New Media Communications ( Nmc Up) & Stage Play เด็กสื่อใหม่กับละครเวที จะทำออกมาในรูปแบบไหน ไปดูกัน!!!

New Media Communications ( Nmc Up) & Stage Play เด็กสื่อใหม่กับละครเวที จะทำออกมาในรูปแบบไหน ไปดูกัน!!!

กว่าจะมาเป็นละครเวทีที่สมบูรณ์แบบนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

อันดับแรกเราจะมาเล่าให้ฟังกันก่อนว่า ละครเวทีเรื่อง ชมรม ไข(who)

ตอน เดอะฉำฉา เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้เกิดขึ้นจาก “ละครวิทยุ” ในรายวิชาการสร้างเสียงประกอบ SFX ( Sound Effect Creation For Digital ) ซึ่งมีอาจารย์ที่สอนในรายวิชานี้ คือ อาจารย์ ณฐไนย เกษแก้ว (อ.ไนย) และ อาจารย์ ภัทรา บุรารักษ์ (อ.แนน) ซึ่งอาจารย์ได้มอบหมายงานละครวิทยุให้เรา ต้องบอกก่อนว่า ละครวิทยุนั้นเป็นการแสดงละครโดยใช้เสียงอย่างเดียว เมื่อไม่มีภาพ จึงต้องขึ้นอยู่กับบทสนทนาการโต้ตอบ ดนตรีและเอฟเฟ็กซ์เสียงต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ฟังจินตนาการและเข้าถึงอารมณ์ของตัวละครแบบจริง ๆ

กลุ่มของพวกเราเลยคิดที่จะทำเรื่องละครวิทยุให้ออกมาเป็นแนวเชิงสืบสวน หาคำตอบ เนื่องจากละครวิทยุต้องเป็นตอนที่ยาวและชวนให้น่าติดตามในตอนต่อ ๆ ไป เมื่อเรารวบรวมความคิดกับกลุ่มเพื่อนแล้ว เราได้ใช้ชื่อเรื่องละครวิทยุนี้ว่า “ชมรมไข (who)” และได้หยิบชื่อตอนที่มีชื่อว่า ตอน “เดอะฉำฉา” ต่อมาพวกเราก็ได้คิดบทละคร ตัวนักแสดง และสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นละครวิทยุที่สมบูรณ์

เมื่องานนี้ผ่านไปแล้ว ถึงเวลาของงานสอบปลายภาค อาจารย์เสนออยากให้พวกเราทำละครเวที จึงมีการแบ่งฝ่ายในการทำงานออกเป็น เซค 1 และ เซค 2 ต่อมาอาจารย์ให้เลือกว่าแต่ละเซคนั้นจะทำละครเวทีเรื่องไหน จึงมีการยกมือโหวตของแต่ละเซค และเพื่อน ๆ ในเซค 1 ของเราได้เลือก เรื่อง “ชมรมไข (who) ตอน เดอะฉำฉา ในการทำละครเวทีเป็นที่เรียบร้อย


ในกระบวนการเข้าสู่การทำละครเวที ละครเวทีของเด็กสื่อใหม่อย่างเรานั้น มันธรรมดาไม่ได้จริง ๆ เพราะละครเวทีของเรา ทำเสียงกันแบบสด ๆ ด้านหน้าเวที มีทั้งเสียงพากย์ของตัวละคร เสียงประกอบ Sound Effect และ เสียงประกอบ Foley ซึ่งบทละครวิทยุมาสู่บทละครเวทีจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เข้ากับบทละครเวทีและการทำงานของแต่ละฝ่ายให้ละเอียดและชัดเจนกว่าเดิมพวกเราเริ่มลงมือทำงานแบ่งหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ซึ่งตัวของดิฉันเองได้รับบทบาทนักแสดง (ชบาเองค่ะ) โดยในละครวิทยุดิฉันให้เสียงตัวละครที่ชื่อ ชบา พอได้เอามาทำละครเวทีจริง ๆ ก็บอกได้เลยว่าตอนนั้นดีใจกับตื่นเต้นมาก ๆ ค่ะ กับบทบาทนักแสดงและละครเวทีครั้งแรก และรู้เลยว่าต้องเหนื่อย ๆ มากเช่นกัน แต่ก็ทำออกมาให้ดีที่สุด

มาถึงในช่วงการทำงาน พวกเรามีการ WorkShop นักแสดงกับคนพากย์เสียงของนักแสดง เพื่อให้พวกเราเข้าใจบทบาทและเข้าถึง Character ของตัวละครนั้น ๆ มีการลองต่อบทไปด้วยกัน เริ่มการวาง Blocking ของตัวนักแสดงในแต่ละฉาก รวมไปถึงทีมของ Foley ที่ต้องทำการวิเคราะห์ของเสียงประกอบไปในแต่ละฉากพร้อม ๆ กัน

ด้านเสียงประกอบ Sound Effect มีการทำเพลงขึ้นมาใหม่จากเพลงต้นแบบปรับเปลี่ยนเป็นเพลงที่เราทำทำนองขึ้นมาเองใหม่ โดยมีพี่ตี้ ( นาย อาทิตย์ บุญกว้าง ) เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำดีมาก ๆ

พวกเราทุกฝ่ายตั้งใจซ้อมกันอย่างหนักและเต็มที่กับงานละครเวที ไม่ว่าจะมีวันว่างวันไหนพวกเราจะนัดซ้อมกันทุกครั้ง เพื่อให้งานละครเวทีออกมาดีและสมบูรณ์ที่สุด

ต่อมาวันที่พวกเราได้ถ่ายโปสเตอร์ โปรโมทละครเวทีของพวกเราตามช่องทางสื่อต่าง ๆ โดยมีรุ่นพี่ Production เป็นทีมคอยกำกับและดูแล

ถึงวันลองสนามจริง คือเวทีที่จะใช้แสดงละครเวที ในตอนแรกเราได้ใช้ห้อง PKY 1 แต่ได้เปลี่ยนสถานที่เป็นห้อง UB เพื่อให้มีพื้นที่ให้แต่ละฝ่ายได้ทำงานกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เราได้มีการปรับเปลี่ยน Blocking ใหม่ เนื่องจากห้องสตูที่เราใช้ซ้อมจะแคบกว่าเวทีจริง เราจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับเวที และเก็บรายละเอียดจุดสำคัญต่าง ๆ มากกว่าเดิมในการลองเวทีจริง และอีกอย่างที่สำคัญนั้น พวกเราได้ทำงานกับรุ่นพี่ปี 3 คือ ทีม Production ที่จะมาช่วยให้งานละครเวทีของเราสมบูรณ์และยิ่งใหญ่กว่าเดิมขึ้นไปอีก

วันอังคาร ที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2566 ถึงวันที่พวกเราได้ขึ้นเวทีแสดงจริงแล้ว ทั้งทีมเบื้องหน้าและเบื้องหลังแต่ละฝ่ายตื่นเต้นและตั้งใจทำมันออกมาให้ดีที่สุด เมื่อการแสดงจบลง เสียงรุ่นพี่ Production สั่งคัต ไฟได้ดับลง ทุกคนได้ส่งเสียงกรี๊ดออกมา เสียงกรี๊ดดีใจที่มีความสุข เสียงที่บ่งบอกว่าเราทำมันสำเร็จแล้วนะ เราทำมันออกมาได้ดีที่สุดแล้ว ภูมิใจในตัวเองมาก มีผิดพลาดบ้างแต่เราก็สามารถนำไปปรับและพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้ ทุกฝ่ายทุกหน้าที่สำคัญและเก่งกันมาก ๆ พวกเรารวมใจกันเป็นหนึ่งเดียวงานที่ออกมาถึงได้ดีมากและสมบูรณ์แบบที่สุด

ขอบคุณทุก ๆ ฝ่าย ขอบคุณอาจารย์ที่เคารพที่คอยให้คำแนะนำ คอยให้คำที่ปรึกษามาจนถึงวันสุดท้ายของการแสดงละครเวที พวกเราได้ประสบการณ์ใหม่และได้เรียนรู้เกี่ยวกับละครเวทีเยอะมาก ๆ ทุกอย่างที่ออกมาสมบูรณ์แบบเพราะพวกเรา คือ NMC ( New Media Communications ) ร่วมมือกันและรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

ติดตามผลงาน และ รับชมละครเวทีย้อนหลังได้ที่ : เพจ Facebook สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication – NMC UP

https://www.facebook.com/studyatNMCUP?mibextid=LQQJ4d

https://fb.watch/j9mwyudZgD/?mibextid=cr9u03

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ