พอช.กำหนดทิศทางในการสนับสนุนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

พอช.กำหนดทิศทางในการสนับสนุนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร / ระหว่างวันที่ 10- 11 มีนาคม 2566 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำนโยบายคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประชุมกลุ่มย่อยทบทวนการดำเนินงาน และกำหนดทิศทางในการสนับสนุนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของ พอช. ระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอเป็นนโยบายคณะกรรมการสถาบัน โดยมี คณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ กว่า 50 คน โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล  ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กชุมชน เป็นประธานในการสัมมนา ในครั้งนี้

2
นายกฤษดา  สมประสงค์ ผอ.พอช. ทางขวามือของภาพ

นายกฤษดา  สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน / ได้กล่าววัตถุประสงค์ของการประชุมและกล่าวต้อนรับที่ปรึกษาสถาบัน ผู้แทนคณะกรรมการ ผู้แทนคณะอนุกรรมการการ ผู้นำขบวนองค์กรชุมชน โดยในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทบทวนการดำเนินงาน และรวมกำหนดทิศทางงานพัฒนาในทุกประเด็นในทุกมิติเพื่อมุ่งเป้าให้เกิดการสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง รวมทั้งสอดคล้องกับออกแบบโครงสร้าง พอช. มุ่งเป้ าหมายให้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ตำบล ภูมิเวศน์ และประเด็นงาน อาทิ บ้านมั่นคง สภาองค์กรชุมชน สวัสดิการ เศรษฐกิจ การพัฒนาศักยภาพขบวน ฯลฯ

4
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันฯ 

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันฯ กล่าวว่า  20 ปี ให้หลัง ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายให้ดี เราจะเจอกับปัญหาใหญ่ ยิ่งเรื่องชุมชนกับชนบท ถ้าเราปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพ เจริญขึ้นเรื่อยๆ แต่ตรงกันข้ามกับต่างจังหวัดที่การหาอาชีพหรือการทำกินเป็นเรื่องยาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อล้ำ คำตอบในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญและดีที่สุดคือ ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ถ้าชุมชนเข้มแข็งเขาก็จะสามารถพึ่งพาตนเองได้ ยกตัวอย่างในเมืองไทย ที่ไหนมีชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนจะอยู่สบาย ที่ไหนไม่เข้มแข็งส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนี้สิน  เป้าหมายที่เราคุยกันคือการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ พอช.คือผู้นำของกระบวนการทั้งหมด เพราะ พอช.สามารถสร้างเซลล์ใหม่ในชุมชนได้ ถ้าเป็นหน่วยราชการปกติ จะสื่อสารกันได้แค่ตรงกลาง ไม่สามารถเข้าไปถึงในชุมชนด้วยความเป็นกันเอง แบบ พอช. อันนี้คือข้อได้เปรียบของเรา โครงการต่างๆ ของสถาบันฯ ถือเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน

4a8a5147

ดร.กอบศักดิ์ กล่าวต่อว่าปัญหาของทุกหน่วยงานคือการคิดแผนที่ดี แต่ขั้นตอนการลงมือทำมักมีปัญหา วันนี้เรามาออกแบบแผนงานร่วมกัน ใครถนัดอะไรวันนี้เรามาดูกัน เชื่อว่าภายใน 3 ปีนี้จะเห็นความเปลี่ยนแปลงแน่นอน วันนี้สิ่งที่เราจะมาร่วมออกแบบกันคือ เรื่องแรก 1.การจัดกระบวนทัพในเรื่องของโครงการ จะทำอย่างไรให้เราขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพได้ 2.จะเพิ่มขนาดของ พอช.อย่างไร เรื่องเงินหรืองบประมาณของสถาบัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก วิธีเก่าคือเราพยายามขอจากรัฐบาล หรือ พม. ซึ่งรัฐบาลมีงบจำกัด ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะเพิ่มงบประมาณ เราอาจจะต้องมองหางบประมาณจาก เอกชน หรืองบประมาณ ที่เกี่ยวข้องกับที่นั้นๆ เราอาจจะได้งบประมาณเพิ่มเติม เราควรจะทำข้อมูล หรือรวบรวม ว่ามีกองทุนที่ไหนบ้าง วิธีการขอทุนทำอย่างไร ทำอย่างไรให้เราเข้าถึง งบเหล่านี้ มีเงินเยอะขึ้น ไอเดียก็จะมากขึ้น สร้างความร่วมมือ การระดมเงิน 3.การสร้างคน ปัจจุบันผู้นำของเราเริ่มโรยรา ต้องสร้างคนรุ่นใหม่ สร้างผู้นำชุมชน ผู้บริหาร พอช. Up skill Re skill ควรมีโรงเรียนผู้นำชุมชน โรงเรียนผู้บริหาร สร้างคนของเราให้เข้มแข็งมากขึ้น สร้างเป็นเมล็ดพันธุ์ มองระยะยาว 20 ปี เขาจะเข้มแข็งและมาพัฒนาพื้นที่ต่อไป 4.โครงสร้างภายในขององค์กร ซึ่งเรื่องนี้เป็นเสาหลักขององค์กร 5.การปรับโครงสร้างภายนอกองค์กร เช่น เรื่องสวัสดิการชุมชน การทำกฎหมายออกมา ป่าชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ ในประเทศไทย เราไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พี่น้อง ผู้นำชุมชนราติดปัญหาตรงไหน ทุกปัญหาสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ ถ้าเราสามารถทำ 5 เรื่องนี้ได้ จะปลดล็อคอุปสรรคที่เป็นโซ่ตรวน ของเรา

3
นางสาวสมสุข  ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบัน

นางสาวสมสุข  ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบัน กล่าว การศึกษาแนวทางการปรับระบบการปฏิบัติงานและโครงสร้างการบริหารองค์กร ของ พอช. เราหันมาดู พอช. เรา ทำระบบแบ่งเป็น 5 ภาค เป็นนระบบนี้กันมานานพอสมควร เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยมีความสุข เหนื่อยล้า คนทำงานทำไม่ไหว จึงจำเป็นต้องจัดโครงสร้างใหม่ ให้เหมาะสมกับปัจจุบัน ที่มี่อยู่ ภาระที่ตกกับเจ้าหน้าที่ ทำให้เหนื่อย กลุ้มใจไม่มีเวลา ปัญหาเหล่านี้คือความจำเป็นในการจัดโครงสร้าง ในโครงสร้างที่จะเกิดขึ้นใหม่ ทำยังไงให้ชุมชนเองเกิดเป็นกลไก ให้ พอช.มากขึ้น ให้พื้นฐานในการจัดการตนเอง ฐานของชุมชนในจังหวัด ใช้เครื่องมือจาก พอช.ให้เขาทำงานร่วมกัน ให้เขาเป็นกลไกการพัฒนา จากชุมชน สู่กลุ่มจังหวัด ปัญหาของประเทศไทยคือ เครือข่ายเยอะเกินไป ต่างคนต่างทำ โครงสร้างของการทำงานพื้นที่ ทำระบบให้เชื่อถือได้ เชื่อมกับรัฐ เชื่อมกับแผนให้มากขึ้น ให้ขบวนจังหวัด บริหารงานให้มากขึ้น แนวสำคัญคือการคิดเรื่องโครงสร้างในครั้งนี้ ฉะนั้นในการปรับโครงสร้างดังกล่าว คือเราก็ต้องปรับทั้งชุด พัฒนาคน กลไก อย่างสร้างสรรค์

4a8a5365

นางสาวสมสุข ได้กล่าวเน้นย้ำทิศทางการหนุนเสริมขบวนองค์กรชุมชนและบทบาทของ พอช. เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง / ระบบจังหวัดและท้องถิ่น  ร่วมกำหนดนโยบายแผนงานกิจกรรมสู่การปฏิบัติการของสถาบันและงานพัฒนาเชิงพื้นที่ในการทำงานร่วมทุกระดับ

7

ต่อมาคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนกลุ่มเป้าหมาย ได้เข้าร่วม Workshop แบ่งกลุ่มระดมความเห็นตามประเด็นการพัฒนาในแผนปฎิบัติการ ดังนี้ 1.) การพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีระบบที่พัฒนาไปสู่การจัดการตนเอง 2.) การสานพลังความสัมพันธ์ของชุมชนท้องถิ่นและภาคเครือข่ายพัฒนาสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและนโยบาย 3.) การพัฒนาและเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้นำคนและขบวนองค์กรชุมชน 4.) การพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยได้แบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม แล้วแต่ความสนใจของผู้เข้าร่วม โดยมีทีม นายสังคม  คุณคุณากรสกุล และนายอุทัย อัตถาพร เป็นวิทยากรและดำเนินรายการ พร้อมร่วมกระบวนการและสังเคราะห์เนื้อหาที่สำคัญ

12
บรรยกาศระหว่างการจัด Workshop

โดยการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำนโยบายบอร์ดครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 มี.ค.66 เป็นการนำเสนอบทบาท ภารกิจ หน้าที่ของสถาบัน และแผนปฏิบัติการ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 นำโดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันฯ และคณะกรรมการสถาบันฯ , ผู้อำนวยการและคณะผู้บริหารสถาบันฯ ผู้แทนหน่วยงาน ภาคี ผู้แทนขบวนองค์กร และภาคประชาสังคม ร่วมระดมความคิด นำสู่การสังเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนในช่วงระยะเวลา พ.ศ. 2566-2569 ต่อไป

15

8
4a8a5350
4a8a5231
4a8a5321
13
4a8a5219


author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ