NIA จับมือภาคีวิชาการ และพอช. หนุน 9 วิสาหกิจชุมชนร้อยเอ็ด 6.2 ล้านบาท ยกระดับหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2566

NIA จับมือภาคีวิชาการ และพอช. หนุน 9 วิสาหกิจชุมชนร้อยเอ็ด 6.2 ล้านบาท ยกระดับหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2566

ร้อยเอ็ด/ 16 มีนาคม 2566 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA ร่วมกับอำเภอปทุมรัตต์ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอำเภอปทุมรัตต์ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลอำเภอปทุมรัตต์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดเวทีลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2566 ซึ่งมีนายคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. นายสว่าง สุขแสง ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนภาคอีสาน ผศ.ดร.ปรีชา ศรีประภาคาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมเป็นสักขีพยาน และผู้แทนวิสาหกิจชุมชน เจ้าหน้าที่ NIA ร่วมบันทึกความร่วมมือ โดย พันจ่าโท คนึง พูลพิพิธ นายอำเภอปทุมรัตต์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้

S 115843102

โดยในช่วงเช้า ได้ลงพื้นที่ตำบลดอกล้ำ 1 ในตำบลที่ได้รับการสนับสนุน เพื่อศึกษาระบบบริหารจัดการน้ำแบบไฮโดรกริด ผสมผสานสารปรับปรุงดินสำหรับการปลูกดอกพลับพลึง ณ บ้านหนองแต้ ตำบลดอกล้ำ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ถัดจากนั้นในช่วงบ่าย ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอปทุมรัตต์ ได้มีพิธีลงนามทำสัญญาโครงการสำหรับชุมชนสาเกตนคร จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม ปี 2566

นายสว่าง สุขแสง ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนภาคอีสาน พอช. กล่าวว่า ในการพัฒนาโครงการร่วมกับ NIA โดยการหนุนเสริมของ พอช. เริ่มจากการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ ประมาณ 30 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มาร่วมเสนอความต้องการนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพ รายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โดย NIA จะสนับสนุนงบประมาณไม่เกิน 1,500,000 บาท ต่อ 1 วิสาหกิจชุมชน ซึ่งในวันนั้นได้มีการร่วมวิเคราะห์ และคัดกรองจนเหลือ 9 โครงการ 9 วิสาหกิจชุมชน ที่ดีที่สุด ภายใต้ 5 ประเด็นงาน ซึ่งแต่ละโครงการเป็นโครงการที่เชื่อมโยงถึงกัน ตอบโจทย์ เชื่อมโยง เช่นกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ นำฟางข้าวจากเกษตรแปลงใหญ่ มาทำน้ำหมักเพื่อส่งให้กับกลุ่มปลูกผัก ปลูกข้าว กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ หรือฟางก็ส่งให้กลุ่มเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

S 115843091

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายวิสาหกิจอำเภอปทุมรัตต์ เราได้ร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเครือข่ายจะมุ่งเป็น SE ธุรกิจเพื่อสังคมใน 5 ปี โดยจะใช้นวัตกรรมนำไปส่การแก้ปัญหาความยากจน ยกให้เป็น “ปทุมรัตต์โมเดล” ถือเป็นประวัติศาสตร์ ความภาคภูมิใจ ที่ทุกภาคส่วนร่วมกัน ตอนที่เราได้รับอนุมัตินั้นพี่น้องมีความตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เพราะชาวบ้านพัฒนาโครงการกันเอง ที่ได้รับการสนับสนุนก็มาจากความมุ่งมั่น ความจริงใจจากพื้นที่ โครงการที่ได้รับการสนับสนุน นี่คือเครื่องมือที่ทำให้เราได้ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากต่อไปได้

S 115843081

พันจ่าโท คนึง พูลพิพิธ นายอำเภอปทุมรัตต์ กล่าวว่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากของคนปทุมรัตต์ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ NIA ได้มาสนับสนุน เพราะถ้ากลุ่มวิสาหกิจเข้มแข็ง เศรษฐกิจปทุมรัตต์ก็จะเข้มแข็ง เริ่มจาก 9 กลุ่ม และจะขยายต่อยอดไปข้างหน้า ที่สำคัญเป็นการตอบโจทย์ของแต่ละกลุ่ม และเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ทำงานร่วมกัน ซึ่งแนวทางในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ในฝ่ายปกครอง ยังมีทัศนะด้านนี้ไม่กว้าง เมื่อได้ร่วมกับคนทำจริง กับกลุ่มวิสาหกิจ จะช่วยให้อำเภอมีแนวทางการพัฒนาได้กว้างขึ้น เพราะในมิติเศรษฐกิจยังไม่มีข้อสั่งการนโยบายลงมา

จาก 9 กลุ่มวิสาหกิจ ปทุมรัตต์ยังมีอีกหลายกลุ่มมากที่ยังขาดการพัฒนา ซึ่งต้องเริ่มจากการเปลี่ยนทัศนะคติ ยอมรับนวัตกรรมการพัฒนา แต่ยังขาดทุนปัจจัยการผลิต สำคัญที่เกษตรกรต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องเปลี่ยนจากการรอการสงเคราะห์จากหน่วยงาน การที่ NIA สนับสนุนในครั้งนี้ จะร่วมกับทีมพัฒนา นำไปคิด ไปต่อยอด ในการพัฒนาอำเภอปทุมรัตต์อย่างเป็นองค์รวม ยอมรับว่ากระบวนการคิด แนวการพัฒนาของฝ่ายปกครองที่ดูหลายเรื่อง ต้องมีคนที่มีความตั้งใจจริงมีประสบการณ์มาร่วมในการพัฒนาในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้งบประมาณเกิดประสิทธิผล และความคุ้มค่ามากที่สุด

S 115843106

นายคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม กล่าวว่า NIA เป็นคนจุดประกาย และร่วมมือกับหน่วยงานภาคี สถาบันการศึกษา และพอช. เพื่อสนับสนุนชุมชน ในการนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาชุมชน ชุมชนปทุมรัตต์เริ่มทำเป็นคนแรก เป็นกลุ่มที่นำร่อง ที่มีความตั้งใจ ต้องได้รับการสนับสนุน เพราะท่านคือหุ้นส่วนในการผลักดันโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมให้ประสบความสำเร็จ และยั่งยืนต่อไป

อย่างไรก็ตาม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) NIA สนับสนุนโครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม จังหวัดร้อยเอ็ด รวม 9 โครงการ งบประมาณรวมทั้งสิ้น 6,283,500 บาท (หกล้านสองแสนแปดหมื่นสามพันห้าร้อยบาทถ้วน) ประกอบด้วย 1) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวด้วยกระบวนการยกระดับคุณค่าทางอาหาร (น้ำนมข้าวฮาง) วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลศรีสว่าง อ.โพนทราย 2) หมู่บ้านนวัตกรรมเซียนวัว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและวิถีชีวิตชาวอีสาน วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนตำบลหนองแคน 3) นวัตกรรมการผลิตอาหารสัตว์จากเศษฟางข้าว วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่บ้านหนองคู-โคกเพ็ก 4) แนวการเพิ่มผลผลิตการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรชุมชนอำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด (หลักสูตรการปลูกพืชอินทรีย์) 5) ระบบบริหารจัดการผักอินทรีย์ด้วยการบริหารจัดการผ่านเทคโนโลยีและการใช้สารชีวภัณฑ์และควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยศัตรูพืช วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคหมู่12 6) ระบบผลิตสารปรับปรุงดินและน้ำสกัดชีวภาพจากวัสดุเหลือใช้ วิสากิจชุมชนแปลงใหญ่ดงช้าง หมู่1 ต.โนนสง่า 7) โครงการยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนด้วยเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะเพื่อการเกษตร วิสาหกิจชุมชนพริกแดงแตงกวาถั่วลิสงอินทรีย์ชีวภาพ 8) ระบบการบริหารจัดการน้ำเกษตรแม่นยำเพื่อชุมชนเกษตรกร ด้วยเทคโนโลยี AI-IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและประหยัดพลังงาน วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่บ้านจานเหนือ และ 9) ระบบการจัดการน้ำเพื่อเกษตรด้วยระบบน้ำแบบไฮโดรกริดผสมผสานสารปรับปรุงดิน วิสาหกิจชุมชนไม้ดอกไม้ประดับบ้านหนองแต้

S 115843116
S 115843111
S 115843094

S 115843098

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ