ปัญหาและอุปสรรคในโปรเจคใหญ่ กับละครเวที “ไขWHO” ครั้งแรกของเด็กสื่อใหม่

ปัญหาและอุปสรรคในโปรเจคใหญ่ กับละครเวที “ไขWHO” ครั้งแรกของเด็กสื่อใหม่

ในการจัดทำสิ่งต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีปัญหาและอุปสรรคมากมายทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นโปรเจคใหญ่หรือเล็ก การจัดทำละครเวทีครั้งนี้ก็เช่นกัน ถึงจะมีการร่วมด้วยช่วยกันในแต่และฝ่ายก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงอยากมาแชร์เรื่องราวการทำงานไม่ว่าจะเป็นเบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง ให้นักอ่านทุกท่านได้รับรู้และเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคตเพื่อที่จะได้นำความรู้ไปปรับใช้และพัฒนาผลงานตัวเองต่อไป

ในการจัดทำละครเวทีครั้งนี้เราได้แบ่งแยกออกเป็นหลายฝ่าย

เพื่อสะดวกและง่ายต่อการทำงาน ดังนี้

ทีมนักแสดง

ทีมนักแสดงมีทั้งหมด 8 ตัวละคร ดังนี้ จีจี้ น้ำ แก้ว ชบา ดาว (กลุ่มเด็กนักเรียนในชมรมไขwho) ผอ.พร (ผอ.โรงเรียน) สมร (เพื่อนของผอ.พร ที่ตายไปแล้ว) ผอ.พร (ตอนเด็ก) สำหรับปัญหาของทีมนักแสดงบอกเลยว่ามีค่อนข้างเยอะเหมือนกัน เพราะเป็นส่วนที่สำคัญแทบจะที่สุดของโปรเจคนี้เลยก็ว่าได้ เพราะนักแสดงคือผู้ถ่ายทอดทุกอย่างของละครเวทีให้ผู้ชมเข้าใจในเนื้อเรื่องมากที่สุด ในส่วนนี้ค่อนข้างยากเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงอารมณ์ที่ต้องเล่นให้สัมพันธ์กับตัวละครและนักพากย์ ต้องงับปากให้ตรงกับเสียงพากย์เพราะเป็นการแสดงสด ต้องถ่ายทอดตัวละครออกมาให้คนเชื่อและอินกับตัวละครตัวนั้นมากที่สุด ไหนจะต้องแสดงรับกับตัวแสดงอื่นและกล้องตลอดเวลา ด้วยความที่ถ่ายทอดสดผ่านทางเพจเฟสบุ๊คของสาขาด้วย บอกเลยว่ากว่าจะออกมาสมบูรณ์ขนาดนี้ ทำผิดจนนับไม่ถ้วนเลยก็ว่าได้

ทีมนักพากย์

ทีมนักพากย์ที่สารพัด and ปัญหา ถ้าพูดถึงเรื่องทีมนักพากย์ ก็เหมือนสำนวนที่ว่า เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม หน้าที่หลักของนักพากย์คือต้องผันตัวเข้าหาตัวแสดงตลอดเวลา เพื่อให้การแสดงท่าทางและเสียงออกมาสัมพันธ์กันที่สุด ต้องรับส่งอารมณ์กับคนแสดง คอยดูว่าจะต้องพูดจังหวะไหน โทนเสียงแบบไหน คะแนนอยู่ตรงไหนมากที่สุด ก็คือคนพากย์นี่แหละ ปัญหาเกี่ยวกับนักพากย์ก็อย่างเช่น อารมณ์ในเสียงของนักพากย์ไม่เท่าตัวแสดง เสียงเบาบ้าง หายบ้าง เสียงหลบเสียงเหินก็มา หรือจะปัญหาเกี่ยวกับไมค์ เช่นไมค์ดับโดยไม่รู้สาเหตุ เรื่องความจำกัดของไมค์กับนักพากย์ ต้องวางตำแหน่งในการใช้ไมค์ให้ดี บางครั้งอาจจะพูดในไดอาล็อกที่ติดกัน อาจจะสะดุดหรือขาดช่วง ทำให้ตัวแสดงติดขัดได้ ทั้งนี้ก็เพราะการซ้อมเยอะนั่นแหละจึงทำให้มันลงตัวแบบที่มันควรจะเป็น

ทีม Foley

หรือทีมผู้สร้างเสียงประกอบก็เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มอรรถรสให้ละครเวทีครั้งนี้เช่นกัน ทำให้คนดูได้รับรู้สถานการณ์และสถานที่ในละครให้ออกมาสมจริงและเข้าใจบริบทของละครมากขึ้น ฝ่ายนี้ค่อนข้างที่จะน่าสนใจเลยทีเดียว เพราะเป็นฝ่ายของวิชาสร้างเสียงประกอบโดยตรง การทำงานต้องใช้ความใจจดใจจ่อกับสิ่งที่ทำสังเกตุตัวละคร จังหวะไหนต้องทำเสียงอะไร การหาอุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับเสียงที่อยากให้เป็น เป็นฝ่ายที่ค่อนข้างหนัก หนักแบบหนักจริงๆ ในการยกของไปทำ Foleyแต่ละครั้งทำเอาเหงื่อซกกันเลยทีเดียว

Art Director

ในส่วนของ Art Director เปรียบเสมือนผู้สร้างและใช้แรงงานไปในตัว เพราะฉากที่เห็นในละครทั้งหมดเป็นสิ่งที่ Art Diretor ทำขึ้นมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบฉากในป่า มีต้นไม้ ฉากห้องเรียนที่มีโต๊ะ ชั้นหนังสือต่างๆก็หน้าที่พวกเขาทั้งนั้น ไหนจะต้องยกพร็อพยกฉากย้ายไปซ้อมห้องต่างๆก็เป็นหน้าที่ของพวกเขาเช่นกัน ว่าทีมfoley หนักแล้ว ถ้าหันมาดู Art Director คือหนักกว่า

ทีมผู้กำกับ

ในส่วนของทีมผู้กำกับก็จะมีด้วยกันหลายฝ่าย ดังนี้

  • Producer
  • ผู้กำกับเสียง
  • ผู้ช่วยผู้กำกับเสียง
  • ผู้กำกับเวที
  • ผู้ช่วยผู้กำกับเวที

บุคคลเหล่านี้เปรียบเสมือนรั้วของชาติที่เปลี่ยนมาเป็นรั้วของทีม เป็นบุคคลที่เรียกได้ว่าต้องมีจิตใจแข็งแกร่งพอสมควร ที่จะสามารถรับแรงกระแทกฟีดแบคที่ส่งต่อมาจากอาจารย์ เพื่อมาขยายให้คนในทีมฟังต่อไป เป็นหน่วยจัดแจงและหัวหมุนที่สุดในทีมก็ว่าได้ เพราะพวกเขาไม่ได้มีหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง จะต้องเข้าใจในทุกๆหน้าที่ สามารถจัดการกับปัญหาของแต่ละฝ่ายได้อย่างรวดเร็ว ต้องดูภาพรวมของฝ่ายต่างๆเพื่อให้ออกมาพร้อมที่สุดในการแสดงต่อสาธารณชนครั้งแรกอย่างสมบูรณ์และมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

ผู้เขียนบท

ถ้าไม่มีฝ่ายนี้ละครเวทีก็คงไม่มีทางเกิดขึ้น ผู้ที่กำหนดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบทพูด การแสดง โลเคชั่นฉาก เสียงประกอบ มุมกล้อง เรียกได้ว่าเป็นบุคคลต้นเรื่องที่แท้จริง ปัญหาก็เยอะไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องปรับบทใหม่ให้คำพูดเหมาะสมอยู่ในของเขต ปรับเปลี่ยนตอนจบใหม่ให้ดูสมเหตุสมผลดูมีอะไรมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีทีม

  • ฝ่ายประสานงาน
  • Acting Coach
  • ผู้ช่วย Acting Coach
  • เหรัญญิก
  • ผู้บรรยาย

และพี่ปี3อีกมากมายที่มาร่วมด้วยช่วยกันในโปรเจคใหญ๋โปรเจคแรกของพวกเรานิสิตคณะนิเทศศาตร์สาขาสื่อสารสื่อใหม่ปี2 มหาวิทยาลัยพะเยา

“ซ้อมเยอะเจ็บน้อย ซ้อมน้อยเจ็บเยอะ”

อาจารย์ ณฐไนย เกษแก้ว
สำหรับใครที่อยากเข้าไปชมละครเวทีย้อนหลัง "ไข who" ของพวกเราชาวสื่อใหม่ก็เข้าไปดูได้แล้วที่..
 Facebook : สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ