พอช. จับมือ 19 หน่วยงาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน MOU ขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัย แก้ไขปัญหาความยากจน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสให้มีความสุข ‘Home of Happiness’

พอช. จับมือ 19 หน่วยงาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน MOU ขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัย แก้ไขปัญหาความยากจน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสให้มีความสุข ‘Home of Happiness’

แม่ฮ่องสอน/(16-17มีนาคม2566) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)  ร่วมกับ หน่วยงานภาคีพัฒนา จังหวัดแม่ฮ่องสอนจัด เวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) โครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัย แก้ไขปัญหาความยากจน และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสให้มีความสุข จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีนายเชษฐา  โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานในพิธี ผู้เข้าร่วมประกอบไปด้วย นายแฉล้ม ทองเกลา พมจ.แม่ฮ่องสอน นางสาวสุวิมล มีแสง ผช.ผอ.พอช.สำนักงานภาคเหนือ หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนในแม่ฮ่องสอน เข้าร่วมจำนวน 200 คน ณ สวนหมอกคำรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

2

บันทึกความร่วมมือนี้การจัดการตำบลโดยใช้บ้านเป็นเครื่องมือ แล้วขยายไปสู่สัมมาชีพในพื้นที่ สู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ไม่ใช่แค่การมุ่งหน้าแก้ไขปัญหาคามยากจนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งเน้นไปสู่การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเป็นสำคัญ 9 ชนเผ่า 13 กลุ่มชาติพันธุ์ และบันทึกความร่วมมือนี้มีระยะเวลาในความร่วมมือ 5 ปี

3

นายเชษฐา  โมสิกรัตน์

นายเชษฐา  โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า แนวทางในการพัฒนาแม่ฮ่องสอนมีมากที่ทำให้พี่น้องประชาชนที่ยังมีคุณภาพชีวิตที่ยังไม่ได้มาตรฐานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งเรื่องทำมาหากิน ที่อยู่อาศัย สุขภาพกายใจ การทำงานของ พอช. นั้น ใช้พลังทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เข้ามาร่วมกันในการผนึกพลังแก้ปัญหาให้ประชาชนนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดี “การพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แนวทางของ พอช. และเครือข่ายที่ทำ หัวใจสำคัญคือให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการพัฒนา จึงจะเกิดความสุข ความสำเร็จนั้นจะต้องสานต่อ ให้ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการตนเอง สำหรับหน่วยงานที่บูรณาการนั้น เราต้องพยายามดึงกลุ่มเป้าหมายเข้ามา ฟังประชาชนให้เยอะๆ จะทำให้เราได้เรียนรู้จากพี่น้องประชาชน

4

นายเชษฐา  กล่าวต่อไปอีกว่า “บ้านแห่งความสุข” (Home of Happiness) แม้จะอยู่ในถิ่นทุรกันดาร แต่เป็นบ้านที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นมาให้ หลายโครงการที่เราดำเนินการนั้นเป็นเรื่องที่ดี ทำให้ประชาชนมีความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตของเขาอยู่ แม่ฮ่องสอนนั้น เกือบ 90% เป็นพื้นที่ป่า รัฐเป็นเจ้าของ โจทย์สำคัญคือทำอย่างไรให้เขาอยู่ในพื้นที่ป่าได้ ดำรงอัตลักษณ์วิถีชีวิต อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีอิสระในการใช้ชีวิต คก.พอช. มีหลักคิดหลายอย่างที่เป็นแนวทางที่ถูกต้อง ส่วนวิธีการจะต้องทำด้วยความเข้าใจในวิถีบริบทของพื้นที่ เชื่อมั่นว่าเครือข่ายที่มาร่วมทำงานน่าจะเป็นภาคีสำคัญในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แม่ฮ่องสอนน่าจะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เห็นผลรูปธรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จุดแข็งของราชการคือมีเงิน มีคน มีกม. เอกชน มีความคล่องตัว มีเงิน มีพลังความคิด และภาคประชาชน ที่เป็นพลังสำคัญในการเกาะติดพื้นที่ และหากเราทำได้ก็จะเป็นต้นแบบและให้ที่อื่นมาร่วมเรียนรู้กับพวกเราต่อไป

5

นายแฉล้ม  ทองเกลา

นายแฉล้ม  ทองเกลา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการดำเนินงานผ่านความร่วมมือของ 20 หน่วยงาน มีวัตถุประสงค์ในการผนึกกำลังทางสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน มีการบูรณาการระบบข้อมูลและแผนงานเป้าหมายที่ครอบคลุมทุกมิติอย่างเป็นองค์รวม ส่วนการทำความร่วมมือ หรือ  mou ที่ดำเนินงานในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยแต่นอกจากการสร้างบ้านแล้วนั้น ก็มีงาน มีเงิน มีรายได้ ให้ครอบครัวมีความสุข ไม่มีปัญหาความรุนแรง พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเหล่านั้นด้วย จึงต้องบูรณาการและทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน

6

นายกิตติศักดิ์  วันทา

นายกิตติศักดิ์  วันทา ผู้ประสานงานเครือข่ายการพัฒนาที่อยู่อาศัยแม่ฮ่องสอน  กล่าวว่า แม่ฮ่องสอนเป็นเมืองที่มีคนจน 4 ประเด็น คือ การศึกษา มีสัดส่วนที่เยอะที่สุด มีรายได้น้อย รายได้ที่มีไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว สุดท้ายปัญหาด้านสุขภาพ มีกระบวนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน นอกจากจะมีหน่วยงานราชการที่มาสนับสนุนแล้ว ยังมีภาคประชาชนที่มีการขับเคลื่อนงานพัฒนา ด้วยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน 1) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 2) การพัฒนาอาชีพ 3) สวัสดิการชุมชน 4) การพัฒนาคน ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง มีการพัฒนาอาชีพ สิ่งแวดล้อม กองทุนสวัสดิการชุมชน การจัดการที่ดิน และมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นจุดเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานร่วม เป้าหมายในการทำข้อมูลเพื่อนำมาสู่การขับเคลื่อนงานพัฒนา เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในเมืองแม่ฮ่องสอน สภารูปธรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิต แม่ฮ่องสอนมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ครัวเรือนยากจน มีการเลือกชุมชนเปราะบาง จัดทำฐานข้อมูลทุกมิติร่วมกับภาคีต่างๆ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผ่านกระบวนการสำรวจข้อมูล และเสนอรวบรวมข้อมูลในการดำเนินการในระดับจังหวัด

7

ส่วนหน่วยงานที่ร่วม MOU ประกอบไปด้วย 1.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 2.ที่ทำการปกครองจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3.หอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4.องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน 5.สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 6.สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดแม่ฮ่องสอน 7.สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8.สำนักงานแรงงาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 9.สำนักงานพาณิชย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 10.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน 11.สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน 12.สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน   13.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 14.สำนักงานประมง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 15.สำนักงาน ก.ศ.น.จังหวัดแม่ฮ่องสอน 16.วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 17.สำนักงานเหล่ากาชาด จังหวัดแม่ฮ่องสอน 18.เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 19.เครือข่ายสวัสดิการชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 20.สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

10
8


author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ