พม. และ พอช. จัดเวทีบูรณาการความร่วมมือขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นกับภารกิจของกระทรวง พ.ม. ตั้งเป้าบูรณาการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

พม. และ พอช. จัดเวทีบูรณาการความร่วมมือขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นกับภารกิจของกระทรวง พ.ม. ตั้งเป้าบูรณาการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

นครศรีธรรมราช /  วันจันทร์ ที่ 13 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบนโยบายกระทรวง พม. และเปิดการประชุมเวทีการบูรณาการความร่วมมือเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นกับภารกิจของกระทรวง พม. โดย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้ให้แนวทางและทิศทางการสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง  หลังจากนั้น ดร.วิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค (ปฏิบัติการพื้นที่) ได้กล่าวถึงแผนการสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2566 โดยมีผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ พม. ทั้ง พมจ. 14 จังหวัด, สสว.10, สสว.11, ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเอง,  สำนักงานภาคใต้ พอช. รวมทั้งผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ผ่านระบบ Zoom Meeting และ ห้องอัมพาพันธ์แกรนด์ โรงแรมปุระนคร ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมแล้วมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 80 คนทั้งระบบ Online และ Onsite

2

ทั้งนี้ก่อนเริ่มเปิดงาน นายธนภณ  เมืองเฉลิม ผู้อำนวยการภาคใต้ ได้ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมและกล่าววัตถุประสงค์ในการจัดประชุมสำคัญ ดังนี้

  1. เพื่อใช้โครงการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย “บ้านพอเพียง”เป็นเครื่องมือพัฒนาและหนุนเสริมกลุ่มเปราะบางทางสังคม
  2. เพื่อสร้างทีมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ ตำบล/จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ภายใต้หน่วยงานกระทรวง พม.
  3. เพื่อใช้ Model การพัฒนาพื้นที่ ตำบล อำเภอ ขับเคลื่อนสู่แผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับจังหวัด
5
นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวง พม.

 โดย นายอนุกูล ปีดแก้ว ปพม. ได้ให้นโยบายใจความสำคัญไว้ว่า “กระทรวง พม. มุ่งขับเคลื่อนภารกิจกระทรวง พม. ด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 10 นโยบายพุ่งเป้า 7 โครงการสำคัญ (Flagship Project) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) พัฒนาศักยภาพคนและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวอย่างยั่งยืน 2) สร้างโอกาสและยกระดับการคุ้มครองทางสังคมสำหรับคนทุกช่วงวัย 3) พัฒนาทุนทางสังคม สร้างการมีส่วนร่วมเสริมเศรษฐกิจฐานราก สู่การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และ 4) มุ่งพัฒนาองค์กรให้มีสมรรถนะและผลสัมฤทธิ์สูงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล   โดยเป้าหมาย เน้นคาวมร่วมมือที่ยกระดับศักยภาพของครอบครัวและการแก้ไขปัญหาครัวเรือน และการคุ้มครองผู้เปราะบางทางสังคม ที่มีนัยยะสำคัญที่ต้องลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม และสร้างโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการและบริการพื้นฐานของรัฐ ทั้งการพัฒนาในระดับพื้นที่หรือชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งการเป็นหุ้นส่วนกับการทำงานทั้งเครือข่ายทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม  โดยเน้นการขับเคลื่อนองค์กร พม. ให้มีสมรรถนะสูง และมีความพร้อมระบบเทคโนโลยี และกฎหมายในการขับเคลื่อนงานในระดับชุมชนท้องถิ่นที่ต้องใช้เทคโนโลยีนำหน้าที่ให้การทำงานนั้นรวดเร็ว ควบคู่ไปกับการมีข้อมูลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เป็น Real time ภาพของ พม. และ พอช. ที่รวมงานกัน โดย พอช. ทำมากกว่าเรื่องบ้าน เรื่องที่อยู่อาศัยที่ พอช. ขับเคลื่อนเป็นนโยบายที่สำคัญของ พม. รวมการเคหะ ในภาพ พม. มีกลไกอื่นที่ทำให้งานระดับชุมชนมีประสิทธิภาพ และเติมเต็มร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ สภาเด็กและเยาวชน มีกลไกต่าง ๆ  มีกระบวนการชุมชนที่เข้มแข็ง และมีความจำเป็นใช้ในการใช้ศูนย์ช่วยเหลือสังคมเชื่อมโยงการทำงาน แม้วันนี้อาจะยังไม่สนิท แต่เราจำเป็นต้องพัฒนาต่อไป เลือกพื้นที่ดำเนินการร่วมกัน วันนี้เราจะใส่เสื้อโหลที่เหมือนกันไม่ได้ ฉะนั้นต้องเริ่มทำในพื้นที่วิกฤติ และพื้นที่มีความพร้อม อันเกิดจากความร่วมมือและเต็มใจของชุมชนและทุกภาคส่วน  เพื่อให้ในท้ายที่สุดจะเป็นความสำเร็จที่สมบูรณ์ทั้งบริบท ความพร้อม ความถนัด ปิดช่องว่างความวิกฤติของปัญหา เดินร่วมกันเต็มที่ ให้เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ไม่เป็นรูปแบบทำงานราชการที่มากไป แต่เราทำงานแบบมีส่วมร่วมกับภาคประชาชน ที่มีการเสริมพลังซึ่งกันและกัน หน่วยงานพม.ในพื้นที่ภาคใต้ต้องเห็นปัญหาของพี่น้องทั้งหมด เห็นร่วมกัน และคำนึงคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยใช้โอกาสในการแสวงข้อมูล ขับเคลื่อนงานเชิงยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนงานชุมชนไปด้วยกัน หัวใจที่จะทำให้พี่น้องชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงทั้งสถานการณ์ทั้งนอกและในประเทศ ท้ายนี้ ขอขอบคุณ ผอ.พอช. , ผอ.สสว.10 , ผอ.สสว.11 , พมจ. 14 จังหวัด และ ผู้ปกครองนิคม ที่มาประชุมกันในวันนี้ เพื่อบูรณาการความร่วมมือ การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย การพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดสวัสดิการชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างทีมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ ตำบล จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภายใต้กระทรวงเดียวกัน

4
นายกฤษดา สมประสงค์ ผอ.พอช.

    ต่อมา นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้กล่าวให้แนวทางและทิศทางการสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยเห็นได้จากวิสัยทัศน์ปี 2579 ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน   ตั้งเป้า ‘ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งเต็มพื้นที่ประเทศไทย และขับเคลื่อนบทบาทภารกิจของ พอช. ในการการสร้างความเข้มแข็งให้พื้นที่  โดยชุมชน เติมเต็มให้กลไกเกิดการขับเคลื่อน  โดยชุมชนท้องถิ่นและภาคี รวมทั้งการให้ความสำคัญกับรัฐบาลที่ใส่ทรัพยากรไปเป็นฐานและการทำงานโดยใช้เครื่องมือแต่ละประเด็นงานทั้งสภาองค์กรชุมชน สวัสดิการชุมชน เศรษฐกิจฐานราก และที่อยู่อาศัยในการหนุนเสริม และมีระบบการทำงาน 5 ระบบรูปธรรม อาทิ 1 ตำบล 1 แผน และแผนความร่วมมือจังหวัดบูรณาการ ฯ โดยเป้าหมาย 24 จังหวัด ยกตัวอย่างภาคใต้ อาทิ จังหวัดพังงา กระบี่ สตูล  ฯลฯ ที่จะต้องผ่านทาง พมจ. เพื่อไปสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด มี อบจ. เป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่มีการทำแผนและการทำงบประมาณจังหวัด โดยใช้โครงสร้าง กม. และให้เป็นไปตาม พรบ. สภา ที่ให้มีเวทีประชุมส่งต่อการพัฒนาแผนจังหวัดตามที่กำหนดไว้ โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบตายตัวแต่ให้เป็นไปตามจุดแข็งและความพร้อมแต่ละจังหวัด ครอบคลุมร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวของ อาทิ  บพท. , สกว, อว  ฯลฯ ทั้งนี้ พอช. การขับเคลื่อนการทำงานใหม่ของ พอช. จะมีการขับเคลื่อน 18 กลุ่มจังหวัด ตามเป้าหมายเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างชุมชน ตำบล ภูมินิเวศน์ โดยมีพื้นที่ในระดับตำบลและพื้นที่กลางในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้ขับเคลื่อนการทำงานได้เข้าร่วมสร้างระบบการพัฒนาร่วมกัน โดยเชื่อมร้อยทุกกลุ่ม บูรณาการทุกงาน และเข้าถึงกลุ่มคนทุกช่วงวัยโยงหน่วยงานในท้องถิ่น ท้องที่ และสถาบันทางสังคมเข้ามาร่วมกันพึ่งตนเอง สามารถจัดการการพัฒนาบนพื้นฐานการพัฒนาของตนเอง ภายใต้แผนงานของตำบล  และประเด็นสุดท้าย คือ การขับเคลื่อนงานนโยบายของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และคณะกรรมการสถาบันฯ อาทิ การขับเคลื่อนศูนย์เด็กปฐมวัยทั่วประเทศ และมีองค์กรชุมชนที่สนใจสมัครเข้ามาเป็นจำนวนมาก  , การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ,การสร้างโอกาสการเข้าถึงและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาผู้นำและยกระดับทุนมนุษย์ ที่ทำร่วมกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ รวมทั้งเมื่อวันที่ 10 -11 มีนาคม 2566 พอช. ได้มีจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำนโยบายคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ในการเน้นย้ำให้ พอช.สร้างกล้ามเนื้อขององค์กรทั้งการจัดกระบวนทัพในเรื่องของโครงการ การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาชุมชน การสร้างคนที่มีส่วนสำคัญในการร่วมพัฒนาในพื้นที่ ฯลฯ ที่จะนำไปการบูรณาการความร่วมมือ การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย การพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดสวัสดิการชุมชน ฯลฯ ในพื้นที่ ตำบล จังหวัด กลุ่มจังหวัดต่อไป

6
8

3
Messageimage 1678674136706

    รายงาน โดย  น.ส. พิชยาภรณ์ หาญวณิชานนท์ เจ้าหน้าที่บริหารงานข้อมูลอาวุโส

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ