ฉะเชิงเทรา / พฤหัสบดีที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมบางแก้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมจัดเวที เวทีการประชุมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสริมสร้างสังคมสุจริตและต่อต้านการทุจริต เปิดเวทีด้วยการกล่าวต้อนรับโดย นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราและ นายธนพัฒน์ เจียรสถิตย์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวรายงานโดย นายกฤษณะ ศรีมณฑา ผู้ประสานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวเปิดการประชุม โดย นายประชา เตรัตน์ กรรมการ สปท. ป.ป.ท. จากนั้นผู้แทนคณะประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนดำเนินการเปิดเวทีอภิปราย “สานพลังชุมชน เสริมสร้างสังคมสุจริตและต่อต้านการทุจริต” โดย
๑. สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
กล่าวถึงผลการประเมิน ITA ของจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัด
ข้อมูลสถานการณ์สำคัญต้านการทุจริตของจังหวัด
รวมถึงกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน (การดำเนินงาน STRONG)
๒. สำนักงาน ปปท. เขตพื้นที่ ๒
กล่าวถึง สถานการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบภาครัฐในพื้นที่ การส่งเสริมธรรมาภิบาลและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ภาคประชาสังคม ในกิจกรรมสำคัญและการดำเนินงานศูนย์ประสานงานฯ
๓. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
กล่าวถึงการตรวจเงินแผ่นดิน สิทธิ หน้าที่ ของผู้มีส่วนร่วมรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐตัวอย่างหลักการตรวจเงินแผ่นดินสากลที่เชื่อมโยงกับภาคประชาชน
๔. สํานักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวถึงนโยบายการป้องกันปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบจังหวัด การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการสอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติ ภารกิจของหน่วยงานของรัฐ ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๕. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวถึงการส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง สาระสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ใหม่) การมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเบาะแสเพื่อป้องกันทุจริตการเลือกตั้ง
๖.พอช.โดยนายยศศรัณย์ ก่อเกิด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการชุมชน สำนักยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวถึง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พอช.ได้ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตมาตลอด เมื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) จัดประกวดรางวัลสีขาวในปี 2565 เครือข่ายภาคประชาชนก็ได้รับรางวัล จำนวน 11 รางวัล จากการประกวดทั้งหมด 23 รางวัล
ส่วนการสนับสนุน งบประมาณ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อระดมความคิดเห็นต่อแนวทาง วิธีการขับเคลื่อน ที่จะให้มีการขับเคลื่อนการป้องกันทุจริตโดยชุมชนเป็นแกนหลัก 2.ต้องการเห็นพลังการขับเคลื่อน movement ของภาคประชาชน โดยมีกลไก ส่วนกลาง ระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด และระดับภาค และ 3.เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่
๗.นายเจษฎา มิ่งสมร สภาองค์กรชุมชน กล่าวถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรชุมชนให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนโดยการบูรณาการร่วมกับหุ้นส่วนพัฒนาในระดับตำบล จนถึงจังหวัด
ในการจัดโครงการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการร่วมกันกับเครือข่ายภาคประชาชน ได้แก่
-ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
-ชมรมSTRONGจิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดฉะเชิงเทรา
– เครือข่ายป้องกันการทุจริตภาคประชาสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา
-ศูนย์ประสานเครือข่ายภาคประชาสังคมในการต่อต้านการทุจริตจังหวัดฉะเชิงเทรา ปปท.เขต2
-สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ -สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา
-คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดฉะเชิงเทรา
-สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 2
-สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
-สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขต 2
-องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา
-พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดฉะเชิงเทรา
-สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน -องค์การบริหารท้องถิ่นทุกตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยมีการประชุมวางแผนขับเคลื่อนการป้องกันและต่อต้านการทุจริตโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้
1.การสร้างการรับรู้และจิตสำนึกประชาชนในพื้นที่
2.การสร้างระบบพื้นที่เปิดเผยโปร่งใส
3.การสร้างธรรมาภิบาลการดำเนินงานของเครือข่ายภาคประชาชน องค์กรชุมชน
4.การปฏิบัติการเฝ้าระวังและต่อต้านการทุจริตในพื้นที่ ต่อไป
และได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ โครงการป้องกันและต่อต้านการทุจริต โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและองค์กรชุมชนใน23 ตำบลของจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป
งานสื่อสารประชาสัมพันธ์งานขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา….รายงาน