มหาวิทยาลัยพะเยา NMC นำเสนอละครเวทีเสียงสดแบบสื่อใหม่ ! ครั้งแรกกับการเป็นผู้กำกับ

มหาวิทยาลัยพะเยา NMC นำเสนอละครเวทีเสียงสดแบบสื่อใหม่ ! ครั้งแรกกับการเป็นผู้กำกับ

ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบทละครวิทยุอย่าง “ชมรมไข(who) ตอน เดอะฉำฉา” สู่ละครเวที

โอกาสในการทำละครเวทีอาจจะหาได้ทั่วไป แต่ใครจะรู้ว่าละครเวทีที่จะได้กำกับเองครั้งแรกในชีวิตคือละครที่ต้องทำเสียงกันสดๆหน้าเวที ทั้งเสียงประกอบsound effect ทั้งเสียงพากย์ของตัวนักแสดงและที่สำคัญคือ เสียงประกอบ Foley จากในอดีตทั้งชีวิตที่ผ่านมาเป็นแค่คนทำโชว์สู่การเป็นผู้กำกับละครเวที ยิ่งงานใหญ่ความรักในการสร้างสรรค์การแสดงก็มากขึ้นเท่านั้น

จุดเริ่มต้นของละครเรื่องนี้คือการทำบทละครวิทยุในรายวิชา การสร้างสรรค์เสียงประกอบ SFX  (Sound Effect Creation for Digital) โดยคณะ12ประจัญบานต้องการสร้างเนื้อเรื่องเป็นแนวสืบสวนเพราะคำนึงถึงการสร้างเสียงประกอบที่หลากหลายมีรายละเอียด จนกลายมาเป็น “ชมรมไข(who)” เนื่องด้วยละครวิทยุต้องมีตอนที่ยาว ต้องมีเนื้อเรื่องให้ติดตาม จึงมีตอน “เดอะ ฉำฉา” เกิดขึ้นด้วยเช่นกันเพื่อให้มีอีกหลากหลายตอนในการติดตามและเผื่อต่อยอดบทละครในอนาคต
            เมื่อถึงเวลาของการสอบปลายภาค ละครวิทยุของเราได้ถูกรับเลือกภายในเซค1ให้นำมาทำเป็นละครเวทีเสียงสดเนื่องด้วยคนในเซคมีเยอะ เลยเห็นชอบกันว่าควรจะทำเรื่องที่มีเสกลใหญ่ตามคุณภาพของคนในทีม

พวกเราแบ่งฝ่ายกันทำงานและเริ่มทำการปรับแต่งบทให้กลายเป็นละครเวที ซึ่งละครเวทีจะมีการทำบทที่แตกต่างจากบทละครวิทยุเพราะมีการทำงานร่วมกับเสียงสด เวที และแสงไฟจึงต้องมีการเขียนบทที่รายละเอียดของแต่ละฝ่ายชัดเจนมากกว่าเติม

ช่วงเวลาการทำงาน โปรดิวเซอร์จะเป็นผู้วางแผนงานกำหนดเวลาในการทำงานของแต่ละฝ่ายให้เสร็จเพื่อที่จะได้ซ้อมร่วมกันอย่างมีแบบแผน การซ้อมมีขึ้นทุกวันหลังจากที่บทเสร็จ นักแสดงและนักพากย์จะทำการต่อบทกัน ทำความเข้าใจกับตัวบทด้วยกัน รวมทั้งทีม Foleyที่ทำการวิเคราะห์การทำเสียงประกอบในแต่ละฉากไปพร้อมๆกันและเก็บรายละเอียดอีกครั้งเมื่อนักแสดงได้ลองแสดงไปในแต่ละฉาก

ในฐานะผู้กำกับ ที่ต้องดูทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเวที ระยะเวลาการทำงานและการฝึกฝนเป็นไปได้ด้วยดีจากการร่วมมือของทุกฝ่ายและเป็นไปตามแผนที่แวงไว้ แม้จะมีปัญหาเรื่องการใช้เสียงอัดประกอบ ฝ่ายเสียงต้องทำเพลงใหม่โดยความช่วยเหลือของ นายอาทิตย์ บุญกว้าง(พี่ตี้) ก็สำเร็จออกมาได้เพลงที่มีคุณภาพและเป็นของเราเข้ากันได้ดีกับเนื้อเรื่องเหมาะสมกับบท

ในทุกการฝึกซ้อมจงจำคำนี้ให้ขึ้นใจ

“ซ้อมน้อยเจ็บมาก ซ้อมมากเจ็บน้อย”

การฝึกซ้อมภายในหมู่คณะจึงผ่านไปได้ด้วยดี นักแสดง นักพากย์ นักทำเสียงประกอบก็ทำงานเข้ากันได้อย่างดีเยี่ยมภายใต้การกำกับของผู้กำกับมือใหม่แต่เนื่องด้วยทุกคนให้ความร่วมมืออย่างดีแสดงถึงความตั้งใจทำให้การฝึกซ้อมด้วยตนเองพร้อมแล้วสำหรับการลงเวทีจริง

ในการลองสนามจริงอย่างเวทีในห้อง PKY ที่ค่อนข้างมีอุปสรรคทำให้ต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งการแสดงมากขึ้นและมีทีม Production ของพี่ปี3ที่จะมาทำให้ละครเวทีนี้เกิดความยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นไปอีก จึงต้องใส่ใจกับรายละเอียดแม้จะเล็กน้อยก็ตาม ล่วงเลยจนมาถึงการเปลี่ยนสถานที่แสดงเป็นห้อง UB ทำให้ละครเวทีง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วยพื้นที่ที่กว้างขึ้นทำให้ทุกฝ่ายทำงานได้อย่างอิสระมากขึ้น

การทำงานร่วมกันกับทีม Production นั้น เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งสำหรับผู้กำกับที่ต้องคอยประสานงานในเรื่องของบรรยากาศโดยรอบของเวทีเพื่อผลงานที่ถ่ายทอดสู่ผู้ชมนั้นมีคุณภาพ นับว่าเป็นอีกเรื่องที่ทำให้การทำงานของเด็กสื่อใหม่เติบโตขึ้นอีกขั้นด้วยการลงมือทำจริง

ในวันแสดงจริงของละครเวที  “ชมรมไข(who) ตอน เดอะฉำฉา” วันซ้อมซ้อมได้เป็นสิบรอบเอาใหม่ได้อีกยี่สิบรอบแต่ในวันจริงมีโอกาสเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

“ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่จะได้ทำเดอะฉำฉา แม้จะผิดพลาดขอให้พลาดน้อยที่สุด จบงานแล้วขอให้เกิดความรู้สึกภูมิใจมากกว่าเสียดาย”

. . .เมื่อแสงไฟมืดลง เสียงปรบมือดังขึ้น บนหน้าจอที่ถ่ายทอดสดมีชื่อ สุตาภัทร เฉลิมวงค์ เป็น ผู้กำกับ ขึ้นก็เกิดความภูมิใจเพราะในการแสดงทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ เมื่อย้อนกลับไปในการซ้อมวันแรก มันทำให้เห็นพัฒนาการของทุกคน เลยได้แต่ตะโกนในใจว่าทุกคนเก่งมากและวิ่งเข้าไปหาทุกฝ่ายชมแบบไม่หยุดปากให้ทุกคนมีกำลังใจ เสียงโห่ร้องดีใจดังไปทั่วห้องจนต้องอัดวิดิโอความสำเร็จเอาไว้ดูว่าเวลาที่ทำอะไรที่เรารักสำเร็จนั้น เรามีความสุขมากแค่ไหน

ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นหากไม่มีความร่วมมือของหลากหลายกลุ่มคน ทั้งอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชาอาจารย์ ณฐไนย เกษแก้ว (อ.ไนย) ที่มีแนวคิดก่อให้เกิดการทำละครเวทีเสียงสดและเป็นที่ปรึกษาของผู้มีหน้าที่ในด้านเสียง อาจารย์ ภัทรา บุรารักษ์ (อ.แนน) ร่วมสร้างละครเวทีให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมด้วยทีมงานโปรดักชันของรุ่นพี่ปี3และคอยให้คำปรึกษาด้านการผลิตผลงานทุกกระบวนการ อาจารย์ วิวัน สุขเจริญ (อ.อ๊อฟ) ที่ให้คำปรึกษารายละเอียดของงาน ช่วยเหลือในทุกด้านและเหล่าคณาจารย์ในคณะนิเทศศาสตร์ที่คอยเป็นกำลังใจ

“ละครเวทีส่งท้ายเทอมนี้ สมบูรณ์เนื่องด้วยความร่วมมือของพี่น้องNMC”

รับชมบรรยากาศเพิ่มเติมได้ที่

https://vt.tiktok.com/ZS8QW8KQG/ (Luke Sama)

สามารถติดตามผลงานและข้อมูลอื่นๆ ได้ที่

Facebook Fanpage : สาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา New Media Communication-NMC UP

ติดตามไลฟ์ย้อนหลัง : https://fb.watch/j92RMdYyc8/

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ