“ประสบการณ์ละครเวทีกับหน้าที่ Foley Artist ครั้งแรก”

“ประสบการณ์ละครเวทีกับหน้าที่ Foley Artist ครั้งแรก”

Final Project กับละครเวทีครั้งแรกในรายวิชาการสร้างสรรค์เสียงประกอบ (SFX) ของนิสิตสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ชั้นปีที่ 2 ที่มีความแตกต่างจากละครเวทีทั่วไปด้วยกระบวนการสร้างสรรค์งานละครเวทีที่ร่วมมือกันกับอาจารย์และรุ่นพี่ปี 3 เพื่อทำละครเวทีที่ไม่ใช่แค่การแสดงแต่เป็นการเรียนการสอนที่ลงมือปฏิบัติจริงและเน้นลงมือทำเนื่องจากจุดประสงค์ของการทำละครเวทีในครั้งนี้คือการแสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นทีมนักแสดง นักพากย์ ทีมSound ทีมArt Director และทีมFoley ที่ช่วยกันทำอย่างเต็มที่ แต่Foleyหรือการสร้างเสียงประกอบหน้าที่ที่หลายคนยังไม่รู้จักเราจะมาแชร์ประสบการณ์การทำเสียงประกอบของทีมFoley รวมถึงความรู้สึกและความประทับใจในงานละครเวทีครั้งนี้

จากสตีมจริง

ไขWho? ตอน เดอะฉำฉา

ชมรมไขWho?

กว่าจะเป็นละครเวทีที่ทุกคนได้ดูในสตีม ละครเวทีเรื่องไขWho? ตอนเดอะฉำฉา เพราะเรื่องนี้ได้รับการคัดเลือกมาจากงานของกลุ่ม 12 ประจัญบานจากงานละครวิทยุ เป็นงานของเพื่อนอีก11คนและเรา หลังจากได้รับการคัดเลือกก็ได้พัฒนาบทเรื่องนี้ให้ออกมาเป็นบทละครเวทีมากยิ่งขึ้นและเริ่มแบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบตามความถนัดแล้วความชอบกันในกลุ่มงานละครเวที ในช่วงแรกอาจมีปัญหากันบ้างแต่เมื่อหน้าที่และทุกอย่างลงตัวก็พร้อมในการซ้อมการแสดง


สำหรับหน้าที่การทำเสียงประกอบของเราก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าหน้าที่ของFoleyหรือการสร้างเสียงประกอบคืออะไร เป็นขั้นตอนการสร้างเสียงอย่างหนึ่ง คล้ายกับการทำ Sound Effect ประโยชน์ของFoleyนั้น เป็นมากกว่าแค่เสียงประกอบฉาก แต่Foleyยังสามารถเพิ่มรายละเอียดความสมจริงสมจังของเรื่องราวให้กับผู้ชมได้อีก เพื่อให้ผู้ชมคล้อยตามและสร้างเข้าใจอารมณ์ของบางฉากที่ไม่มีอยู่จริงเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกตามไปด้วย เช่น เสียงหันหน้าเพื่อให้ลุ้นละทึก เสียงเดิน เสียงขุด เสียงของตกที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นสงสัยและเสียงอื่น ๆ ในเรื่อง แค่นี้ทุกคนน่าจะพอรู้จักกับหน้าที่ของFoleyกันแล้ว ในการซ้อมครั้งเป็นการหาอุปกรณ์เพื่อมาทดลองใช้จริงว่าอุปกรณ์ที่มีสามารถทำเสียงที่คล้ายกับเสียงที่ต้องการได้หรือไม่ ทีมช่วยกันคิดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อนำมาทดลองเรื่อย ๆ จนได้อุปกรณ์ที่เกิดเสียงตรงตามความต้องการ ในการเริ่มฝึกของที่Foleyของพวกเราคือการจำบทให้แม่นและการซ้อมจับจังหวะกับนักแสดง การสวมบทบาทในการกระทำท่าทางต่าง ๆ ของนักแสดงเพื่อให้จังหวะตรงและแม่นยำมากที่สุด

แต่ปัญหาของทีมFoleyก็มีหลายอย่าง เช่น สถานที่จัด พื้นที่ที่ใช้ทำ ทีมอื่นบดบังเวทีขณะที่กำลังทำการแสดงทำให้มองไม่เห็นและFoley ไม่สามารถซ้อมแยกจากนักแสดงได้เนื่องจากเป็นเรื่องของการจับจังหวะในการทำของนักแสดงโดยทันทีซึ่งไม่เหมือนกับการทำเสียงประกอบโดยทั่วไปที่มีการบันทึกเสียงแยกไว้และสามารถเลือกเสียงที่ดีที่สุดหรือปรับแต่งเสียงได้ การทำเสียงประกอบละครเวทีในครั้งนี้คือการทำสดไปพร้อมกับทุกฝ่ายจึงเน้นการดูและการฝึกซ้อมบ่อย ๆ เพื่อให้เสียงออกมาดีที่สุด เนื่องจากละครเวทีของเราแตกต่างจากละครเวทีทั่วไปเพราะจุดประสงค์คือการแสดงที่ไม่ได้เน้นแค่เบื้องหน้าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการแสดงละครเวทีที่เผยให้เห็นถึงกระบวนการทำงานเบื้องหลังการแสดง ของฝ่ายต่าง ๆ ในการทำงาน Final Project ละครเวทีในครั้งนี้ จากที่ไม่เห็นถึงความเป็นไปได้ของงานนี้ก็เริ่มมีความหวังมากขึ้นเพราะ กลุ่มไขWho? ของพวกเราฝึกซ้อมกันเยอะมากจึงเห็นทุกการเปลี่ยนแปลงของแต่ละฝ่าย ต่างทำหน้าที่และฝึกซ้อมกันอย่างเต็มที่ตั้งแต่วันแรกจนวันที่ 7 มีนาคม วันสอบFinal หรือวันสตีมจริง เราทุกคนตื่นเต้นกับการแสดงครั้งนี้เป็นอย่างมาก ตื่นไปเตรียมตัวกันตั้งแต่เช้า จัดเตรียมอุปกรณ์และความเรียบร้อยเพื่อไม่ให้เกิดปัญญาและพร้อมที่จะแสดงจริง และ การสตีมก็ได้เริ่มต้นขึ้นเสียงในหัวเราตอนนั้นคือเราต้องมีสมาธิต้องตั้งใจให้ถึงที่สุดและทำมันออกมาให้เต็มที่ และแน่นอนละครเวทีของกลุ่มไขWho?ของพวกเราก็ผ่านไปได้ด้วยดี ความตั้งใจและความสามัคคีกันที่ผ่านการฝึกซ้อมกันมามากพอสมควร ที่จะนำเสนอความเป็นละครเวทีที่ตรงตามวัตถุประสงค์ แบบสื่อใหม่ NMC ที่ไม่เหมือนใครกับละครเวทีครั้งแรกของนิสิตชั้นปีที่ 2

กระบวนการสร้างละครเวทีในรายวิชาการสร้างสรรค์เสียงประกอบทำให้เราได้เห็นและเรียนรู้กระบวนการทำงานและการผลิตผลงานรวมไปถึงวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบไม่ว่าจะเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือโดยรวม การได้เรียนรู้และปฏิบัติได้จริงคือสิ่งสำคัญ ได้ทักษะในการทำงานรวมไปถึงการทำงานเป็นหมู่คณะ ได้ทดลองทำทันทีเพื่อการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้การเป็น foley artist ทำเสียงประกอบฝึกทักษะการจับจังหวะการใช้อุปกร์ เช่น ไมด์ ลงมือทำและเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนคต ละครเวทีที่ไม่ใช่แค่Final Project เพราะงานชิ้นนี้คือความมุ่งมั่นและตั้งใจของพวกเราชาวอNMC ที่ทำกันอย่างสุดความสามารถและช่วยเหลือกันทั้งเพื่อนพี่น้องและอาจารย์ ขอบคุณประสบการณ์ดีๆจากเพื่อนที่คอยช่วยเหลือ ขอบคุณรุ่นพี่ปี 3 ฝ่าย Productionที่มาทำให้ละครเวทีของพวกเราสมบูรณ์และเป็นแบบอย่างให้กับรุ่นน้อง ของคุณอาจารย์ประจำวิชาที่คอยให้คำปรึกษาและชี้แนะช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ และสุดท้ายขอบคุณตัวกับประสบการณ์นี้จะเป็นบทเรียนที่ดีและความทรงจำตลอดไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ