็ต้องใช้ไก่พื้นเมืองนะครับไก่เนื้อที่เลี้ยงในฟาร์มอาหารพื้นเมืองนะครับดังนั้นสิ่งที่จะตอบโจทย์อาหารพื้นเมืองก็คือวัตถุดิบอาหารโปรตีนของพื้นเมืองเองนั่นก็คือไก่พื้นเมืองประดู่หางดำ

      ตอนนี้เรามีเกษตรกรที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งหมดที่ในงานวิจัยนี้อยู่ 13 กลุ่ม เกษตรกรทั่วภาคเหนือ เชียงใหม่เองก็จะมีกลุ่มใหญ่อยู่ที่. กลุ่มของสันทราย กลุ่มจอมทอง และการที่อำเภอฝาง ทั้ง 13 กลุ่มก็มีเป้าหมายการผลิต ในปีที่แล้ว ได้ 5 แสนกว่าตัว ปีนี้เราตั้งเป้าไว้ที่ 1 ล้านตัวต่อปี

AUTHOR : เจริญชัย ตรีธนะกิตติ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ